ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ

ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ

ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์

ผู้วิจัย นางอาภรณ์ มุ่งสุข

หน่วยงาน โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ปีที่ศึกษาค้นคว้า ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

รายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1) ประชากร ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร และคณะครู จำนวน 53 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 306 คน รวมทั้งสิ้น 374 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 สำหรับสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยเปิดตารางสำเร็จรูปของ R.V Krcjcie และ R.W.Morgan ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (ไพฑูรย์ ลินลารัตน์ : 2557) ได้กลุ่มตัวอย่าง 187 คน (2) คณะผู้บริหาร ครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ สำหรับประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เลือกแบบมีจุดมุ่งหมายได้จำนวน 54 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ จำนวน 3 คน คณะครู ได้แก่ ครูประจำชั้น ครูประจำหอนอน ครูแนะแนว ครูฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน ครูโภชนาการ ครูอนามัยโรงเรียน และครูประจำวิชา จำนวน 36 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นกรรมการและเลขานุการผู้แทนผู้ปกครองและผู้แทนครู) จำนวน 12 คน (ไพฑูรย์ ลินลารัตน์ : 2557) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้ปกครองและนักเรียน เป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด ฉบับที่ 2 สำหรับสถานศึกษา ใช้สอบถามคณะผู้บริหาร ครู ผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ครูประจำชั้น ครูประจำหอนอน ครูแนะแนว ครูอนามัยโรงเรียนครูประจำวิชา เป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มสำหรับการศึกษาผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ กำหนดแนวทางการสนทนาตามกรอบภารกิจหลัก 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนา การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข และการส่งต่อ 3) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัวด้านสารเสพติด ด้านความปลอดภัย และด้านพฤติกรรม ทางเพศ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบเชิงเนื้อหาและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยโดยหาค่า IOC (Item Objective Congruence) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาค่า IOC แต่ละรายข้อต้องมากกว่าหรือเท่ากับ .59 แนะนำไปทดลองสอบถามผู้ปกครองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์เอลฟาของคอนบราค (Conbrach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ.93 5) แบบประเมินผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยการประสานความร่วมมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยหาค่า IOC (Item Objective Congruence) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาค่า IOC แต่ละรายข้อต่อมากกว่าหรือ เท่ากับ.95 แล้วนำไปทดลองสอบถามนักเรียนก่อนผู้ให้การรายการที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์เอลฟาของคอนบราค (Conbrach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .96 (สมบูรณ์ ตันยะ.2551) ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การประเมินผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ 6) คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า

จากการศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียน โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ปรากฏผล ดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์

1.1 ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสดศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ผู้บริหารและคณะครูที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกรอบภารกิจการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า มีการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนมากที่สุด รองลงมาดำเนินการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข และดำเนินการส่งต่อตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกรอบภารกิจการดำเนินงาน 5 กิจกรรม ดังนี้

ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและ เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่ามีการดำเนินการติดต่อประสานงานกับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานนักเรียนมากที่สุดรองลงมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนเป็นรายบุคคล และจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบตามลำดับ

ด้านการคัดกรองนักเรียนโดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า ครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล และครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์การคัดกรองนักเรียนมีสภาพ การดำเนินการอยู่ในระดับมากเท่ากัน รองลงมานำผลการคัดกรองนักเรียนไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และกำหนดแนวทางและผู้รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มเสียง หรือกลุ่ม ที่มีปัญหาอย่างเหมาะสมและสรุปผลการคัดกรองนักเรียนและส่งข้อมูล ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และร่วมกันพิจารณาและหาแนวทางพัฒนาช่วยเหลือและแก้ไข นักเรียน อยู่ในระดับมากเท่ากัน

ด้านการส่งเสริมและพัฒนา โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา แต่ละรายการพบว่า มีการจัดกิจกรรมโฮมรูมอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด รองลงมา จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนตรงกับความสนใจและความต้องการของนักเรียน และส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียนตามลำดับ

ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อ พิจารณาแต่ละรายการพบว่า ได้ความไว้วางใจจากผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากที่สุด รองลงมา ครูมีจำนวนนักเรียนในความดูแลเหมาะสมตามเกณฑ์ และได้รับความร่วมมือ ในการเยี่ยมบ้านนักเรียนตามลำดับ

