ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฏร์นิยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

- เอกสารการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน

โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2.

Participatory Action Research for the Development of

Morality and Ethics of students at Banratniyom School Nonthaburi Primary

Educational Service Area Office 2

จุฬาพร เดชพรม.

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2.

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 2) เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 3) เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 น้ำใจ มีกลุ่มผู้ร่วมศึกษา ประกอบด้วย ผู้ศึกษา (ผู้อำนวยการโรงเรียนครูและบุคลากรในโรงเรียนที่ร่วมศึกษา จำนวน 10 คน รวม 11 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ไก้แก่ ครูประชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน 1 คน ครูประชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 79 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 79 คน กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครู และตัวแทนนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ผู้บริหาร คณะครู และตัวแทนนักเรียน โรงเรียนวัดท่าชุมนุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เขต 1 เครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของ นักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 แบบสัมภาษณ์ผู้และแบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของความก้าวหน้า ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต นำมาสรุปเป็นความเรียง

ผลการพัฒนาพบว่า

1. สภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยการวิเคราะห์เอกสาร สอบถาม และการสัมภาษณ์ พบว่า พฤติกรรมโดยรวมของนักเรียนทั้ง 2 ช่วงชั้นรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง

2. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 พบว่า มีกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ตามกลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม 2) กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม 3) กลยุทธ์พบพระพบธรรม

3. ผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง หลังจากพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยละความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 73.26

Abstract

The research aimed to : 1) Study the condition and moral problems Student ethics. 2) Stipulate guidelines for moral development Student ethics. 3) Monitoring and evaluation of moral development Student ethics . The population groups included 1 Administrator, 10 teachers. Data provider group included 6 teachers, 79 parents and 79 students. Interviewee group included Including administrators, teachers and student representatives at chumchonwatsainoi school Nonthaburi Primary Educational Service Area Office2 and Watthachumnum school Angthong Educational Service Area. The research instrument was Handbook of student morality and ethics development activities, Interview and questionnaire, including 5 rating scale and open-ended. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation and effectivenesss Index.

The results were as follows :

1. The level of the state of condition and moral problems Student ethics Banratniyom School. both in overall was at Moderate level.

2. Guidelines for the moral development Student ethics were Moral Camp Strategies, Teaching strategies to include moral and ethics, Strategies found Buddha found Dharma and Strategies for promoting and developing basic moral in daily life.

3. Results of follow-up and evaluation of basic moral development of students were as follows : Before moral development Ethics are at a medium level. After virtuous development Ethics were at the highest level. After the student development, there is a percentage of moral progress. The ethics were higher than before the average of 73.26 percent.

บทนำ

สภาพแวดล้อมของสังคมไทยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์จาก การเลื่อนไหลของวัฒนธรรมที่หลากหลายจากต่างประเทศ มีสื่อและเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมของบุคคลจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วและรุนแรงเด็กและเยาวชนมีสภาพจิตใจอ่อนแอและภูมิคุ้มกันบกพร่องทางสังคม ขาดวิจารณญาณในการคัดสรรที่จะเลือกรับสิ่งที่ดีและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์มาใช้เป็นเหตุให้ค่านิยม พฤติกรรมสังคมวิถีชีวิตโลกทัศน์มนุษย์ และความเป็นอยู่เปลี่ยนไป เกิดค่านิยมแนวใหม่ เลียนแบบค่านิยมตะวันตกเป็นแบบบริโภคและวัตถุนิยม ยึดถือการแข่งขันและการผลิตเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของคนเป็นหลัก สังคมเกิดการแข่งขันเพื่อความได้เปรียบได้ชัยชนะ กลยุทธ์การตลาดถูกนำมาใช้เพื่อสร้างค่านิยมทางวัตถุกลายเป็นวัตถุนิยม สร้างความฟุ้งเฟ้อในชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการอย่างไร้ศีลธรรมและจริยธรรมซึ่งต่างจากค่านิยมคุณธรรมในอดีต เป็นแบบคุณธรรมนิยม ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติคุณธรรมและจริยธรรม มีปัญหาอาชญากรรมเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีแนวโน้มจำนวนอาชญากรรมที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ผู้ก่ออาชญากรรมเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน จากรายงานสภาวะสังคมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ พบว่า ในไตรมาศสี่ ปี ๒๕๕๑ มีเด็กและเยาวชนถูกดำเนินคดีรวม ๔๖,๙๘๑ คดีความผิดส่วนใหญ่เป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติดและคดีชีวิตและร่างกายตามลำดับ ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นเพศชายสูงถึงร้อยละ ๙๑.๐๖ ระดับการศึกษามัธยมต้นร้อยละ ๓๙.๒๘ ประถมศึกษาร้อยละ ๒๙.๑๐ เป็นนักเรียนร้อยละ ๓.๑๘ เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำมีถึงร้อยละ ๑๔.๐๖ ของคดีที่จับกุมเด็กและเยาวชนแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่รุนแรงมากขึ้น มีเด็กและเยาวชนถูกส่งเข้าสถานพินิจในความผิดเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงกว่า ๓๕,๐๐๐ คน

ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชน ทุกคนต่างลงความเห็นตรงกันว่า เยาวชนไทยของเราขาดการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม อย่างยิ่งยืน คือ อาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวย ไม่เกิดผลที่ถาวรในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญา มีความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังจะเห็นได้จาก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ ) พุทธศักราช ๒๕๕๓ ในหมวด ๑ มาตรา ๖ ได้กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขทั้งนี้ยึดแนวการจัดการศึกษาในหมวด ๔ มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษาต้องเน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม และใน มาตรา ๒๔ (๔) ได้กำหนดกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดกระบวนการสอนผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกรายวิชา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2542 : 5) และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมือง ไทยและเป็นพลเมืองโลกยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2554: ออนไลน์) ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งด่วน เรื่อง เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ เพื่อสร้าง ความตระหนัก สำนึกในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้น เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมี ความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี จุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ด้วยการใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐาน ของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา การปลูกฝังคุณธรรมจึงหมายถึง การจัดสภาพการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียน มองเห็นคุณค่าของการมีศีลธรรมและจริยธรรมในด้านต่าง ๆ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ดีงาม โดยคุณธรรมที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ปลูกฝัง ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความสุภาพ ความสะอาด ความสามัคคี และความมีน้ำใจ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 58) และต้องพัฒนาให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธพิสัย ด้านทักษะพิสัย ด้านจิตพิสัย ในด้านจิตพิสัยถือว่าเป็นในการพัฒนาให้มีคุณภาพอย่างแท้จริง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพด้านจิตพิสัยของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดไว้ในมาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2554 : 69) การศึกษาในปัจจุบันยังขาดมิติทางด้านคุณธรรมอยู่มากซึ่งหากสังคมเราเน้นแต่คนเก่งเราก็จะได้คนเก่ง แต่ถ้าหากคนเก่งเหล่านั้นขาดคุณธรรม จริยธรรมเขก็จะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว คิดถึงตังเองมากกว่าส่วนรวมเพราะโดยปกติแล้วคนเก่งก็จะไม่อยากให้คนอื่นเก่งกว่า โดยไม่คำนึงถึงเรื่องคุณธรรมก็จะกลายเป็นการสร้างปัญหาให้กับสังคม

