ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้าน “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดีดนตรียอด มารยาทเยี่ยม” โดยใช้ SKWK MODEL โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่

การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้าน “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม” โดยใช้ SKWK MODEL โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น

นายสุรเชษฐ รูปต่ำ

ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

บทคัดย่อ

โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ได้นำ SKWK MODEL มาใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้าน “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม” ซึ่งเป็นคำขวัญของโรงเรียนที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของโรงเรียน นวัตกรรมนี้ได้รับการออกแบบสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสภาพบริบทของโรงเรียน ผ่านระบบการวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการด้วยกระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่งและ PLC ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนกิจกรรมผ่านการดำเนินงาน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรม SKWK MODEL ไปใช้ มีดังนี้

1. ผลการดำเนินงานด้านผลผลิต พบว่า ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนหลังใช้นวัตกรรมรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ก่อนใช้นวัตกรรมที่มีผลอยู่ในระดับปานกลาง และผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้นวัตกรรม SKWK MODEL ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนของผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

2. ผลการดำเนินงานด้านผลลัพธ์ พบว่า หลังการดำเนินการทั้ง 4 โครงการ ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้าน “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม” ในทางที่ดีขึ้น เช่น ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เอาใจใส่ในหน้าที่ของตนเอง ผู้เรียนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ นอบน้อม ยิ้มไหว้ทักทาย ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี ผู้เรียนมีความเข้าใจในความสามารถของตนเอง และแสดงออกได้อย่างมีเหตุผลและถูกต้อง และยังส่งผลให้ผู้เรียนได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่างๆทั้งระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติ เป็นที่ประจักษ์ และผู้เรียนทั้งด้านดนตรี กีฬา นาฏศิลป์ได้รับเลือกให้ไปแสดงในงานต่างๆ ของชุมชน หน่วยงานราชการและเอกชนภายนอกเสมอมา

ความเป็นมาของนวัตกรรม ความเป็นมาของผลงานที่จัดทำ

พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของรัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว คือการสืบสานพระราชปณิธานหรือพระราชกระแสรับสั่งรัชกาลที่ 9 ในการสร้างคนดี ซึ่งการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมืองนั้นต้องหาแนวทางสร้างคนดีก่อน แล้วจึงจะพัฒนาให้เป็นคนเก่ง ครูต้องมีศรัทธาที่แรงกล้าเพื่อทำให้เด็กเป็นคนดี คือ สิ่งที่สอนและอบรมผู้เรียนให้มีองค์ความรู้มีอุปนิสัยติดตัว 5 ด้าน คือ ศีลธรรม จริยธรรม มารยาท วินัย และวัฒนธรรม เพื่อให้คนไทยเป็นผู้มีมารยาท มีวินัย มีความรับผิดชอบในหน้าที่ และเป็นพลเมืองดีของชาติโดย นอกจากนั้น การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่เด็กมีทัศนคติที่ถูกต้อง มีอุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพและมีงานทำ เน้นการสร้างทัศนคติ (Attitude) ให้เด็กรู้ถูก รู้ผิด ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง และพบว่าความคาดหวังในเด็กของประเทศไทย คือ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีน้ำใจ การอบรมจนเกิดเป็นนิสัยประจำชาติ การสร้างเด็กเพื่อเป็นคนในอนาคตของชาติที่มีการศึกษา และสุดท้ายคือการศึกษา ในภาพรวมทำอย่างไรให้เยาวชนมีความสนใจและเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องของสถาบัน ความเป็นชาติและ ประวัติศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงมี พ.ศ.2517) ว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ศาสตร์พระราชา คือ แนวทางการพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยเริ่มต้นจากการพึ่งพาตนเองและรวมตัวกันเป็นกลุ่มสร้างองค์ความรู้ สร้างการรับรู้เข้าใจถึงปัญหาที่ผ่านมา ให้มีการเติบโตในทุกระดับอย่างมีคุณภาพ ซึ่งได้ถูกนำไปพัฒนาเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ( พ.ศ.2560 – 2579 ) ซึ่งใช้เป็นกรอบแนวทางของ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน” เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทย ให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ มีความพร้อมทั้งทางกาย ใจ สติปัญญา มีความเป็นสากลมีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีคุณธรรมจริยธรรม รู้คุณค่าความเป็นไทย

จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ( พ.ศ.2560 – 2579 ) ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ไว้เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่การมีเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ การดำรงอยู่อย่างมั่นคง ยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติ การดำรงอยู่อย่างมั่นคงของชาติ และประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ คนไทยมีความสุข อยู่ดี กินดี สังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ชาตินี้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนา “ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน” เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ มีความพร้อมทั้งทางกาย ใจ สติปัญญา มีความเป็นสากล มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีคุณธรรมจริยธรรม รู้คุณค่าความเป็นไทย และมีครอบครัวที่มั่นคง

เป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ในการพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีวินัย มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีความเจริญงอกงามทางจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียงและมีความเป็นไทย ตลอดจนยุทธศาสตร์ที่ 1 ในการพัฒนาประเทศ คือ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มีแนวทางการพัฒนา โดยปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ พัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะความรู้ และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า โดยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม พัฒนาเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน ส่งเสริมแรงงานให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่เป็นไปตามความต้องการของตลาดงาน ผลักดันให้สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็ง ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 คือ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ และดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในโลกศตวรรษที่ 21

โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ก่อตั้งเมื่อปี 16 เมษายน พ.ศ. 2516 เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบสหศึกษา 2 ห้องเรียน โดยอาศัยสถานที่หอประชุมโรงเรียนกระนวน และปี 2518 ได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน บนเนื้อที่ 52 ไร่ 18 ตารางวา พ.ศ.2546 ได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4 และได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) จนถึงปัจจุบัน โดยมีเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนประกอบด้วย 5 ตำบล คือตำบลหนองโก ตำบลหนองโน ตำบลหนองกุงใหญ่ ตำบลห้วยโจด และตำบลน้ำอ้อม และมีพื้นที่รอยต่อของ 3 จังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงมีนักเรียนอีกส่วนมาจากทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว เนื่องจาก โรงเรียนศรีกระนวน วิทยาคม จัดเป็นโรงเรียนยอดนิยมของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีอัตราการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนจำนวนมาก ซึ่งนักเรียนที่มาจากหลากหลายครอบครัว วัฒนธรรม ย่อมมีความแตกต่าง จากการออกเยี่ยมบ้านของครูที่ปรึกษาตามการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับ ตายาย ปู่ย่า น้าอา ญาติที่ไม่ใช่พ่อแม่ พ่อแม่อาจหย่าร้าง แต่งงานใหม่ มีครอบครัวใหม่ หรือพ่อแม่ทำงานที่อื่น นักเรียนจึงมีความเสี่ยงอยู่แล้วที่จะเกิดปัญหามาจากครอบครัว จากความรักความอบอุ่น ซึ่งเสี่ยงต่อการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสพยาเสพติด เล่นเกม ติดการพนัน ที่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทดลอง หรือคิดว่าทำให้มีความสุข คลายความทุกข์กังวลได้ในบางขณะ ดังนั้น เด็กที่มีสุขภาพจิตที่ดี ย่อมอยู่บนสุขภาพกายที่ดี สุขภาพกายที่ดี ย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิต และจิตใจที่ดี ร่างกายที่แข็งแรง ย่อมทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพในตนเอง เป็นบุคคลที่พร้อมซึ่งสติปัญญา กิริมารยาท มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมด้านการเรียนที่ดี ตามคำขวัญของโรงเรียน คือ “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม”

เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนให้เป็นไปตามคำขวัญของโรงเรียน โรงเรียน ศรีกระนวนวิทยาคม จึงได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน SKWK MODEL โดยมีโครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข เป็นหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่งและแนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ ดำเนินการออกแบบนวัตกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน บริบทของท้องถิ่น เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมาย

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้ SKWK MODEL

เพื่อนำ SKWK MODEL ไปใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวทาง

การดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

เพื่อประเมินความพึงพอใจในการนำ SKWK MODEL ไปใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