ด้านการส่งต่อนักเรียน โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา แต่ละรายการพบว่า มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่ส่งต่อนักเรียนภายนอกอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด รองลงมา ประสานความเข้าใจระหว่างครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา ครูประจำหอนอน และครูที่เกี่ยวข้องด้านข้อมูล พื้นฐานนักเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการประสานส่งต่อทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และมีการประสานส่งต่อนักเรียน เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักเรียนตามลำดับ

1.2 ส่วนปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน จบการศึกษา ภาคบังคับ สถานภาพของผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นบิดา มารดา รายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จากการสอบถาม ผู้บริหาร คณะครูที่เกี่ยวข้อง และผู้ปกครอง เมื่อ พิจารณารายด้าน พบว่า มีปัญหา โดยเรียงลำดับความถี่มากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่ ขาดการเยี่ยมบ้าน นักเรียนอย่างต่อเนื่อง และการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ด้านการคัดกรองนักเรียน ได้แก่ ขาดการกำหนดแนวทางและผู้รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่จัด อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่มี ปัญหาอย่างเหมาะสม ผลการคัดกรองนักเรียนไม่ได้นำไปใช้ในกระบวนการช่วยเหลือ นักเรียนอย่างเป็นระบบ และขาดความรู้ความเข้าใจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคล

ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ได้แก่ ขาดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนไม่ตรงกับความสนใจและความต้องการของนักเรียน และนักเรียนให้ความสนใจในกิจกรรมโฮมรูมไม่มาก ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข ได้แก่ครูประจำชั้นมีภาระงานเกี่ยวกับนักเรียนประจำค่อนข้างมาก จึงมีเวลาดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง ขาดการประสานงานร่วมมือกับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนอย่างสม่ำเสมอขาดทักษะในการใช้ภาษามือสำหรับการสื่อสารกับนักเรียน ทำให้ครูไม่สามารถสื่อสารกับนักเรียนได้ครอบคลุมทุกเรื่อง ขาดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อได้แก่ ขาดการประสานงานด้านข้อมูลพื้นฐานนักเรียนระหว่างครูประจำชั้น ครูประจำหอนอน ครูที่เกี่ยวข้องในการส่งต่อทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ขาดความรู้และทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเพื่อการส่งต่อ และขาดการติดตามผลการประสานส่งต่อนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

2. ผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียน โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ปรากฏผล ดังนี้

2.1 กรอบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียน โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 5 กิจกรรมดังนี้

2.1.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมีความสำคัญอันดับแรกของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน โดยครูประจำหอนอนและครูประจำชั้นร่วมกันดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน และการได้รับความร่วมมือจากครูโภชนาการ ครูแนะแนวครูอนามัยโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียนครอบคลุมด้านความรูความสามารถ สุขภาพครอบครัวความปลอดภัย สภาพแวดล้อม พฤติกรรมทางเพศ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยจัดทำเป็นระเบียนสะสม สำหรับกิจกรรมที่ได้ร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ จัดทำแผนปฏิบัติงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไว้อย่างชัดเจน เช่น ปฏิทินการเยี่ยมบ้านนักเรียน การดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมต่างๆการจัดอบรมให้ความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแก่ครูทุกคนจัดหาและพัฒนาเครื่องมือการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานนักเรียนให้ได้มาตรฐานการประสานความร่วมมือในการติดต่อประสานงานกับนักเรียนผู้ปกครองและชุมชน จัดสรรงบประมาณ การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเหมาะสม เช่น การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน ครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น หรือครูผู้รบผิดชอบหลัก มีเวลาหรือกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน

2.1.2 การคัดกรองนักเรียน

การคัดกรองนักเรียนเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของนักเรียนที่ได้ จากการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกลุ่มนักเรียน โดยมีเกณฑ์การคัดกรองว่าความรุนแรงหรือความถี่ของพฤติกรรม ใด จึงจะจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มมีปัญหา ซึ่งได้ดำเนินการรูปแบบคณะกรรมการรวมทั้งการใช้ แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ของกระทรวงสาธารณสุขร่วมด้วย สำหรับกิจกรรมที่ได้ร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ จัดให้ความรู้ พัฒนาทักษะการคัดกรองนักเรียนและจำแนกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นระบบ ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเกี่ยวกับการให้รายละเอียดข้อมูลของนักเรียน และการสรุปผลการคัดกรองนักเรียนโดยแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหา ครอบคลุมทุกระดับชั้น เพื่อพิจารณาแนวทางส่งเสริมพัฒนา ช่วยเหลือและแก้ไข และการส่งต่อ

