ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหา เป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียน กลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้รายงาน จิระวรรณ ผลสด
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ดังนี้ (2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (2.2) ประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (2.3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าประสิทธิภาพ (E1 /E2) และค่าทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะ หาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือที่เรียกว่า NLK Model มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นที่ 1 N (Need for Learning) ความต้องการของผู้เรียน ขั้นที่ 2 L (Learning by Network) เรียนรู้ผ่านเครือข่าย และขั้นที่ 3 K (Knowledge and do Audit) ตรวจสอบความรู้ตนเอง ประสิทธิภาพของรูปการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค การสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (NLK Model) เท่ากับ 82.92/82.39
2. ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวันมีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผลการประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียน กลับด้านทุกข้ออยู่ในระดับสูง 2.3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน พบว่าทุกประเด็นอยู่ระดับมากที่สุด