ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาป

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย นางสาวพัชรินทร์ ประทุมวงค์

ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ. 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามขอบเขตการวิจัย ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ 1) ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ครูทั้งหมดที่สอนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลาก 3) ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 10 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ครูที่สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง ตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 3 กลุ่ม ที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 3 คน กลุ่มที่ 2 10 คน และกลุ่มที่ 3 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และตอนที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนศรีแก้วพิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นครูผู้สอน เรื่องปัญหาและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 23 ข้อ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นนักเรียน เรื่องปัญหาและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสัมภาษณ์เรื่องปัญหาและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 5) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวันชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 7) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลมีการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์สถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test)

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ตามความเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวม รายด้านและรายข้ออยู่ในระดับมาก ความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ตามความเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมรายด้านและรายข้ออยู่ในระดับมาก ด้านความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก

2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย

1.1 องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.1.1 หลักการและรูปแบบ : การจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับการทำงานของสมองและร่วมกันสร้างองค์ความรู้ พัฒนาการเรียนรู้และการคิดอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมวิธีคิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติจริง มีการสร้างแรงจูงใจให้เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ

1.1.2 วัตถุประสงค์ : นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีวิจารณญาณเพิ่มมากขึ้น

1.2 องค์ประกอบเชิงกระบวนการ มีกระบวนการเรียนการสอนตามขั้นตอนดังนี้

1.2.1 ขั้นการตั้งเป้าประสงค์ (Expect) เป็นขั้นที่ครูและนักเรียนร่วมกันตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ร่วมกัน

1.2.2 ขั้นการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) เป็นขั้นที่สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ลำดับกระบวนการคิด ระบุปัญหา ตั้งเป้าหมาย วิเคราะห์และประเมินทางเลือกการแก้ปัญหา

1.2.3 ขั้นประเมินความต้องการจำเป็น (Need) เป็นขั้นที่นักเรียนจะได้ทราบถึงเนื้อหาความรู้และปัญหาที่จำเป็นต้องเรียนรู้ เงื่อนไขสำคัญต่างๆ วิธีการที่จำเป็น เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายรวมถึงสิ่งที่มีความจำเป็นที่นำไปสู่กระบวนการแก้ปัญหาและแสวงหาเพื่อค้นพบคำตอบที่ตั้งไว้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ทั้งยังหมายถึงการประเมินทางเลือกที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.2.4 ขั้นการแสวงหาความรู้ (Search) เป็นขั้นที่นักเรียนต้องไปค้นคว้าหาคำตอบหรือข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับกับปัญหาโดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์ และใช้ทักษะกระบวนการสืบค้นข้อมูลอย่างหลากหลาย

1.2.5 ขั้นการรวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้โดยใช้การทำงานเป็นทีม (Team) เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละกลุ่ม นำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดเป็นคำตอบและเกิดทางเลือกในการแก้ปัญหา

1.2.6 ขั้นการทดลองวิธีการแก้ปัญหา (Experiment) เป็นขั้นที่แต่ละกลุ่มต้องนำวิธีการแก้ปัญหาที่วิเคราะห์ได้มาทดลองเพื่อหาข้อสรุป

1.2.7 ขั้นการนำเสนอข้อมูล (Information & Technology) เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ได้นำเสนอเพื่อหาข้อสรุปโดยใช้เทคโนโลยี และข้อมูลต่างๆ ที่ได้รวบรวมมา

1.2.8 ขั้นการสรุป ประเมินผลและบันทึก (Note) เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุป และประเมินผลทางเลือกของคำตอบที่ได้ค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ตัดสินใจทางเลือกอย่างมีเหตุผล พร้อมการจดบันทึกสะท้อนองค์ความรู้เพื่อการทบทวนและเผยแพร่องค์ความรู้สู่ผู้อื่นในรูปแบบ ที่หลากหลาย

1.3 องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขของการใช้รูปแบบ

1.3.1 ข้อตกลงเบื้องต้น : ครูควรให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และควรใช้กลยุทธ์ที่ส่งเสริมความคิดอย่างหลากหลาย

