ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
บทคัดย่อ โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นางปาณิสรา รองเมือง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการโรงเรียนโนนปูนวิทยาคม

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

ชื่อผู้วิจัย นางณัฐนี ศิริพร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนโนนปูนวิทยาคม

วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ

ปีที่รายงาน 2560

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัด ศรีสะเกษ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการในด้านต่างๆ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยในส่วนด้านผลิตนั้นมีการประเมินแบ่งออกเป็น 4 ด้านย่อย ประกอบด้วย ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และความสามารถในการขยายผลโครงการ

ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จำนวน 244 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 111 คน นักเรียน จำนวน 111 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ปกครอง และสำหรับนักเรียน ซึ่งแต่ละฉบับมีรายละเอียดดังนี้ ฉบับที่ 1 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบ 2) ประสิทธิผล 3) ความยั่งยืน 4) ความสามารถในการขยายผลโครงการ ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบ 2) ประสิทธิผล 3) ความยั่งยืน 4) ความสามารถในการขยายผลโครงการ และฉบับที่ 3 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับ ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบ 2) ประสิทธิผล 3) ความยั่งยืน 4) ความสามารถในการขยายผลโครงการ ซึ่งแบบสอบถามแต่ละฉบับจะประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ แบบสอบถามเป็นแบบให้เลือกตอบ (Check List) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท และแบบปลายเปิด (Open Ended)

ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ซึ่งเป็นการประเมินโครงการที่ต่อยอดจากการประเมินแบบ CIPP MODEL โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินบริบท (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ในส่วนที่เป็นการประเมินผลผลิตนั้นมีการประเมินแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ตามลำดับของการดำเนินงานตามโครงการ 3 ระยะ คือ 1) การประเมินก่อนเริ่มดำเนินโครงการทำการประเมินใน 2 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) และการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 2) การประเมินขณะดำเนินโครงการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินด้านกระบวนการ และ3) การประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ (Product Evaluation) เป็นการประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และความสามารถในการขยายผลโครงการ

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )

สรุปผลการประเมินโครงการ

ผลการประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม มีดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) รายละเอียดดังนี้

ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผน นโยบายชาติ อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาชาติ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) รายละเอียดดังนี้

ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนประสานและแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน แหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมในการดำเนินโครงการและจัดกิจกรรม ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและแนวดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามโครงการ รองลงมาคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินโครงการ งบประมาณที่ใช้มีความเหมาะสม คู่มือการดำเนินโครงการมีรายละเอียดชัดเจน เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ และโรงเรียนกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการอย่างชัดเจน โรงเรียนดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”อย่างต่อเนื่อง

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) รายละเอียดดังนี้

3.1 โดยภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนได้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ รองลงมาคือ กำหนดกิจกรรมได้ตอบสนองความต้องการและศักยภาพของผู้เรียน และมีการปรับโครงสร้างเวลาเรียนและจัดทำตารางเรียนเหมาะสมกับการจัดกิจกรรม มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอนเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

3.2 โดยภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ปกครองได้รับทราบ รองลงมาคือ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการ และผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ

3.3 โดยภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ รองลงมาคือ นักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ และโรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้นักเรียนได้รับทราบ

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีการประเมินใน 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 4.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) 4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) 4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) 4.4 ด้านความสามารถในการขยายผล (Transportability Evaluation) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน สรุปผลได้ดังนี้

4.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation)

4.1.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด รองลงมาคือ ช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการได้ลงมือปฏิบัติ และช่วยให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการได้เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมตามความสนใจของตนเอง ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มากกว่าการเรียนรู้จากการทำแบบฝึกหัดและการท่องจำ ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

4.1.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข รองลงมาคือ ได้มีส่วนร่วมในการปลูกจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมให้แก่นักเรียน และมีโอกาสให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนานักเรียน

4.1.3 ในภาพรวม นักเรียน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ช่วยให้ข้าพเจ้าได้พัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ ช่วยให้ข้าพเจ้าได้ใช้เวลาในการเรียนทั้งด้านวิชาการและการปฎิบัติอย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้ข้าพเจ้ากล้าแสดงออกมากขึ้น ส่งเสริมให้ข้าพเจ้าได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม

4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation)

4.2.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ และนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนมีความสามารถทางภาษา

4.2.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน รองลงมาคือ นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องานและเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม

4.2.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านย่อยที่ 1) การบรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเกิดการพัฒนาในองค์ 4 แห่งการเรียนรู้ รองลงมาคือ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และนักเรียนค้นพบศักยภาพของตนเอง ด้านย่อยที่ 2) ผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) ในกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ 8 กิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ กิจกรรมภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยและสมุนไพรท้องถิ่น กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมขะแมร์ “เจรียง” และกิจกรรมเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านเรา รายละเอียด รายกิจกรรม ดังนี้

1) กิจกรรมเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านเรา โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้

ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รองลงมาคือนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา และนักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงาน

ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รองลงมาคือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวมนักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ

ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ

ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี

2) กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมขะแมร์ “เจรียง” โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้

ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รองลงมาคือนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา และนักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงาน

ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน รองลงมาคือ นักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ และนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม

ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน และนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน

ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี

3) กิจกรรมสะพานไม้ไอศกรีม โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้

ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงาน รองลงมาคือ นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา

ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน รองลงมาคือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ

ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ

ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ รองลงมาคือ นักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี และนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ

4) กิจกรรมภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยและสมุนไพรท้องถิ่น โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้

ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ และนักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ

ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ รองลงมาคือ นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม

ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ

ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี และนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ

5) กิจกรรมขยับกาย สบายชีวี ด้วยวิถีแดนซ์เซอร์ไซส์ สไตล์โนนปูน โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้

ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รองลงมาคือ นักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา และนักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงาน

ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม รองลงมาคือ นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ

ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ

ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี และนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ

6) กิจกรรมโนนปูนเบเกอรี่ โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้

ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงานรองลงมาคือ นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา

ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รองลงมาคือ นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ

ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน

ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ รองลงมาคือ นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด และนักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี

7) กิจกรรมอนามัยวัยทีน โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้

ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ

ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน รองลงมาคือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ

ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน และนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน

ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมี เจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ รองลงมาคือนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด

8) กิจกรรมดอกไม้กระดาษกับงาน Décor โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้

ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ และนักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รองลงมาคือ นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ

ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน และนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน

ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี

4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation)

4.3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนนำแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาเป็นนโยบายหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้แก่บุคคลในครอบครัว และชุมชนได้ รองลงมาคือ ครูผู้สอนมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ครูผู้สอนนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ไปบูรณาการกับนักเรียนชั้นอื่นๆ และสภาพปัญหาที่พบในการดำเนินโครงการได้รับการติดตามแก้ไข

4.3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้แก่บุคคลในครอบครัว และชุมชนได้ รองลงมาคือ โรงเรียนนำผลการนิเทศ กำกับ ติดตามแต่ละกิจกรรมมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และหน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นนโยบาย ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

4.3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนนำผลการนิเทศ กำกับ ติดตามแต่ละกิจกรรมมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาเชื่อมโยงพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองในสาระการเรียนรู้อื่นๆได้อย่างต่อเนื่อง และโรงเรียนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ วิทยากร ครูผู้รับผิดชอบอย่างเพียงพอ ต่อเนื่อง

4.4 ด้านความสามารถในการขยายผล (Transportability Evaluation)

4.4.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีจุดเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินโครงการ นักเรียนสามารถความรู้และทักษะต่างๆไปแนะนำและถ่ายทอดให้เพื่อนและคนในครอบครัวได้อย่างถูกต้อง รองลงมาคือ โรงเรียนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนนำแนวนโยบายการดำเนินการโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาใช้ในการพัฒนานักเรียนในชั้นอื่นๆด้วย และนักเรียนสามารถนำประสบการณ์และข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องจนเกิดผลดีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

4.4.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน รองลงมาคือ โรงเรียนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และโรงเรียนประสบผลสำเร็จในการดำเนินโครงการสามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินโครงการแก่โรงเรียนอื่นๆได้ นักเรียนสามารถความรู้และทักษะต่างๆไปแนะนำและถ่ายทอดให้เพื่อนและคนในครอบครัวได้

4.4.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถสามารถนำประสบการณ์และข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องจนเกิดผลดีมีผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ที่สูงขึ้น รองลงมาคือนักเรียนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆไปสู่การปฏิบัติจริงได้ และนักเรียนสามารถสามารถนำประสบการณ์และข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องจนเกิดผลดีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. ด้านบริบทของโครงการ ควรศึกษากรอบนโยบายรวมทั้งแนวทางการดำเนินโครงการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นโดยละเอียดและชัดเจนเพื่อให้การจัดทำโครงการของโรงเรียนสอดคล้องและตรงกับนโยบาย การจัดทำโครงการต่างๆ ควรจัดทำให้ถูกต้อง ตามกระบวนการขั้นตอนและควรเป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนมากที่สุด

2. ด้านกระบวนการของโครงการ ควรมีการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมในอีกหลายช่องทาง เพื่อให้ชุมชน สังคม หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ข่าวสารเพิ่มขึ้น

3. การพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) ประกอบด้วย ด้านพุทธิศึกษา (Head) ด้าน จริยศึกษา (Heart) ด้านหัตถศึกษา (Hand) และด้านพลศึกษา (Health) ควรส่งเสริมการนำแนวทางตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ลงสู่กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ มีทักษะชีวิต สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจ ความชอบ และความถนัด รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักปรับตัวในการดำรงชีวิตในสังคม และมีความสุขกับการเรียนรู้

4. หน่วยงานต้นสังกัดควรสร้างความตระหนัก สนับสนุน ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่สถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาผู้บริหาร ครูกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นสำคัญผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อการปรับปรุงพัฒนาที่ยั่งยืน

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการติดตามผลนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาตามโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อนำผลมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุง พัฒนาโครงการต่อไป

2. ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

โพสต์โดย อ.แอร์ : [19 ก.ค. 2561 เวลา 18:16 น.]
อ่าน [3466] ไอพี : 223.205.242.253
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 34,765 ครั้ง
ซื้อรถปี 2559 ราคาแพงขึ้นเท่าไหร่ คลิกอ่าน?
ซื้อรถปี 2559 ราคาแพงขึ้นเท่าไหร่ คลิกอ่าน?