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาคนในวัยเรียน เพื่อให้เป็นผู้ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เพราะเหตุว่าผู้เรียนที่กำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ที่อยู่ในวัยเด็กซึ่งถือว่าในวัยดังกล่าวเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และพัฒนาการเป็นพื้นฐาน ของชีวิต สถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนระดับวัยเด็กซึ่งถือว่าเป็นวัยแรกเริ่มของ การดำรงชีวิต เพื่อเป็นพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข จึงจำเป็นต้องให้การศึกษาอย่างรอบด้านเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้และประสบการณ์ เป็นพื้นฐานในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ โดยเฉพาะเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเอง โดยอยู่บนพื้นฐานตามหลักตามหลักความถูกต้องและยอมรับของสังคมโดยรวมเพราะฉะนั้นการที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตรงนี้ได้ สถานศึกษาจะต้องมีวิธีการหรือแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดสิ่งเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมนำความรู้สู่การประพฤติและปฏิบัติในที่สุด หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับควรตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แต่ในการปฏิบัติสถานศึกษาส่วนมากมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการมาก จนบางครั้งลืมนึกไปว่าการศึกษาที่แท้จริงนั้นมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เจริญงอกงามทั้งความรู้และความประพฤติดี จึงควรส่งเสริมทั้งงานวิชาการและคุณธรรม จริยธรรมให้เจริญก้าวหน้าขึ้นควบคู่กันเสมอ

โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จัดการศึกษาเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา ตั้งอยู่ตั้งอยู่เลขที่ ๔/๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเกษตรกรรมและโรงงาน มีประชากรประมาณ๕,๐๐๐คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ นาข้าว แปลงใบบัวบก และโรงงาน อาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม รับจ้างในโรงงาน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โรงเรียนจัดให้มี การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง มีความสุข มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยผสมสาระความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมโดยโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กหลายกิจกรรม เช่น กิจกรรมอบรมหน้าเสาธง กิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรมวันสุดสัปดาห์ เป็นต้น เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นคนดี มีระเบียบวินัยและมีความรับผิดชอบ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่จากการดำเนินการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนบางส่วนยังหย่อนความรับผิดชอบ ไม่ค่อยมีวินัยในตนเอง ความเป็นระเบียบในการแต่งกายมีน้อย เดินแถวเข้าชั้นเรียนและรับบริการต่างๆของโรงเรียนไม่เป็นระเบียบ ความมีน้ำใจความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นมีน้อยลง ไม่รักษาความสะอาดของสถานศึกษา (พิบูลย์ศักดิ์ วรพิบูลย์ศักดิ์ . สัมภาษณ์ : 2560) และไม่ค่อยปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน ความสามัคคีมีน้อย ซึ่งสร้างความหนักใจให้แก่ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองอยู่เสมอ (สุขฤทัย สุขจรรยา, สัมภาษณ์ : 2560) นอกจากนี้ เปลื้อง นุชอุดม (สัมภาษณ์ : 2560) ผู้ปกครอง ยังระบุปัญหาว่า เด็กในปัจจุบัน ไม่กลัวพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ซึ่งต่างจากในอดีตที่เชื่อฟังพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นเพราะในปัจจุบันเด็กได้รับอบายมุขหลายรูปแบบ เช่น ยาเสพติด การพนัน ติดเกมส์ ในขณะเดียวกันเด็กมีความก้าวร้าวชอบโกหก ชอบก่อทะเลาะวิวาทชกต่อย และ เจษฎาภรณ์ คำอ่อน ประธานนักเรียน (สัมภาษณ์ : 2560) ได้สะท้อนปัญหาว่าผลกระทบของการประพฤติตนไม่เหมาะสมโดนเฉพาะนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวว่าเป็นสาเหตุทำให้นักเรียนหลายคนถูกกรังแก ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งไม่อยากมาโรงเรียนและต้องการให้โรงเรียนจัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เพื่อจะได้ลดปัญหาดังกล่าวลง ในส่วนของครูผู้สอนยังมีความเห็นว่าปัญหาเด็กขาดวินัยและความรับผิดชอบส่งผล กระทบเกือบทุกด้าน เช่น การเรียน ความสะอาด ความปลอดภัย การตรงต่อเวลา และอื่นๆ ถ้ามีโครงการที่มีการส่งเสริมและปลูกฝังเกี่ยวกับคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ จะทำให้เด็กได้ตระนักถึงระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ (กนกพร ปานธูป. สัมภาษณ์ : 2552) และสอดคล้องกับแนวคิดของ รัตนากร วงค์ศรี และคณะ (2551 : 69) ที่พบว่าปัจจุบันปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศชาติในอนาคต ซึ่งปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนที่พบเห็น ได้แก่ การแต่งกายไม่ถูกระเบียบ ฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายเงินเกินตัว พูดจาไม่สุภาพ ไม่มีสัมมาคารวะ มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ความน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นมีน้อยลง พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นบ่อย จนถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนในสังคมที่มีแต่การแข่งขันเพื่อความเป็นหนึ่งเหนือผู้อื่น ลักษณะเช่นนี้ หากไม่ได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ถูกต้องดีงามแล้ว เด็กในวันนี้อาจจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ขาดจิตสำนึกของการเป็นคนดีจนยากต่อการแก้ไข

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนานักเรียนให้ได้มาตรฐานและเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมโดยตรง มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการ ได้แก่ 1) ขยัน 2) ประหยัด 3) ซื่อสัตย์ 4) มีวินัย 5) สุภาพ 6) สะอาด 7) สามัคคี 8) มีน้ำใจ ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้ร่วมมือกับบุคลากรในโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม(จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 นี้ขึ้นพื้นพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

ในการศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา ไว้ดังนี้

1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

2. เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียน บ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

3. เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียน บ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

สมมติฐานการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดสมมติฐานการศึกษา ไว้ดังนี้

1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน บ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เป็นอย่างไร

2. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เป็นอย่างไร

3. ผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 อยู่ในระดับดีขึ้นไป

ขอบเขตการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษา ไว้ดังนี้

1. ขอบเขตด้านเนื้อหาที่ศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เพื่อมุ่งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ตามขอบข่ายคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ 1) ขยัน 2) ประหยัด 3) ซื่อสัตย์ 4) มีวินัย 5) สุภาพ 6) สะอาด 7) สามัคคี 8) มีน้ำใจ

2. ขอบเขตด้านระเบียบวิธีศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษา โดยใช้รูปแบบการศึกษาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

(Participatory Action Research : PAR) เป็นการทำงานร่วมกันของผู้บริหาร คณะครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการศึกษาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผนพัฒนา (Plan) ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการพัฒนา (ACT) ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผล (Reflect)

3. กลุ่มผู้ร่วมศึกษาและผู้ให้ข้อมูล

การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษา ดังนี้

1. กลุ่มผู้ศึกษา (Research Participant) ประกอบด้วย ผู้ศึกษา (ผู้อำนวยการโรงเรียน)

ครูและบุคลากรในโรงเรียนที่ร่วมศึกษา จำนวน 10 คน รวม 11 คน

2. กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย

2.1 กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย

1) ครูประชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน 1 คน ครูประชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 6 คน

2) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 79 คน

3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 79 คน

2.2 กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ประกอบด้วย

2.2.1 กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ในการศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบคุณธรรม จริยธรรม 2 โรงเรียน

1) ผู้บริหาร คณะครู และตัวแทนนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

2) ผู้บริหาร คณะครู และตัวแทนนักเรียน โรงเรียนวัดท่าชุมนุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เขต 1

2.2.2 กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์)

1) คณะครู

2) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือตัวแทน

3) ประธานผู้ปกครองเครือข่ายหรือตัวแทน

4) ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ชั้นละ 2 คน

5) ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ชั้นละ 2 คน

กรอบแนวคิดของการศึกษา

จากการศึกษาเอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ผู้ศึกษาได้ทำการสรุปกรอบแนวคิดในการศึกษา การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ตามแนวคิด Kemmis and MC Taggart (สุวิมล ว่องวานิช.2544; อ้างอิงมาจาก Kemmis and MC Taggart.1991) และใช้การศึกษาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดังภาพประกอบ 1

