ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะ
การอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา นางสาวสร้อยนรินทร์ คุมคำ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านทุ่งหลุก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 22 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.33 / 83.18 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นหลังจากเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลต่างของคะแนนเท่ากับ 9.09 คิดเป็นร้อยละ 30.30
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21