การประเมินโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้โดยใช้สื่อ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ตูม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการจำนวน 4 ด้าน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) คือ 1) ด้านบริบทสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านแม่ตูม จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านแม่ตูม จำนวน 7 คน (เฉพาะคณะกรรมการฯภายนอกสถานศึกษา) และผู้ปกครองนัก เรียนโรงเรียนบ้านแม่ตูม จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 29 คน ผลการประเมิน ปรากฏว่า
1. ด้านบริบทสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( = 4.49) โดยหัวข้อความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.60)
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.58) โดยหัวข้อ ความเหมาะสมของขั้นตอนกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.60)
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.57) โดยหัวข้อ การนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.66)
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.61) โดยหัวข้อ คุณภาพผู้เรียน และหัวข้อผลกระทบต่อครู นักเรียน ชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.66)
ปัญหา/อุปสรรค นักเรียนใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ครูไม่เข้าใจภาษาถิ่น ทำให้การสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนในระดับชั้นต้น ๆ เกิดปัญหา ส่งผลกระทบด้านเวลา และความเข้าใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กล่าวคือในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้หรือแต่ละหน่วยการเรียนรู้นักเรียนจะเข้าใจช้า และต้องใช้เวลามาก