ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียน และการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เ

การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียน และการอ่าน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ

นายวีระยุทธ แก้วแจ่มศรี

โรงเรียนบ้านป่าต้าก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Best Practice

“การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียน และการอ่าน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ”

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา Best Practice

1.1 ชื่อผู้พัฒนา Best Practice ชื่อ-สกุล นายวีระยุทธ แก้วแจ่มศรี

1.2 โรงเรียนบ้านป่าต้าก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

2. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Best Practice

2.1 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ

2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน และโดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ

2.3 เพื่อพัฒนาเด็กพิการเรียนร่วม ให้มีทักษะชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

3. ระยะเวลาในการพัฒนา Best Practice

การพัฒนาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2560 – กรกฎาคม 2560

4. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง Best Practice กับเป้าหมาย/จุดเน้นของสพฐ. และสถานศึกษา

เชื่อมโยงกับเป้าหมายการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มี

จุดเน้นการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ระยะ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2559 ประกอบด้วย 9 เรื่อง ได้แก่

1. พัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการของทุกหน่วยงานในปัจจุบันอยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน

2. การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เพื่อให้คนพิการได้รับโอกาสเข้าถึงการบริการทางการศึกษา

ตั้งแต่แรกเกิด หรือพบความพิการ

3. การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เพื่อการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับคนพิการ ตามหลักการ

ศึกษาเพื่อปวงชน

4. การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เพื่อให้คนพิการทุกคนมีสิทธิและความเท่าเทียมในการประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้

5. เพิ่มและพัฒนาครู และ บุคลากรทางการศึกษา ให้เพียงพอและสามารถจัดบริการทางการศึกษาให้กับเด็กพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. การจัดการศึกษาทางเลือกอื่นที่เอื้อต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ

7. เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาสำหรับคนพิการทุกคนอย่างมีคุณภาพ

8. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และ

9. กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษาคนพิการในทุกรูปแบบ

เชื่อมโยงกับเป้าประสงค์ (Goal) การดำเนินงานของโรงเรียนบ้านป่าต้าก ดังนี้

1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถและทักษะตามสมรรถนะและสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

3. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม

4. โรงเรียนพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียนใช้ในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

5. โรงเรียนมีการจัดกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ ที่เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน

5. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนา Best Practice

การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียนและการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ ได้ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎีต่างๆที่สอดคล้องกับการพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้

1.การบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ดังนี้

1.1 S : Student ด้านนักเรียน การเตรียมความพร้อมที่มีความจำเป็นต้องการพิเศษ

1. เตรียมคัดกรองแยกประเภทความพิการ

2. ประเมินพื้นฐานความพร้อมของนักเรียน

3. วางแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP )

4. จัดทำแผนการสอนรายบุคคล ( IIP )

5. ดำเนินการพัฒนาเด็กตามแผนการสอนรายบุคคล

เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยเด็กปกติคอยช่วยเหลือดูแล แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษมีพัฒนาการด้านต่างๆ ดีขึ้น สามารถเรียนร่วมในห้องเรียนปกติได้

สภาพโรงเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน บรรยากาศห้องเรียนให้ลดข้อจำกัดของผู้เรียนโดยมีมุม ต่างๆ ในการทำกิจกรรม ได้รับความช่วยเหลือร่วมมือดูแลเอาใจใส่จากครูผู้สอน ครูชั้นเรียนปกติตลอดทั้ง บุคลากรและองค์กรต่างๆในชุมชน

1.2 E : Environment ด้านสภาพแวดล้อม

ด้านอาคารสถานที่

1. ได้ดำเนินการจัดทำโครงการห้องเสริมวิชาการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน

2. จัดสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยในการเรียนการสอน

3. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ในบริเวณโรงเรียน

ด้านบุคลากร

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนโดยมีบุคลากรในชุมชน องค์กรการ ปกครองในท้องถิ่น คณะครู ผู้ปกครองเข้าร่วมเป็นกรรมการ

2. มีเครือข่ายในการจัดการศึกษา

1.3 A: Activities ด้านกิจกรรมและการจัดการเรียนการสอน

1. ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตร โดยยึดหลักสูตรสถานศึกษาเป็นหลัก และนำมาปรับให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

2. จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล

3. จัดทำแผนการสอนรายบุคคล เพื่อใช้ในการพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อม และ ปรับปรุงการเรียนการ สอน ให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง

1.4 T: Tools ด้านเครื่องมือ

จากนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เกี่ยวกับการให้การศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ด้วยการ การจัดหาสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอํานวยความสะดวก ตามความเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละประเภท การจัดระบบข้อมูล นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในด้านต่างๆ เพื่อนํามาวางแผนในการจัดการศึกษาการพัฒนา ส่งเสริม บุคลากรในโรงเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วม การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขอรับการ สนับสนุนสําหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

2. แนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม

การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ

3. ลักษณะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

ความบกพร่องทางการเรียนรู้หมายถึงความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตวิทยา ซึ่งทำให้มี ปัญหาในการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ หรือ คณิตศาสตร์ร่วมกับบุคคลที่มีความบกพร่องจากการได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนระบบประสาทส่วนกลาง (Brain injury) แต่ไม่รวมถึงผู้ที่มีปัญหาที่เกิด จากความบกพร่องทางการได้ยิน ทางการเห็น ทางสติปัญญารวมถึงความบกพร่องทางอารมณ์และเสียเปรียบทาง สภาพแวดล้อม

4. หลักการวัฏจักรเดมิ่ง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan – P)

ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do – D)

ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check – C)

ขั้นที่ 4 การแก้ไขปัญหา (Act – A)

5. ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของมาสโลว์ มีขั้นตอนดังนี้

- ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs)

- ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)

- ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love needs)

- ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs)

- ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs)

6.เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนร่วม

การเรียนรู้ของเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการทำงานของสมอง และพบว่าความบกพร่องทางกระบวนการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งมาจากความบกพร่องในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของสมอง จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ดังนั้น วิธีการจัดการเรียนรู้หรือการหาช่องทางการสอนที่สอดคล้องกับปัญหาของเด็ก จะเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ โดยมีหลักการที่เหมาะสม ดังนี้

หลักการทั่วไป

1. สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน การเริ่มต้นที่ดีควรเริ่มสอนในสิ่งที่ต่ำกว่าความสามารถของเด็ก เล็กน้อย เพื่อให้เด็กมีกำลังใจ มั่นใจ และพร้อมจะเรียนในระดับยากต่อไปได้

2. ให้เด็กมีความสุขในการเรียน เด็กที่มีความสุขในการเรียนจะมองคนในแง่ดี และสามารถสร้าง

วามสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและครูได้

3.ให้การเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอ คำชมจากครูเป็นสิ่งสำคัญเด็กจะรู้สึกมีกำลังใจและพยายาม

มากขึ้น

4.ให้เด็กเรียนจากเพื่อน (เพื่อนช่วยเพื่อน) เพราะเด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เรียนรู้คนเดียวได้ไม่ดี แต่จะเรียนรู้ได้เมื่อเรียนกับเพื่อน

5.จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน เด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะมีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย ห้องเรียนจึงควรมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีเสียงรบกวนจากภายนอกน้อยที่สุด

6.มองหาจุดเด่นของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสดงความสามารถพิเศษ หรือเป็นคนเก่งในจุดที่เด็ก

มีศักยภาพ

7.สอนโดยการเน้นย้ำซ้ำทวน เด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ จะเรียนรู้ช้า เรียนได้หน้าลืมหลัง ครูควรใช้วิธีการกระตุ้นความจำ เช่น ให้เด็กทำกิจกรรมนั้นซ้ำบ่อย ๆ ด้วยวิธีการรับรู้ที่หลากหลายจากการดู การฟังการสัมผัส

8. ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย ในหนึ่งคำสั่งไม่ควรให้ทำหลาย ๆ กิจกรรม และให้เด็กทบทวน

คำสั่งก่อนลงมือปฏิบัติ

9. พยายามให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากเด็กมักขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ ขาดการจัดลำดับ

และมักไม่รอบคอบ ครูผู้สอนควรให้ความช่วยเหลือ

10. ให้เวลามากขึ้น เนื่องจากเด็กจะทำงานช้า เรียนช้า การให้ทำการบ้านและการทำแบบฝึกหัด

จึงควรมีเวลาให้เด็กมากกว่าเด็กทั่วไป

11. มอบงานให้เหมาะสม การมอบให้เด็กทำงานแต่ละครั้งไม่ควรให้ครั้งละ มากๆ แต่อาจมอบบ่อยขึ้น (เพื่อให้เท่ากับเด็กคนอื่น )

12. สรุปเรื่องก่อนสอน เด็กจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นหากมีการสรุปเรื่องที่จะเรียนให้เด็กฟังก่อนที่จะเรียน

เรื่องนั้นๆ

13. ใช้อุปกรณ์ช่วย อนุญาตให้เด็กใช้เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ เทปบันทึกเสียง เพื่อช่วยให้เด็ก

