บทคัดย่อ
รวีพร ปุ่นอุดม : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา
ก่อนและหลังการเรียน ด้วยการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้
ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนลาดงาประชาบำรุง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ก่อนและหลังการเรียน โดยการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนลาดงาประชาบำรุง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการสอนในวิชา โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศเรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา และแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิธีการทดสอบค่า t แบบไม่อิสระ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโลก
ดาราศาสตร์และอวกาศ เรื่องปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา มีคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 9.78 และ 14.16 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 48.90 และ 70.80 ตามลำดับ เมื่อทดสอบความแตกต่างพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5