ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา”

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด

อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา”

ผู้วิจัย นายขวัญชาติ ศรีหารักษา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร

จังหวัดสกลนคร

ปีที่วิจัย 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครู

ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร และ 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 36 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 81 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบ ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ และผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้

จากผลการวิจัยพบว่า

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น (Analysis: Research1 (R1)) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน และเพื่อศึกษาสภาพ และความ ต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบและการได้มาซึ่งองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 81 คน การดำเนินการประกอบด้วย 1) ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น ด้วยการสอบถามความคิดเห็นของครูในการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2) ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) การปฏิรูปการศึกษาหลักสูตร การพัฒนารูปแบบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แนวคิดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ กลิ๊กแมนและคณะ (Glickman and others) เลฮ์แมน (อ้างถึงใน ชัด บุญญา) ยุพิน ยืนยง และ วัชรา เล่าเรียนดี วชิรา เครือคำอ้าย กรมวิชาและคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ และสงัด อุทรานันท์ (อ้างถึงใน วรรณพร สุขอนันต์ 3) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้กระบวนการการคิดวิจารณญาณของครู สำหรับกลุ่มครู และนักเรียน เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ (Design and Development : Development1 (D1)) เป็นขั้นตอนที่นำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาใช้ในการกำหนดกรอบ แนวคิดของการพัฒนารูปแบบ และกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการ เรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู ตรวจสอบร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน และแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการ ตรวจสอบ ได้แก่ แบบประเมินโครงสร้างและองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมืออยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ผู้ตรวจสอบร่างรูปแบบต้นแบบ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศทางการศึกษา จำนวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด จำนวน 2 คน

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ (Implementation: Research2 (R2)) เป็นการนำ รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ที่สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 2 ไปทดลองใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของ รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดย 1) ประเมินความรู้และทักษะในการ จัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู ก่อน - หลัง และระหว่างได้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2) ประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลการเรียนรู้ของนักเรียน ก่อน- หลัง และระหว่างได้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 3) ประเมินความพึงพอใจของครู ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน หลังการทดลองใช้ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู หลังการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 34 คน การดำเนินการทดลอง ใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Designs) โดยประยุกต์การวิจัยแบบดุลยภาพเวลาและกลุ่ม ตัวอย่างของการทดลองต่อเนื่อง มีการทดสอบก่อนและหลังทดลอง (Equivalent time-samples pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบ สังเกต และแบบสอบถาม รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ทุกฉบับเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และผ่านการ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ (Evaluation: Development2 (D2)) เป็นการนำผลการทดลองรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ในขั้นตอนที่ 3 ทั้งที่เป็นผลที่ได้ จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบ ได้แก่ สมรรถนะการนิเทศของครูผู้นิเทศ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลการเรียนรู้ของนักเรียน ความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบรวมทั้งผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน มาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะนำไปใช้ต่อไป

1. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์สภาพและ ประเมินความต้องการจำเป็น 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบ 4) การ ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ ดำเนินการโดยศึกษาทบทวนเอกสาร วรรณกรรม งานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง ร่วมกับการเก็บข้อมูลจากการสังเกต และการสนทนากลุ่มจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู นักเรียน และผู้บริหาร พบช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสภาพที่เป็นจริง ดังนี้ 1) ทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดหวัง 2) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหวัง และ 3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูไม่มี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ในขั้นของการศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการ จำเป็น มีการดำเนินการทบทวนหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักการ แนวคิดการวิจัยและการพัฒนา (Research and Development หลักการ แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับการออกแบบระบบ การสอน หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการนิเทศ การโค้ชทางปัญญา (Cognitive coaching) การโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) การโค้ชแบบร่วมมือ (Collaborative Coaching) การติดตามดูแลแนะนำ (Mentoring) การสื่อสารทฤษฎีการ เปลี่ยนแปลง (Change Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา (Intelligent Development) ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการจัดการเรียนรู้ที่ ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากการวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสภาพที่เป็นจริง ร่วมกับการทบทวน หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสามารถระบุ เป้าหมายและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของผู้ที่ทำหน้าที่โค้ช 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 3) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน การออกแบบและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน มีดังนี้

