ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การนิเทศภายในโรงเรียน อดุลย์ กองทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

การนิเทศภายในโรงเรียน

อดุลย์ กองทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

บทนำ

ในโลกยุคปัจจุบันเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมเป็นยุคของความเร็วและความทันสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสาร ความหลากหลาย ทางเชื้อชาติวัฒนธรรม การหล่อหลอมรวมความคิด และความเชื่อของกลุ่มคน หรือบุคคลในสังคมจะต้องรับการมีวิถีชีวิตยุคใหม่อย่างมีวิจารณญาณทำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียนทั้งการดำเนินชีวิตท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการศึกษาของบุตรหลาน ตลอดจนการเผชิญ สิ่งยั่วยุหรือตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ รอบตัวก่อให้เกิดปัญหาเด็กและ เยาวชนอย่างมาก ขาดภูมิคุ้มกัน ทางสังคมที่ดีเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานฐานไปแล้วอาจเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีปัญหา ทางอารมณ์จิตใจและมีความขัดแย้งในชีวิตได้ง่าย ครูจึงต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ให้นักเรียนมีคุณภาพเป็นภูมิคุ้มกันให้รอดพ้นจากการครอบงำความคิดของสื่อเทคโนโลยีและสามารถตั้งรับต่อการรุกรานทางสังคมอย่างรู้เท่า การจัดการศึกษาซึ่งภาครัฐมีส่วนรับผิดชอบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพซึ่งต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๓ กระบวนการ คือ กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา โดยมีกระบวนการเรียน การสอนเป็นแกนกลางหรือกระบวนการหลักส่วนกระบวนการบริหารและ กระบวนการนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนให้การเรียนรู้มุ่งไปสู่คุณภาพ ดังนั้น เรื่องการนิเทศการศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารนำวิธีการของการนิเทศการศึกษมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก (ฉัตรชัย จูมวงศ์ และคณะ, ๒๕๕๙)

ความหมาย

การนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง การส่งเสริม สนับสนุน หรือให้ความช่วยเหลือครูในโรงเรียน ให้ประสบการณ์สำเร็จในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือสร้างเสริมพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารศึกษากับครูในโรงเรียนนั้นในการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาการปฏิบัติงานของครูให้มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน

ความจำเป็นของการนิเทศภายในโรงเรียน ๑) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงกัน ๒) ปริมาณศึกษานิเทศก์ไม่เพียงพอกับความต้องการของครูและสถานศึกษา ๓) บุคลากรภายในสถานศึกษา มีความรู้ความสามารถ มีความคุ้นเคยและใกล้ชิดปัญหามากที่สุด ๔)บรรยากาศในการนิเทศมีความเป็นกันเอง และสามารถปฏิบัติงานนิเทศได้อย่างต่อเนื่องและมีองค์ประกอบของการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย ๑) มีระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนนิเทศภายในโรงเรียน ๒) มีระบบการวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ ๓) มีระบบการจัดการที่เน้นการพัฒนาครูและนักเรียน ๔) มีระบบการติดตาม ประเมินผลที่เน้นผลงานครู ๕) มีระบบการเผยแพร่และขยายผล และมีหลักการนิเทศภายในโรงเรียน คือ ๑) การดำเนินการนิเทศจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตามขั้นตอนกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน ๒) บุคลากรที่เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ๓) การนิเทศภายในโรงเรียนจะต้องสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูและนักเรียนซึ่งมียุทธศาสตร์การนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย ๑) สร้างภาพปลายทางให้ชัดเจน ภาพปลายทาง หมายถึง สภาพความสำเร็จที่ต้องการให้เกิดในสถานศึกษาซึ่งต้องกำหนดชัดเจนและให้ครูทุกคนมองเห็นสภาพความสำเร็จให้ตรงกัน มีความเข้าใจตรงกัน เพื่อที่จะได้ความร่วมมือกันพัฒนาให้ไปสู่สภาพความสำเร็จที่กำหนดไว้ ๒) สร้างภาพงานที่ชัดเจนตลอดแนว ภาพงาน หมายถึงการกำหนดภาระงานที่จะต้องวางแผนการดำเนินการให้มุ่งสู่สภาพความสำเร็จที่กำหนดไว้ว่าจะต้องพัฒนาใคร ในเรื่องใดและพัฒนาอย่างไร (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑, ๒๕๖๑ : ๕)

บทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

บุคลากรการนิเทศ หมายถึง ผู้บริหาร และคณะกรรมการนิเทศของสถานศึกษา มีบทบาทและภารกิจที่สำคัญ คือ ๑) บทบาทในการส่งเสริมและจัดให้มีการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง สามารถดำเนินงานตามนโยบายได้ถูกต้อง ทำหน้าที่นิเทศภายในโรงเรียนได้อย่างสมบูรณ์ ๒) บทบาทในการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูโดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ให้ดีขึ้น ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีทีมีประสิทธิภาพนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับครูในโรงเรียน ๓) บทบาทในการจัดประชุมอบรม มีการจัดประชุมอบรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประชุมปฏิบัติการ การสัมมนา อภิปรายรายกลุ่ม เป็นต้น และยังต้องส่งเสริมให้ครูมีโอกาสเข้ารับการอบรมในการพัฒนาวิชาชีพ นำทักษะความรู้มาปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๔) บทบาทในการติดตามประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้ครูพัฒนาศักยภาพได้ดีขึ้น การประเมินเพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ๕) บทบาทในการใช้กลุ่มโรงเรียน สมาคมวิชาชีพหรือเครือข่ายเป็นแนวทาง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ครูในโรงเรียน โดยใช้กลุ่มหรือดครือข่ายช่วยเหลือด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมทางวิชาการ การศึกษาเอกสาร การศึกษาดูงาน เป็นต้น ๖) บทบาทในการสร้างครุต้นแบบในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลในการพัฒนาและเป็นแบบอย่างแก่ครูทั่วไปได้

บทบาทหน้าที่ของผู้นิเทศ ประกอบด้วย ๑) กำหนดนโยบายของการนิเทศภายในโรงเรียน เช่น ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานเพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นต้น ๒) ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรและเรื่องอื่น ๆ ที่ครูส่วนใหญ่มีความต้องการในการพัฒนาซึ่งจะเป็นปะโยชน์ต่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อการนิเทศภายในโรงเรียน ๓) ปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียนตามแผนการนิเทศของสถานศึกษา ๔) เปิดโอกาสให้คณะครูมีส่วนร่วมในการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนและมีการประเมินตนเอง ๕) สรุปและเผยแพร่งานที่ประสบความสำเร็จ

แนวคิดในการปฏิบัติงานของผู้นิเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน ควรเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน ดังนี้ ๑) การเริ่มต้นจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนในระยะแรกควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเผชิญหน้ากัน เช่น การสังเกตการณ์สอน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเกิดความขัดแย้งได้ง่าย ควรเลือกกิจกรรมที่สร้างความคุ้นเคย เช่น การให้คำปรึกษาหารือ การศึกษาเอกสารทางวิชาการ หรือการศึกษาดูงานเมื่อคุ้นเคยกับการนิเทศภายในโรงเรียนและมีความพร้อมจึงใช้กิจกรรมสังเกตการณ์สอน ๒) ความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยในการนิเทศภายในโรงเรียนประสบความสำเร็จ การใช้นอย่างมาก ๓) กิจกรรมที่ใช้ในการนิเทศ ควรตอบสนองต่อปัญหาซึ่งต้องร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบโดยผลที่เกิดจากการแก้ปัญหาให้เน้นการพัฒนาบุคลากรและพัฒนางาน ๔) คณะกรรมการนิเทศ ควรศึกษาหาความรู้และประสบการณ์เพื่อนำมาใช้ในการนิเทศครู ในสถานศึกษา ๕) สร้างศรัทธาและความเข้าใจอันดีกับผู้รับการนิเทศ

