การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ จำนวน 34 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผลข้อมูลโดยการบรรยายสรุปเป็นความเรียง พรรณนาความ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการที่สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือ กันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ICPSGMEPER Model ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน(Introduction) (I) 2) ขั้นนำเสนอบทเรียนทั้งชั้นเรียนโดยใช้เทคนิค KWDL (Class Presentations)(CP) 3) ขั้นกิจกรรมกลุ่มย่อยเทคนิค KWDL (Small Group) (SG) 4) ขั้นวัดและประเมินผล (Measurement & Evaluation) (ME) 5) ขั้นประเมินความก้าวหน้าของสมาชิกและของกลุ่มแต่ละกลุ่มและยกย่องกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ (Progressive Evaluation) (PE) และ6) ขั้นสะท้อนการเรียนการสอนในชั้นเรียน (Reflecting) (R) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือ กันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 86.39/85.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความเหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ได้ค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 เท่ากับ 86.95/85.66 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสื่อสารและการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณและหารทศนิยม อยู่ในระดับมากที่สุด