ขอบเขตของการศึกษา

ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย

1.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 167 คน

1.1.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน

1.1.3 นักเรียน จำนวน 2,745 คน

1.1.4 ผู้ปกครอง จำนวน 2,745 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้

การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้อง ส่วนการศึกษาความพึงพอใจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวนตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan,1970 อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล,2543) ประกอบด้วย

1.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 118 คน

1.1.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน

1.1.3 นักเรียน จำนวน 338 คน

1.1.4 ผู้ปกครอง จำนวน 338 คน

2. ขอบเขตด้านเนื้อหา

2.1 ด้านผลผลิต ประเมินผลการดำเนินงานจาก

1) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามคำขวัญของโรงเรียน 4 ด้าน คือ การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม

2) ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยใช้ SKWK MODEL

2.2 ด้านผลลัพธ์ ประเมินผลการดำเนินงานจากประเด็น ดังนี้

1) ผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

2) ผลงานของนักเรียนในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติ ในด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม

3. ขอบเขตด้านระยะเวลา

ระยะเวลาในการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2561-2562

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน หมายถึง ลักษณะพฤติกรรม ด้านการเรียน กีฬา ดนตรี และด้านมารยาท โดย ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ได้กำหนดขึ้นเป็นพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกที่เป็นเป้าหมายในการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนศรีกระนวน วิทยาคม ดังนี้

1.1 การเรียนเด่น หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึง ความสามารถด้านการเรียน ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างหลากหลาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และ ผลงานทางด้านวิชาการจากการเข้าร่วมแข่งขันทั้งในระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ

1.2 เล่นกีฬาดี หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความสามารถด้านกีฬาของผู้เรียน ได้แก่ การมีสุขภาพกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี ผ่านการประเมินสมรรถนะด้านกีฬาตามที่โรงเรียนกำหนด มีสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตสังคม เป็นผู้ยอมรับ กฎ กติกา ในการแข่งขัน หรือปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม มีผลงานด้านกีฬาจากการเข้าร่วมแข่งขันทั้งในระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ

1.3 ดนตรียอด หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความสามารถด้านดนตรีของผู้เรียน ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านดนตรีอย่างสร้างสรรค์ สามารถเล่นดนตรีอย่างน้อย 1 ชนิด มีผลงานทางด้านดนตรี จากการเข้าร่วมแข่งขันทั้งในระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ

1.4 มารยาทเยี่ยม หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความสามารถด้านมารยาทของผู้เรียน ได้แก่ ผู้เรียนมีสัมมาคารวะ สุภาพ อ่อนน้อม มีวินัย และพฤติกรรมเชิงบวกเป็นที่ยอมรับของสังคม รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นอย่างเข้าใจ ยิ้มไหว้ทักทาย มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แก่ผู้อื่น

2. SKWK MODEL หมายถึง รูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย

S – Sufficient Economy หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

K – Variety of Knowledge ความรู้ที่หลากหลาย

W – World Class Standard School โรงเรียนมาตรฐานสากล

K - Keep Learner Quality ผู้เรียนมีคุณภาพ

3. โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ หมายถึง โครงการที่ส่งเสริมด้านวิชาการของนักเรียน โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ประกอบด้วย กิจกรรมปรับพื้นฐานทางวิชาการและพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 กิจกรรมการแก้ไขปัญหานักเรียนที่ปัญหาด้านผลการเรียน กิจกรรมเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ กิจกรรมห้องสมุดและรักการอ่าน กิจกรรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ กิจกรรมดาราศาสตร์ กิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนด้านเทคโนโลยี กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือและยุวกาชาด กิจกรรมรักษาดินแดน (รด.) กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมห้องเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ

4. โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน หมายถึง โครงการที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ประกอบด้วย กิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ กิจกรรมอบรมค่ายพุทธธรรม กิจกรรมครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน กิจกรรมสอบธรรมศึกษาในโรงเรียน กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมอบรมอานาปานสติสมาธิอย่างพอเพียง กิจกรรมอบรมงามอย่างไทยและประกวดมารยาทไทย กิจกรรมสวดมนต์สรภัญญะ กิจกรรมส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ หมายถึง กิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา นาฏศิลป์ของนักเรียนโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ประกอบด้วย กิจกรรมเข้าค่ายศิลปะ (ART CAMP) กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้าน (โปงลาง) กิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง กิจกรรมวงดนตรีไทย กิจกรรมวงโยธวาทิต กิจกรรมความเป็นเลิศด้านกีฬา กิจกรรมกีฬาภายใน กิจกรรมคณะสี กิจกรรมเด็กไทยดูดี มีพลานามัย กิจกรรมศรีกระนวนมินิมาราธอน

6. โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข หมายถึง การดำเนินงานพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงาน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ที่น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ศูนย์อำนวยการส่งเสริมศาสตร์พระราชาในสถานศึกษา และเกณฑ์ประเมินสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของกลุ่มนโยบายพิเศษ สำนักงานกิจการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ในการดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัย อบายมุข และบุหรี่ในสถานศึกษา โดยใช้ นวัตกรรม “ฮักนะ” (HUGNA Model) น้อมนำศาสตร์พระราชาแก้ปัญหายาเสพติด และอบายมุข อย่างยั่งยืน (ใส่ใจ พึ่งได้ ไร้อคติ มีวิจารณญาณ สานสัมพันธ์ ปันน้ำใจ ไม่หวังผล มวลชนชื่น ศรัทธาตน ล้นความดี)

ประโยชน์ของการศึกษา

ได้รูปแบบในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

สร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการเรียน กีฬา ดนตรี และด้านมารยาท ของผู้เรียนโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม

ผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพ

การออกแบบนวัตกรรม

ในการออกแบบนวัตกรรม SKWK MODEL เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้าน “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม” โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเป็นพื้นฐาน ข้อมูล ในการออกแบบนวัตกรรม ดังนี้

นวัตกรรมและการพัฒนานวัตกรรม

1.1 ความหมายของนวัตกรรม

1.2 ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา

1.3 แนวคิดสำคัญในการออกแบบนวัตกรรม

1.4 ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม

2. หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

3. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้เรียนอันพึงประสงค์

4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

นวัตกรรมและการพัฒนานวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรม

จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ความคิด กระบวนการหรือวิธีการทำงานใหม่ การเปลี่ยนแปลง กิจกรรม ความคิด การมีหรือการปรับปรุงองค์การ รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาหรือกิจกรรมที่โรงเรียนพัฒนาขึ้น

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมที่นำมาใช้ในทางการศึกษา ทั้งการกระทำใหม่ใด ๆ การสร้างสิ่งใหม่ ๆ รวมทั้ง

การพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใด ๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ

นวัตกรรมด้านสื่อการสอน

2) นวัตกรรมด้านการวัดและประเมินผล

3) นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

4) นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

แนวคิดสำคัญในการออกแบบนวัตกรรม

การพัฒนารูปแบบการนิเทศเชิงระบบ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครูระดับ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

2) การบริหารแบบร่วมมือร่วมใจ เพื่อการพัฒนางานวิชาการ ระดับมัธยมศึกษา

3) การบริหารด้วยวงจรเดมมิ่ง เพื่อการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ

4) การพัฒนาการบริหารแบบ TOPSTAR เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

การพัฒนากระบวนการกัลยาณมิตรวิจัย เพื่อเพิ่มทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู

การบริหารงานกิจการนักเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ เพื่อการแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

การพัฒนาการนิเทศภายในแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของ

ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาจิตสำนึกประชาธิปไตยใน

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

9) กระบวนการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้แนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ

1.4 ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม

1) การสร้างและหาประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในขั้นย่อย ๆ ดังนี้

- ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- ยกร่างนวัตกรรม

- เสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

- หาคุณภาพของเครื่องมือ

2) ศึกษาผลการนำไปใช้

- นำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

- ทำการทดสอบผล ประเมินผลการใช้ ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

3) ประเมินผล

- ประเมินผลโดยใช้แบบประเมินผล เชิงปริมาณดังนี้

- การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามคำขวัญของโรงเรียน 4 ด้าน คือ การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม

- ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานการสร้างคุณลักษณะโดย

ใช้ SKWK MODEL

- ประเมินเชิงคุณภาพ ดังนี้

- ผลการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

- ผลงานของนักเรียนในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติ ในด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม

กล่าวโดยสรุป การพัฒนานวัตกรรม คือ การศึกษาเอกสาร ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อคิดค้น สร้าง และพัฒนานวัตกรรมขึ้นมา เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยการยกร่างนวัตกรรม ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบคุณภาพ ปรับปรุง แก้ไข ทดลองใช้ นำไปใช้กับกลุ่มประชากร เก็บข้อมูลกับกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ พิจารณาผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ เพื่อวิเคราะห์และประเมินผล

2. หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

2.1 ความหมายและหลักสำคัญการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาจกล่าวได้ว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชน นักเรียน และองค์กรอื่น ๆ

2.2 หลักสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้ ดังนี้

หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการจัด

การศึกษาจากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาผู้เรียน

หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration or Involvement) เปิดโอกาส

ให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการบริหาร ตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษา ทั้งครู ผู้ปกครองตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนนักเรียน การที่บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและจะรับผิดชอบในการจัดการศึกษามากขึ้น

หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) ในอดีต

การจัดการศึกษาจะทำหลากหลายทั้งวัดและองค์กรในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมามีการโอนการจัดการศึกษาไปให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดเอกภาพและมาตรฐานทางการศึกษา แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ความเจริญต่าง ๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาโดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัด เกิดความล่าช้าและไม่สนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างแท้จริง จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง

หลักการบริหารตนเอง (Self-management) ในระบบการศึกษาทั่วไป มักจะ

กำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง สำหรับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และนโยบายของส่วนรวม แต่มีความเชื่อว่าวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นทำได้หลายวิธี การที่ส่วนกลางทำหน้าที่เพียงกำหนดนโยบายและเป้าหมายแล้วปล่อยให้โรงเรียนมีระบบการบริหารด้วยตนเอง โดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งอาจดำเนินการได้หลากหลายด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมและสถานการณ์ของโรงเรียน ผลที่ได้น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ที่ทุกอย่างกำหนดมาจากส่วนกลาง ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม

หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนด

นโยบายและควบคุมมาตรฐาน มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามกำหนดและมาตรฐานเป็นไปตามกำหนด และเป็นไปตามนโยบายของชาติ

3. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้เรียนอันพึงประสงค์

นักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่านได้เสนอทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้

เช่น ทฤษฎีพัฒนาการบุคลิกภาพของ Erikson ซึ่ง Erikson มีความเห็นว่า ช่วงของวัยรุ่นเป็นช่วงที่จะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของอัตมโนทัศน์ทางลบ หรืออัตมโนทัศน์ทางบวกอย่างเด่นชัดการที่เด็กรู้สึกเกี่ยวกับตนเองว่าอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นทางบวก หรือทางลบจะมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เด็กที่เข้าโรงเรียนด้วยความคาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้ประสบความสำเร็จ มีความสุข มักจะเป็นผู้อาสางาน มีความรับผิดชอบ ซึ่งความคาดหวังของเขาสอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดที่ดีที่มีต่อตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เขาเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชั้นเรียนทั้งในด้านการเรียนและด้านสังคม ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองในทางลบ มักจะมองตนเองว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถจึงไม่ใคร่กระตือรือร้นที่จะรับอาสาทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ใคร่รับผิดชอบซึ่งจะนำไปสู่ความล้มเหลว

สุรางค์ โค้วตระกูล ได้เสนอแนวคิดว่า นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมมีความเชื่อว่า คนทุกคนมีแรงจูงใจที่จะประกอบกิจกรรมอยู่เสมอ ถือว่าแรงจูงใจเป็นแรงขับที่ให้มนุษย์เจริญเติบโตและพัฒนา หรือพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลของ “Growth Principle” หรือ “หลักการความเจริญเติบโต”ภายในตัวของทุกคน Maslow ได้กล่าวถึง ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในขั้นที่ 4 คือ ความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า (Esteem needs) ซึ่งความต้องการนี้จะประกอบด้วยความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ มีความสามารถต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีความสามารถ มีคุณค่าและมีเกียรติ ต้องการได้รับความยกย่องนับถือจากผู้อื่น ผู้ที่มีความสมปรารถนาในความต้องการนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง เป็นคนมีประโยชน์และมีค่าตรงข้ามกับผู้ที่ขาดความต้องการประเภทนี้ จะรู้สึกว่าตนไม่มีความสามารถและมีปมด้อย มองโลกในแง่ร้าย ความต้องการในขั้นนี้เมื่อได้รับการส่งเสริม ก็จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน เอาใจใส่ในงานมากขึ้นเพื่อตอบสนองในความต้องการในขั้นนี้

แรงจูงใจและการเข้าใจถึงพัฒนาการของแต่ละช่วงวัยจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เหมาะสมได้ ดังนั้นการให้แรงเสริมในกิจกรรมการให้คำปรึกษา เช่น คำชมการให้กำลังใจ ทั้งคำพูดและท่าทาง การเอาใจใส่ต่อสมาชิกที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษาอย่างเป็นกันเองซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในด้านความมุ่งมั่นในการทำงานต่อไป

จากแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผู้ศึกษาสรุปได้ว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ หมายถึง การพัฒนาการที่สมวัย มีสุขภาพดีมีสมรรถภาพทางกายสมบูรณ์มีสุขนิสัยที่ดีมีมนุษย์สัมพันธ์อันดี มีความเป็นประชาธิปไตย มีความรู้ทักษะทางเทคนิค สามารถใช้เครื่องมือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว ที่สำคัญควรต้องมีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างผสมผสานในลักษณะต่างขั้วมิติต่างๆ มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญา อารมณ์ สังคม และทักษะความสามารถตลอดจนพฤติกรรมที่แสดงออกต้องสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นได้ และตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดความหมายของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ 8 ประการ ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่าง พอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ ซึ่งโรงเรียนได้กำหนดลงในหลักสูตรโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นอัตลักษณ์ของผู้เรียนโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ตามคำขวัญของโรงเรียน คือ “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม”

การดำเนินการพัฒนานวัตกรรม

แนวคิดของนวัตกรรม SKWK MODEL เป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่ง ทฤษฎีเชิงระบบ และ PLC ระหว่างผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา โดยผ่านการดำเนินกิจกรรมตาม 4 โครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข จนทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มขึ้น มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินงานการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้นวัตกรรม SKWK MODEL

รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอังพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม โดยใช้ SKWK MODEL ดำเนินการพัฒนาด้วยกระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่ง ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวางแผน (Plan)

มีการวางแผนการดำเนินการสร้างนวัตกรรม ดังนี้

ศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม คำขวัญของโรงเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ

นักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านพฤติกรรมนักเรียน พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม มารยาท ด้านการเรียน ด้านการพัฒนาศักยภาพในตัวผู้เรียน เรียงลำดับความสำคัญ ที่ควรพัฒนา พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่ต้องพัฒนาเพื่อตรงตามคำขวัญ อัตลักษณ์อันโดดเด่นของโรงเรียนสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น ชุมชน และสังคม คือ ด้านการเรียน ด้านกีฬา ด้านดนตรี และด้านมารยาท

1.2 กำหนดขอบข่ายของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านการเรียน ด้านกีฬา ด้านดนตรี และด้านมารยาท โดยผู้บริหาร ครู คณะกรรมการบริหารโรงเรียน นักเรียน ร่วมกันวิเคราะห์ เพื่อกำหนดพฤติกรรมเชิงบวกที่บ่งชี้คุณลักษณะดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

ตารางที่ 1 ขอบข่ายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการเรียน ด้านกีฬา ด้านดนตรี และด้านมารยาท

คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกของนักเรียน

ด้านการเรียน

1. ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมวิชาการอย่างหลากหลาย

2. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

3. ผู้เรียนมีผลงานทางด้านวิชาการเป็นที่ประจักษ์

ด้านกีฬา

1. ผู้เรียนผ่านการประเมินสมรรถนะด้านกีฬาตามที่โรงเรียนกำหนด

2. ผู้เรียนมีสุขภาพกายที่แข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี

3. ผู้เรียนเป็นผู้ยอมรับ กฎ กติกา ในการแข่งขัน หรือปฏิบัติตามกฏระเบียบของสังคมได้

4. ผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

5. ผู้เรียนมีผลงานทางด้านกีฬาเป็นที่ประจักษ์

ด้านดนตรี

1. ผู้เรียนมีผลงานทางด้านดนตรีเป็นที่ประจักษ์

2. ผู้เรียนสามารถเล่นดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชนิด

3. ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านดนตรีอย่างสร้างสรรค์

ด้านมารยาท

1. ผู้เรียนมีสัมมาคารวะ สุภาพ อ่อนน้อม

2. ผู้เรียนมีวินัยและพฤติกรรมต่างๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น เป็นที่ยอมรับของสังคม

3. ผู้เรียนรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นอย่างเข้าใจ

4. ผู้เรียนมีพฤติกรรม ยิ้ม ไหว้ ทักทาย

5. ผู้เรียนมีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผือแผ่ แก่ผู้อื่น

1.3 วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของโรงเรียน ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง ร่วมกันวิเคราะห์เพื่อกำหนดแผนงานในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

ตารางที่ 2 แผนงานการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม

วิสัยทัศน์ (Vision) โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพสู่มาตรฐานสากลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ (Mission) พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและหลักสูตรสถานศึกษาเน้นการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นสำคัญตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานสากล

ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ บนพื้นฐานความเป็นไทย

เป้าหมาย (Goal) โรงเรียนบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นักเรียนมีความรู้ คุณธรรมจริยธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทย ไปสู่มาตรฐานสากล

กลยุทธ์ของโรงเรียน (Strategic) พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป้าหมาย การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม

แผนปฏิบัติ แผนการดำเนินงานพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

1. โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ

2. โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน

3. โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์

4. โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

ตัวชี้วัดในการสร้างคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ 1. มีกระบวนการขับเคลื่อนการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทั้งสถานศึกษา

2. นักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดลง

3. มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน

4. มีภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

1.4 ออกแบบนวัตกรรมรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา สภาพบริบท และแผนงานโครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยสร้างนวัตกรรมการปฏิบัติ ในชื่อว่า SKWK MODEL ดังแผนภาพที่ 2

ภาพที่ 2 นวัตกรรม SKWK MODEL

นวัตกรรม SKWK MODEL ประกอบด้วย

S – Sufficient Economy หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

K – Variety of Knowledge ความรู้ที่หลากหลาย

W – World Class Standard School โรงเรียนมาตรฐานสากล

K - Keep Learner Quality ผู้เรียนมีคุณภาพ

โรงเรียนขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้และคุณธรรม เพื่อวางแผนกำหนดกิจกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลาย ผลักดันให้เกิดความรู้ความสามารถด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา และวัฒนธรรมไทย ส่งผลให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก ตามเป้าหมายของโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นเลิศวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการดำเนินงาน (Do)

นวัตกรรม SKWK MODEL ใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียนทั้ง 4 โครงการ ภายใต้การทำงานเป็นกระบวนการวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง PDCA

เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4 ประการ คือ ด้านการเรียน กีฬา ดนตรี และมารยาท ดำเนินการผ่านโครงการ ดังนี้

1. โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม มีกลุ่มบริหารงานวิชาการและกลุ่มสาระการเรียนรู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโครงการด้านวิชาการของนักเรียน โดยดำเนินการจัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปรับพื้นฐานทางวิชาการและพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 กิจกรรมการแก้ไขปัญหานักเรียนที่ปัญหาด้านผลการเรียน กิจกรรมเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ กิจกรรมห้องสมุดและรักการอ่าน กิจกรรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ กิจกรรมดาราศาสตร์ กิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนด้านเทคโนโลยี กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือและ ยุวกาชาด กิจกรรมรักษาดินแดน (รด.) กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมห้องเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ

2. โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม มีงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ดูแลรับผิดชอบในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โดยมีกิจกรรมย่อยที่ใช้ในการดำเนินการ ได้แก่ กิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ กิจกรรมอบรมค่ายพุทธธรรม กิจกรรมครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน กิจกรรมสอบธรรมศึกษาในโรงเรียน กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ กิจกรรมอบรมอานาปานสติ กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมอบรมอานาปานสติสมาธิอย่างพอเพียง กิจกรรมอบรมงามอย่างไทยและประกวดมารยาทไทย กิจกรรมสวดมนต์สรภัญญะ กิจกรรมส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ โดยมีงานดนตรี ฝ่ายโรงเรียนและชุมชนดำเนินงานด้านดนตรี ประกอบด้วย กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้าน(โปงลาง) กิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง กิจกรรมวงดนตรีไทย กิจกรรมวงโยธวาทิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะรับผิดชอบดำเนินงานกิจกรรมด้านศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมเข้าค่ายศิลปะ (ART CAMP) และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมด้านกีฬา ได้แก่ กิจกรรมความเป็นเลิศด้านกีฬา กิจกรรมกีฬาภายใน กิจกรรมคณะสี กิจกรรมเด็กไทยดูดี มีพลานามัย กิจกรรมศรีกระนวนมินิมาราธอน

4. โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตามดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ศูนย์อำนวยการส่งเสริมศาสตร์พระราชาในสถานศึกษา และเกณฑ์ประเมินสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของกลุ่มนโยบายพิเศษ สำนักงานกิจการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ในการดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัย อบายมุข และบุหรี่ในสถานศึกษา โดยใช้นวัตกรรม “ฮักนะ” (HUGNA Model) น้อมนำศาสตร์พระราชาแก้ปัญหายาเสพติด และอบายมุข อย่างยั่งยืน (ใส่ใจ พึ่งได้ ไร้อคติ มีวิจารณญาณ สานสัมพันธ์ ปันน้ำใจ ไม่หวังผล มวลชนชื่น ศรัทธาตน ล้นความดี) เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยดำเนินงานตามแผนที่ 3 คือ แผนการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา (Potential Demand) โดยจัดทำโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ตามแนวคิดและหลักการ “4 ประสาน 2 ค้ำ” ซึ่ง 4 ประสาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน 2 ค้ำ ได้แก่ ตำรวจและพระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชน และ 5 มาตรการ ได้แก่ มาตรการป้องกัน มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ คือ ต้องมียุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่าย และ 2 ไม่ คือ ไม่ปกปิดข้อมูล ไม่ไล่ออก มีการดำเนินการดังนี้

ภาพที่ 3 รูปแบบการดำเนินงานนวัตกรรม HUGNA

นวัตกรรม “ฮักนะ” (HUGNA Model) หมายถึง กระบวนการ ที่น้อมนำศาสตร์พระราชา พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 มาใช้โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของผู้เรียน มีรายละเอียด ดังนี้

เข้าใจ คือ การสร้างให้เกิดความมั่นใจในข้อมูลพื้นฐานด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของโรงเรียนและชุมชน ค้นหารากฐานของปัญหา รวบรวมองค์ความรู้ มี 2 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 รู้ชัดปัญหา รู้ข้อมูลพื้นฐานความต้องการ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น นโยบาย เป้าหมาย ขององค์กร โรงเรียน และชุมชน

ขั้นที่ 2 ศึกษาบริบท ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล โรงเรียน ชุมชน เพื่อค้นหารากฐานของปัญหาที่แท้จริง

เข้าถึง คือ เป็นการสื่อสาร และการสร้างความมีส่วนร่วม โดยมุ่งสร้างความเข้าใจความมั่นใจ ให้ โรงเรียน ชุมชน และ ผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากที่สุด มี 2 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมาย เลือก ประเด็น / แนวทางในการพัฒนาด้วยการมีส่วนร่วม

ขั้นที่ 2 วางแผน ออกแบบ วางแผนออกแบบกระบวนการพัฒนา ด้วยการมีส่วนร่วมและสื่อสารเพื่อให้ความเข้าใจตรงกัน