นิยามศัพท์เฉพาะ

เพื่อให้ศึกษามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดคำนิยามศัพท์เฉพาะ ดังนี้

1. คุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน หมายถึง การที่นักเรียนแสดงออกซึ่งพฤติกรรมการกระทำดีตามคุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการ ดังนี้

1.1 ขยัน หมายถึง ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร สู้งานมีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำตั้งใจทำหน้าที่จริงจัง

1.2 ประหยัด หมายถึง ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ

1.3 ซื่อสัตย์ หมายถึง ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง

1.4 มีวินัย หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบันองค์กร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มในและตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม

1.5 สุภาพ หมายถึง ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมนาคารวะ เรียบร้อยไม่ก้าวร้าว หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทางเป็นผู้มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย

1.6 สะอาด หมายถึง ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสทอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกายใจและสภาพแวดล้อมมีความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

1.7 สามัคคี หมายถึง ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของบผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่างความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสานฉันท์

1.8 มีน้ำใจ หมายถึง ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอก เห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์และผู้ที่มีความเดือดร้อนมีความอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญาลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

2. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ตามขอบข่ายคุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการ โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาดังต่อไปนี้

2.1 กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม หมายถึง รูปแบบวิธีการนำนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เข้ารับการอบรมและปฏิบัติธรรมที่วัดราษฎร์นิยม ตำบลราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

2.2 กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นหลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน

2.3 กลยุทธ์พบพระพบธรรม หมายถึง การนำนักเรียนไปถวายภัตตาหารเช้า แด่พระสงฆ์ และฟังเทศน์ ฟังธรรม ในวันธรรมสวนะ และกิจกรรมคุณธรรมวันสุดสัปดาห์ระหว่างดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน

2.4 กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน หมายถึง การจัดกิจกรรมการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนหน้าเสาธงตอนเช้า กิจกรรมประหยัดออม ถนอมใช้ และกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน

3. การศึกษาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งแก้ปัญหาหรือพัฒนางานของหน่วยงาน องค์กรหรือชุมชนตามแนวทางที่บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกิจกรรมศึกษาทุกขั้นตอนนับตั้งแต่แรกจนจนกระทั่งสิ้นสุด การดำเนินการ ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย

3.1 ขั้นวางแผนพัฒนา หมายถึง การร่วมกันวิเคราะห์การแสดงออกของนักเรียนที่บ่งชี้ให้เป็นระดับคุณธรรมและจริยธรรมโดย ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน และร่วมกันวางแผนพัฒนาโดยการศึกษาพหุกรณีโรงเรียนตัวอย่างและประชุมสัมมนาเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาและวางระบบติดตามประเมินผล

3.2 ขั้นดำเนินการพัฒนา หมายถึง การร่วมกันดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม กลยุทธ์พบพระพบธรรม และกลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน

3.3 ขั้นสังเกตการณ์ หมายถึง การร่วมกันติดตามและประเมินผล สังเกตการณ์ เข้าร่วมกิจกรรมและการเข้าค่ายอบรม พัฒนาจิต

3.4 ขั้นการสะท้อนผล หมายถึง การรวบรวมข้อมูลจาการสังเกตทั้งขณะปฏิบัติ และภายหลังการปฏิบัติตามแผน มาร่วมกันวิเคราะห์ ประชุม ปรึกษาหารือ วิพากษ์วิจารณ์ร่วมกันตามกรอบการศึกษา ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผล รายงานผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน

ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารจัดการการดำเนินงานต่างๆ ในโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ครู หมายถึง ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ประโยชน์ของการศึกษา

ในการศึกษาศึกษาครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 และโรงเรียนอื่นๆ ดังนี้

1. เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่สนใจการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนให้กับโรงเรียนอื่นๆ

วิธีดำเนินการศึกษา

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ตามขอบข่าย ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ 1) ขยัน 2) ประหยัด 3) ซื่อสัตย์ 4) มีวินัย 5) สุภาพ 6) สะอาด 7) สามัคคี 8 มีน้ำใจ โดยใช้รูปแบบการศึกษาปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เป็นการทำงานร่วมกัน ของคณะครูโรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการศึกษา

การศึกษาครั้งผู้ศึกษาได้แจ้งให้คณะครูในโรงเรียนทราบเกี่ยวกับโครงการวิจัย รายละเอียดและขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งขอความร่วมมือในการดำเนินการศึกษา ผู้ศึกษา ผู้ร่วมศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมประชุมปรึกษาหารือ ระดมความคิดเห็น กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน และกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (ParticipatoryAction Research) ตามแนวความคิดของ Kemmis และ Mc Taggart (สุวิมล ว่องวานิช. 2544 ; อ้างอิงมาจาก Kemmis and Mc Taggart. 1991) เป็นกระบวนการในการศึกษาค้นคว้าซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวางแผน (Planning) 2) ขั้นการปฏิบัติ (Action) 3) ขั้นการสังเกต (Observation) 4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) มีรายละเอียด ดังนี้

1. ขั้นวางแผนพัฒนา (Plan)

ระยะที่ 1 สำรวจสภาพและปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน

1. วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนในภาพรวม จำนวนทั้งสิ้น 79 คนและนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนในการพัฒนา

2. เป้าหมายสำรวจสภาพและปัญหาด้านคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยครูผู้สอนประจำชั้นจำนวน 6 คน

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน แบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร

4. วิธีดำเนินการ

4.1 ศึกษาสภาพและปัญหาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนแล้ว นำปัญหาเสนอต่อที่ประชุมเพื่อสร้างความตระหนัก

4.2 ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม

4.3 สัมภาษณ์จากผู้เกี่ยวข้อง เช่น ครูและบุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียน

4.4 ศึกษานอกสถานที่จากโรงเรียนตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน และเป็นโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ ด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์ของคณะครูในโรงเรียนดังกล่าว

4.5 ประชุมสัมมนา วางแผนปฏิบัติการพัฒนา แต่งตั้งคณะทำงาน

4.6 สร้างเครื่องมือโดยจัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมนักเรียน จำนวน 54 ข้อ ที่เป็นคุณลักษณะพฤติกรรม ด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน คือ ความขยัน ความประหยัดความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความสุภาพ ความสะอาด ความสามัคคี และความมีน้ำใจ จัดทำแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกการประชุม

4.7 นำเครื่องมือที่จัดทำปรึกษาความถูกต้องของเนื้อหา รูปแบบการใช้ภาษา เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบพิจารณาความสอดคล้องกับการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียน

4.8 ปรับปรุงเครื่องมือจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์นำเสนอผู้เชี่ยวชาญสอบความถูกต้องเหมาะสมอีกครั้ง

4.9 จัดประชุมคณะครูเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและการนำเครื่องมือไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมด้านคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ในภาพรวม

4.10 นำเครื่องมือที่ผ่านการชี้แจงและเสนอแนะกับผู้ร่วมศึกษา นำไปเก็บข้อมูลโดยครูผู้สอนประจำชั้น

4.11 นำข้อมูลปัญหาที่ได้จากการสำรวจ มาจัดกระทำข้อมูลเพื่อหาค่าทางสถิติและจัดอันดับความสำคัญเพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนา และจัดกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต่อไป

5. ผลลัพธ์

5.1 ผู้ศึกษาได้รับทราบสภาพและปัญหาด้านคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนเพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาต่อไป

5.2 ได้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ระยะที่ 2 กำหนดกลยุทธ์และขั้นตอนในการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2

1. วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางและวางแผนขั้นตอนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2

2. เป้าหมาย ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษาร่วมกันกำหนดกลยุทธ์แนวทาง และวางแผนขั้นตอนในการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2

3. เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการประชุมโครงการ

4. วิธีดำเนินการ

4.1 ผู้ศึกษานำเสนอปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ที่สำรวจโดยครูผู้สอนประจำชั้น ซึ่งใช้แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ต่อที่ประชุมคณะครู

4.2 คณะครูร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาให้มีระดับการปฏิบัติเพิ่มขึ้น

4.3 จัดทำกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์สภาพและปัญหาจากการสำรวจในขั้นการวางแผนระยะที่ 1 ร่วมกับกลุ่มผู้ร่วมศึกษา ประชุมปรึกษาหารือ สนทนา ระดมความคิด เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ได้กำหนดเป็น 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม กลยุทธ์พบพระพบธรรม และกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ในการพัฒนากับคุณธรรม จริยธรรม ดังตาราง 3.1

ตาราง 3.1 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนากับคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

ที่ กลยุทธ์/กิจกรรม คุณธรรมพื้นฐาน

ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ

กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม

1. กิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาจริยธรรม        

กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

2. การสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในทุกสาระการเรียนรู้        

กลยุทธ์พบพระพบธรรม

3. กิจกรรมพบพระพบธรรม ใน

วันธรรมสวนะ        

4. กิจกรรมคุณธรรมวันสุดสัปดาห์        

กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน

ในชีวิตประจำวัน

5. การอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนหน้าเสาธงตอนเช้า        

6. กิจกรรมประหยัด ออม ถนอมใช้ 

 







 

 

 



7. กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน

ตาราง 4.2 (ต่อ)

ที่ กลยุทธ์/กิจกรรม คุณธรรมพื้นฐาน

ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ

7. 1 กิจกรรมตรวจสุขภาพและ

เครื่องแต่งกาย    

7.2 กิจกรรมเวรเขตพื้นที่บริการ      

7.3 การเดินแถวด้วยสติเข้าชั้นเรียนและปฏิบัติกิจกรรม     

7.4 กิจกรรมพี่ดูแลน้อง น้องช่วยพี่      

7.5 กิจกรรมลูกราษฎร์นิยมชวนกันทำดี        

7.6 กิจกรรมยิ้มง่าย ไหว้สวย

กราบงาม   

7.7 กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนเรียน   

7.8 กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนทำกิจกรรม   

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการพัฒนา (ACT)

ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา จัดกิจกรรม กำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง การดำเนินกิจกรรม เก็บรวมรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ดังนี้

1. กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 42 คน ระยะเวลาระหว่างวันที่ 1-3 ธันวาคม 2562 ณ วัดป่าไขแสงธรรมาราม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

2. กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดโดย มีเป้าหมายให้ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษาทำการสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในด้านต่างๆ ในการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเป็นหลัก ระหว่างวันที่ 3 มิถุนายน 2562 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 โดยดำเนินการทุกระดับชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แผนการจัดการเรียนรู้และบันทึกผลหลังสอน

3. กลยุทธ์พบพระพบธรรม ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษาดำเนินการตามแผนที่กำหนดโดยมีเป้าหมายเพื่อนำนักเรียนไปถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ ฟังเทศน์ฟังธรรมในวันธรรมสวนะ และกิจกรรมกิจกรรมอบรมคุณธรรมวันสุดสัปดาห์ ระหว่างดำเนินการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนถ้าวันธรรมสวนะตรงกับวันหยุดก็จะเลื่อนวันปฏิบัติกิจกรรมก่อนหรือหลังวันธรรมสวนะ หรืองดกิจกรรมตามความเหมาะสม เพื่อให้นักเรียนได้รับการกล่อมเกลาจิตใจ รับความรู้ ประสบการณ์และฝึกปฏิบัติจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและวิธีการปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่างที่ดี จากพระสงฆ์ของวัดในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน คือ วัดราษฎร์นิยม ระยะเวลาระหว่างวันที่ 3 มิถุนายน 2562 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมและการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย

4. กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในชีวิตประจำวันโดยการจัดการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนหน้าเสาธงตอนเช้า กิจกรรมประหยัด ออม ถนอมใช้ และกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 1) กิจกรรมตรวจสุขภาพและเครื่องแต่งกาย 2) กิจกรรมเวรเขตพื้นที่บริการ 3) การเดินแถวด้วยสติเข้าชั้นเรียนและปฏิบัติกิจกรรม 4) กิจกรรมพี่ดูแลน้อง น้องช่วยพี่ 5) กิจกรรมลูกบ้านราษฎร์นิยมชวนกันทำดี 6) กิจกรรม ยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม 7) กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนเรียน 8) กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนทำกิจกรรม ซึ่ง นักเรียนทุกชั้นเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคนแต่ศึกษาเฉพาะนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ระยะเวลาระหว่างวันที่ 3 มิถุนายน 2562 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 โดยใช้เครื่องมือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม สัมภาษณ์นักเรียน และสมุดบันทึกการออมทรัพย์

ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ (Observe)

ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลการใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนดังนี้

1. กิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาจริยธรรม ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา รวบรวมข้อมูลจาก การบันทึก การสังเกต การสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในการเข้าค่ายคุณธรรม

2. การสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในทุกสาระการเรียนรู้ ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกตพฤติกรรม และสอบถามกลุ่มเป้าหมาย

3. กิจกรรมพบพระพบธรรม ในวันธรรมสวนะ ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

4. กิจกรรมคุณธรรมวันสุดสัปดาห์ ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

5. การอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนหน้าเสาธงตอนเช้า ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

6. กิจกรรมประหยัด ออม ถนอมใช้ ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สมุดบันทึกการออมทรัพย์

7. กิจกรรมตรวจสุขภาพและเครื่องแต่งกาย ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

8. กิจกรรมเวรเขตพื้นที่บริการ ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

9. การเดินแถวด้วยสติเข้าชั้นเรียนและปฏิบัติกิจกรรม ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

10. กิจกรรมพี่ดูแลน้อง น้องช่วยพี่ ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

11. กิจกรรมลูกบ้านราษฎร์นิยมชวนกันทำดี ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

12. กิจกรรมยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

13. กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนเรียน ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

14. กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนทำกิจกรรม ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จดบันทึกพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์

ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผล (Reflect)

ผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา รวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ทั้งขณะปฏิบัติและภายหลังการปฏิบัติตามแผน มาร่วมกันวิเคราะห์ ประชุม ปรึกษาหารือ วิพากษ์วิจารณ์ร่วมกัน ตามกรอบการวิจัยและสรุปรายงานผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน จำนวน 79 คน ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใดโดยประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาดังนี้

1. ประเมินพฤติกรรมนักเรียนเปรียบเทียบผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนก่อน การพัฒนาและหลังการพัฒนาว่านักเรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากน้อยเพียงใดโดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมนักเรียน ด้านคุธรรม จริยธรรมของนักเรียนโดย ครูประจำชั้น ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2

2. ประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ในภาพรวมโดยและรายด้าน โดยครูประจำชั้น ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนประเมินตนเอง ว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่มากน้อยเพียงใด โดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมนักเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.1 เครื่องมือในการใช้ในการวางแผน ได้แก่ บันทึกการประชุมครู เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน และแบบสัมภาษณ์

1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์)

1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ร่วมศึกษาและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน

1.4) แบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

สรุปผลการศึกษา

การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 สรุปผลศึกษาได้ดังนี้

1. สภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยการวิเคราะห์เอกสาร สอบถาม และการสัมภาษณ์ พบว่า พฤติกรรมโดยรวมของนักเรียนทั้ง 2 ช่วงชั้นรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายช่วงชั้นพบว่านักเรียนช่วงชั้นที่ 1 มีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ผลจากการสังเกตและสัมภาษณ์ นักเรียนบางส่วนยังใช้จ่ายเงินโดยไม่มีเงินเหลือออม ทำความผิดแต่ไม่ยอมรับผิด เก็บสิ่งของได้ก็ไม่มาแจ้งครู มาโรงเรียนสาย ขาดความรับผิดชอบ พูดกันด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ทิ้งขยะในที่ไม่ควรทิ้ง ขาดความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน มีการทะเลาะวิวาท และไม่มีความตระหนักในการแบ่งปันสิ่งของให้กับคนอื่น และโรงเรียนต้องการปลูกฝังให้นักเรียนทุคนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมอันดีงามมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการค้นคว้า รู้จักรักษาความสะอาด มีสุขภาพแข็งแรง มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์และประหยัด มาโรงเรียนและเข้าเรียนตรงเวลาทุกชั่วโมง แต่งกายและไว้ทรงผลถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน มีน้ำใจ เสียสละ และกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง ช่วยเหลืองานผู้ปกครอง โรงเรียน ครูและชุมชน

2. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 พบว่า มีกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ตามกลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาจริยธรรม 2) กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการสอนบูรณาการคุณธรรม จริยธรรมในในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนาธรรมเป็นหลัก 3) กลยุทธ์พบพระพบธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมพบพระพบธรรม ในวันสำคัญของของชาวพุทธ และกิจกรรมคุณธรรมวันสุดสัปดาห์ 4) กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวันประกอบด้วย กิจกรรมการจัดการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนหน้าเสาธงตอนเช้า กิจกรรมประหยัดออม ถนอมใช้ และกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 1) กิจกรรมตรวจสุขภาพและเครื่องแต่งกาย 2) กิจกรรมเวรเขตพื้นที่บริการ 3) การเดินแถวด้วยสติเข้าชั้นเรียนและปฏิบัติกิจกรรม 4) กิจกรรมพี่ดูแลน้อง น้องช่วยพี่ 5) กิจกรรมลูกบ้านราษฎร์นิยมชวนกันทำดี 6) กิจกรรมยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม 7) กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนเรียน 8) กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนทำกิจกรรม

3. ผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

3.1 ผลการติดตามกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ตามกลยุทธ์ พบว่ามีกลยุทธ์ในการดำเนินงานผลดังนี้

1) กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาจริยธรรม ผลการพัฒนาหลังการดำเนินกลยุทธ์ พบว่า หลังจากการดำเนินกิจกรรมนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรมพื้นฐาน คือ นักเรียนสามารถตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นในด้านคุณธรรมพื้นฐานทั้ง 8 ประการได้ และนักเรียนยังได้แสดงออกด้วยการกระพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นนักเรียนสามารถปฏิบัติตนได้ตามกฎระเบียบของโรงเรียน พฤติกรรมการทะเลาะวิวาทน้อยลงเห็นได้ชัดเจน มีการช่วยเหลือแบ่งปันกันมากขึ้น มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากครูมากขึ้นมีผลงานสำเร็จเห็นได้ชัดเจน

2) กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วยกิจกรรมการสอนบูรณาการคุณธรรม จริยธรรมในในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนาธรรมเป็นหลัก พบว่า หลังจากการดำเนินกิจกรรมนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมมากขึ้น พฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนมีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจทุกด้าน

3) กลยุทธ์พบพระพบธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมพบพระพบธรรม ในวันสำคัญของของชาวพุทธ และกิจกรรมคุณธรรมวันสุดสัปดาห์ พบว่า หลังจากการดำเนินกิจกรรมนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประพฤติตนเป็นคนดี ไม่มี การลักขโมย กิริยามารยาทเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ตั้งใจทำงานที่ครูมอบหมายได้เป็นอย่างดี มีความตั้งใจทำงานให้สำเร็จ ส่งงานทันเวลา ปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ ด้วยความนอบน้อม พฤติกรรมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สะท้อนให้เห็นว่ากลยุทธ์พบพระพบธรรมเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติตนตามแบบอย่างผู้มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ซึ่งได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่นักเรียนและชุมชน นักเรียนเห็นแบบอย่างที่ดีนำมาสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม จึงส่งผลให้นักเรียนมีความขยัน รู้จักการประหยัดอดออม มีความซื่อสัตย์สุจริต รักษาระเบียบวินัย สุภาพ อ่อนน้อม รักความสะอาด มีสามัคคีในหมู่คณะ และแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจแบ่งปันกันมากขึ้น

4) กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย กิจกรรมการจัดการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนหน้าเสาธงตอนเช้า กิจกรรมประหยัดออม ถนอมใช้ และกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 1) กิจกรรมตรวจสุขภาพและเครื่องแต่งกาย 2) กิจกรรมเวรเขตพื้นที่บริการ 3) การเดินแถวด้วยสติเข้าชั้นเรียนและปฏิบัติกิจกรรม 4) กิจกรรมพี่ดูแลน้อง น้องช่วยพี่ 5) กิจกรรมลูกบ้านราษฎร์นิยมชวนกันทำดี 6) กิจกรรมยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม 7) กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนเรียน 8) กิจกรรมนั่งสมาธิก่อน ทำกิจกรรม พบว่า หลังจากการดำเนินกิจกรรมนักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ระมัดระวังกาย วาจา ใจ มีความสุภาพเรียบร้อย มีความขยันหมั่นเพียรตั้งใจเรียนทำงาน และปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี นักเรียนส่วนใหญ่มีความรักใคร่ ร่วมมือกันในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทะเลาะวิวาทกันไม่มีให้เห็น พบสิ่งของตกหล่นนำมาให้ครูประกาศหาเจ้าของ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปันสิ่งของเกื้อกูลกันมากขึ้น ห้องเรียนและบริเวณเขตรับผิดชอบสะอาดทุกวัน เนื่องจากนักเรียนทุกคนช่วยกันทำหน้าที่ของตนเอง นักเรียน มีจิตอาสาช่วยเหลืองานครูงานโรงเรียนมากยิ่งขึ้นแต่งตัวเรียบร้อย ทำงานส่งตามเวลาที่นัดหมาย มากขึ้น มีการเก็บออมเงินจำนวนมากขึ้น

3.2 ผลการประเมินการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียน บ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง หลังจากพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยละความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 73.26 เมื่อพิจารณารายด้าน พบผลดังนี้ 1) ด้านความขยัน พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยละความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 71.17 2) ด้าน ความประหยัด พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยละความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 71.95 3) ด้านความซื่อสัตย์ พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยและความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 75.90 4) ด้านความมีวินัย พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยและความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 77.78 5) ด้านสุภาพ พบว่า ก่อนการพัฒนา นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนหลังการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุดโดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยและความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 82.42 6) ด้านความสะอาด พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยและความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 72.78 7) ด้านวามสามัคคี พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยและความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนา โดยเฉลี่ยร้อยละ 70.99 8) ด้านความมีน้ำใจ พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ระดับมากที่สุดโดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยและความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรม สูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 72.29