2.1.3 การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน

การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนเป็นการสนับสนุนให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์สำหรับกลุ่มปกติดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา กลุ่มเสี่ยงดำเนินกาจัดกิจกรรมป้องกัน เช่น ประชุมนักเรียน 1 ครั้งต่อเดือน และกลุ่มที่มีปัญหาดำเนินการประสานความร่วมมือในการช่วยเหลือและแก้ไข สำหรับกิจกรรมที่ร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ การสร้างเจตคติและแรงจูงใจต่อการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนานักเรียนแก่ครูทุกคน การจัดทำคู่มือเอกสารแนวทางการจัดกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน จัดกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะของกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาอย่างแท้จริง จัดกิจกรมส่งเสริมนักเรียนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมทุกกิจกรรมที่ให้นักเรียนปฏิบัติจัดกิจกรรมโครงการ สื่อนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการส่งเสริมพัฒนา ช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน และประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรม โครงการสื่อนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามความถนัดและความสนใจ

2.1.4 การป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา

ครูประจำหอนอน และครูประจำชั้นควรให้ความดูแลเอาใจใส่กับนักเรียนในความรับผิดชอบทุกคนอย่างเท่าเทียม ส่วนกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนบริเวณรอบโรงเรียนเพื่อการสอดส่องพฤติกรรม และป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนอย่างเคร่งครัด โดยร่วมดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นเพื่อร่วมกันกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนา ให้คำปรึกษา แนะนำอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพนักเรียน มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเป็นรายกรณี ประสานการทำงานระหว่างครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น ครูแนะแนว และครูผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อส่งเสริม ป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการนักเรียน ครูที่เกี่ยวข้องและชุมชนในการสอดส่องพฤติกรรมของนักเรียนและการประสานความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน

2.1.5 การส่งต่อ

การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบทุกคนควรให้ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดรวมถึงการพัฒนาภาษามือของครูเพื่อการสื่อสารให้เข้าใจกับนักเรียนก็เป็นสิ่งจำเป็น กรณีนักเรียนมีปัญหาทางพฤติกรรมที่อยู่ในเกณฑ์ที่ ทางโรงเรียนพอจะดูแล ช่วยเหลือ และแก้ไขได้นั้น จะส่งต่อไปยังฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องตัน หรือ หากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เช่น เกิดการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย หรือภาวะทุพโภชนาการ ประสานส่งต่อไปยังงานอนามัยโรงเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไข หากนักเรียนประสบปัญหาที่ยากต่อการช่วยเหลือและแก้ไข เช่น ความผิดที่รุนแรง จะดำเนินการสอบสวนในเชิงลึก ประสานผู้ปกครองผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้การช่วยเหลือ หรือการประสานส่งต่อเพื่อเข้าเรียนจนกว่าจะจบหลักสูตรในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษด้วยกันเป็นต้น ทั้งนี้โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการพิจารณาพฤติกรรมของนักเรียน หรือการประสานส่งต่อกรณีนักเรียนมีปัญหาทางพฤติกรรมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบคณะกรรมการ ประสานความร่วมมือกับผู้เชียวชาญเฉพาะด้านในการวินิจฉัยพฤติกรรมนักเรียนเพื่อการส่งต่อ ประสานงานกับเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกในการส่งต่อ การติดตามผลการ ส่งต่อนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และสนับสนุนงบประมาณในการส่งต่อนักเรียน และการติดตามผลอย่างเพียงพอ

2.2 ขั้นตอนการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์

2.2.1 การวางแผน เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานมีการประชุมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนการชี้แจงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละชุดบุคคลที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่ของพลังหลัก พลังเสริมและพลังเป้าหมาย เป็นต้น

นอกจากนี้ ในการวางแผนการดำเนินงานนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง เป็นต้นว่าโรงเรียนประสบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่ ปัญหาพฤติกรรมชู้สาว การทะเลาะเบาะแว้ง การทำลายทรัพย์สินโรงเรียน ซึ่งคณะกรรมการแต่ละคณะ จะดำเนินการวิเคราะห์สภาพความพร้อมพื้นฐานของโรงเรียนและวางแผนการดำเนินการโดยจัดทำแผนปฏิบัติงาน เป็นต้น