พัฒนา คือ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ โรงเรียนและชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง ออกแบบหลักสูตรและโปรแกรมการพัฒนา การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติของโรงเรียนและชุมชน รวมทั้ง ให้คำแนะนำ นิเทศ กำกับ ติดตาม และสนับสนุนมี 3 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 ลงมือทำ นำกระบวนการที่ได้วางแผน ออกแบบ ลงสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม มีทีมพี่เลี้ยงให้ คำแนะนำ นิเทศ กำกับ ติดตาม และสนับสนุน

ขั้นที่ 2 นำสะท้อนผล การเรียนรู้การทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำสู่การปรับปรุงการทำงาน ให้ดีขึ้น

ขั้นที่ 3 ดลใจพัฒนาให้ยั่งยืน เสริมสร้างขวัญ กำลังใจ ให้มีจิตสำนึกในการพัฒนา สู่ความยั่งยืน

และโรงเรียนได้เข้ารับการประเมินการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุขของปีการศึกษา 2561 ผลการประเมิน ผ่านการประเมินระดับเพชร ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 เข้ารับการประเมินต่อในระดับประเทศ

ขั้นตอนที่ 3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน (Check)

ผู้บริหารและผู้ได้รับมอบหมายตามสายงาน ได้กำกับ นิเทศ ติดตามการดำเนินงานของโครงการตามภาระหน้าการบริหาร ประชุม หารือ แก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างการดำเนินงาน ดำเนินการร่วมกันแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคีเครือข่าย ตั้งแต่การกำหนดแผนการดำเนินงาน กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กำหนดตัวชี้วัด นิเทศ ติดตามแบบกัลยาณมิตร ให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากร ประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ ดังนี้

ด้านผลผลิต ประเมินผลการดำเนินงาน ดังนี้

1) ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามคำขวัญของโรงเรียน

4 ด้าน คือ การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม

2) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานการพัฒนาคุณลักษณะลักษณะ

อันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้ SKWK MODEL

ด้านผลลัพธ์ ประเมินผลการดำเนินงาน ดังนี้

1) ผลการดำเนินงานโครงการ 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

2) ผลงานของนักเรียนในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติ ในด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม เป็นที่ประจักษ์

1. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ดำเนินการดังนี้

1.1 ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ก่อนและหลังใช้นวัตกรรม SKWK MODEL โดยใช้แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สร้างขึ้น เป็นแบบประเมินระดับคุณภาพที่บ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนด ระดับคุณภาพ 5 ระดับ

คะแนน 5 หมายถึง มีพฤติกรรมระดับ ดีมาก

คะแนน 4 หมายถึง มีพฤติกรรมระดับ ดี

คะแนน 3 หมายถึง มีพฤติกรรมระดับ ปานกลาง

คะแนน 2 หมายถึง มีพฤติกรรมระดับ พอใช้

คะแนน 1 หมายถึง มีพฤติกรรมระดับ ปรับปรุง

1.2 นำแบบประเมินเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน รวมจำนวน 456 คน นำมาวิเคราะห์ผล โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพ

(ทิพยา กิจวิจารณ์, 2553) ดังนี้

ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับคุณภาพ ดีมาก

ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับคุณภาพ ดี

ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับคุณภาพ ปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับคุณภาพ พอใช้

ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

1.3 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนก่อนและหลังใช้นวัตกรรม SKWK MODEL

2. การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้ SKWK MODEL ดำเนินการดังนี้

นำแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้ SKWK MODEL ที่สร้างขึ้น โดยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจมาตราส่วน 5 ระดับ คือ

คะแนน 5 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมมากที่สุด

คะแนน 4 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมมาก

คะแนน 3 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมปานกลาง

คะแนน 2 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมน้อย

คะแนน 1 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมน้อยที่สุด

เก็บรวบรวมกับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง รวมจำนวน 809 คนนำผลมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ และแปลผลตามเกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด,2545)

ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับมาก

ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับน้อย

ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด

ขั้นที่ 4 การรายงานผลการดำเนินงาน (Action)

1. รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพัฒนา โดยจัดทำเป็น รายงานผลการใช้นวัตกรรม SKWK MODEL

2. ทบทวนคุณภาพโดยนำผลการพัฒนา ปัญหาและข้อเสนอแนะมาใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนพัฒนาในการดำเนินการครั้งต่อไปอย่างเป็นระบบ

การมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรม

ในการร่วมวางแผนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้าน “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม” โดยใช้ SKWK MODEL โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น เกิดจากการประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผ่านการวิเคราะห์ สำรวจ วางแผน ออกแบบ วิเคราะห์ จากสภาพปัจจุบันปัญหา ดำเนินการ กำกับ ติดตาม ร่วมปรึกษาหารือ ร่วมดำเนินการ ทั้งผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย สรุปได้ดังนี้

1. ขั้นวางแผน ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง ร่วมกันวิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน สำรวจพฤติกรรมที่พึงประสงค์และพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไข ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ แผนการดำเนินงาน กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตัวชี้วัดพฤติกรรม เสนอผ่านเครือข่ายผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย เพื่อรับรู้ร่วมกันก่อนดำเนินงาน

2. ขั้นดำเนินการและตรวจสอบ ดำเนินการตามโครงการ กิจกรรม จากความร่วมมือของคณะดำเนินการ ได้แก่ ครู ชุมชน ภาคีเครือข่าย นักเรียน โดยการดูแล ให้คำปรึกษา กำกับติดตามโดยผู้บริหาร และคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

3. ขั้นประเมินผล ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเชิงคุณภาพจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ที่มีส่วนร่วมในการประเมิน สะท้อนผล นำเสนอผลการใช้นวัตกรรมต่อสาธารณชน นำเสนอผลงานต่อคณะศึกษาดูงาน และต้นสังกัด

ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมไปใช้

ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรม SKWK MODEL ไปใช้ มีดังนี้

ตอนที่ 1 ผลการดำเนินงานด้านผลผลิต

ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

จากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามพฤติกรรม ตัวบ่งชี้ จากกลุ่ม

ตัวอย่าง ก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม SKWK MODEL จำนวน 456 คน ดังนี้

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้าน “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี

ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม” โดยใช้ SKWK MODEL ของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม

จังหวัดขอนแก่น (N = 456)

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ก่อนใช้นวัตกรรม หลังใช้นวัตกรรม

S.D. แปรผล

S.D. แปรผล

1. ด้านการเรียนเด่น

1.1 ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมวิชาการอย่างหลากหลาย 2.64 0.80 ปานกลาง 4.72 0.45 ดีมาก

1.2 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 3.26 1.12 ปานกลาง 4.43 0.65 ดี

1.3 ผู้เรียนมีผลงานทางด้านวิชาการเป็นที่ประจักษ์ 3.13 1.09 ปานกลาง 4.49 0.85 ดี

เฉลี่ย 3.01 1.00 ปานกลาง 4.55 0.65 ดีมาก

2. ด้านเล่นกีฬาดี

2.1 ผู้เรียนผ่านการประเมินสมรรถนะด้านกีฬาตามที่โรงเรียนกำหนด 3.25 1.12 ปานกลาง 4.55 0.50 ดีมาก

2.2 ผู้เรียนมีสุขภาพกายที่แข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี 2.89 0.94 ปานกลาง 4.76 0.43 ดีมาก

2.3 ผู้เรียนเป็นผู้ยอมรับ กฎ กติกา ในการแข่งขัน หรือปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้ 3.23 1.10 ปานกลาง 4.74 0.44 ดีมาก

2.4 ผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม 2.92 1.03 ปานกลาง 4.67 0.47 ดีมาก

2.5 ผู้เรียนมีผลงานทางด้านกีฬาเป็นที่ประจักษ์ 3.18 1.10 ปานกลาง 4.57 0.50 ดีมาก

เฉลี่ย 3.09 1.06 ปานกลาง 4.66 0.47 ดีมาก

3. ด้านดนตรียอด

3.1 ผู้เรียนมีผลงานทางด้านดนตรีเป็นที่ประจักษ์ 2.51 0.83 ปานกลาง 4.79 0.41 ดีมาก

3.2 ผู้เรียนสามารถเล่นดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชนิด 3.01 1.04 ปานกลาง 4.68 0.47 ดีมาก