เปิดอ่าน 12,464 ครั้ง
รักษาอาการท้องเสียด้วยฝรั่ง
รักษาอาการท้องเสียด้วยฝรั่ง

เปิดอ่าน 17,283 ครั้ง
เปลือกไข่ช่วยให้ผ้าขาว
เปลือกไข่ช่วยให้ผ้าขาว

เปิดอ่าน 283,027 ครั้ง
แบบฟอร์ม การบันทึกงานประจำวัน การรายงานประจำสัปดาห์ การส่งงวดงาน รับผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารต่างๆ
แบบฟอร์ม การบันทึกงานประจำวัน การรายงานประจำสัปดาห์ การส่งงวดงาน รับผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารต่างๆ

เปิดอ่าน 572 ครั้ง
ความหมายของรังสี กัมมันตภาพรังสี และธาตุกัมมันตรังสี
ความหมายของรังสี กัมมันตภาพรังสี และธาตุกัมมันตรังสี

เปิดอ่าน 10,757 ครั้ง
รวยด้วยมรรค 8
รวยด้วยมรรค 8

เปิดอ่าน 31,018 ครั้ง
6 ประโยชน์ของการอาบน้ำที่คุณอาจยังไม่รู้
6 ประโยชน์ของการอาบน้ำที่คุณอาจยังไม่รู้

เปิดอ่าน 6,932 ครั้ง
กก.อิสระปฏิรูปการศึกษาช่วยที : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
กก.อิสระปฏิรูปการศึกษาช่วยที : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์

เปิดอ่าน 17,592 ครั้ง
ด้วยหน้าที่ ด้วยหัวใจ "ชีวิตครูบนดอย" โรงเรียนแม่สะเต เชียงใหม่ เรือจ้างผู้ไม่ท้อถอย
ด้วยหน้าที่ ด้วยหัวใจ "ชีวิตครูบนดอย" โรงเรียนแม่สะเต เชียงใหม่ เรือจ้างผู้ไม่ท้อถอย

เปิดอ่าน 48,299 ครั้ง
"อยู่ไกลเขา แต่รู้ทันเขา" ภาพยนตร์สั้น วันครู ครั้งที่ 65 ประจำปี 2564
"อยู่ไกลเขา แต่รู้ทันเขา" ภาพยนตร์สั้น วันครู ครั้งที่ 65 ประจำปี 2564

เปิดอ่าน 8,040 ครั้ง
แนวทางการขับเคลื่อนวิชาชีพครูสู่อาเซียน (พ.ศ.2557-2560)
แนวทางการขับเคลื่อนวิชาชีพครูสู่อาเซียน (พ.ศ.2557-2560)

เปิดอ่าน 56,739 ครั้ง
เหตุใดน้ำแข็ง จึงลอยอยู่บนน้ำได้
เหตุใดน้ำแข็ง จึงลอยอยู่บนน้ำได้

เปิดอ่าน 3,036 ครั้ง
วิธีจัดฮวงจุ้ยห้องนอน เสริมพลังงานดีๆ
วิธีจัดฮวงจุ้ยห้องนอน เสริมพลังงานดีๆ

เปิดอ่าน 6,531 ครั้ง
ประวัตินาฏศิลป์ไทย
ประวัตินาฏศิลป์ไทย

เปิดอ่าน 20,192 ครั้ง
17 ประโยคที่ผู้นำมักพูดทุกวัน
17 ประโยคที่ผู้นำมักพูดทุกวัน

เปิดอ่าน 13,267 ครั้ง
"อัญชัน"..ผมงามและช่วยในการมองเห็น - ดินดีสม เป็นนาสวน
"อัญชัน"..ผมงามและช่วยในการมองเห็น - ดินดีสม เป็นนาสวน
เปิดอ่าน 19,028 ครั้ง
ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ
ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ
เปิดอ่าน 13,841 ครั้ง
แก้ไขเฉพาะหน้า"อาการปวดเข่า"
แก้ไขเฉพาะหน้า"อาการปวดเข่า"
เปิดอ่าน 11,473 ครั้ง
บั้งไฟพญานาค
บั้งไฟพญานาค
เปิดอ่าน 91,373 ครั้ง
การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช
การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