2.2.2 การปฏิบัติ เมื่อมีการวางแผนการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนแล้วในกระบวนการปฏิบัติคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจะดำเนินการตามปฏิทินที่กำหนดพลังหลักสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน สร้างความตระหนักและความเข้าใจกับบุคลากร โดยจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ จัดกิจกรรม จัดค่ายคุณธรรมจริยธรรม เยี่ยมบ้านนักเรียน จัดกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดและเอดส์ จัดกิจกรรมประกวดหอนอน จัดกิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง เป็นต้น

2.2.3 การตรวจสอบติดตามผลในรูปแบบคณะกรรมการดำเนินงานและประเมินผลเพื่อทบทวนการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสดศึกษาจังหวัดสุรินทร์โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสอบถาม การสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการกำกับดูแลระบบการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้

2.2.4 การดำเนินการให้เหมาะสม การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์เป็นความพยายามในการพัฒนาระบบการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และนักเรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหานักเรียน จึงมุ่งเน้นการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ เช่น เมื่อนักเรียนมีปัญหาด้านพฤติกรรมชู้สาว โรงเรียนได้ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น ครูพ่อครูแม่ เพื่อปรึกษาหารือกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม โดยให้มาตรการการพักการเรียน การประสานส่งต่อเพื่อให้ได้รับการศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษาที่จังหวัดอื่น พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากทางโรงพยาบาลในการตรวจสุขภาพนักเรียน และคำแนะนำจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นตันนอกจากนี้ยังมีการประเมินผลเพื่อพัฒนาและสรุปรายงาน

2.3 พลังความร่วมมือในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์

2.3.1 กลุ่มหลักในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พลังหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

2.3.2 กลุ่มเสริมในการพัฒนาระบบการดแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย ผู้ปกครอง ชมรมผู้ปกครองและชุมชน ได้แก่ สถานีอนามัยตำบลเชื้อเพลิง โรงพยาบาลอำเภอปราสาท สถานีตำรวจปราสาท องค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิง ผู้นำชุมชนตำบลเชื้อเพลิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น

2.3.3 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของโรงเรียน โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

2.4 กิจกรรมการพัฒนาโดยใช้โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมการคัดกรองและประเมินความเสี่ยง 2) กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน 3) กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเอดส์ 4) กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียน 5) กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม 6) กิจกรรมงานหอนอน 7) กิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง

3. ผลการประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์

3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมือพิจารณาในแต่ละรายการพบว่ามีระดับความพึงพอใจการสนับสนุนงบประมาณในการส่งต่อนักเรียน และการติดตามผลอย่างเพียงพอและเป็นระบบมากที่สุด รองลงมา ครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น หรือครูผู้รับผิดชอบหลัก มีเวลาหรือกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน และจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นเพื่อร่วมกันกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนา ให้คำปรึกษา แนะนำอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพนักเรียนและอย่างถูกวิธี

3.2 ผลการประเมินการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาความร่วมมือการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์รายด้าน ผลปรากฏดังนี้

ความร่วมมือด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า ครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น หรือครูผู้รับผิดชอบหลักมีเวลาหรือกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาการประสานความร่วมมือในการติดต่อประสานงานกับนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน และจัดทำแผนปฏิบัติงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไว้อย่างชัดเจน เช่น ปฏิทินการเยี่ยมบ้านนักเรียนการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ

ความร่วมมือด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า การสรุปผลการคัดกรองนักเรียนโดยแยก เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มทีมีปัญหา ครอบคลุมทุกระดับชั้น เพื่อพิจารณาแนวทางส่งเสริมพัฒนาช่วยเหลือและแก้ไขและการส่งต่อ มากที่สุด รองลงมาประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการให้รายละเอียดข้อมูลของนักเรียน และจัดให้ความรู้พัฒนาทักษะการคัดกรองนักเรียนและจำแนกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและเป็นระบบความร่วมมือด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน พบว่า จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมทุกกิจกรรมที่ให้นักเรียนปฏิบัติมากที่สุด รองลงมา การสร้างเจตคติและแรงจูงใจต่อการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนานักเรียนแก่ครูทุกคนและจัดกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะของกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาอย่างแท้จริง

ความร่วมมือด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข พบว่า ประสานการทำงานระหว่างครูประจำหอนอนครูประจำชั้นครูแนะแนวและครูผู้รับผิดชอบหลักเพื่อส่งเสริมป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนมากที่สุดรองลงมาประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคณะกรรมการนักเรียน ครูที่เกี่ยวข้องและชุมชนในการสอดส่องพฤติกรรมของนักเรียน และการประสานความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน

ความร่วมมือด้านการส่งต่อนักเรียน พบว่า การติดตามผลการส่งต่อนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากที่สุดรองลงมาสนับสนุนงบประมาณในการส่งต่อนักเรียนและการติดตามผลอย่างเพียงพอและประสานงานกับเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกในการส่งต่อ

โพสต์โดย ตั้ม : [8 พ.ค. 2561 เวลา 14:59 น.]
อ่าน [3446] ไอพี : 1.46.10.8
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 1,709 ครั้ง
เติมความหวานด้วยของขวัญวันวาเลนไทน์ ส่งรักแทนใจให้คนพิเศษ
เติมความหวานด้วยของขวัญวันวาเลนไทน์ ส่งรักแทนใจให้คนพิเศษ

เปิดอ่าน 589 ครั้ง
การดูแล "เท้า-เรียวขา" ให้เนียนนุ่ม และ สุขภาพดี
การดูแล "เท้า-เรียวขา" ให้เนียนนุ่ม และ สุขภาพดี

เปิดอ่าน 11,356 ครั้ง
ข้อคิดก่อนเลี้ยงสุนัข
ข้อคิดก่อนเลี้ยงสุนัข

เปิดอ่าน 28,835 ครั้ง
SCORM (Shareable Content Object Reference Model)
SCORM (Shareable Content Object Reference Model)

เปิดอ่าน 35,338 ครั้ง
คุณหมอเผย 9 เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไรให้เรียนเก่ง
คุณหมอเผย 9 เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไรให้เรียนเก่ง

เปิดอ่าน 9,845 ครั้ง
“ท่องเที่ยวอย่างไรให้สบายเท้า”
“ท่องเที่ยวอย่างไรให้สบายเท้า”

เปิดอ่าน 17,086 ครั้ง
งดเหล้าเข้าพรรษา ก่อนงด ต้องลดยังไง
งดเหล้าเข้าพรรษา ก่อนงด ต้องลดยังไง

เปิดอ่าน 12,695 ครั้ง
22 จานเด็ด ลดเสี่ยงมะเร็ง
22 จานเด็ด ลดเสี่ยงมะเร็ง

เปิดอ่าน 16,883 ครั้ง
ไก่เคยูเบตง สร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค
ไก่เคยูเบตง สร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค

เปิดอ่าน 16,648 ครั้ง
สรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้"
สรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้"

เปิดอ่าน 13,638 ครั้ง
นวดกดจุดบนใบหน้า ทางเลือกแก้นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
นวดกดจุดบนใบหน้า ทางเลือกแก้นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

เปิดอ่าน 52,731 ครั้ง
การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

เปิดอ่าน 11,242 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 52 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จดหมายฉบับที่ 52 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เปิดอ่าน 880 ครั้ง
กรมอนามัย แนะ "4 ดี เสริม 4 ห้องหัวใจแข็งแรง"
กรมอนามัย แนะ "4 ดี เสริม 4 ห้องหัวใจแข็งแรง"

เปิดอ่าน 9,647 ครั้ง
มท.ค้านกำนัน-ผญบ.นั่งเก้าอี้ อปท. โดยตำแหน่ง-ไม่เอาประเมินผลทุกปี
มท.ค้านกำนัน-ผญบ.นั่งเก้าอี้ อปท. โดยตำแหน่ง-ไม่เอาประเมินผลทุกปี

เปิดอ่าน 36,741 ครั้ง
อบรมการสร้าง 7 อุปนิสัย ให้เด็กดีมีความสุข
อบรมการสร้าง 7 อุปนิสัย ให้เด็กดีมีความสุข
เปิดอ่าน 13,859 ครั้ง
ชวน สวดมนต์ข้ามปี รับ ปีใหม่ 2553
ชวน สวดมนต์ข้ามปี รับ ปีใหม่ 2553
เปิดอ่าน 10,342 ครั้ง
อาหารก่อมะเร็ง
อาหารก่อมะเร็ง
เปิดอ่าน 14,301 ครั้ง
ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อรักยืนยาว
ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อรักยืนยาว
เปิดอ่าน 11,917 ครั้ง
กาแฟลดอ้วน ผอมชัวร์หรือมั่วนิ่ม
กาแฟลดอ้วน ผอมชัวร์หรือมั่วนิ่ม

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