บทบาทของผู้รับการนิเทศ คือ ๑) ร่วมกิจกรรมในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดทำแผนการนิเทศภายในโรงเรียน ๒) นำได้รับจากการนิเทศไปแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางาน ๓) เสนอปัญหาต่อผู้นิเทศ เมื่อพบปัญหาระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาแนวทางแก้ไข ๔) ให้ความร่วมมือในการประเมินผลการนิเทศมีขอบข่ายของงานนิเทศภายในโรงเรียนซึ่งด้านวิชาการ ประกอบด้วย ๑) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ๒) การนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้และการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ๓) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ๔) การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้แบบบูรณาการและเน้นทักษะการคิด ๕) การจัดหาพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ๖) การสนับสนุนให้ครูผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้ ๗) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ๘) การจัดมุมหนังสือห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ๙) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ๑๐) การสอนซ่อมเสริม ๑๑) การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา ๑๒) การประกันคุณภาพการศึกษา ๑๓) การนิเทศภายในโรงเรียน ๑๔) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูจัดทำแฟ้มข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ๑๕) การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ๑๖) การจัดศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ ๑๗) การจัดบริการแนะแนว (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑, ๒๕๖๑ : ๕-๘)

ทิศทางการนิเทศ

ทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔ ระบุว่า ๑) คนไทยเป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ และสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และยุทธศาสตร์ประเทศไทย ๔.๐ ๒) สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคีและร่วมมือผนึก กำลังมุ่งสู่ การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓) ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศ ที่มีรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้าภายในประเทศลดลง โดยเฉพาะการขับเคลื่อนภายใต้ ๗ ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ๑) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตรการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การวัด และ ประเมินผล ๒) การยกระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ๓) การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรมรองรับความต้องการของตลาดงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ๔) การพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิตอล ๕) การพัฒนาคุณภาพ ของคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๖) การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการมส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วน ๗) การพัฒนาระบบการเงินเพื่อการศึกษา (มาเรียม นิลพันธ์, ๒๕๕๕) ครูการศึกษา ๔.๐ ครู ๔.๐ จะใช้สมรรถนะที่ครูมีอยู่ในการทำให้นักเรียนกลายเป็นนักเรียน ๔.๐ ด้วยการเพิ่ม กิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนได้รับทักษะที่จำเป็นสำหรับสตวรรษที่ ๒๑ คือทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม การมีภาวะผู้นำ การสื่อสาร การใช้ข้อมูล และสารสนเทศ การติดต่อสื่อสารทางไกล การใช้คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ การคิดคำนวณ การสร้างอาชีพและการเรียนรู้ด้วยตนเองและนอกจากนั้น ต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการการพัฒนา ทักษะทางสังคม คุณธรรม จริยธรรม คารวะธรรม การสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศและของโลก การจัดการเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันภาวะโลกร้อน การยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และจรรยาบรรณวิชาชีพเข้าไปในทุกวิชาที่สอนด้วย ครู ๔.๐ จึงเน้นที่การสร้างชุมชนแห่งความสงสัย กระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้และอยากได้คำตอบขึ้นในชั้นเรียนทำให้บรรยากาศในห้องเรียนทุกห้องเป็นห้องเรียนแห่งความสงสัย อยากเรียน อยากรู้อยากหาคำตอบ "Community of Inquiry" และนักเรียนก็จะลงมือค้นหาคำตอบที่ตนสงสัยและอยากรู้เป็นกลุ่ม ค้นหาคำตอบผ่านกระบวนการเรียนการสอน ที่เรียกว่าการเรียนรู้โดยยึดปัญหาเป็น ฐาน (Problem-based Learning = PBL) คือเริ่มต้นจากความสงสัย อยากเรียนอยากรู้แล้วก็จะพัฒนาเป็นปัญหาที่ต้องการคำตอบ (Problem) และจากปัญหาที่ต้องการคำตอบ ก็จะพัฒนาไปสู่การ ค้นหาคำตอบ ลงมือค้นหาคำตอบโดยใช้สมรรถนะความเป็นนักเรียน ๓.๐ นักเรียน ๒.๐ นักเรียน ๑.๐ และปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวช่วย การเรียนการสอนของครู ๔.๐ จึงเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการคิดสร้างสรรค์ (Creative Learning) ที่จะนำไปสู่การผลิตนวัตกรรม (Innovation)