1.3.2 หลักการตอบสนอง : นักเรียนสามารถประเมินทางเลือกและตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา เป็นต้นหรือประยุกต์ใช้เมื่อเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

1.3.3 ระบบสังคม : ครูต้องส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานกลุ่ม การเป็นผู้นำผู้ตาม การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นตามหลักประชาธิปไตย กล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบและมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ

1.3.4 ระบบสนับสนุน : ครูต้องจัดเตรียมเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องและส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนและการแสดงความคิดเห็นและมีเวลาที่เพียงพอในการคิด

2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 83.49/82.33 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า

3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน EINSTEIN เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.2 นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมและรายข้อส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีโอกาสในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดที่สูงขึ้น ตามลำดับ

โพสต์โดย ครูชิน : [5 มิ.ย. 2562 เวลา 08:45 น.]
อ่าน [3365] ไอพี : 49.230.81.118
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 85,025 ครั้ง
วิธีทำ  น้ำพริกอ่อง เมนูสุขภาพ
วิธีทำ น้ำพริกอ่อง เมนูสุขภาพ

เปิดอ่าน 33,441 ครั้ง
จำนวนตรรกยะ
จำนวนตรรกยะ

เปิดอ่าน 5,543 ครั้ง
วันเกิด...บอกนิสัยการทำงาน
วันเกิด...บอกนิสัยการทำงาน

เปิดอ่าน 29,848 ครั้ง
ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)
ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)

เปิดอ่าน 22,467 ครั้ง
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (บรูไนดารุสซาลาม)
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (บรูไนดารุสซาลาม)

เปิดอ่าน 31,176 ครั้ง
ภาษาอังกฤษ เริ่มได้ที่บ้าน กับ สอนลูกฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษกับคำศัพท์เกี่ยวกับบ้าน
ภาษาอังกฤษ เริ่มได้ที่บ้าน กับ สอนลูกฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษกับคำศัพท์เกี่ยวกับบ้าน

เปิดอ่าน 93,129 ครั้ง
การใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
การใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา

เปิดอ่าน 12,449 ครั้ง
เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

เปิดอ่าน 23,909 ครั้ง
แบบธรรมเนียม ประเพณีไทย
แบบธรรมเนียม ประเพณีไทย

เปิดอ่าน 20,774 ครั้ง
จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม
จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม

เปิดอ่าน 2,802 ครั้ง
เขียน Resume อย่างไรให้ได้งานดี
เขียน Resume อย่างไรให้ได้งานดี

เปิดอ่าน 15,136 ครั้ง
ฟื้นฟูอารมณ์ดีๆ ด้วยของกินสีส้ม
ฟื้นฟูอารมณ์ดีๆ ด้วยของกินสีส้ม

เปิดอ่าน 19,423 ครั้ง
ว่านหางช้าง
ว่านหางช้าง

เปิดอ่าน 24,332 ครั้ง
การเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะที่ฝนตกนั้น มีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดฟ้าผ่า ได้จริงหรือไม่?
การเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะที่ฝนตกนั้น มีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดฟ้าผ่า ได้จริงหรือไม่?

เปิดอ่าน 17,363 ครั้ง
วันที่
วันที่ ''ไมโครซอฟท์'' ไร้บิลล์ เกตส์

เปิดอ่าน 26,404 ครั้ง
เคล็ดลับสำหรับบ้านไม้ ทำอย่างไรให้ไร้ปลวก
เคล็ดลับสำหรับบ้านไม้ ทำอย่างไรให้ไร้ปลวก
เปิดอ่าน 20,724 ครั้ง
คลิป "สมรักษ์" แพ้ "จอมโหด"
คลิป "สมรักษ์" แพ้ "จอมโหด"
เปิดอ่าน 12,142 ครั้ง
เกมลับสมองกับการศึกษาและความสำเร็จอื่น ๆ
เกมลับสมองกับการศึกษาและความสำเร็จอื่น ๆ
เปิดอ่าน 31,791 ครั้ง
10 สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ ช่วยบรรเทา "โรคความดันสูง"
10 สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ ช่วยบรรเทา "โรคความดันสูง"
เปิดอ่าน 14,302 ครั้ง
ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อรักยืนยาว
ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อรักยืนยาว

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