ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอ

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Development of Instructional model of English reading comprehension activities that promote critical thinking ability

for Mathayomsuksa 2 students

บัวตูม เลิศศรี1

Buatoom Lerssri1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักการพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ คือ ต้องสร้างเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ของตนเองอย่างชัดเจน และวางแผนการเรียนรู้

ใช้กระบวนการกลุ่มในการฝึกฝน เชื่อมโยงความหมายการอ่านกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของนักเรียน ฝึกฝนทักษะทางภาษาโดยใช้ภาษาอังกฤษการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ให้ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับในภาษาที่ถูกต้อง วัตถุประสงค์ของรูปแบบ คือ เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายในการอ่านเพื่อความเข้าใจ 2) ฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม

1ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

3) เชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน 4) แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) นำเสนอผลงานและประเมินตนเอง โดยระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าและฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเอง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายไม่เครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน

2. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลการประเมินความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.41/77.35 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิด

อย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Abstract

The purpose of this research was to study basic information and to develop a model of English reading comprehension activities that promote critical thinking ability. For mathayom suksa two students with efficiency of 75/75 and study learning outcomes according to developed models. The samples were Mathayomsuksa 2 students at Khun Han Witthaya School, Khun Han District, Sisaket Province Administrative Organization In

the second semester of academic year 2015, the total number of 70 students. The tools used in the research were the learning management plan based on the Instructional model of English reading comprehension activities that promote critical thinking ability. English Achievement Test of Mathayomsuksa 2 Students and Critical Thinking Test of Mathayomsuksa 2 Students. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation. And test hypothesis with t-test statistic. The results of this research

are as follows :

1. The basic principle in developing the model is to create a positive attitude towards the English course. Manage learning by letting students set their learning goals explicitly. And a learning plan Use group processes to practice. Linking meaning to reading with culture and lifestyle of students. Practice language skills in English, exchange knowledge and critical thinking. Provide learners with reflection in the correct language. The purpose of the model is to develop English reading that promotes critical thinking ability. Learning process Step 5: Step 1: Set goals for reading comprehension. Step 2: Practice reading skills with group process. Step 3 Link the meaning of the reading to the work. Step 4: Exchange knowledge. And Critical Thought and Stage 5 Presentation and Self-Assessment. And The learning support system consists of providing learners with a source of learning resources to research and practice their own language skills. Creating an atmosphere of learning English does not make the student feel stressed. And reflection of learning outcomes to develop learners.

2. Development of the Instructional model of English reading comprehension activities that promote critical thinking ability for Mathayomsuksa 2 students, the efficiency of the evaluation was very good ( = 4.73) with the efficiency of 78.41/77.38.

3. The results of the learning management revealed that the students of Mathayomsuksa 2 who studied in the form of the Instructional model of English reading comprehension activities that promote critical thinking ability. Has achievement in reading English and critical thinking ability. After the study, the students were significantly higher than those before the study at the .01 level and had the achievement in reading English and critical thinking ability. Higher than the students who have been taught the normal learning. At the .01 level of significance. Mathayomsuksa 2 students were satisfied with learning by Instructional model of English reading comprehension activities that promote critical thinking ability. Overall at the highest level.

บทนำ

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในประชาคมโลกที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเจริญเติบโตทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นโลกไร้พรมแดน สารสนเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ

ซึ่งเป็นภาษาสากล ระบบการศึกษาของไทยในขณะนี้ต้องปฏิรูปและพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร รับรู้ และเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม

ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่างๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ภาษา

อังกฤษจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะภาษาอังกฤษเกี่ยวข้องกับทุกคนทั้ง

ในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่างๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้ภาษาอังกฤษ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ ภาษาอังกฤษช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้

มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 190) ภาษาอังกฤษเป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้ภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจ

ในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และ

มีคุณธรรม ด้วยความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศทำให้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ มีทักษะและศักยภาพในการจัดการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์ มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยม เป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2551: 6)

จากหลักการและจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังกล่าวจะเห็นว่าการจัดการศึกษาในวิชาภาษาอังกฤษมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิดและปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง หรือกำหนดขึ้นให้ผู้เรียนได้เผชิญกับสถานการณ์แล้วนำไปประยุกต์ใช้ความรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ ซึ่งสภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ในปัจจุบัน สนับสนุนให้สังคมทุกส่วนและทุกระดับ ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ ส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี ตระหนัก

ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของทุกคน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมุ่งหวังให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์และหลักสูตรได้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดได้โดยง่าย ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างนับตั้งแต่โครงสร้างของหลักสูตร ตัวหลักสูตร นักเรียน รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาในการเรียนการสอนนั้นบุคคลที่มีส่วนในการชักจูงให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มีเจตคติทางภาษาอังกฤษ มีความคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์

มีทักษะกระบวนการทางภาษาอังกฤษและมีผลสัมฤทธิ์ในเชิงภาษาอังกฤษก็คือครูภาษาอังกฤษนั่นเอง

โดยครูภาษาอังกฤษจะต้องมีสมรรถภาพในการเป็นครูอย่างเหมาะสม 2 ประการคือ ด้านเนื้อหาวิชาทาง

ภาษาอังกฤษและด้านวิชาชีพครู คณะอนุกรรมการการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผลิตครูภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี (สรศักดิ์ แพรดำ. 2544 : 1) การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีเน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็น ผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมหลากหลาย

ทั้งกิจกรรมภาคสนามการสังเกตการสำรวจตรวจสอบ การทดลองในห้องปฏิบัติการ การสืบค้นข้อมูลจาก

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิและ ทุติยภูมิ การทำโครงงานภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นโดยคำนึงถึงวุฒิภาวะ ประสบการณ์เดิม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมต่างกันที่นักเรียนได้รับมาแล้วก่อนเข้าสู่ห้องเรียน การเรียนรู้ของนักเรียนจะเกิดขึ้นระหว่างที่นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตรงในการทำกิจกรรมการเรียนเหล่านั้นจึงจะมีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางภาษาอังกฤษได้พัฒนากระบวนการคิดขั้นสูงและคาดหวังว่ากระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเจตคติทางภาษาอังกฤษมีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ มีเจตคติและค่านิยมเหมาะสมต่อภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีรวมทั้งสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจากคะแนน

การทดสอบระดับชาติ (O - Net) ปีการศึกษา 2555-2557 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน

ขุนหาญวิทยาสรรค์ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนที่อยู่ในระดับต่ำมาก และผลจากการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 94 ที่ไม่สามารถอ่านภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้นักเรียนไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในทักษะที่ยากกว่าได้แก่การฟัง การพูด และการเขียน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. 2558 : 7) จึงจำเป็นต้องทำการวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางและรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะบริบทและธรรมชาติของผู้เรียนมีความแตกต่าง จำเป็นต้องมีรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนดังที่ บอยน์ตัน (Boynton. 2008: 105-109) ได้เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไว้ว่า เด็กทุกคนมีแบบการเรียนรู้ความสนใจที่แตกต่างกัน ผู้สอนควรจะคำนึงถึงความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ

ความมุ่งหมายตามศักยภาพของตน การเรียนรู้ภาษาโดยการบูรณาการเนื้อหาเป็นการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยจัดให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยแบ่งตามช่องทางการรับรู้ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ที่ดีจึงต้องมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ต้องบูรณาการวัฒนธรรมใกล้ตัวผู้เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างความสนใจในการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ อติกานต์ ทองมาก (2552 : 23)

ที่อธิบายถึงแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้บรรลุตามจุดประสงค์ของหลักสูตรมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ 1) ใช้เวลาในการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

2) บรรยากาศในชั้นเรียน มีส่วนสัมพันธ์กับการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามธรรมชาติ

4) ให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน 5) จัดกิจกรรมที่เอื้อต่อความสัมพันธ์ของผู้เรียน 6) ครูและผู้เรียน

มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและ 7) บรรยากาศในการสื่อสารใกล้เคียงสถานการณ์จริง และแนวคิดที่เป็นเป้าหมายการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร สามารถสรุปหลักการสำคัญได้ ดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้

ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ เพราะเป็นวิสัยทัศน์และเป้าหมายของหลักสูตรที่ต้องการปลูกฝังให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างต่อเนื่อง 2) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการฟัง –พูด-อ่าน-เขียน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 3) พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการตั้งคำถามและการให้เหตุผล ตลอดจนเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและมีจิตสาธารณะ 4) ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาค้นคว้า ฝึกฝนทักษะทางภาษาเพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียนด้วยตนเอง 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 190-191) เพราะฉะนั้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทำให้แนวคิดของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา รูปแบบ

การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงต้องมีการพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยและตอบสนองกับการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้เรียน

การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถด้านหนึ่งของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต เพราะบุคคลที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตจะต้องมีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผลพิจารณาข้อเท็จจริงและประเด็นปัญหาก่อนการตัดสินใจซึ่งจำเป็นต้องมีเจตคติในการแสวงหาความรู้ สามารถจำแนกข้อมูล นำความรู้มาอนุมานได้ตรงตามความเป็นจริง และถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้นครูผู้สอนทุกวิชาจึงจำเป็นจะต้องบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (วิจารณ์ พานิช. 2555 : 16-21) การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีหลากหลายวิธี เช่น การสอนโดยใช้คำถาม การสอนโดยการสืบค้น การสอนโดยใช้แผนที่มโนทัศน์ การสอนแบบปัญหาเป็นหลัก

การสอนแบบระดมความคิด การสอนแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนแบบสะท้อนความคิด การสอน

ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. 2556) ดังนั้น แนวทางการพัฒนาความสามารถในการ

คิดอย่างมีวิจารณญาณจึงมีวิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การมอบหมายงานให้ผู้เรียน ค้นคว้า วิเคราะห์

สรุปและนำเสนอกระบวนการวิจัยและผลงานวิจัย ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดการเชื่อมโยงความรู้

เกิดแนวคิดใหม่ๆ ตลอดจนนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้วิธีการสอนแบบนี้สามารถนำไปใช้ได้ทุกรายวิชาใน

หลายระดับการศึกษา (ทิศนา แขมมณี. 2550) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิจารณญาณ ต้องอาศัยความสามารถทักษะการคิดแกนเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ทักษะการเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ทักษะ

การวิเคราะห์ เช่น การแยกแยะสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กัน และการสรุป ย่อ การคิดวิจารณญาณเป็นเรื่องของ

การหาเหตุผล กิจกรรม การเรียนรู้จึงต้องเน้นการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการ หาเหตุผล และใช้เหตุผลมาสนับสนุนความคิดให้ถูกต้อง เที่ยงตรงมากที่สุด การฝึกให้นักเรียนมีความคิดวิจารณญาณ ทำให้นักเรียนสามารถคิดหาเหตุผล เข้าใจความแตกต่างของ คนในเรื่องของความเชื่อและความคิด รู้จักเรียนรู้จากคนอื่น แม้อยู่ในสถานการณ์ที่ขัดแย้งหรือตนเองไม่เห็นด้วย คนที่มี ความสามารถในการคิดวิจารณญาณ ทำให้คนๆ นั้นคิดได้ หลายๆ วิธี (โกวิท ฮุยเสนา และสมบัติ ท้ายเรือคำ. 2559 : 187) จากแนวคิดข้างต้นจะเห็นได้ว่า การพัฒนาการคิดวิจารณญาณต้องบุรณาการในกาเรียนทุกรายวิชาโดยเฉพาะเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนอ่านแล้วคิดวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยกระบวนการกลุ่มซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้ทั้งความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้นและได้ฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ดังนั้น แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จึงมีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายทางการเรียน การอ่านด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมมือ การสร้างสรรค์ผลงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างวิเคราะห์วิจารณ์ และประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

จากความสำคัญของปัญหาและข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และทักษะในการคิดให้สูงขึ้น ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษคนหนึ่งได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของผู้เรียน จึงสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขึ้น โดยมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในระดับที่สูงขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ

ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถ

ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75

3. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ

ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้

3.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

3.3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้

ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ

สมมติฐานของการวิจัย

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 216 คน แบ่งออกเป็น 6 ห้อง ซึ่งเป็นการแบ่งห้องเรียนแบบคละความสามารถนักเรียน

แต่ละห้องมีพื้นฐานความรู้ไม่แตกต่างกัน

1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน

ขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 70 คน จากนักเรียน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม แบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้โดยสุ่มวิธีการจัดการเรียนรู้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1.2.1 กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 34 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

