ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานวิจัยเล่าขานตำนานไทย

รายงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนเปือย (มหพิมพ์สงเคราะห์)

นางบุญสุข ศิริสนธิ โรงเรียนชุมชนบ้านโนนเปือย(มหาพิมพ์สงเคราะห์)

ปีที่ทำการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย จำนวน 2 หน่วย 8 เล่มประกอบด้วย หน่วยที่1 ความเป็นมาของท้องถิ่น จำนวน 6 เล่ม ดังนี้ 1) ย้อนรอยอดีต 2) ตามรอยบรรพชน 3) คนรักษ์บ้านเกิด 4) ล้ำเลิศมรดกอีสาน 5) วันวานยังหวานอยู่ 6) เชิดชูถิ่นไทย หน่วยที่ 2การสร้างสรรค์อารยธรรม จำนวน 2 เล่ม ดังนี้

7) อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีนที่มีต่อดินแดนไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8) อิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ส 15102 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ5E กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส 15102 3. เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังจาก ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่องเล่าขานตำนานไทย หน่วยที่1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วยที่ 2 การสร้างสรรค์อารยธรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย หน่วยที่1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วยที่ 2 การสร้างสรรค์อารยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ ดำเนินการสองวงรอบ คือ ปีการศึกษา 2562-2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชน บ้านโนนเปือย(มหาพิมพ์สงเคราะห์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ กับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยจากการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน คิดเป็น ร้อยละ 81.62 และคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ5E คิดเป็นร้อยละ 81. 26 สรุปได้ว่าประสิทธิภาพของ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ5E ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.62 /82.35 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 2) การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้แบบ5E 5E ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.35 คะแนน และ 24.71 คะแนน ตามลำดับและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ผลการประเมิน ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ5E ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.33

คำสำคัญ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ ชุดสื่อประสมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 เล่ม โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เรื่อง เล่าขานตำนานไทย สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีส่วนประกอบคือ คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนพยายามสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยอาศัยฐานความรู้เดิม สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเอง มี 5 ขั้น

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ อภิปรายกลุ่ม ตั้งประเด็นคำถามที่อยากรู้

ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา กำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ลงมือปฏิบัติ

ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุป นำเสนอ

ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ นำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงความรู้เดิม

ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน เป็นการประเมินผู้เรียนว่า เรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด นำความรู้ไปใช้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ ความสามารถในการเรียนของนักเรียน ซึ่งวัดจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ค่าดัชนีประสิทธิภาพ คือ ค่าที่แสดงความก้าวหน้าของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ เครื่องมือวัดความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่องเล่าขานตำนานไทย

บทนำ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ตามมาตรฐานการเรียนรู้ โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ ต้องส่งเสริมผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 20) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นศาสตร์บูรณาการที่ส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีการศึกษา พร้อมที่จะเป็นผู้นำ เป็นผู้มีส่วนร่วม และเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ประเทศชาติและโลก (ดวงกมล สินเพ็ง, 2553 :30) และเป็นหนึ่งในแปดกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งผู้เรียนทุกคนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาจะต้องเรียนรู้ ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียน มีความเข้าใจการดำรงชีวิตของมนุษย์และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เข้าใจถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้นและยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองที่ดีของชาติและสังคมโลก โดยกำหนดสาระต่างๆไว้ คือ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สาระหน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม สาระเศรษฐศาสตร์ สาระประวัติศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช, 2552: 132) จุดประสงค์ของวิชาสังคมศึกษา มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่มีความรอบรู้และความรับผิดชอบ ให้เกิดสรรถนะที่สำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ความรู้ที่จะตอบสนองและการเป็นพลเมืองดีที่รอบรู้และรับผิดชอบทั้งในสังคมประเทศและสังคมโลก น่าจะเป็นความรู้ที่ผ่านกระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ แยกแยะ เปรียบเทียบ วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมิน จนมองเห็นความหมาย ความสำคัญและความเป็นประโยชน์ นำไปใช้ได้จริง และสามารถยืนยันและตรวจสอบได้ (ลาวัณย์ วิทยาวุฒฑิกุล และคณะ, 2555 :23)