3.3 ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านดนตรีอย่างสร้างสรรค์ 3.12 1.18 ปานกลาง 4.61 0.49 ดีมาก

เฉลี่ย 2.88 1.02 ปานกลาง 4.69 0.46 ดีมาก

4. ด้านมารยาทเยี่ยม

4.1 ผู้เรียนมีสัมมาคารวะ สุภาพ อ่อนน้อม 3.21 1.13 ปานกลาง 4.68 0.66 ดีมาก

4.2 ผู้เรียนมีวินัยและพฤติกรรมต่างๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น เป็นที่ยอมรับของสังคม 3.06 1.01 ปานกลาง 4.59 0.49 ดีมาก

4.3 ผู้เรียนรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นอย่างเข้าใจ 3.17 1.00 ปานกลาง 4.70 0.41 ดีมาก

4.4 ผู้เรียนมีพฤติกรรม ยิ้ม ไหว้ ทักทาย 3.14 1.09 ปานกลาง 4.69 0.46 ดีมาก

4.5 ผู้เรียนมีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผือแผ่ แก่ผู้อื่น 2.63 0.81 ปานกลาง 4.60 0.61 ดีมาก

เฉลี่ย 3.04 1.01 ปานกลาง 4.65 0.53 ดีมาก

จากตารางที่ 3 พบว่า โดยภาพรวมผลการประเมินคุณลักษณะอัน = 4.65, S.D. = 0.53) สูงกว่าผลการประเมินคุณลักษณะอันพึง = 3.04, S.D. = 1.01) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า หลังใช้นวัตกรรมผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ = 4.76, S.D. = 0.43) ผู้เรียนเป็นผู้ยอมรับ กฎ กติกา ในการแข่งขัน = 4.74, S.D. = 0.44)

1.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้นวัตกรรม SKWK MODEL ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

จากการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้นวัตกรรม SKWK MODEL ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้าน “การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี

ดนตรียอด มารยาทเยี่ยม” โดยใช้ SKWK MODEL ของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม

จังหวัดขอนแก่น (N=809)

ประเด็นการประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรมตามตัวบ่งชี้ ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง

S.D. แปรผล

S.D. แปรผล

S.D. แปรผล

นวัตกรรมนี้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นของสถานศึกษา 4.86 0.34 มากที่สุด 4.73 0.46 มากที่สุด 4.72 0.45 มากที่สุด

นวัตกรรมนี้มีการพัฒนาโดยอาศัยแนวคิดและหลักการรองรับอย่างสมเหตุสมผล 4.65 0.66 มากที่สุด 4.67 0.49 มากที่สุด 4.54 0.58 มากที่สุด

มีการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรมที่ชัดเจน 4.70 0.67 มากที่สุด 4.87 0.35 มากที่สุด 4.69 0.65 มากที่สุด

การออกแบบกิจกรรมทุกกิจกรรมมีความสอดคล้องกัน 4.62 0.49 มากที่สุด 4.53 0.52 มากที่สุด 4.55 0.50 มากที่สุด

มีการดำเนินงานตามกิจกรรมครบทุกขั้นตอน 4.69 0.46 มากที่สุด 4.60 0.51 มากที่สุด 4.71 0.49 มากที่สุด

มีการส่งเสริมด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนทั้งภายในและภายนอก 4.81 0.39 มากที่สุด 4.47 1.06 มาก 4.51 0.87 มากที่สุด

มีการกำกับติดตามการทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 4.69 0.47 มากที่สุด 4.67 0.49 มากที่สุด 4.67 0.47 มากที่สุด

นวัตกรรมสามารถพัฒนาเป้าหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์และครบถ้วน 4.72 0.45 มากที่สุด 4.80 0.41 มากที่สุด 4.79 0.41 มากที่สุด

มีการบริหารจัดการทรัพยากรตามกิจกรรมที่วางไว้อย่างคุ้มค่าเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 4.73 0.45 มากที่สุด 4.67 0.49 มากที่สุด 4.59 0.69 มากที่สุด

กระบวนการในการพัฒนานวัตกรรมกระตุ้นให้บุคลากรในสถานศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 4.74 0.56 มากที่สุด 4.73 0.46 มากที่สุด 4.68 0.47 มากที่สุด

มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นวัตกรรมทั้งภายในและภายนอกและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ 4.66 0.48 มากที่สุด 4.47 1.06 มาก 4.19 1.12 มาก

ความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในภาพรวม 4.86 0.35 มากที่สุด 4.80 0.41 มากที่สุด 4.68 0.66 มากที่สุด

เฉลี่ยรวม 4.73 0.48 มากที่สุด 4.67 0.56 มากที่สุด 4.61 0.61 มากที่สุด

จากตารางที่ 4 พบว่า เมื่อพิจารณาจากรายด้านทุกด้าน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยความพึง = 4.73, S.D. = 0.48) รองลงมาคือ ความพึงพอใจของคณะกรรมการ = 4.61, S.D. = 0.61)

ตอนที่ 2 ผลการดำเนินงานด้านผลลัพธ์

ด้านผลลัพธ์ ที่เกิดจาการนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นผล

ที่เกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินการในระยะยาว และส่งผลต่อด้านอื่นๆ ดังนี้

2.1 ผลการดำเนินงานโครงการ ดังนี้

2.1.1 โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ

การดำเนินงานโครงการพัฒนาความเป็นด้านวิชาการ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

1) ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เอาใจใส่ในหน้าที่ของตนเอง

2) ผู้เรียนมีความสามารถด้านวิชาการรอบด้าน และสามารถนำไปใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้

3) ผู้เรียนมีความเข้าใจในความสามารถของตนเองและเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันในสังคมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุข

2.1.2 โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

การดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

1) ผู้เรียนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ นอบน้อม ยิ้มไหว้ทักทาย

2) ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

3) ผู้เรียนรู้จักผิดชอบชั่วดี และนำตนเองไปในทางที่ดี

4) ผู้เรียนเข้าวัดปฏิบัติธรรม และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตามโอกาส

5) ผู้เรียนเป็นผู้มีมารยาทงามอย่างไทย เคารพผู้อาวุโส

2.1.3 โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์

การดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และมารยาท

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมหลากหลายกิจกรรม ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

1) ผู้เรียนมีสุนทรียภาพในด้านดนตรี กีฬา

2) ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้เรียน มีทักษะชีวิตช่วยเหลือตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

3) ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

4) ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการเล่นดนตรี กีฬา

5) ผู้เรียนมีความเข้าใจในความสามารถของตนเอง และแสดงออกได้อย่างมีเหตุผลและถูกต้อง

2.1.4 โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมผ่านการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขในปีการศึกษา 2561 ในระดับเพชร ย่อมแสดงว่า โรงเรียนมีการดำเนินงาน มีกระบวนการที่ดี ที่จะพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ซึ่งครอบคลุม ด้านการเรียน กีฬา ดนตรี และมารยาท

ผู้เรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพปัญหา

สัมพันธภาพระหว่างผู้ปกครอง ครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี และอบอุ่น

ผู้เรียนรู้จักตนเองและควบคุมตนเองได้

ผู้เรียนการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข

ส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถให้มีการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น

ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

ผู้เรียนกล้าแสดงศักยภาพในตนเองและสามารถเป็นที่ปรึกษาช่วยเหลือเพื่อนที่มีปัญหาได้

2.2 ผลงานของนักเรียน ในการเข้าแข่งขันระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม เป็นที่ประจักษ์ ดังนี้

2.2.1 ด้านการเรียนเด่น

1) นางสาวบุณฑริกา บุญเรือง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับสำนักงานการศึกษาเมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา ประจำปีการศึกษา 2562 ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 30 ตุลาคม 2562

2) นางสาวปภัสรา หมื่นพล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 ได้รับคัดเลือกจาก Japan Foundation ให้เข้าร่วมกิจกรรม เชิญนักเรียนในโครงการ NIHONGO Partners ไปประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 3 - 7 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงโตเกียว จังหวัดไซตามะ และจังหวัดฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น

3) นายเอกพล ยศพล และนายอภิสิทธิ์ ก้านจักร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยในการชุมนุมลูกเสือโลก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

4) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ระดับประเทศ ในการประกวดสวดมนต์หมู่ ทำนองสรภัญญะ ปี พ.ศ.2562

5) รางวัลเหรียญทอง อันดับที่ 6 ระดับประเทศ การแข่งขันร้องเพลงจีน ในการแข่งขันทักษะภาษาจีน รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2562

6) นางสาวนันทิชา สร้อยโพธิ์ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง การแข่งขันคิดเลขเร็ว ระดับชั้น ม.4 – 6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562

7) เด็กชายวัชรินทร์ โพธิ์ทอง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขันคัดลายมือสื่อภาษาไทย ระดับชั้น ม.1 – 3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562

8) นางสาวณัฐธิชา รสหอม ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง การแข่งขันเรียงร้อยถ้อยความ (การเขียนเรียงความ) ระดับชั้น ม.1 – 3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562

9) นายอาคม สายสังข์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (1st Runner-Up Northeastern Region) การประกวดงานเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ในโครงการ “Junior Dublin Literary Awards for Thailand” ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “Moving Forward”

10) นายธนภัทร บุญกาญจน์วนิชา รางวัลนักพูดดีเด่นลำดับที่ 1 (The Best Speaker) การโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

11) นางสาวทองพญา ภูขีด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 และนางสาวณัชชา ชาวเหนือ นางสาวนิภา เหล่าลาภะ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 ได้รับทุนจากสถาบันขงจื้อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยซีหนาน ให้เข้าร่วมค่ายภาษาและวัฒนธรรมจีน ณ มหาวิทยาลัยซีหนาน มหานครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน 2562

12) รางวัลชนะเลิศ การประกวดโปสเตอร์ Info graphic หัวข้อ “ฮีต 12 คลอง 14” ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ

13) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 “การแข่งขันตอบปัญหาความรู้ทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เนื่องในโครงการเสริมสร้างศักยภาพทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2562

14) รางวัลชนะเลิศ “การแข่งขันตัดต่อภาพยนตร์ ระดับชั้น ม.ปลาย ในงาน Computer education open house 2018”

15) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันการตอบปัญหากฎหมายเนื่องในวันรพี ปี พ.ศ. 2562

16) ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันตอบปัญหารัฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

17) รางวัลชนะเลิศการประกวดการปั้นโมเดลทางชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี สามพร้าว

18) ได้รับโล่สถานศึกษาที่ได้คะแนนพัฒนาการรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ลำดับที่ 3 ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

19) นายวัชรินทร์ แจ่มแจ้ง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 สอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน ปีการศึกษา 2562

2.2.2 ด้านเล่นกีฬาดี

1) ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษา “การแข่งขันฟุตวอลเลย์ ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 - 2562

2) โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ “ธอส Headis

ชิงแชมป์ประเทศไทย 2019”

3) รางวัลชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนต้านยาเสพติด ประจำปี 2562 ชิงถ้วยมูลนิธิซิโก้

4) รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง เซปักตะกร้อคู่ชาย การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 14 "อุดรธานีเกมส์"

2.2.3 ด้านดนตรียอด

1) นายวุฒิชัย ดีรักษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ การประกวดดนตรีไทย ขับร้องเพลงไทย ประเภทชาย ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ระดับมัธยมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

2) รางวัลชนะเลิศ การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ในงานเทศกาลไหมนานาชาติ

ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2560 และ 2561 แชมป์ 2 สมัย

3) โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมชนะเลิศ ระดับชาติ การแข่งขันวงดนตรีพื้นบ้าน (โปงลาง) ม.1-ม.6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2561 และ 2562

4) นักเรียนดนตรีไทย ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง การแข่งขันทางด้านดนตรีไทยหลายรายการ ทั้ง ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562

5) รางวัลระดับเหรียญทอง การแข่งขันการประกวดดนตรีประเภทเครื่องลม (Wind Essemble) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69

2.2.4 ด้านมารยาทเยี่ยม

1) นายกฤษฎา โพนขัน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับรางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่น ประจำปี 2561 สาขาศิลปวัฒนธรรม

2) นายชินวัตร มองเพ็ชร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับรางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่น ประจำปี 2561 สาขาศิลปวัฒนธรรม

3) นางสาววิมลมาศ กางจันทา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี พ.ศ. 2561

4) นายวรชาติ ศรีวารี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นายวุฒิชัย ดีรักษา นางสาวสุทธิดา แสงรูจี และนายณัฐภัทร แสนกั้ง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นเด็กและเยาวชนดีเด่นจังหวัดขอนแก่น สาขาศิลปวัฒนธรรม ประจำปี 2562 ในงานวันเยาวชนแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น

5) นายชินวัตร มองเพ็ชร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้รับรางวัลเยาวชนต้นแบบ ด้านดนตรีไทย ประจำปี พ.ศ. 2562 จากกระทรวงวัฒนธรรม

6) นายฉัตรชัย ภูสมพงษ์ ได้รับพระราชทานโล่รางวัลชนะเลิศ อันดับ 5 การประกวดเยาวชนต้นแบบเก่งและดีทู (TO BE NUMBER ONE IDOL) รุ่นที่ 8 รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

7) นายธีระพงษ์ พาเหลี่ยม ได้รับเข็มพระราชทานผู้เข้ารอบ 40 คนสุดท้าย การประกวดเยาวชนต้นแบบเก่งและดีทู (TO BE NUMBER ONE IDOL) รุ่นที่ 8 รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

8) รางวัลชนะเลิศกิจกรรมสวดมนต์หมู่สรภัญญะ โครงการวันสำคัญของชาติและศาสนา

วันมาฆบูชา ประจำปี 2563 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

9) รางวัลชนะเลิศกิจกรรมสวดมนต์หมู่สรภัญญะ โครงการวันสำคัญของชาติและศาสนา วันมาฆบูชา ประจำปี 2563 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

10) การแข่งขันสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ กระทรวงวัฒนธรรม (ตัวแทนระดับจังหวัดแข่งขันต่อระดับภาคเพื่อชิงถ้วยพระราชทานฯ) ทีมชาย รองชนะเลิศอันดับ 1 และทีมหญิง รองชนะเลิศอันดับ 2

11) นักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดมารยาทไทย ระดับชั้น ม. 1 – 3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69

ประโยชน์ของนวัตกรรม ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพของกลุ่มเป้าหมาย

SKWK Model เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาให้สอดคล้องกับสภาพบริบทของสถานศึกษาที่ผ่านระบบการวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการและสภาพบริบทของสถานศึกษาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสภาพบริบท ทำให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนกับกลุ่มเป้าหมายอย่างครบถ้วนตรงตามจุดประสงค์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านผู้บริหาร ครูผู้สอน ด้านนักเรียนและด้านสภาพแวดล้อม มีกระบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนทั้ง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขที่เป็นระบบ ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยมเพิ่มขึ้น เกิดกลไก ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีภาคีเครือข่าย สนับสนุน และยังส่งผลได้รับรางวัลจากหน่วยงานทั้งระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ เป็นที่ประจักษ์ นอกจากนี้ยังพบว่านวัตกรรม SKWK MODEL สามารถเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับผู้เรียน และเป็นแนวทางในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และนาฏศิลป์ และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งในการศึกษาดูงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดกิจกรรม ชมรม TO BE NUMBER ONE กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง กิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง กิจกรรมวงดนตรีไทย กิจกรรมวงโยธวาทิต และได้รับเลือกให้นักเรียนทั้งด้านดนตรี กีฬา นาฏศิลป์ไปแสดงในงานต่างๆ ในชุมชน และหน่วยงานราชการ เอกชนภายนอกเสมอมา

การใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรม

เนื่องจากนวัตกรรม SKWK MODEL ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ ที่มีรายละเอียด ขั้นตอนในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหาร ดังนั้น ทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม จึงเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในโรงเรียนให้คุ้มค่า บริหารจัดการให้มีประโยชน์มากที่สุด ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ สิ่งของและการบริหารจัดการ โดยมีการจัดการทรัพยากรตามหลัก 5M ดังนี้