ผู้นิเทศคือบุคคลใดก็ตามที่มีหน้าที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อปรับปรุงสมรรถภาพ การเรียนการสอนโดยการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนให้ความร่วมมือมากกว่าการแนะนำหรือสั่งการอย่างเดียว สำหรับผู้นิเทศภายในโรงเรียนก็ คือ บุคลากรภายในโรงเรียน เช่น ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้หรือกลุ่ม วิชาหัวหน้างานต่าง ๆ รวมไปถึงครูผู้สอนที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญและประสบการณ์ ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่โรงเรียนได้แต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่คอยช่วยเหลือครูในการปรับปรุงการเรียนการ สอนหรือภาระงานที่ได้รับมอบหมายให้มีคุณภาพ ยิ่งขึ้นหรือดีขึ้น”บทบาทและหน้าที่ของผู้นิเทศการศึกษา ยุค ๔.๐ ผู้ที่มีหน้าที่การศึกษาในโรงเรียนจะต้องทราบ ว่าภาระหน้าที่อันถือว่าเป็นหลักของการนิเทศนั้นเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติได้ ถูกต้องและจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะ ผู้อำนวยการโรงเรียนได้อย่างต่อเนื่องโดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ ๑) ช่วยเหลือครูในการพัฒนาและปรับปรุง ตนเอง ๒) ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงหลักสูตร ๓) ช่วยเหลือครูในการปรับปรุงการสอนของตนให้ดีขึ้น ๔) เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาซึ่งมีอยู่ในโรงเรียนได้ช่วยเหลือเพื่อนครู ๕) ส่งเสริมให้คณะครูมีความสนใจในอุปกรณ์การสอน ๖) ช่วยเหลือครูในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กให้ดีขึ้น ๗) ช่วยเหลือครูในการประเมินผลนักเรียน ๘) ส่งเสริมกระตุ้นให้รู้จักประเมินผลโครงการปฏิบัติงานและความก้าวหน้าของตน ๙) ช่วยให้ครูประสบผลสำเร็จและมีความรู้สึก มั่นคง สมรรถนะผู้อำนวยการโรงเรียน ๔.๐ ผู้อำนวยการสถานศึกษา” เป็นหัวหน้าสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือว่าเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จเพราะนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสถานศึกษาแล้วผู้อำนวยการสถานศึกษายังเป็นจุดเชื่อมของนโยบายกับการปฏิบัติที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งคุณลักษณะดังนี้ ๑) ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย รัก ศรัทธา ภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของความเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา มุ่งมั่นในการบริหารจัดการหลักสูตร และการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สร้างวัฒนธรรมคุณภาพและวัฒนธรรมประชาธิปไตย ในการปฏิบัติงานโดยกระบวนการมีส่วนร่วม มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ๒) ภาวะผู้นำทางวิชาการ ประกอบด้วย ความเป็นผู้นำทางวิชาการ และสามารถส่งเสริมให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีภาวะผู้นาทางวิชาการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาของชาติ และหลักการจัดการเรียนรู้ สามารถบริหาร จัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถจูงใจให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุ่มเท ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓) การบริหารและการจัดการในสถานศึกษา ประกอบด้วย ความสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ นโยบาย ภารกิจของสถานศึกษาและบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อำนวยการสถานศึกษา สามารถวางแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา สามารถบริหารจัดการทรัพยากร ทางการศึกษาให้เกิดความคุ้มค่า สามารถบริหาร จัดการระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแสดงความสามารถในทางวิชาการสามารถนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานผล สามารถวิเคราะห์กฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา (บวร ปภัสราทร, ๒๕๕๓)