รายวิชาประวัติศาสตร์ กำหนดกรอบเนื้อหาที่ต้องเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 เอาไว้ว่า การเรียนการสอนเน้นในเรื่องของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในอดีต บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอดีต ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก (กรมวิชาการ, 2551 :13)

ปัจจุบันการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ยังประสบปัญหาอยู่หลายประการ โดยเฉพาะสาระการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าโดยธรรมชาติของวิชาประวัติศาสตร์แล้ว ถือว่าเป็นวิชาที่นักเรียนไม่ค่อยให้ความสนใจ เมื่อผนวกกับผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่น่าสนใจ และไม่มีการใช้สื่อที่มีคุณภาพ หลากหลายปัญหาก็ยิ่งมีผลทำให้ผู้เรียนขาดความกระตือรือร้น ไม่สนใจเท่าที่ควร ขาดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนเพราะขาดสิ่งเร้า ไม่เข้าใจหลักการ ทฤษฎี ทักษะกระบวนการ อีกทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถสรุปประเด็นสำคัญของเนื้อหาที่เรียน จากปัญหาที่เกิดขึ้น ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเร่งด่วน

จากผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ปีการศึกษา 2558-2559 มีคะแนนเฉลี่ยในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ส 4.1 และ ส 4.2 ของโรงเรียนชุมชนบ้านโนนเปือยฯ อยู่ที่ 52.94 ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ ที่ร้อยละ 60 จึงเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนต้องหาวิธีการที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของมาตรฐานนี้ให้สูงขึ้น

จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยตระหนักและสนใจที่จะศึกษาแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ที่ต่างไปจากรูปแบบเดิม ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวถึง การจัดการเรียนรู้ ที่สามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดของนักเรียนได้เป็นอย่างดี คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นการบูรณาการที่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระวิทยาศาสตร์กับการพัฒนากระบวนการคิด การสำรวจตรวจสอบ เพื่อการค้นพบและแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการปลูกฝังคุณลักษณะของวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก ที่สำคัญที่สุดก็คือ การพัฒนาและปลูกฝังให้เด็ก คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ซึ่งกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ เป็นต้น (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2549 :37-38)

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เป็นการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีแบบสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนเอง โดยมีครูเป็นผู้กำกับ กระตุ้น ผู้อำนวยความสะดวก ซักถามและจัดสถานการณ์ให้เหมาะสมกับความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและเชื่อมโยงความรู้เอง จนเกิดการเรียนรู้เองอย่างมีความหมาย เก็บไว้ในส่วนความจำระยะยาว เหมาะสมในการนำมาช่วยพัฒนาทักษะการคิดของเด็กไทย

จากแนวคิดดังกล่าว จะเห็นว่า การสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เหมาะที่จะนำมาใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เนื่องจากช่วยให้นักเรียนสร้างความเข้าใจได้ลึกซึ้ง เกิดความคิดรวบยอดที่ชัดเจน มั่นคง และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพ ค่านิยม ทัศนคติและช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะทางปัญญาและการคิดอย่างมีเหตุผลสอดคล้องกับวัชรา เล่าเรียนดี (2550 : 77) ที่กล่าวถึงข้อดีของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ไว้ว่า นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง คำตอบที่ได้ มาจากการสืบเสาะและสรุปด้วยตัวของนักเรียนเอง จึงจำได้นาน เพราะจำด้วยความเข้าใจใน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ มีส่วนสำคัญที่จะเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E มาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยระบวนการเรียนรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย

2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของ ชุดกิจกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ5E กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส 15102

3. เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังจาก ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่องเล่าขานตำนานไทย

4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ทำให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ครูได้ค้นพบวิธีการ

สอนที่เหมาะสมกับนักเรียน ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อไป

ใช้ชุดกิจกรรม เรื่องเล่าขานตำนานไทย

ซึ่งเป็นแนวทางให้ผู้สนใจศึกษาค้นคว้า

วิธีดำเนินการวิจัย

4.1 กลุ่มเป้าหมาย / ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนเปือยฯ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน

4.2 แบบแผนการวิจัย

เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียว สอบก่อน

เรียนและหลังเรียน (One group pretest posttest design)

4.3 เครื่องมือในการวิจัย

(1) แผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการคิดขั้นสูง (Thai Language for Communication) แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E จำนวน 18 แผน (...18...ชั่วโมง)