อภิปรายผล

การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 นำมาอภิปรายผลได้ดังนี้

1. สภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยการวิเคราะห์เอกสาร สอบถาม และการสัมภาษณ์ พบว่า นักเรียนบางส่วนยังใช้จ่ายเงินโดยไม่มีเงินเหลือออม ทำความผิดแต่ไม่ยอมรับผิด เก็บสิ่งของได้ก็ไม่มาแจ้งครู มาโรงเรียนสาย ขาดความรับผิดชอบ พูดกันด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ทิ้งขยะในที่ไม่ควรทิ้ง ขาดความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน มีการทะเลาะวิวาท และไม่มีความตระหนักในการแบ่งปันสิ่งของให้กับคนอื่นและโรงเรียนต้องการปลูกฝังให้นักเรียน ทุกคนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมอันดีงามมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการค้นคว้า รู้จักรักษาความสะอาด มีสุขภาพแข็งแรง มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์และประหยัด มาโรงเรียนและเข้าเรียน ตรงเวลาทุกชั่วโมง แต่งกายและไว้ทรงผลถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน มีน้ำใจ เสียสละ และ กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง ช่วยเหลืองานผู้ปกครอง โรงเรียน ครูและชุมชน ดังนั้นจึงมี ความจำเป็นที่ผู้ศึกษา และผู้ร่วมศึกษาจะต้องร่วมกันพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของธรรมนูญโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ สุริยา ผันพลี (บทคัดย่อ : 2552) ) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม : กรณีศึกษาโรงเรียนเซนต์ ยอแซฟศรีสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ผลการศึกษาพบปัญหาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนเซนต์ยอแซฟศรีสงคราม ต้องได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม เนื่องจากนักเรียนส่วนมากยังขาดระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบ นักเรียนพูดคุย และส่งเสียงดังในขณะที่ครูกำลังสอน ไม่สน ใจครู ไม่ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรม ไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ไม่เข้าคิวเมื่อรับอาหาร รับประทานอาหารเหลือ กินทิ้งกินขว้าง นักเรียนยังขาดระเบียบวินัยในตนเอง ไม่ค่อยสนใจในการศึกษาเล่าเรียน และยังขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและบุคคลอื่น และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ พระอธิการเส็ง โชติธฺโม (บทคัดย่อ : 2554) ) ศึกษาเรื่อง การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ผลการศึกษาพบปัญหาในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร คือ นักเรียนขาดงบประมาณในการจัดทำชุดการสอนเกี่ยวกับคุณธรรม ครูไม่สามารถใช้โปรแกรมฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนไม่จัดโครงการเข้าค่ายกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการกำหนดรางวัลจากการปฏิบัติตนเป็นคนมีคุณธรรมที่ดีไว้อย่างชัดเจน ขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมต่างๆ เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและกิจกรรมอื่นๆ ในชุมชน และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ เหรียญทอง ดลเอี่ยม (บทคัดย่อ : 2554) ศึกษาเรื่อง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปานเจริญ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาพบว่า .สภาพและปัญหาคุณธรรมจริยธรรมเด็กเล็ก พบสภาพคุณธรรม จริยธรรมของเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปานเจริญ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จากการศึกษาเอกสารพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินการศึกษา (ขั้นพื้นฐาน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านผู้เรียน ข้อ 9 คือ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ที่พึงประสงค์ จากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมเด็กเล็ก ด้านความมีวินัย ความประหยัด ความมีน้ำใจ ความสุภาพ พบว่าส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีระเบียบวินัย ไม่รู้จัก การประหยัดหรือการอดออม ไม่รักษาสิ่งของเครื่องใช้ทั้งของตนเองและของส่วนรวม ชอบรังแกหรือแย่งขนมเพื่อน ไม่รู้จักการแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่นใช้คำพูดหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพและไม่เหมาะสมกับวัย นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ศิรประภา เยี่ยมพลัง (บทคัดย่อ : 2555) ศึกษาเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนบ้านเหมืองบ่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ผลการศึกษาพบสภาพและปัญหาและความต้องการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเหมืองบ่า พบว่า ความขยัน โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าในเวลาว่าง เกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ นักเรียนไม่สนใจศึกษาค้นคว้าแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนจัดให้ ไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ความประหยัด นักเรียนทุกคนได้เงินมาโรงเรียน และได้ใช้จ่ายโดยไม่เหลือสำหรับ การออม และผู้ปกครองไม่มีการส่งเสริมให้นักเรียนมีความประหยัดกลัวแต่ลูกหลานรับประทาน ไม่อิ่มและอายเพื่อน ความซื่อสัตย์ นักเรียนมีสิ่งของหายเป็นประจำที่บ้านและที่โรงเรียนเมื่อกระทำความผิดจะไม่กล้ายอมรับผิด ความมีวินัย โรงเรียนมีกฎระเบียบข้อตกลงเพื่อควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน แต่นักเรียนบางส่วนยังฝ่าฝืนระเบียบของโรงเรียน มาโรงเรียนสาย ขาดความรับผิดชอบ ความสุภาพ นักเรียนมีพฤติกรรมขาดความมีสัมมาคารวะ ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม พูดจาไม่สุภาพ ความสะอาด โรงเรียนมีการแบ่งเวรหน้าที่ในการรับผิดชอบทำความสะอาด นักเรียนจะทำ ความสะอาดเฉพาะบริเวณเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ สำหรับบริเวณรอบๆ โรงเรียนยังมีเศษกระดาษ ถุงพลาสติกทิ้งในที่ที่ไม่ควรทิ้ง ความสามัคคี สภาพการโรงเรียนเน้นจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนบางส่วนไม่มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม ทะเลาะวิวาท เวลาที่ครูไม่อยู่ในเวลาเรียน ความมีน้ำใจ นักเรียนไม่มีจิตที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับคนอื่นขาดความตระหนัก และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ อภิสิริภพ สนนา (บทคัดย่อ : 2553) ศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมโดยใช้วิถีพุทธสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบปัญหาด้านคุณธรรม ได้แก่ ด้านความมีระเบียบวินัย นักเรียนส่วนมากจะมาโรงเรียนสายไม่ทันทำความเคารพธงชาติ การแต่งกายไม่ถูกระเบียบ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต นักเรียนขาดความซื่อสัตย์สุจริตด้านความเมตตากรุรา นักเรียนบางคนขาดความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละเพื่อส่วนรวมด้านความขยันประหยัดและอดออม ด้านความมีมารยาทสุภาพอ่อนน้อม นักเรียนบางคนขาดความสุภาพอ่อนน้อม ปัญหาด้านจริยธรรม ได้แก่ ด้านการไม่มุ่งร้ายทำลายผู้อื่น นักเรียนที่ทะเลาะวิวาทกันมีสาเหตุมาจาก ขาดความรักความอบอุ่น ครอบครัวแตกแยก อยากเป็นจุดเด่นในห้องเรียน ต้องการดึงดูดความสนใจจากเพื่อนในห้องเรียน ต้องการให้เพื่อนยอมรับ

2. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 พบว่า กิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ตามกลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาจริยธรรม ผลจากการสังเกตกิจกรรมการฝึกอบรม 2) กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วยกิจกรรมการสอนบูรณาการคุณธรรม จริยธรรมในในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนาธรรมเป็นหลัก 3) กลยุทธ์พบพระพบธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมพบพระพบธรรม ในวันสำคัญของของชาวพุทธ และกิจกรรมคุณธรรมวันสุดสัปดาห์ 4) กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวันประกอบด้วย กิจกรรมการจัดการอบรมคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียนหน้าเสาธงตอนเช้า กิจกรรมประหยัด ออม ถนอมใช้ และกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 1) กิจกรรมตรวจสุขภาพและเครื่องแต่งกาย 2) กิจกรรมเวรเขตพื้นที่บริการ 3) การเดินแถวด้วยสติเข้าชั้นเรียนและปฏิบัติกิจกรรม 4) กิจกรรมพี่ดูแลน้อง น้องช่วยพี่ 5) กิจกรรมลูกบ้านราษฎร์นิยมชวนกันทำดี 6) กิจกรรมยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม 7) กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนเรียน 8) กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนทำกิจกรรม ซึ่งหลังจากจัดกิจกรรมอบรมแล้วนักเรียนมีมีความรู้ความเข้าใจ มีคุณธรรมจริยธรรมในด้านความมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ และความประหยัด ซึ่งในการพัฒนาครั้งนี้จำเป็นจะต้องใช้แนวทางตามกลยุทธ์ดังกล่าวเพราะว่าสามารถ ที่จะพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้นมาก มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ระมัดระวังกาย วาจา ใจ มีความสุภาพเรียบร้อย มีความขยันหมั่นเพียรตั้งใจเรียนทำงานและปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี เห็นได้จากนักเรียนส่วนใหญ่มีความรักใคร่ ร่วมมือกันในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทะเลาะวิวาทกันไม่มีให้เห็น พบสิ่งของตกหล่นนำมาให้ครูประกาศหาเจ้าของ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปันสิ่งของเกื้อกูลกันมากขึ้น ห้องเรียนและบริเวณเขตรับผิดชอบสะอาดทุกวัน เนื่องจากนักเรียนทุกคนช่วยกันทำหน้าที่ของตนเอง นักเรียนมีจิตอาสาช่วยเหลืองานครูงานโรงเรียนมากยิ่งขึ้นแต่งตัวเรียบร้อย ทำงานส่งตามเวลาที่นัดหมายมากขึ้น มีการเก็บออมเงินจำนวนมากขึ้น สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ประภาส ละราคี (บทคัดย่อ : 2552) ศึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดตาใกล้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ผลการศึกษาพบการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้นั้น ครูจะต้องตระหนักและมีความรู้ ความเข้าในในการพัฒนา โดยได้กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การฝึกอบรมการสอนสอดแทรกคุณธรรม การจัดกิจกรรมเสริม และการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ พระอธิการบัญญัติ เมืองโคตร (บทคัดย่อ : 2552) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดศรีบุญเรืองวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมด้านการประหยัดของนักเรียน โรงเรียนวัดศรีบุญเรืองวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยใช้กลยุทธ์การประชุมระดมสมอง การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมด้าน การประหยัด 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมตั้งกลุ่มเครือข่าย กิจกรรมเข้าค่าย การประหยัด กิจกรรมการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมด้านการประหยัดในคาบเรียนพิเศษ กิจกรรมประชุมครูและผู้ปกครอง และการนิเทศสามารถบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา คือนักเรียนกลุ่มเป้าหมายของโรงเรียนวัดศรีบุญเรืองวิทยาทุกคนมีคุณธรรมจริยธรรมด้านการประหยัดทั้ง 3 ด้านสูงขึ้น และนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ นิตยา รัชชูวงษ์ (บทคัดย่อ : 2552) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนด้านตรงต่อเวลา โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านการตรงต่อเวลา โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้กลยุทธ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศการสอน การจัดกิจกรรมสอดแทรกความมีวินัยในตนเอง วงรอบที่ 1 ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ มีการพัฒนา ความมีวินัยด้านการตรงต่อเวลาได้อย่างเป็นระบบ แต่ยังมีนักเรียนส่วนน้อยขาดความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม จึงมีการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยการใช้กลยุทธ์เดิม เมื่อเสร็จสิ้นลง ทำให้นักเรียนทั้งหมดมีการพัฒนาดีขึ้นตามที่ต้องการ และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ นาถอนงค์ วิริยา (บทคัดย่อ : 2555) ศึกษาเรื่อง การจัดการด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ขิ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการจัดการด้าน การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านคารวะธรรมคือ ครูควรปลูกฝังนักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ครูควรชี้แนะเน้นย้ำนักเรียนทุกครั้ง ที่มีโอกาส ควรจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมทุกปีควรฝึกอบรมโดยใช้กิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดขึ้นในสามัญสำนึกและทำด้วยตนเอง ส่วนด้านสามัคคีธรรมครูควรฝึกให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นให้มากขึ้น ครูควรให้คำแนะนำ ชี้แนะให้แนวคิดเกี่ยวกับความสามัคคีกันในโรงเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีจิตอาสาเน้นการปฏิบัติงานของนักเรียนและด้านปัญญาธรรม ควรจัดกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออกควรนำปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโรงเรียนมาให้นักเรียนฝึก แล้วให้นักเรียนอธิบายเหตุผล หาแนวทางในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาให้ถูกต้อง ฝึกให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันหรือ ทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนภายในศูนย์ควรจัดกิจกรรมเสริมให้นักเรียนได้ฝึกวิเคราะห์ เสนอแนวคิดที่หลากหลายและทำเป็นประจำ และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ศญานันทน์ ศรีโกศลสิริเลิศ (บทคัดย่อ : 2555) ศึกษาเรื่อง การบริหารคุณภาพกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาพบว่า ในการแก้ปัญหาการบริหารคุณภาพกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนา กำหนดอัตลักษณ์ และตัวบ่งชี้ แต่ละกิจกรรม สร้างความตระหนักและความสำคัญในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดกับนักเรียนเพื่อเป็นแนวปฏิบัติและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานและดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ มีการนิเทศ ติดตาม อย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่องจากสถานศึกษาและหน่วยงานตนสังกัด จัดทำรายงานประเมินตนเอง และมีการเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ พระดำรง ละเอียด (บทคัดย่อ : 2556) ศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมด้านคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการของนักเรียนโรงเรียนวัดละลวด อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษาพบแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมด้านคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการของนักเรียนโรงเรียนวัดละลวด อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ 1 ผู้บริหารโรงเรียน ควรดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย โดยกำหนดนโยบาย วางแผน กลยุทธ์ แผนการปฏิบัติงานประจำปี โครงการต่างๆ ในแต่ละภาคเรียนหรือ ปีการศึกษาอย่างชุดเจน โดยมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย ซึ่ง การดำเนินการของกิจกรรมควรมีความต่อเนื่อง สอดคล้องกับวัยและความสนใจของผู้เรียน

3. ผลการติดตามกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม กลยุทธ์พบพระพบธรรม และกลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ประเมินโดยใช้การสังเกตพฤติกรรม และสัมภาษณ์ครูระจำชั้น ผู้ปกครอง และนักเรียน

1) กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาจริยธรรม ผลการพัฒนาหลังการดำเนินกลยุทธ์ พบว่า หลังจากการดำเนินกิจกรรมนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรม จริยธรรม คือ นักเรียนสามารถตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นในด้านคุณธรรมพื้นฐานทั้ง 8 ประการได้ และนักเรียนยังได้แสดงออกด้วยการกระพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นนักเรียนสามารถปฏิบัติตนได้ตามกฎระเบียบของโรงเรียน พฤติกรรมการทะเลาะวิวาทน้อยลงเห็นได้ชัดเจน มีการช่วยเหลือแบ่งปันกันมากขึ้น มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากครูมากขึ้นมีผลงานสำเร็จเห็นได้ชัดเจน สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ประหยัด กันแก้ว (บทคัดย่อ : 2553) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดอรัญคามวารี อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้กิจกรรมชั้นนำ ผลการศึกษาพการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดอรัญคามวารี อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการการฝึกอบรม 3 กิจกรรมที่ศึกษา คือ กิจกรรม เข้าค่ายฝึกอบรมพัฒนาจิต เป็นกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติในการรู้จักสมาทานศีล การปฏิบัติสมาธิ การนำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จนเกิดศรัทธามุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองว่า กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจ มีคุณธรรมจริยธรรมในด้านความมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ และความประหยัด และตั้งใจในการปฏิบัติตามคำแนะนำของวิทยากร และร่วมกิจกรรมตลอดการอบรม และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ สันทัดธุระนนท์ (2556 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนบ้านส้งเปือย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ผลการวิจัยพบแนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนดำเนินการ 2 วงรอบในวงรอบที่ 1 ดำเนินการ 2 แนวทาง ได้แก่ 1) กิจกรรมการเข้าค่ายเพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียน 2) กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในวงรอบที่ 2 ดำเนินการ 1 แนวทางคือกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียน ซึ่งผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมการเข้าค่ายเพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนพบว่าเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้งด้านบริบทที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านปัจจัยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกระบวนการจัดการและด้านผลผลิตของกิจกรรมอยู่ในระดับมาก

2) กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วยกิจกรรมการสอนบูรณาการคุณธรรม จริยธรรมในในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรมเป็นหลัก พบว่า หลังจากการดำเนินกิจกรรมนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมมากขึ้น พฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนมีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจทุกด้าน สอดคล้องกับผลการศึกษาของ สังวาล สิทธิวงค์ (บทคัดย่อ : 2555) ศึกษาเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนโพธิแสนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้การสอนบูรณาการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ ซึ่งผลการดำเนินการพัฒนาส่งผลให้นักเรียนมีระดับพฤติกรรมการปฏิบัติคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดียิ่งขึ้น และสอดคล้องกับผลการศึกษาของแดรนเลย์ (Cranley.2003 : 1531 –A) ได้ศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติในด้านจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในชุมชนเมืองของประเทศไทยการประพฤติปฏิบัติทางด้านจริยธรรมของนักเรียน พบว่า การจัดการเรียนการสอนจริยธรรมศึกษาควรบุรณราการคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และปฏิบัติได้ ผู้บริหารและครูนอกจากอบรมสั่งสอนควร เป็นแบบอย่างที่ดี การฝึกอบรมควรกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และสอดคล้องกับ ผลการศึกษาของ แก่นจันทร์ บุบผาชื่น (บทคัดย่อ : 2554) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ผลการศึกษา พบกิจกรรมการพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมการพัฒนาด้วยการใช้แบบอย่างที่ดีที่มีการปฏิบัติมากที่สุดสองอันดับ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน รองลงมา ได้แก่ รายการโรงเรียนจัดให้มีการนำเนื้อหาคุณธรรมจริยธรรม มาสอนโดยตรงในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายการโรงเรียนมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการอบรมสั่งสอนคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้ปกครองทราบ เช่น จดหมายสื่อสาร แผ่นพับ เสียงตามสาย วิทยุชุมชน เว็บไซด์ ซึ่งมีค่าเท่ากัน ตามลำดับ

3) กลยุทธ์พบพระพบธรรม ประกอบด้วย กิจกรรมพบพระพบธรรม ในวันสำคัญของชาวพุทธ และกิจกรรมคุณธรรมวันสุดสัปดาห์ พบว่า หลังจากการดำเนินกิจกรรมนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประพฤติตนเป็นคนดี ไม่มีการลักขโมย กิริยามารยาทเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ตั้งใจทำงานที่ครูมอบหมายได้เป็นอย่างดี มีความตั้งใจทำงานให้สำเร็จ ส่งงานทันเวลา ปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ ด้วยความนอบน้อม พฤติกรรมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สะท้อนให้เห็นว่ากลยุทธ์พบพระพบธรรมเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติตนตามแบบอย่างผู้มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ซึ่งได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่นักเรียนและชุมชน นักเรียนเห็นแบบอย่างที่ดีนำมาสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม จึงส่งผลให้นักเรียนมีความขยัน รู้จักการประหยัดอดออม มีความซื่อสัตย์สุจริต รักษาระเบียบวินัย สุภาพ อ่อนน้อม รักความสะอาด มีสามัคคีในหมู่คณะ และแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจแบ่งปันกันมากขึ้น สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ลัดดา พร่ำยี่ (2553 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนบ้านไผ่ล้อมโนนสมบัติสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3 ผลการวิจัยพบแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กลยุทธ์พบพระพบธรรม พบว่า

โพสต์โดย Chula : [6 ก.ค. 2563 เวลา 14:40 น.]
อ่าน [3278] ไอพี : 49.49.242.7
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 92,374 ครั้ง
ลำดับดาวเคราะห์
ลำดับดาวเคราะห์

เปิดอ่าน 23,027 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน
ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน

เปิดอ่าน 56,846 ครั้ง
12 ต้นไม้บนโต๊ะทำงานยอดนิยม ประดับไว้ให้สดชื่น
12 ต้นไม้บนโต๊ะทำงานยอดนิยม ประดับไว้ให้สดชื่น

เปิดอ่าน 18,046 ครั้ง
เทศกาล "ไหว้บะจ่าง"
เทศกาล "ไหว้บะจ่าง"

เปิดอ่าน 16,981 ครั้ง
วันครู "ครูไทย" การ์ตูนคิวคน โดย อรุณ วัชรสวัสดิ์
วันครู "ครูไทย" การ์ตูนคิวคน โดย อรุณ วัชรสวัสดิ์

เปิดอ่าน 41,595 ครั้ง
โปรแกรมฝึกอ่านอังกฤษออนไลน์ใครก็เรียนได้ไม่เสียสตางค์กวดวิชา
โปรแกรมฝึกอ่านอังกฤษออนไลน์ใครก็เรียนได้ไม่เสียสตางค์กวดวิชา

เปิดอ่าน 15,854 ครั้ง
เทคนิคง่ายๆ "มายากลโชว์สาว" ถ้วยกาแฟลอยได้
เทคนิคง่ายๆ "มายากลโชว์สาว" ถ้วยกาแฟลอยได้

เปิดอ่าน 25,267 ครั้ง
ยาสามัญประจำบ้าน
ยาสามัญประจำบ้าน

เปิดอ่าน 57,634 ครั้ง
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ

เปิดอ่าน 9,589 ครั้ง
บังคับรถก๊าซแอลพีจีติดสติกเกอร์
บังคับรถก๊าซแอลพีจีติดสติกเกอร์

เปิดอ่าน 18,351 ครั้ง
เรื่องของ "ชะอม"
เรื่องของ "ชะอม"

เปิดอ่าน 10,801 ครั้ง
"ขี้เหล็ก" ช่วยระบาย-สงบประสาท แต่ไม่ใช่ "ยานอนหลับ" โดยตรง
"ขี้เหล็ก" ช่วยระบาย-สงบประสาท แต่ไม่ใช่ "ยานอนหลับ" โดยตรง

เปิดอ่าน 7,061 ครั้ง
ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา
ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา

เปิดอ่าน 35,951 ครั้ง
ประเภทของภาพกราฟิก
ประเภทของภาพกราฟิก

เปิดอ่าน 17,156 ครั้ง
โครงการหลวง 40 ชูไฮไลต์ พืช-ผลไม้ เพื่อสุขภาพ
โครงการหลวง 40 ชูไฮไลต์ พืช-ผลไม้ เพื่อสุขภาพ

เปิดอ่าน 14,249 ครั้ง
ชมย้อนหลังรายการ ตอบโจทย์ ช่องไทยพีบีเอส เรื่อง ม.44 ล้าง "ขั้วอำนาจ" ยกเครื่อง "กระทรวงศึกษาธิการ" (24 มี.ค. 59)
ชมย้อนหลังรายการ ตอบโจทย์ ช่องไทยพีบีเอส เรื่อง ม.44 ล้าง "ขั้วอำนาจ" ยกเครื่อง "กระทรวงศึกษาธิการ" (24 มี.ค. 59)
เปิดอ่าน 11,915 ครั้ง
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นเบาหวาน กินอย่างไรดี
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นเบาหวาน กินอย่างไรดี
เปิดอ่าน 12,141 ครั้ง
ทานผลไม้ ก็ช่วยป้องกันผมร่วงก่อนวัยได้
ทานผลไม้ ก็ช่วยป้องกันผมร่วงก่อนวัยได้
เปิดอ่าน 38,244 ครั้ง
"ใบมะกรูด" แก้ความดันโลหิตสูง
"ใบมะกรูด" แก้ความดันโลหิตสูง
เปิดอ่าน 27,177 ครั้ง
หาที่ฝึกงานยังไงให้โดนและมีโอกาสได้ทำงานต่อ
หาที่ฝึกงานยังไงให้โดนและมีโอกาสได้ทำงานต่อ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