บทสรุป

สภาพความสำเร็จของการนิเทศภายในโรงเรียน มีตัวบ่งชี้ ดังนี้ ๑) ผู้บริหารตระหนักอยู่เสมอว่าการนิเทศภายในโรงเรียนเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของการบริหารโรงเรียนที่ต้องให้ความสำคัญโดยกำหนดเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ๒) ผู้บริหารสามารถแสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นผู้นำ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความกระตือรือร้น ตลอดจนเป็นผู้นำทางความคิดและการเปลี่ยนแปลง ๓) ครูมีขวัญกำลังใจในการทำงานอุทิศเวลาและเสียสละเพื่องานการจัดการเรียนรู้ตามความสามารถและศักยภาพของแต่ละบุคคล ๔) ห้องเรียน สิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมมีความพร้อมเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนทางการจัดการศึกษายุคใหม่ ๕) ชุมชน ท้องถิ่น และผู้มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนทุก ๆ ด้านและทุก ๆ โอกาส ๖) เกิดการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ๗) โรงเรียนมีแนวโน้มในการพัฒนาที่สูงขึ้นเป็นองค์กรต้นแบบ มีความเป็นมาตรฐานด้านการเรียนรู้มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในอนาคต

สภาพความล้มเหลวของการนิเทศภายในโรงเรียน มีตัวบ่งชี้ ดังนี้ ๑) ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญของการนิเทศภายในโรงเรียน โลกทัศน์คับแคบ ไม่สามารถสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นได้ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ขาดความรู้ความสามารถและขาดทักษะ มีเจตคติเชิงลบต่อการนิเทศภายในโรงเรียน ๒) ครูในโรงเรียนขาดความกระตือรือร้น ขาดความรับผิดชอบต่อการพัฒนางานขาดความร่วมมือในองค์กร เกิดความแตกแยกไม่มีความสามัคคีในหมู่คณะ ๓) เกิดภาวะขาดแคลนปัจจัยเสริมสร้างการเรียนรู้ในทุก ๆ ด้าน เช่น สื่อไม่พร้อม เครื่องมือไม่มีหรือไม่เพียงพอ สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง ๔) ขาดความร่วมมือจากชุมชนและท้องถิ่น ที่จะให้การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ๕) แนวโน้มของการพัฒนาต่ำลง ไม่เกิดผลผลิตตามที่คาดหวัง (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑, ๒๕๖๑ : ๙-๑๐ อ้างถึงในปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, ๒๕๔๘)

เอกสารอ้างอิง

ฉัตรชัย จูมวงศ์ และคณะ. รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มศว ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๒๔ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙.

บวร ปภัสราทร. ผู้บริหารโรงเรียน ๔.๐ พลังขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา : หลักสูตรและคู่มือการพัฒนา

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา

กรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๓.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การนิเทศการสอน. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2548.

มาเรียม นิลพันธ์. บทที่ ๒ การนิเทศการศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอนคณะศึกษาศาสตร์.

มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑. คู่มือนิเทศภายในโรงเรียน, ๒๕๖๑.

โพสต์โดย daeng : [20 ก.พ. 2562 เวลา 06:05 น.]
อ่าน [2984] ไอพี : 182.53.96.202
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 13,043 ครั้ง
หวิดโดนรถทับ สาวลืมดึงเบรคมือ
หวิดโดนรถทับ สาวลืมดึงเบรคมือ

เปิดอ่าน 12,047 ครั้ง
ในอนาคตคาดว่าจะมีวิธีการประเมินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งผอ.-รองผอ.โรงเรียน มากกว่าการสอบข้อเขียนเพียงอย่างเดียว
ในอนาคตคาดว่าจะมีวิธีการประเมินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งผอ.-รองผอ.โรงเรียน มากกว่าการสอบข้อเขียนเพียงอย่างเดียว

เปิดอ่าน 16,164 ครั้ง
Timeline เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนเครือข่าย ของโรงเรียนดีใกล้บ้าน
Timeline เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนเครือข่าย ของโรงเรียนดีใกล้บ้าน

เปิดอ่าน 45,586 ครั้ง
ระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ ของผู้ที่เงินเดือนเต็มขั้น
ระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ ของผู้ที่เงินเดือนเต็มขั้น

เปิดอ่าน 781 ครั้ง
ENNXO ชวนอ่านหนังสือพัฒนาตนเอง ปี 2024 ที่ต้องอ่านสักครั้งในชีวิต
ENNXO ชวนอ่านหนังสือพัฒนาตนเอง ปี 2024 ที่ต้องอ่านสักครั้งในชีวิต

เปิดอ่าน 50,569 ครั้ง
การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)
การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)

เปิดอ่าน 201,618 ครั้ง
ลำดับขั้นในการวิจัย
ลำดับขั้นในการวิจัย

เปิดอ่าน 7,197 ครั้ง
จุดยืนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
จุดยืนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เปิดอ่าน 92,373 ครั้ง
ลำดับดาวเคราะห์
ลำดับดาวเคราะห์

เปิดอ่าน 17,507 ครั้ง
5 กิจวัตรที่คนประสบความสำเร็จมักทำก่อน 8 โมงเช้า
5 กิจวัตรที่คนประสบความสำเร็จมักทำก่อน 8 โมงเช้า

เปิดอ่าน 1,550 ครั้ง
"โกลด์ครอสทันเดอร์" ปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่
"โกลด์ครอสทันเดอร์" ปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่

เปิดอ่าน 24,695 ครั้ง
อยากเลี้ยงลูกให้ฉลาด ต้องไม่มีคำว่า....โดย ดร.สุพาพร เทพยวรรณ
อยากเลี้ยงลูกให้ฉลาด ต้องไม่มีคำว่า....โดย ดร.สุพาพร เทพยวรรณ

เปิดอ่าน 40,336 ครั้ง
ทำไมขี้จิ้งจกถึงมีสองสี
ทำไมขี้จิ้งจกถึงมีสองสี

เปิดอ่าน 11,343 ครั้ง
ง่ายๆ นวดกดจุดฝ่าเท้าบำบัดโรคความดันโลหิตสูง
ง่ายๆ นวดกดจุดฝ่าเท้าบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

เปิดอ่าน 16,667 ครั้ง
FAQ ถาม-ตอบ สาระสำคัญพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (7 ก.ค. 51)
FAQ ถาม-ตอบ สาระสำคัญพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (7 ก.ค. 51)

เปิดอ่าน 50,524 ครั้ง
jobsDB แนะ 7 แนวทางการรักษาคนเก่ง ดึงดูดคนที่ใช่ ให้อยู่ในองค์กร
jobsDB แนะ 7 แนวทางการรักษาคนเก่ง ดึงดูดคนที่ใช่ ให้อยู่ในองค์กร
เปิดอ่าน 11,428 ครั้ง
ไข่มุก โชว์ชุดประจำชาติ ประกวดเวทีจักรวาล
ไข่มุก โชว์ชุดประจำชาติ ประกวดเวทีจักรวาล
เปิดอ่าน 11,023 ครั้ง
วิธีแก้เมื่อลืมกินยาตามเวลา
วิธีแก้เมื่อลืมกินยาตามเวลา
เปิดอ่าน 735 ครั้ง
เบญจศีล
เบญจศีล
เปิดอ่าน 2,374 ครั้ง
CBD และ THC ในพืชกัญชา คืออะไร?
CBD และ THC ในพืชกัญชา คืออะไร?

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