(2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E จำนวน 8 เล่ม

(3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

(4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E

4.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนเปือย(มหาพิมพ์สงเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 21 คนและปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนการทดลอง

1. ดำเนินการสร้างเครื่องมือ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการคิดขั้นสูง แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E

2. สร้างความคุ้นเคยกับนักเรียนและแนะนำวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)

ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำ

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน จำนวน 30 ข้อ

ขั้นที่ 2 ขั้นทดลอง

ผู้วิจัยนำแผนแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการคิดขั้นสูง แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E จำนวน 18 แผน ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นเวลา 18 สัปดาห์ ๆ ละ

1 ชั่วโมง

ขั้นที่ 3 ขั้นหลังการทดลอง

หลังจากการเรียนรู้ครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว ผู้วิจัยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 30 ข้อและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)

4.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุด

กิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง

เล่าขานตำนานไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สถิติ ดังนี้

ค่าร้อยละ (Percentage)

ค่าเฉลี่ย (Mean)

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

วิเคราะห์หาคุณภาพของ

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หาความเที่ยงตรง โดยการ

หาค่าเฉลี่ยดูดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

หาค่าอำนาจการจำแนก

แบบทดสอบรายข้อตามวิธีการเบรนแนน (Brennan)

หาค่าความเชื่อมั่น

แบบทดสอบรายข้อตามวิธีการโลเวทท์ (Lovett)

หาค่าความยากง่าย

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายข้อ

วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของชุด

กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เล่าขานตำนานไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ร้อยละ

วิเคราะห์ผลการพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เล่าขานตำนานไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean)

วิเคราะห์ผลการศึกษาความพึง

พอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เล่าขานตำนานไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