1.1 การสังเคราะห์ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดแบบจำนวนลองการออกแบบการนิเทศตาม 1) รูปแบบ AIPDE Model ของ กลิ๊กแมนและคณะ (Glickman and others 2004 : 155-200) 2) รูปแบบ NMCASIE Model ของเลฮ์แมน (อ้างถึงใน ชัด บุญญา, 2538 : 46) 3) รูปแบบ CIPE Model ของ ยุพิน ยืนยง และ วัชรา เล่าเรียนดี (2554 : 202) 4) รูปแบบ PPIE Model ของ วชิรา เครือคำอ้าย (2553 : 147) 5) รูปแบบของกรมวิชาและคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ (2543 : 17) 6) รูปแบบ PIDRE Model ของ สงัด อุทรานันท์ (อ้างถึงใน วรรณพร สุขอนันต์, 2550 : 24-25) ร่วมกับแนวคิด การวิจัยและพัฒนา (research and development) สังเคราะห์เป็นขั้นตอนของการศึกษาเพื่อ พัฒนารูปแบบการนิเทศ 4 ขั้นตอน 1) การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น (Analysis: Research 1 (R1)) ขั้นตอนที่ 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ (Design and Development : Development 1 (D1)) ขั้นตอนที่ 3) การทดลองใช้รูปแบบ (Implementation : Research 2 (R2)) 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ (Evaluation: Development 2 (D2))

1.2 ผลของการออกแบบและพัฒนาได้ร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบ เชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ มีกระบวนการดำเนินการ 6 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need : N) ระยะที่ 2 การประเมิน ความรู้และสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ (Assessing : A) ระยะที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศการ จัดการเรียนรู้ (Informing : I) ระยะที่ 4 การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Planning : P) ระยะที่ 5 การปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Doing : D) และระยะที่ 6 การประเมินผลการนิเทศ การจัดการเรียนรู้ (Evaluating : E)

1.3 ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน พบว่า ค่าดัชนีความ สอดคล้องรายข้อของความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ของรูปแบบ และความสอดคล้องของรูปแบบ รายข้อมีค่าระหว่าง 0.8 - 1.00

1.4 การแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ผู้วิจัยได้นำคำแนะนำที่ ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะเพิ่มเติม มาพิจารณาปรับปรุงรูปแบบโดยคงให้มีองค์ประกอบเชิง กระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปไว้ใช้ตามเดิม ปรับเพิ่มเฉพาะรายละเอียดเนื้อหาของการดำเนินการในบางหัวข้อย่อย ได้แก่ การปรับเพิ่มเติมโดยเน้นการร่วมกันปฏิบัติงานของ ผู้ทำหน้าที่นิเทศ ผู้รับการนิเทศ และผู้ติดตามดูแลในการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของหน่วยงานผู้ทำหน้าที่นิเทศ และผู้รับการนิเทศปฏิบัติงาน ร่วมกัน และเพิ่มเติมการจดบันทึกให้มีความครอบคลุมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนิเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการในการปฏิบัติการนิเทศมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

2. ประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

2.1 การประเมินสมรรถนะการนิเทศรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ผลการประเมินมี ดังนี้

2.1.1 สมรรถนะรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการทดลอง พบว่าคะแนน เฉลี่ยความรู้และความสามารถในการใช้รูปแบบก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย โดยคะแนนเฉลี่ยของความรู้และ ความสามารถหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง ทั้งนี้ก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ครูผู้สอนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าเฉลี่ย 17.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.86 หลังการอบรมครูผู้สอนมีวิจารณญาณมีค่าเฉลี่ย 25.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.87

2.2 การประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียน ผลการประเมินมีดังนี้

