การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทับเบิกร่วมใจ สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2562 ใช้รูปแบบการประเมิน
แบบซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินในครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียน จำนวน 217 คน ซึ่งได้มาจากการเปิดตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบประเมิน ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ชนิด 5 ระดับ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นจากรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน พบว่า ผลการประเมินรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D.= .48) พิจารณาทั้ง 4 ด้านพบว่า 1) ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D.= .54) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D.= .42) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D.= .54) 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.03, S.D.= .52) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ที่ประเมินเฉพาะนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.72, S.D.= .55) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทับเบิกร่วมใจ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.74, S.D. =.62)