สามารถเรียนรู้ได้

14. ให้เรียนรู้จากการปฏิบัติ เด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและร่วมกิจกรรมมากกว่าการฟังการสอนจากครู

15. ปรับเอกสารการเรียนการสอน เนื่องจากเด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ มีปัญหาการรับรู้ทางสายตาเอกสารการเรียนการสอนต่างๆ จึงควรมีการปรับให้เหมาะสม เช่น พิมพ์ขนาดตัวอักษรขนาดใหญ่ขึ้น เน้นคำข้อความสำคัญในหนังสือ ให้ทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ลงในกระดาษกราฟ หรือให้เขียนใน

กระดาษที่มีเส้นบรรทัด เป็นต้น

7. หลักการใช้เทคนิค 3R

เทคนิค 3R หมายถึง เทคนิคที่นำมาใช้จัดกิจกรรมหรือสร้างประสบการณ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ ได้แก่

Repettition การสอนแบบให้ทำซ้ำ ๆ ทฤษฎีการฝึกหัดและใช้เวลาสอนมากกว่าเด็กปกติเมื่อมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้วจึงเปลี่ยนจุดประสงค์การเรียนรู้ใหม่

Relaxtion สอนแบบไม่ตึงเครียด ผ่อนคลาย ยืดหยุ่นเปลี่ยนกิจกรรมจากวิชาการเป็นกิจกรรมนันทนาการ สลับไปมา

Routine งานสอนประจำ สอนสม่ำเสมอ

8.สื่อ 3 มิติ

สื่อ 3 มิติ หมายถึง สื่อการสอนที่ครูสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่าน และการเขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่น ลูกเต๋า ก-ฮ, ลูกเต๋า สระ, ลูกเต๋าวรรณยุกต์, แถบพยัญชนะ สระ ประสมคำ ,บิงโกสระ พยัญชนะ , แบบฝึกอ่านมาตราตัวสะกดที่มีภาพประกอบ ,ใบงานที่มีการวาดภาพ ระบายสี ตัดแปะ, วงล้อสะกดคำ, บัตรคำ ใช้เล่นเกมต่อคำ เป็นต้น นักเรียนจับต้องได้ สามารถเรียนรู้จำนวนผ่านการเล่น ทำให้นักเรียนเข้าใจง่ายและเรียนรู้อย่างมีความสุข

6. กระบวนการพัฒนา Best Practice

6.1 กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best Practice ไปใช้

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 6 คน

6.2 ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice แบ่งเป็น 3 ขั้น

ขั้นที่ 1 การสร้างและทดลองใช้เครื่องมือ

ขั้นที่ 2 การนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง

ขั้นที่ 3 การประเมินผลการดำเนินการ

6.3 การตรวจสอบคุณภาพ Best Practice

1. ประเมินนักเรียนโดยใช้ใบงาน/แบบทดสอบ /ผลงานนักเรียน

2. สังเกตพฤติกรรมนักเรียนในการร่วมทำกิจกรรม

3. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน

6.4 แนวทางการนำ Best Practice ไปใช้ประโยชน์

1. นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้พัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้

2. นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้พัฒนาทักษะการเขียนคำ การเขียนประโยคอย่างง่ายได้

3 นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้สร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมวิชาการมาเป็นนันทนาการ ทำให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้และภูมิใจในความสามารถของตนเอง

4. เป็นแบบอย่างการพัฒนาสื่อที่ทันสมัย แปลกใหม่และนำไปใช้พัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้ได้จริงในการพัฒนาการอ่าน และ การเขียน ของนักเรียนให้ดีขึ้น

7. ผลสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนา Best Practice

7.1 เชิงปริมาณ

การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียนและการอ่าน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ สามารถพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ โดยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 84

7.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.94

7.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ Best Practice

จากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครูผู้สอน และนักเรียนมีความพึงพอใจใน

การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียนและการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ คิดเป็นร้อยละ 100

7.4 ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา Best Practice

ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนานักเรียนที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษ และเชื่อมั่นว่า “นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้” และ โรงเรียนควรจัดสื่อหรือนวัตกรรมที่สนองต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน รวมทั้งมุ่งเน้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ คนทุกคน (Education for all) ตามปรัชญาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม

8. กระบวนการตรวจสอบซ้ำเพื่อพัฒนาปรับปรุง Best Practice ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง

8.1 วิธีการตรวจสอบซ้ำ BP

ประเมินและตรวจสอบคุณภาพของ Best Practice โดยจัดตั้งคณะกรรมการนิเทศ ตรวจสอบ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

8.2 ผลการตรวจสอบซ้ำเพื่อการพัฒนา

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สามารถพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียน โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ ในการอ่านแจกลูกสะกดคำและการเขียนคำได้ถูกต้อง และใช้ระยะเวลาในการอ่านน้อยลง และเด็กบางคนสามารถเสนอแนะเพื่อนได้

โพสต์โดย อาม : [9 ส.ค. 2560 เวลา 08:37 น.]
อ่าน [4205] ไอพี : 106.0.210.59
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 12,479 ครั้ง
7 วิธีเติมความมีชีวิตชีวาให้ชีวิต
7 วิธีเติมความมีชีวิตชีวาให้ชีวิต

เปิดอ่าน 10,168 ครั้ง
จำกันได้ไหม? "คลิปฝรั่งเกลียดเมืองไทย" ล่าสุดได้รางวัลโฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยวยอดเยี่ยม!!
จำกันได้ไหม? "คลิปฝรั่งเกลียดเมืองไทย" ล่าสุดได้รางวัลโฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยวยอดเยี่ยม!!

เปิดอ่าน 21,767 ครั้ง
สื่ออังกฤษเผย 11 สิ่งที่คุณควรลบออกจากเฟซบุ๊ก
สื่ออังกฤษเผย 11 สิ่งที่คุณควรลบออกจากเฟซบุ๊ก

เปิดอ่าน 60,350 ครั้ง
ตารางธาตุ
ตารางธาตุ

เปิดอ่าน 12,621 ครั้ง
คิดสักนิด...เพื่อจิตบริสุทธิ์
คิดสักนิด...เพื่อจิตบริสุทธิ์

เปิดอ่าน 12,743 ครั้ง
เสริมสร้างทักษะให้ลูกน้อยไปกับ 3 กิจกรรมพัฒนา EF
เสริมสร้างทักษะให้ลูกน้อยไปกับ 3 กิจกรรมพัฒนา EF

เปิดอ่าน 36,468 ครั้ง
การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

เปิดอ่าน 12,953 ครั้ง
หักดิบเลิกบุหรี่.. แพทย์ยืนยันได้ผลดีกว่าลด
หักดิบเลิกบุหรี่.. แพทย์ยืนยันได้ผลดีกว่าลด

เปิดอ่าน 14,332 ครั้ง
ทำไมต้องจ้างทำการบ้าน (ชมคลิป)
ทำไมต้องจ้างทำการบ้าน (ชมคลิป)

เปิดอ่าน 115,775 ครั้ง
ดาวน์โหลดหนังสือ Brain-based Learning (BBL) 7 เล่ม เขียนโดย อ.พรพิไล เลิศวิชา
ดาวน์โหลดหนังสือ Brain-based Learning (BBL) 7 เล่ม เขียนโดย อ.พรพิไล เลิศวิชา

เปิดอ่าน 12,261 ครั้ง
แนะปรับกระจก-ท่านั่งเหมาะสม ลดเสี่ยงอุบัติเหตุ
แนะปรับกระจก-ท่านั่งเหมาะสม ลดเสี่ยงอุบัติเหตุ

เปิดอ่าน 12,713 ครั้ง
15 หลักฮวงจุ้ยในที่ทำงานสำหรับสาวมิลเลเนียม
15 หลักฮวงจุ้ยในที่ทำงานสำหรับสาวมิลเลเนียม

เปิดอ่าน 13,918 ครั้ง
บูชาแล้วรวย
บูชาแล้วรวย

เปิดอ่าน 20,785 ครั้ง
ประวัติการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ประวัติการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

เปิดอ่าน 8,520 ครั้ง
ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่
ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่

เปิดอ่าน 16,871 ครั้ง
แนวทางการประเมินคุณภาพรอบสี่
แนวทางการประเมินคุณภาพรอบสี่
เปิดอ่าน 17,089 ครั้ง
วิธีการพับเสื้อยืดอย่างรวดเร็ว
วิธีการพับเสื้อยืดอย่างรวดเร็ว
เปิดอ่าน 43,231 ครั้ง
โกดะ ทาเคชิ ไจแอนท์ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
โกดะ ทาเคชิ ไจแอนท์ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
เปิดอ่าน 13,691 ครั้ง
อยากเปรี้ยวอย่างมีคุณค่า ต้องถามหา "จุลินทรีย์"
อยากเปรี้ยวอย่างมีคุณค่า ต้องถามหา "จุลินทรีย์"
เปิดอ่าน 6,652 ครั้ง
ประโยชน์ของ มะละกอสุก หวานอร่อย ช่วยต้านมะเร็งหลายชนิด
ประโยชน์ของ มะละกอสุก หวานอร่อย ช่วยต้านมะเร็งหลายชนิด

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