2.2.1 สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียน ก่อนและหลังทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้และความสามารถในการ จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อน และหลังการทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยของความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย คะแนนเต็ม 40 คะแนน คะแนนก่อนทดลองมีค่าเฉลี่ย ( = 22.86, S.D.= 2.39) หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ย ( = 33.06, S.D.= 2.20)

2.3 การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย ( = 4.37, S.D.= 0.53) ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมและสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการนิเทศ ที่มีประโยชน์มากเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละระยะ และ ปฏิบัติได้จริง ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการพัฒนางานและองค์ความรู้ รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ช่วยให้ครูมีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น รู้สึกมีกำลังใจ มีพลังที่จะปฏิบัติงานให้ เกิดผลสัมฤทธิ์ และเสนอแนะให้มีการนำรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนไปใช้ในรายวิชาอื่น ๆ ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง

2.4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมนักเรียนคิดว่าการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. =0.55) นอกจากนี้จากการบันทึกความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประมวลสรุปได้ ดังนี้ 1) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา 2) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ 4) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน และ 5)เป็นการจัดการเรียนรู้ที่จูงใจ รวมทั้ง การบันทึกถึงข้อจำนวนกัดและข้อเสนอแนะของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWWH ว่าเป็นเทคนิคการ จัดการเรียนรู้ที่แต่ละกิจกรรมต้องอาศัยเวลาสำหรับฝึกกระบวนการคิด ทั้งการคิดวิเคราะห์แยกแยะ ข้อมูลต่าง ๆ การแปลความ/การตีความข้อมูล การอธิบาย/การทำนาย และการลงข้อสรุป ต้องมีการ เชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีมาก่อนเข้ากับความรู้ที่กำลังเรียนรู้ทั้งจากรายวิชาหลักการและเทคนิคกาสอน เอง และจากรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องอาศัยการทำความเข้าใจ คิดทบทวน ไตร่ตรองอย่าง รอบคอบ ก่อนการตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน

3. ผลการปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ผู้วิจัยได้นำผลการวิเคราะห์ ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 3 ของการวิจัยมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบ โดยคงให้มีองค์ประกอบเชิง หลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขในการนำ รูปแบบไปใช้ไว้ตามเดิมปรับเพิ่มเฉพาะรายละเอียดเนื้อหาของการดำเนินการในบางหัวข้อย่อย ได้แก่ การปรับย้ายกิจกรรมการร่วมกันเลือกเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ จากระยะที่ 2 การวางแผนรูปแบบการนิเทศ มาไว้ระยะที่ 1 ระยะการเตรียมการ และ เพิ่มการเยี่ยมชมชั้นเรียนซึ่งกันและกัน รวมทั้งเพิ่มกิจกรรมการสรุปผลและเผยแพร่ความรู้ ในระยะที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการนิเทศ ทั้งนี้เพื่อให้รูปแบบการนิเทศมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ในการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบและกระบวนการในการดำเนินงาน ดังนี้ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย หลักการ: การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพของ นักเรียนให้บรรลุเป้าหมาย โดยเน้นการสร้างความรู้และพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติงานจริง การทบทวนย้อนคิด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ร่วมงาน ซึ่งทำหน้าที่นิเทศที่ให้การส่งเสริมช่วยเหลืออย่างจริงใจและให้ความไว้วางใจต่อกัน นำไปสู่ การสร้างความรู้ใหม่และการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศ และสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน องค์ประกอบเชิงกระบวนการ แบ่งการดำเนินการเป็น 6 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need : N) ระยะที่ 2 การประเมินความรู้และสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ (Assessing : A) ระยะที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Informing : I) ระยะที่ 4 การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Planning : P) ระยะที่ 5 การปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Doing : D) ระยะที่ 6 การประเมินผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Evaluating : E) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้มีเงื่อนไข 3 ประการ คือ 1. ระบบสนับสนุน (Supporting System) ประกอบด้วยความเป็นเพื่อนร่วม วิชาชีพ (Collegiality) ความร่วมมือกัน (Collaboration) และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (Trust) 2. ทักษะการโค้ช (Coaching Skills) ประกอบด้วยทักษะ 5 ประการ คือ การถอดความ (paraphrasing) การใช้คำถามเจาะหาความคิด (probe) การหยุดให้คิด (pause) การฟังอย่างตั้งใจ (attentive listening) และการให้สาระข้อมูลเพิ่มเติม (offering information) 3. การติดตามดูแล (Mentoring) เป็น การติดตามดูแลแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ตลอดระยะเวลาของกระบวนการนิเทศ เพื่อให้กระบวนการนิเทศดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