1.2.2 กลุ่มเปรียบเทียบ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

2. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งหมด 20 ชั่วโมง รวมระยะเวลา 5 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ถึง 12 ธันวาคม 2558

3. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ

ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่ เรื่อง

การอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

4. ตัวแปรที่ศึกษา

4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

4.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

6. การวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ

ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการดังนี้

1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 75/75

2. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t – test (Dependent Samples)

3. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ โดยใช้การทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ

t – test (Independent Samples)

4. วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเทียบกับเกณฑ์ 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด

ผลการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปผลการวิจัยดังนี้

1. หลักการพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ คือ ต้องสร้างเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ

จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ของตนเองอย่างชัดเจน และวางแผนการเรียนรู้

ใช้กระบวนการกลุ่มในการฝึกฝน เชื่อมโยงความหมายการอ่านกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของนักเรียน ฝึกฝนทักษะทางภาษาโดยใช้ภาษาอังกฤษการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ให้ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับในภาษาที่ถูกต้อง วัตถุประสงค์ของรูปแบบ คือ เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1) กำหนดเป้าหมายในการอ่านเพื่อความเข้าใจ 2) ฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม3) เชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน 4) แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) นำเสนอผลงานและประเมินตนเอง โดยระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าและฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเอง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายไม่เครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน

2. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลการประเมินความเหมาะสมในระดับดีมาก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.41/77.35 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งผู้วิจัยสามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้

1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.41/77.35 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกระบวนการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีกระบวนการที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี เพราะได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายในการอ่านเพื่อความเข้าใจ 2) ฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม3) เชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน 4) แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) นำเสนอผลงานและประเมินตนเอง โดยระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าและฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเอง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายไม่เครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบสอดคล้องกับงานวิจัยของ ฉลวย ม่วงพรวน (2553 : 234-244) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

โดยขั้นตอนการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ การสำรวจพฤติกรรมการอ่าน การเตรียมผู้เรียน การวางแผนการอ่านด้วยตนเอง และการประเมินการอ่าน และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กรรณิกา ประพันธ์ (2556 : 68-78) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 แนะนำสำรวจ (Introduction) ขั้นที่ 2 ตรวจความรู้เดิม (Experience) ขั้นที่ 3 เพิ่มความรู้ใหม่ (Exploration) ขั้นที่ 4 ใส่ใจฝึกอ่าน (Practice) ขั้นที่ 5 สร้างสรรค์ชิ้นงาน (Production) ขั้นที่ 6 ร่วมกันสรุป (Conclusion) ทั้งนี้ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ มีกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างชัดเจนคือ การฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม การเชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน และการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ รวมทั้งการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต้องไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเครียด เพราะเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ซ้ำหลายครั้งจากการฟังเพื่อน จากการเล่าให้เพื่อนฟัง และจากการสร้างสรรค์ผลงาน สอดคล้องกับแนวคิดของ แคลร์และเฮเนส (Clair; & Haynes. 1994 : 22-26) ที่อธิบายไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ควรจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องไม่รู้สึกเครียด กลัว หรือกังวล เพราะความเครียด ความกลัว หรือความกังวลจะลดความกระตือรือร้นของผู้เรียนในการเรียนรู้และรับรู้ภาษา ผู้เรียนจะเรียนภาษาได้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่ผ่อนคลาย มีความสุขในการเรียนรู้ มีคนคอยให้กำลังใจและเกิดการเรียนอย่างท้าทายในขั้นที่เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน ความท้าทายที่เหมาะสมและไม่ยากจนเกินไปจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จในการเรียน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจและเรียนภาษาได้อย่างรวดเร็ว มีการทำให้เด็กรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน เช่น มีการร่วมนำเสนอผลงาน มีการเรียกชื่อ มีการยิ้มให้ผู้เรียน และสร้างกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มีการทำให้เด็กรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน เช่น มีการร่วมนำเสนอผลงาน มีการเรียกชื่อ มีการยิ้มให้ผู้เรียน และสร้างกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

2. ผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นไปตามหลักการของรูปแบบที่กำหนดไว้ เนื่องมาจากนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ ได้ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน พร้อมทั้งมีการเรียนแบบกระบวนการกลุ่มด้วย โดยขั้นตอนในรูปแบบได้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยขั้นที่ 3 เชื่อมโยงความหมาย

จากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และขั้นที่ 5 นำเสนอผลงานและประเมินตนเอง และระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าและฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเอง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต้องไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน สอดคล้องกับแนวคิดของ แคลร์และเฮเนส (Clair; & Haynes. 1994 : 22-26) ที่อธิบายไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ควรจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องไม่รู้สึกเครียด กลัว หรือกังวล เพราะความเครียด ความกลัว หรือความกังวลจะลดความกระตือรือร้นของผู้เรียนในการเรียนรู้และรับรู้ภาษา ผู้เรียนจะเรียนภาษาได้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่ผ่อนคลาย มีความสุขในการเรียนรู้ มีคนคอยให้กำลังใจและเกิดการเรียนอย่างท้าทายในขั้นที่เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของ

ฉลวย ม่วงพรวน (2553 : 234-244) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

พบว่า คะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะด้านการเรียนด้วยตนเองก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านโดยคะแนนความเข้าใจในการอ่านและการใช้กิจกรรมการรู้คิดครั้งที่ 2-10 สูงกว่าคะแนนการอ่านครั้งที่ 1 คะแนนการอ่านครั้งที่ 10 สูงกว่าครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กรรณิกา ประพันธ์ (2556 : 68-78) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สามารถเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษา อังกฤษของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษา อังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มควบคุม ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้

1.1 จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ

ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถพัฒนาการเรียนรู้ด้านการเพื่อความเข้าใจและการคิดวิจารณญาณของนักเรียนได้ตามเป้าหมาย ดังนั้น ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จึงควรนำไปใช้จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ โดยศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบให้เข้าใจหลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ และระบบสนับสนุน

การเรียนรู้ แล้วจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามองค์ประกอบ

1.2 ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรสังเกต ดูแลนักเรียน

อย่างใกล้ชิด และให้คำแนะนำระหว่างการปฏิบัติกิจกรรม ทำความเข้าใจและชี้แนะวิธีปฏิบัติ เน้นสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย มีความไว้วางใจกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนด้วยกันเองเพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

1.3 ควรปฏิบัติตามหลักการของรูปแบบอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะการสร้างเจตคติที่ดี

ต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ของตนเองอย่างชัดเจน การแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต้องไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นกระบวนการที่ครูมักไม่เห็นความสำคัญจึงข้ามขั้นตอนเหล่านี้ แต่ถือว่าขั้นตอนเหล่านี้มีความสำคัญมาก

ต่อความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป

2.1 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับการสอน

ตามรูปแบบอื่น เพื่อค้นหาวิธีการสอนที่เหมาะสมที่สุด

2.2 ควรพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถด้านอื่นๆ ที่เป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้มีความทันสมัยและ

ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนได้มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกวิท ฮุยเสนา และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2559). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครั้งที่ 12. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. (2556). การสอนนักศึกษาพยาบาลเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 19 (2) พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556: นครราชสีมา.

พุทธารัตน์ ทะสา. (2554). การพัฒนาระบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้นิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธีสดศรี- สกฤษดิ์วงศ์.

สุธาทิพย์ สุดหนองบัว. 2545. การพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โครงงาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สรศักดิ์ แพรดำ. (2544). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (2558). รายงานผลคุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. ศรีสะเกษ. ฝ่ายวิชาการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). “แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรูของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน,” เอกสารประกอบการประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรูของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรูสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อติกานต์ ทองมาก. (2552). การใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพี่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควน

สวรรค์ จังหวดตรัง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ .

อารยา คำก้อน. (2552). ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กระบวนการอ่านแบบบูรณาการชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Boynton. (2008). Content and Language Integrated Learning. California: University of California Press.

Claire, E. & Haynes, J. (1994). Classroom Teacher’s ESL Survival Kit 1. New Jersey. Prentice – Hall.

โพสต์โดย ครูตุ้ม : [15 ส.ค. 2560 เวลา 20:09 น.]
อ่าน [3718] ไอพี : 223.205.239.40
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 2,966 ครั้ง
ประโยชน์ของขมิ้นชัน
ประโยชน์ของขมิ้นชัน

เปิดอ่าน 21,251 ครั้ง
รวยๆ เฮงๆ กับของมงคลรับวันตรุษจีน
รวยๆ เฮงๆ กับของมงคลรับวันตรุษจีน

เปิดอ่าน 18,310 ครั้ง
การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้ง
การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้ง

เปิดอ่าน 10,975 ครั้ง
กินแคลเซียมป้องกันโรคกระดูกผุ กลับไปเสี่ยงให้เกิดหัวใจวายขึ้น
กินแคลเซียมป้องกันโรคกระดูกผุ กลับไปเสี่ยงให้เกิดหัวใจวายขึ้น

เปิดอ่าน 9,922 ครั้ง
ปัญหา คือ การเรียนรู้ ?
ปัญหา คือ การเรียนรู้ ?

เปิดอ่าน 56,140 ครั้ง
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

เปิดอ่าน 8,814 ครั้ง
Professor Switch ชั้นเรียนสุดอลังการ เวทีหมุนเปลี่ยนคลาสเรียน
Professor Switch ชั้นเรียนสุดอลังการ เวทีหมุนเปลี่ยนคลาสเรียน

เปิดอ่าน 9,477 ครั้ง
คนนอนกรนไม่ต้องกลัวเป็นโรคหัวใจไม่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
คนนอนกรนไม่ต้องกลัวเป็นโรคหัวใจไม่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

เปิดอ่าน 9,518 ครั้ง
แนวปฏิบัติการจัดทำสัญญาค้ำประกันที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนชำระของเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ใหม่
แนวปฏิบัติการจัดทำสัญญาค้ำประกันที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนชำระของเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ใหม่

เปิดอ่าน 15,663 ครั้ง
คลิปน้อง "ธนัช" เด็กไทยอัจฉริยะ ตอน 4 ขวบ เดี่ยวไวโอลิน ที่ยอดวิวตอนนี้ 22 ล้านแล้ว
คลิปน้อง "ธนัช" เด็กไทยอัจฉริยะ ตอน 4 ขวบ เดี่ยวไวโอลิน ที่ยอดวิวตอนนี้ 22 ล้านแล้ว

เปิดอ่าน 19,164 ครั้ง
หลักเกณฑ์การคำนวณเงินค่าเสาเข็มฐานรากอาคารเรียนและอาคารประกอบ
หลักเกณฑ์การคำนวณเงินค่าเสาเข็มฐานรากอาคารเรียนและอาคารประกอบ

เปิดอ่าน 9,164 ครั้ง
ฟรีแวร์สำหรับแสดงและแก้ไขรูปภาพ
ฟรีแวร์สำหรับแสดงและแก้ไขรูปภาพ

เปิดอ่าน 36,008 ครั้ง
มาฝึกออกเสียง 40 ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐานกันเถอะ
มาฝึกออกเสียง 40 ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐานกันเถอะ

เปิดอ่าน 9,454 ครั้ง
ประหยัดน้ำมันทำยังไง
ประหยัดน้ำมันทำยังไง

เปิดอ่าน 14,935 ครั้ง
เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป
เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป

เปิดอ่าน 14,589 ครั้ง
8 วิธีถนอมหลังห่างไกลอาการปวด
8 วิธีถนอมหลังห่างไกลอาการปวด
เปิดอ่าน 17,582 ครั้ง
มติ ครม. ให้หยุดยาว ช่วงเข้าพรรษา 4-8 ก.ค.นี้
มติ ครม. ให้หยุดยาว ช่วงเข้าพรรษา 4-8 ก.ค.นี้
เปิดอ่าน 66,089 ครั้ง
การอ่านแบบ Scanning
การอ่านแบบ Scanning
เปิดอ่าน 23,897 ครั้ง
ไขข้อข้องใจ กินเห็ดมีประโยชน์จริงหรือ?
ไขข้อข้องใจ กินเห็ดมีประโยชน์จริงหรือ?
เปิดอ่าน 11,403 ครั้ง
ฟังหรือยัง เพลง "จากนี้ไปจนนิพพาน"
ฟังหรือยัง เพลง "จากนี้ไปจนนิพพาน"

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