ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางนันทพร สินไชย
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษและทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษและทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) ศึกษาพัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์)
ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ จำนวน 10 ชุด แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน การจัดการเรียนรู้ภาษา อังกฤษ จำนวน 2 ชุด แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 5 ชุด รูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 เล่ม ๆ ละ 1 หน่วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 28 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 4 เล่ม แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษและพัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) รูปแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวิจัย (Research : ) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ขั้นที่ 2 การพัฒนา (Development : ) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and development : D&D) ขั้นที่ 3 การวิจัย (Research : ) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) และขั้นที่ 4 การพัฒนา (Development : ) เป็นการประเมินผล ( Evaluation : E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test (One Sample t t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สรุปได้ดังนี้ ครูควรเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่ ๆ รูปแบบต่าง ๆ ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ได้ร่วมทำกิจกรรมมากกว่าเดิม และวัดผลตามสภาพจริง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหาการเรียน เป็นการปรับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน และเปลี่ยนวิธีสอนของครู สู่ผลการเรียนรู้ที่ดีให้โรงเรียน 2. รูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.55/86.06 3. การศึกษาผลการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน NANT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า (1) ความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) พัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน NANT Model อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.74 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.12 ( = 4.74, S.D. = 0.12)