โพสต์โดย ศิริ : [24 ส.ค. 2563 เวลา 14:12 น.]
อ่าน [3143] ไอพี : 49.230.138.43
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 24,725 ครั้ง
กำเนิดดวงดาว
กำเนิดดวงดาว

เปิดอ่าน 9,473 ครั้ง
อย.อายัดด่วนนมผงนำเข้าจากจีน 20 ตัน!
อย.อายัดด่วนนมผงนำเข้าจากจีน 20 ตัน!

เปิดอ่าน 12,417 ครั้ง
ภูเก็ตจัดยิ่งใหญ่ กินเจ ถือศีลกินผัก
ภูเก็ตจัดยิ่งใหญ่ กินเจ ถือศีลกินผัก

เปิดอ่าน 14,530 ครั้ง
วิธีสร้างคันกระสอบทรายให้แข็งแรง
วิธีสร้างคันกระสอบทรายให้แข็งแรง

เปิดอ่าน 11,684 ครั้ง
13 ความเชื่อที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
13 ความเชื่อที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

เปิดอ่าน 19,172 ครั้ง
รู้ยัง ! กรมขนส่งขยายเวลาใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว จาก 1 ปี เป็น 2 ปี
รู้ยัง ! กรมขนส่งขยายเวลาใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว จาก 1 ปี เป็น 2 ปี

เปิดอ่าน 11,300 ครั้ง
ชมคลิป เลขาฯกพฐ.เผยผลคัดเลือก ผอ.และรอง ผอ.โรงเรียนและการสอบครูผู้ช่วยกรณีเศษ
ชมคลิป เลขาฯกพฐ.เผยผลคัดเลือก ผอ.และรอง ผอ.โรงเรียนและการสอบครูผู้ช่วยกรณีเศษ

เปิดอ่าน 19,115 ครั้ง
แนะนำวิธีจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับครู
แนะนำวิธีจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับครู

เปิดอ่าน 13,270 ครั้ง
"คนไร้ตัวตน" รายการตีสิบ 25 ก.ย.2555
"คนไร้ตัวตน" รายการตีสิบ 25 ก.ย.2555

เปิดอ่าน 98,988 ครั้ง
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560

เปิดอ่าน 18,251 ครั้ง
เกมส์ต่อสู้
เกมส์ต่อสู้

เปิดอ่าน 31,139 ครั้ง
สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้

เปิดอ่าน 10,642 ครั้ง
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา

เปิดอ่าน 58,455 ครั้ง
ภาษาไทย ภาษาชาติ และการสอนของครู
ภาษาไทย ภาษาชาติ และการสอนของครู

เปิดอ่าน 22,352 ครั้ง
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)

เปิดอ่าน 50,258 ครั้ง
คำกล่าวทักทาย กลุ่มประเทศอาเซียน
คำกล่าวทักทาย กลุ่มประเทศอาเซียน
เปิดอ่าน 25,750 ครั้ง
คู่มือการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.(เอกสารประกอบการประชุม VDO Conference)
คู่มือการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.(เอกสารประกอบการประชุม VDO Conference)
เปิดอ่าน 15,789 ครั้ง
คำแนะนำช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 8 วิธีการเตรียมปรุงอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
คำแนะนำช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 8 วิธีการเตรียมปรุงอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
เปิดอ่าน 36,947 ครั้ง
ปลาสวยงาม
ปลาสวยงาม
เปิดอ่าน 24,842 ครั้ง
ทาน "ถั่วงอก" แล้วส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร
ทาน "ถั่วงอก" แล้วส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