การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อศึกษาทักษะนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ 3. เพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ 4. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์และ 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างได้จากวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหนองทุ่ม ศรีสำราญวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 25 คน ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ตัวแปรต้น คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ ตามแนวคิด Active Learning จำนวน 4 เล่ม ตัวแปรตาม คือ ทักษะนาฏศิลป์ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ ตามแนวคิด Active Learning จำนวน 4 เล่ม แบบประเมินทักษะนาฏศิลป์ แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.60-0.67 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.40-0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test
ผลการพัฒนา พบว่า
1. ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ ตามแนวคิด Active Learningสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คือ 83.01/81.87
2. ผลการศึกษาทักษะนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ ตามแนวคิด Active Learningจำนวน 4 เล่ม พบว่ามีคะแนนทักษะนาฏศิลป์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ตามแนวคิด Active Learning จำนวน 4 เล่ม พบว่าทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ตามแนวคิด Active Learning จำนวน 4 เล่ม พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ตามแนวคิด Active Learningจำนวน 4 เล่ม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (x̄ =4.33)