บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบ การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคำสะอาด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย จำนวน 10 แผน ค่าความเหมาะสมเท้ากับ 4.51 2) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย จำนวน 10 เล่ม ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.46 3) แบบทดสอบย่อยระหว่างเรียน จำนวน 100 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .20 - .80 ค่าความยากง่ายเท่ากับ .23 - .80 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test) หลังเรียน (Post-test) เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย จำนวน 30 ข้อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design สอบก่อนการทดลอง (Pre - test) สอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน และสอบหลังการทดลอง (Post - test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาคุณภาพสื่อ E1/E2 หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ใช้ t-test ทดสอบการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้ E.I. วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน ใช้ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบ ใช้สถิติตามวิธีของแบรนแนน (Brennan) หาค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ใช้สถิติตามวิธีของโลเวท (Lovett) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rcc) และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( X-bar) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า
1) ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย เท่ากับ 82.58/81.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัย มีค่าเท่ากับ 0.6413 หมายความว่า เอกสารประกอบการเรียนชุดนี้ ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 64.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้