บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนจากการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนปากช่อง ๒ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งให้นักเรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ตามศักยภาพ เนื่องจากคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน วิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้ ช่วยให้วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ เป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมความร่วมมือของนักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เกิดการช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความรับผิดชอบร่วมกัน และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับการสำรวจความต้องการของครูผู้สอนและนักเรียนพบว่าต้องการให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์
2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีขั้นตอนการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา จำนวน 5 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นนำเสนอบทเรียนและเทคนิคโพลยา 3) ขั้นกิจกรรมกลุ่มและตรวจสอบผลงาน 4) ขั้นทดสอบย่อยและประเมินผลการทำงานกลุ่ม และ 5) ขั้นสรุปบทเรียน มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปากช่อง ๒ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จากการทดลองโดยใช้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการถ่ายโยงความรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก