ผู้วิจัย : อุดมทรัพย์ ภู่ยินดี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล บ้านโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยใช้ท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษาฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผล การพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยใช้ท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษาฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนในการฝึกทักษะท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษาฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนตามหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) หลักสูตรนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยใช้ท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษาฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมิน วัดทักษะการฟ้อนเตี้ยโนนทันโดยใช้ท่ารำแม่บทอีสาน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนหลักสูตรนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยใช้ท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษาฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การหลักสูตรนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยใช้ท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษา ฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.20/88.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการหลักสูตรนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยใช้ท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษา ฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.3280 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 32.80
3. การประเมินทักษะท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษา ฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยใช้ท่ารำแม่บทอีสาน กรณีศึกษา ฟ้อนเตี้ยโนนทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนเกิดความพึงพอใจในระดับมากที่สุด