1. คน (Men) การบริหารบุคลากร โดยการสำรวจบุคลากร ข้อมูลพื้นฐานบุคลากร อายุ เพศ ระดับการศึกษา ทัศนคติ รวมไปถึง สำรวจบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ความสามารถในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูแนะแนว ครูจิตวิทยา ครูที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดนตรี กีฬา มารยาท นักวิชาการ นักจิตวิทยาการศึกษา ด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเรียนรู้ ผู้สอน และเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการกำหนดภาระงาน มอบหมายงานตามคำสั่ง วางแผนการทำงานของบุคลากรอย่างเป็นระบบ และแต่งตั้งผู้กำกับ นิเทศติดตามที่เป็นกัลยาณมิตร ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์

2. เงิน (Money) การบริหารงบประมาณ มีการวางแผนการปฏิบัติงาน จัดทำมาตรฐานภาระงานงบประมาณ มอบหมายผู้รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่การเงินที่มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์ ใช้งบประมาณตรงตามกรอบและวัตถุประสงค์ เป็นไปตามระเบียบ มีระบบควบคุม ตรวจสอบภายใน รายงานการใช้งบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินงานเป็นปัจจุบัน จัดตั้งคำของบประมาณของแต่ละปี โรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอและจัดสรร ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. วัสดุสิ่งของ (Materials) การบริหารทรัพยากร คุ้มค่า ได้ประโยชน์ เหมาะสม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการวางแผนการใช้ทรัพยากร เพื่อให้ประหยัด คุ้มค่า ใช้หลักการ Reuse reduce recycle ที่สามารถทำได้ ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นออก เช่น ลดปริมาณการใช้กระดาษ โดยการสื่อสารทางออนไลน์ แจ้งข่าวสารทางสื่อออนไลน์ เป็นต้น

4. การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการบริหารจัดการ โดยการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ใช้การบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม SKWK MODEL ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่ง มีโครงสร้างการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ชัดเจน กำกับติดตามการบริหารงานผ่านโครงการตามสายงานการบริหาร โดยการบริหารผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับหน่วยงานต้นสังกัด

5. แรงจูงใจ (Motivation) หมายถึง แรงกระตุ้นในการที่จะดำเนินการพัฒนาองค์กร พัฒนาผู้เรียน ในการดำเนินงานกิจกรรมใดๆ เพื่อให้มีความตั้งใจที่จะวางแผน ปฏิบัติ ได้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนานวัตกรรม

การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม โดยใช้นวัตกรรม SKWK MODEL ก่อให้เกิดความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียน ทั้งหน่วยงาน เกิดการประสานสัมพันธ์กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย องค์กรภายนอก ผู้ปกครอง ในการดำเนินการกิจกรรมที่เป็นการพัฒนาในเชิงบวก เกิดการทำงานร่วมกันที่มีระบบ บนพื้นฐานแนวคิดในการบริหารผ่านวงจรคุณภาพเดมมิ่ง ใช้ SKWK MODEL ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการทั้ง 4 โครงการ ทำให้ได้นวัตกรรมที่สมบูรณ์ ได้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม และมีผลการแข่งขันระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติเป็นที่ประจักษ์ จึงถือเป็นประสบการณ์การดำเนินงานที่เกิดร่วมกันทั้งในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน

ลักษณะของนวัตกรรมที่นำไปใช้

นวัตกรรม SKWK MODEL เป็นรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม ที่พัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยแนวคิดการบริหารจัดการทั้งระบบ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาผู้เรียน สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้หลากหลาย เหมาะกับการทำงาน การบริหารงานทุกงาน ทุกกิจกรรม ทุกโครงการ เพราะเป็นการทำงานบนพื้นฐานแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนการทำงานด้วยวงจรระบบคุณภาพเดมมิ่ง มีการวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบกำกับติดตาม สะท้อนผล ใช้ง่าย สะดวก นำไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงเรียน กับกิจกรรมได้ทุกรูปแบบ

การยอมรับนวัตกรรม

นวัตกรรม SKWK MODEL เป็นรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านการเรียนเด่น เล่นกีฬาดี ดนตรียอด และมารยาทเยี่ยม ได้รับการยอมรับจากผลการดำเนินงานที่เป็นที่ประจักษ์ ต่อผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอก หน่วยงานราชการในอำเภอกระนวน หน่วยงานต้นสังกัด ได้เผยแพร่ผลการดำเนินงาน ต่อชุมชน ดังนี้

1. เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์โรงเรียน www.skwk.ac.th

2. เผยแพร่ทางแฟนเพจ “ศรีกระนวนวิทยาคม”

3. เผยแพร่ทางวารสารอิเล็กทรอนิกส์ E-news Letter ทั้งการเผยแพร่นวัตกรรม SKWK MODEL และการนำเสนอผลงานของนักเรียนในด้านต่างๆ

4. เผยแพร่โดยการแสดงนิทรรศการของโรงเรียนในการประเมินต่างๆ

5. เผยแพร่เอกสารไปยังโรงเรียนต่างๆในสพม.25

โพสต์โดย Scorpio : [6 เม.ย. 2563 เวลา 18:47 น.]
อ่าน [5383] ไอพี : 223.24.164.218
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 16,152 ครั้ง
5 สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ
5 สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ

เปิดอ่าน 8,142 ครั้ง
ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดราคาซื้อหรือราคาจ้างซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มฯ
ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดราคาซื้อหรือราคาจ้างซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มฯ

เปิดอ่าน 12,025 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (1)
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (1)

เปิดอ่าน 15,235 ครั้ง
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยเพื่อเป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ไทย
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยเพื่อเป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ไทย

เปิดอ่าน 65,398 ครั้ง
จำนวนข้าราชการครูจำแนกตามระดับวิทยฐานะ
จำนวนข้าราชการครูจำแนกตามระดับวิทยฐานะ

เปิดอ่าน 14,041 ครั้ง
อาการแบบนี้...พบหมอด่วน
อาการแบบนี้...พบหมอด่วน

เปิดอ่าน 20,909 ครั้ง
10 เรื่องจริงเกี่ยวกับความฝัน ที่คุณอาจไม่เคยรู้
10 เรื่องจริงเกี่ยวกับความฝัน ที่คุณอาจไม่เคยรู้

เปิดอ่าน 8,231 ครั้ง
ยันแก๊สโซฮอล์ ไม่ได้ก่อมลพิษฯ ทำให้เกิดมะเร็ง
ยันแก๊สโซฮอล์ ไม่ได้ก่อมลพิษฯ ทำให้เกิดมะเร็ง

เปิดอ่าน 48,493 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 4 อุปกรณ์ของผู้เล่น ( The Players
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 4 อุปกรณ์ของผู้เล่น ( The Players' Equipment)

เปิดอ่าน 10,627 ครั้ง
เดิน...ลดโรค
เดิน...ลดโรค

เปิดอ่าน 9,580 ครั้ง
กำยาน
กำยาน

เปิดอ่าน 14,246 ครั้ง
พจนานุกรมฟิสิกส์
พจนานุกรมฟิสิกส์

เปิดอ่าน 14,712 ครั้ง
10 กิจที่ต้องทำ วันตรุษจีน
10 กิจที่ต้องทำ วันตรุษจีน

เปิดอ่าน 19,960 ครั้ง
จังหวัดไหนมีความสุขมากที่สุดในประเทศไทย ปี 2557?
จังหวัดไหนมีความสุขมากที่สุดในประเทศไทย ปี 2557?

เปิดอ่าน 9,888 ครั้ง
การซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด
การซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด

เปิดอ่าน 12,167 ครั้ง
ดิจิตอลอีสาน...ใบลานอิเลคทรอนิกส์
ดิจิตอลอีสาน...ใบลานอิเลคทรอนิกส์
เปิดอ่าน 59,840 ครั้ง
Nouns  ( Subject - Verb Agreement )
Nouns ( Subject - Verb Agreement )
เปิดอ่าน 15,697 ครั้ง
1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
เปิดอ่าน 40,498 ครั้ง
Verbs: Moods
Verbs: Moods
เปิดอ่าน 38,133 ครั้ง
การเรียนการสอนแบบ Montessori
การเรียนการสอนแบบ Montessori

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