6.อภิปรายผล

จากผลการพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย หน่วยที่1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วยที่ 2 การสร้างสรรค์อารยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระ ประวัติศาสตร์ ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย หน่วยที่ 1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วยที่ 2 การสร้างสรรค์อารยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.62/82.35 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หมายความว่า นักเรียนทั้งหมดได้คะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียน และจากการทำชุดกิจกรรมด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่องเล่าขานตำนานไทยหน่วยที่1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วยที่ 2 การสร้างสรรค์อารยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 81.62 และคะแนนจากแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 82.35 แสดงให้เห็นว่า ว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย หน่วยที่ 1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วยที่ 2 การสร้างสรรค์อารยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ เนื่องจากได้ดำเนินการตามหลักการสร้างชุดกิจกรรมอย่างมีระบบ โดยศึกษาจากหลักสูตรและวิเคราะห์เนื้อหากิจกรรม กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน อีกทั้งผ่านการกลั่นกรองจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5ท่าน และได้ทดลองใช้และนำมาปรับปรุงให้ดีที่สุดก่อนนำไปทดลองจริงกับกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยครั้งนี้ สอดคล้องกับงานวิจัยของสัมฤทธิ์ บุญเฉลียว (2552 : 26) ได้กล่าวว่า ชุดการสอนเป็นสื่อที่มีการบูรณาการนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ และความถนัดของตน ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับคำทฤษฎีของ John Dewey (สมศรี คงวงศ์ 2548 : 13) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด เรียนรู้โดยการกระทำและฝึกปฏิบัติจริง ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนควรใช้กลวิธีและเทคนิคต่างๆเพื่อจูงใจให้นักเรียนอยากรู้อยากเห็น และพยายามส่งเสริมให้ประสบผลสำเร็จตามความสามารถขอแต่ละบุคคล และสอดคล้องกับหลักการสร้างชุดการสอน ซึ่งสอดคล้องกับ สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ (2545 : 57-58) ที่ว่าชุดการสอนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถ ความสนใจ ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสฝึกการตัดสินใจและการทำงานร่วมกับกลุ่ม สอดคล้องกับงานวิจัยของ นุจรินทร์ สิทธิเลิศประสิทธ์ (2550 : 68) ได้ทำการวิจัยการพัฒนา ชุดการสอน เรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ จังหวัดลพบุรี ผลการวิจัยพบว่า ชุดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.25/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สอดคล้องกับงานวิจัยของ พงษ์ศักดิ์ ปัญญาดี (2550 : บทคัดย่อ) ได้สร้างชุดการสอนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่าชุดการสอนทุกชุดโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ชุดการสอน มีประสิทธิภาพ 81.68/76.15 สอดคล้อกับงานวิจัยของ ทองแดง สุกเหลืองและคณะ (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 ท่าน พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก และประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนพิธี ครั้งที่ 1 ทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 9 คน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.99/ 85.28 ครั้งที่ 2 ทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 50 คน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.75/ 81.60 สอดคล้องกับงานวิจัยของ หอง ลันไธสง (2551 : บทคัดย่อ) ได้พัฒนาชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ วัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สอดคล้องกับงานวิจัยของ จุฑามาศ คาโส และคณะ (2551: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาสาระเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1) ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพ 80.66/ 82.10 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ซ่อนกลิ่น เพียรกสิกรรม (2551 : บทคัดย่อ) ได้พัฒนา ชุดการสอน วิชาประวัติศาสตร์ไทย เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนมีประสิทธิภาพ 82.30/81.00 เป็นไปตามเกณฑ์80/80 สอดคล้องกับงานวิจัยของสุดารัตน์ คำราชและคณะ (2551 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัย พบว่า (1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่านมีความเหมาะสม ในระดับมาก (2) ชุดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.69/ 79.94 สอดคล้องกับงานวิจัยของ จริญญา สุวรรณพิมพ์ (2552 : 66) ได้พัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่4 เรื่อง พืช ผลการวิจัยปรากฏว่า ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.70/83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของอนงค์ สีหาพงษ์ (2553 : 134) ได้พัฒนาชุดการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ผลการวิจัยปรากฏว่าชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.03/84.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้และสอดคล้องกับงานวิจัยของ นพพร วิชชาจารณ์ (2553 : 84-85) ได้ศึกษาการสร้างชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการในการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีประสิทธิภาพ 85.192/88.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง เล่าขานตำนานไทย หน่วยที่ 1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วยที่ 2 การสร้างสรรค์อารยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส15102 ที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน จากการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างการทดสอบหลังเรียนและทดสอบก่อนเรียน โดยการทดสอบค่าที ( t-test) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนและก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งหมายถึง การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย 5 ขั้นคือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้และขั้นประเมินผล อีกทั้งในการพัฒนาชุดกิจกรรมนั้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างอย่างมีหลักการเป็นลำดับขั้นตอน กล่าวคือ ผ่านการศึกษาหลักสูตร เอกสารประกอบหลักสูตร หลักการ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง การสร้างแบบทดสอบสอดคล้องกับเนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและพฤติกรรมที่ต้องการวัดตามแนวคิดของบลูม ได้แก่ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ มีการนำสื่อประสมที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชาและประสบการณ์ นำชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความชัดเจนของภาษาและความเหมาะสมของกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ แล้วนำข้อเสนอนะของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขและนำไปทดลองใช้กับนักเรียน

ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำข้อบกพร่องมาแก้ไขแล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลให้ชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ นุจรินทร์ สิทธิเลิศประสิทธ์ (2550 : 68) ได้ทำการวิจัยการพัฒนาชุดการสอน เรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 4 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ จังหวัดลพบุรี ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทองแดง สุกเหลืองและคณะ (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนพิธี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับงานวิจัยของจุฑามาศ คาโส และคณะ (2551: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาสาระเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่1) ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ซ่อนกลิ่น เพียรกสิกรรม (2551 : บทคัดย่อ) ได้พัฒนาชุดการสอน วิชาประวัติศาสตร์ไทย เรื่อง อาณาจักรสุโขทัยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดการสอน มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.60 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ นพพร วิชชาจารณ์ (2553 : 84-85) ได้ศึกษาการสร้างชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการในการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (2555 : 77) ได้ทำการวิจัยผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ (5E)มีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์คะแนนเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุธาทิพย์ คนโทพรมราช (2553 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง “ผลการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ผังกราฟฟิกประกอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่1” ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ผังกราฟฟิกประกอบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทาการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียน ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ75 ของคะแนนเต็ม สอดคล้องกับงานวิจัยของ อรทัย ดาษดา(2555 : 87) ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาชุดการสอน เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัย พบว่า ชุดการสอน เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.42/83.08 บรูเนอร์ (Bluner,1968 : 159) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่นักเรียนค้นพบด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจภายในมากกว่าการเรียนแบบท่องจำ ทำให้ปัญญาของนักเรียนฉลาดขึ้น ทำให้นักเรียนเป็นนักสร้างสรรค์ เป็นผู้ที่สามารถจัดระเบียบสิ่งที่พบเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนด้วยวิธีนี้จะช่วยให้นักเรียนจดจำความรู้ ได้ดีกว่าการเรียนด้วยวิธีอื่น Folkman (2000 : 456A) ได้ศึกษาหนทางการแสวงหาความรู้ต่อการศึกษาการปฏิบัติในการเรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเองในระหว่างการเรียนกลุ่มย่อย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ โดยผ่านการฝึกฝนด้วยตนเอง ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมในกระบวนการกลุ่มทุกคนได้ฝึกปฏิบัติ โดยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและเพื่อพัฒนาตนเอง ได้เชื่อมโยงความรู้เก่าสู่ความรู้ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงในคำตอบด้วยเหตุและผล และยอมรับในการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เป็นการเรียนรู้ที่เป็นพฤติกรรมการปฏิบัติด้วยตนเอง พบปัญหาและอุปสรรค ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ ยอมรับและเคารพในความจริงแห่งโลก ซึ่งการเรียนรู้แบบสืบเสาะและการเรียนรู้จากทักษะ Model II เป็นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ลดความยากง่ายในการปฏิบัติลงได้ แต่มีข้อจำกัดในการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยตนเอง เนื่องจากว่ามีนักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้น้อย ถ้าหากในอนาคต มีผู้เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะด้วยตนเองคงได้รับการสนับสนุน และ Haver (2007 : 151) ได้ศึกษาชุดการสอนที่เรียกว่า Multi-Sensory Instruction package ( MIP) กับนักเรียนตัวอย่าง 282 คน ใน 3 ระดับ คือ เกรด 6 เกรด 7 และเกรด 8 ข้อมูลทางสถิติ สนับสนุนว่า การใช้ชุดการสอนว่า นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ดัชนีประสิทธิผลชุดกิจกรรมการ

เรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.6617 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนด้วยชุดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 66.16 ทั้งนี้ เนื่องจากชุดกิจกรรมการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ศึกษา หลักการ ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการจัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถของนักเรียน เร้าความสนใจ ฝึกจากง่ายไปหายาก คำนึงถึงประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E มาใช้เป็นขั้นตอนในกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ลำดับความคิด ขั้นตอนในการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะ การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้นำหลักการสร้างที่คำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆด้าน เพื่อให้ผู้เรียนได้สืบเสาะหาความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ นาริน เงินบำรุง (2552 : 85) ที่พัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานแสงและระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 โดยมีประสิทธิภาพ 81.23/80.16 และมีผลทำให้ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ .69 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ซ่อนกลิ่น เพียรกสิกิจ (2551 : บทคัดย่อ) ได้พัฒนาชุดการสอน วิชาประวัติศาสตร์ไทย เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 โดยมีประสิทธิภาพ 82.30/81.00 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.60 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ รัตนา ยอดวันดี (2552 : 96) ที่พัฒนาชุดการสอน เรื่อง อวัยวะในระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์มีค่า เท่ากับ 0.70

4 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมด้วย

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง เล่าขานตำนานไทย หน่วยที่ 1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วย ที่2 การสร้างสรรค์อารยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัย พบว่าโดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.18 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม ระดับมาก ซึ่งแบบวัดความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้ ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับชุดกิจกรรมใน 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และสื่อการสอน และด้านครูผู้สอน ซึ่งด้านเนื้อหาชุดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาหาความรู้ 5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย หน่วยที่ 1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วย ที่2 การสร้างสรรค์อารยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบที่มีความชัดเจนและเหมาะสม คือ มีการจัดกิจกรรม แบบทดสอบ บัตรคำถาม และมีเนื้อหาที่มีภาพประกอบ กิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัติในชุดกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นรายบุคคลและร่วมกับกลุ่ม มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นักเรียนกล้าแสดงออก ทำให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม เนื้อหาที่ได้ศึกษาในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปอธิบายถึงสถานการณ์และกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พงษ์ศักดิ์ ปัญญาดี (2550 : บทคัดย่อ) พงษ์ศักดิ์ ปัญญาดี (2550 : บทคัดย่อ) ได้สร้างชุดการสอนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่าชุดการสอนทุกชุดโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ชุดการสอน มีประสิทธิภาพ 81.68/76.15 และนักเรียนมีความพึงพอใจที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชา พระพุทธศาสนา อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของจุฑามาศ คาโสและคณะ (2551: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาสาระเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่1) ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพ 80.66/82.10 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุดารัตน์ คำราชและคณะ (2551 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชนากานต์ โชติพิรัตน์ (2557 : 70) ที่พบว่าการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนทำให้เรียนรู้ได้อย่างเพลิดเพลิน ส่งผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของกนกรรณ ก้อนจินดา (2550 : 90) ที่พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทองแดง สุกเหลืองและคณะ (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนพิธี อยู่ในระดับ

