การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 41 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เพราะห้องเรียนแต่ละห้องของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลเปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่เรียนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 01
2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Xˉ = 4.17, S.D.= 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (Xˉ = 4.20, S.D. = 0.69) ด้านสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (Xˉ = 4.19, S.D.=0.61) ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมาก (Xˉ = 4.16, S.D.= 0.73) และด้านการประเมินผล อยู่ในระดับมาก (Xˉ = 4.16, S.D.= 0.68)