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะทั่วไป

จากการศึกษา พบว่า ชุดกิจกรรม

การเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ5E เรื่อง เล่าขานตำนานไทย หน่วยที่ 1 ความเป็นมาของท้องถิ่น หน่วยที่ 2 การสร้างสรรค์อารยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ส 15102 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวิศาสตร์สูงขึ้น นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ เกิดระบวนการเรียนรู้ การทำงานเป็นกลุ่ม สามารถนำความรู้ ทักษะกระบวนการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้มีการพัฒนาชุดกิจกรรมให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

การสร้างชุดกิจกรรม ควรบรรจุ

เนื้อหาให้เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และความสนใจของนักเรียน จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจะทำให้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดียิ่งขึ้น

การสร้างชุดกิจกรรม ควรคำนึงถึง

เวลาในการประกอบกิจกรรม เนื้อหาไม่ควรมาก

เกินไป จะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย สนใจน้อยลง ให้อิสระกับนักเรียนในการตอบคำถาม .ในบัตรคำถามควรมีภาพประกอบเพื่อเร้าความสนใจ

การนำชุดกิจกรรมไปใช้ ครูผู้สอน

ต้องศึกษารายละเอียดและคู่มือการใช้อย่างละเอียด จะต้องตรวจสอบสื่อ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้สามารถใช้ได้อย่างสมบูรณ์

การวัดและประเมินผล ครูผู้สอน

ควรใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม

ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป

ควรมีการศึกษา เพื่อพัฒนาชุด

กิจกรรม สาระประวัติศาสตร์ในหน่วยอื่นๆ และ

ในระดับชั้นอื่น เพื่อให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำได้ศึกษาและพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

ควรมีการสร้างชุดกิจกรรมที่มี

เนื้อหาบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เช่น

ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ในรายวิชานั้นๆ

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. และที่แก้ไข

เพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมฯ : อักษรไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

____________ . (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กรุงเทพมหานคร : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

____________ (2552) คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสารการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ

วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ.

จริญญา สุวรรณพิมพ์ (2552). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบราชธานี.

จุฑามาศ คาโส. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องเศรษฐกิจ

พอเพียง รายวิชาสาระเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1). การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม.,

มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ซ่อนกลิ่น เพียรกสิกรรม. 2551.การพัฒนาชุดการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย เรื่องอาณาจักร

สุโขทัยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . วิทยานิพนธ์ ค.ม. : นครสวรรค์ :

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

ทองแดง สุกเหลืองและคณะ. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนพิธี กลุ่มสาระ

สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้า

ด้วยตนเอง กศ.ม. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ลาวัณย์ วิทยาวุฒิกุล และคณะ (2543). คู่มือการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทย ส 208

ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. กรุงเทพฯ :

ไทยวัฒนาพานิช.

พงษ์ศักดิ์ ปัญญาดี. (2550). การสร้างชุดการสอนวิชาพุทธศาสนา สำหรับนัเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. : อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัย

วชินี บุญญพาพงศ์. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พืชและสัตว์ ทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

จากการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์

มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครราชสีมา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน

เป็นสำคัญ. พิมพ์รั้งที่ 3. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชาการ,กรม. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินคาและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

___________ . (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

อนงค์ สีหาพงษ์. (2553). การพัฒนาชุดการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน

ช่วงชั้นที่3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สัมฤทธิ์ บุญเฉลี่ย. (2552). การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทาศาสตร์ เรื่อง สาร

ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

ราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ : ประวัติศาสตร์. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด, 2551.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,สถาบัน. (มปท) เอกสารประกอบการประชุม

เชิงปฏิบัติการเผยแพร่ ขยายผล และอบรมรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบวัฏจักร

สืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง. กรุงเทพ : มปท.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,สถาบัน. (2546). เอกสารเสริมความรู้คณิตศาสตร์

ระดับประถมศึกษา เล่ม2. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. 2545. 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

หอง ลันไธสง. (2551). การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

เรื่องหลักธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. : มหาวิทยาลัย

ราชภัฎอุบลราชธานี.

อนงค์ สีหาพงษ์. (2553). การพัฒนาชุดการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่3.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

Bruner, Jerome S. (1968). The Inquiry in Handbook Secondary School. New jersey :

Prentice-Hill Englewood clifts.

โพสต์โดย ครูหมี : [5 มิ.ย. 2563 เวลา 12:04 น.]
อ่าน [4276] ไอพี : 184.22.199.104
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 11,551 ครั้ง
ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือและหนังสือเสียง "สอนนอกกรอบ : ยุทธวิธีจับใจศิษย์"
ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือและหนังสือเสียง "สอนนอกกรอบ : ยุทธวิธีจับใจศิษย์"

เปิดอ่าน 1,737 ครั้ง
วิธีปลูกผักอีตู่ (แมงลัก) ในกระถาง
วิธีปลูกผักอีตู่ (แมงลัก) ในกระถาง

เปิดอ่าน 8,510 ครั้ง
อะโดบีเผยเอเชีย-แปซิฟิกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตสูงสุดในโลก
อะโดบีเผยเอเชีย-แปซิฟิกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตสูงสุดในโลก

เปิดอ่าน 38,181 ครั้ง
จิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย

เปิดอ่าน 35,447 ครั้ง
การจัดคนเข้าพักบ้านราชการ
การจัดคนเข้าพักบ้านราชการ

เปิดอ่าน 23,436 ครั้ง
"ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล
"ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล

เปิดอ่าน 33,908 ครั้ง
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน

เปิดอ่าน 155,897 ครั้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

เปิดอ่าน 10,152 ครั้ง
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ

เปิดอ่าน 8,791 ครั้ง
กำหนดมาตรฐานใหม่เครื่องชาร์จ ครอบจักรวาล ใช้ได้ทุกยี่ห้อ
กำหนดมาตรฐานใหม่เครื่องชาร์จ ครอบจักรวาล ใช้ได้ทุกยี่ห้อ

เปิดอ่าน 17,955 ครั้ง
ไม้มงคลประจำวันเกิด ปลูกเสริมโชคลาภ
ไม้มงคลประจำวันเกิด ปลูกเสริมโชคลาภ

เปิดอ่าน 30,537 ครั้ง
ยาสระผมเข้าตาบ่อย ๆ เป็นอันตรายต่อดวงตามั้ย
ยาสระผมเข้าตาบ่อย ๆ เป็นอันตรายต่อดวงตามั้ย

เปิดอ่าน 54,640 ครั้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้

เปิดอ่าน 43,265 ครั้ง
พุทธคุณ 3
พุทธคุณ 3

เปิดอ่าน 24,910 ครั้ง
4 ข้อควรทำคลายบาดเจ็บจากกีฬา
4 ข้อควรทำคลายบาดเจ็บจากกีฬา

เปิดอ่าน 14,558 ครั้ง
ความรักของแม่ ช่วย"สมอง"ลูกขยาย
ความรักของแม่ ช่วย"สมอง"ลูกขยาย
เปิดอ่าน 15,616 ครั้ง
8 เทคนิครักษาดอกกุหลาบให้อยู่ได้นานขึ้น
8 เทคนิครักษาดอกกุหลาบให้อยู่ได้นานขึ้น
เปิดอ่าน 9,144 ครั้ง
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
เปิดอ่าน 26,062 ครั้ง
แมงมุม
แมงมุม
เปิดอ่าน 14,309 ครั้ง
ระวัง! ของกินเล่นพลังงานสูง
ระวัง! ของกินเล่นพลังงานสูง

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