ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research-Based Learning)

บทคัดย่อ

หัวข้องานวิจัย การพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบ

โครงงานฐานวิจัย (Research - Based Learning) โดยใช้รูปแบบ

STAEA

โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้วิจัย นางวัชรินทร์ คำวงศ์

หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 34 คน ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา จำนวน 33 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา จำนวน 29 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 33 คน ประกอบด้วย 1) ครูพี่เลี้ยงที่ ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) จำนวน 4 คน 2) กลุ่มครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่ม และ แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า เอสทีเออีเอ (STAEA Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 - 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) มีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง

2. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้ดังนี้

2.1 สมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) ของผู้รับการอบรม หลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวม พบว่า การฝึกอบรมส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 1 ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาการประเมินผลการฝึกอบรมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) เป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product) ด้านสภาวะแวดล้อม( Context ) ด้านปัจจัยนำเข้าของการฝึกอบรม (Input) และด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมากที่สุด

2.2 รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) ครูพี่เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning)

2.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) ครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning)

2.4 สมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning)ของครูผู้รับการอบรม พบว่า ครูผู้รับการอบรมมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) พบว่า ครูผู้รับการอบรมมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) อยู่ในระดับมากที่สุด

2.5 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) ของครูโดยภาพรวม พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 3 ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านกระบวนการนำรูปแบบไปใช้ ลำดับที่ 2 ด้านผลของการใช้รูปแบบ และลำดับที่ 3 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ ลำดับที่ 1 องค์ประกอบเชิงกระบวนการ แบ่งออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (SWOT) 2) ขั้นการฝึกอบรมให้ความรู้ก่อนการพัฒนา (Training) 3) ขั้นการปฏิบัติการสอน (Action) 4) ขั้นการประเมินผลการพัฒนา (Evaluation) 5) ขั้นการทบทวนหลังปฏิบัติกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (After Action Review) ลำดับที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบมีความชัดเจนและเป็นระบบ ลำดับที่ 3 องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสม ลำดับที่ 4 องค์ประกอบเชิงเงื่อนไข การนำไปใช้ และการติดตาม ดูแล มีความเหมาะสม และลำดับที่ 5 องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่ม พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) ของครู ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอน ถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มากในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการนำรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning)ไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเงื่อนไขของครูที่มีความมุ่งมั่น จริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เปิดใจรับฟังคำสอนแนะและข้อมูลป้อนกลับจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก รวมทั้งผู้บริหารมีความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูเป็นการส่งเสริมให้ครูเกิดการพัฒนาทั้งทางด้านการพัฒนาบุคลากรครู และการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning)

2.6 ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) นักเรียนมีผลการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 4 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Learning) นักเรียนทุกระดับชั้นทุกห้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐาน

โพสต์โดย แอ๋ว : [10 ส.ค. 2559 เวลา 14:21 น.]
อ่าน [3935] ไอพี : 182.52.97.84
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 7,099 ครั้ง
ความรู้เกี่ยวกับ "สี"
ความรู้เกี่ยวกับ "สี"

เปิดอ่าน 23,623 ครั้ง
เพลง "วันแม่"
เพลง "วันแม่"

เปิดอ่าน 2,364 ครั้ง
ยางนา
ยางนา

เปิดอ่าน 13,559 ครั้ง
ข่า...ยาดีคู่ครัวไทย
ข่า...ยาดีคู่ครัวไทย

เปิดอ่าน 70,335 ครั้ง
มหัศจรรย์ เลข 11
มหัศจรรย์ เลข 11

เปิดอ่าน 10,734 ครั้ง
น้องซีที หุ่นยนต์ เสิร์ฟอาหาร สัญชาติไทย
น้องซีที หุ่นยนต์ เสิร์ฟอาหาร สัญชาติไทย

เปิดอ่าน 14,656 ครั้ง
ระบบสุริยะอาจสูญสลาย! เมื่อนักดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ "ดาวมรณะ" กลืนดาวบริวาร
ระบบสุริยะอาจสูญสลาย! เมื่อนักดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ "ดาวมรณะ" กลืนดาวบริวาร

เปิดอ่าน 99,852 ครั้ง
ดาวน์โหลดโปรแกรม ปพ.1 ใหม่ 2556 (Excel)
ดาวน์โหลดโปรแกรม ปพ.1 ใหม่ 2556 (Excel)

เปิดอ่าน 10,489 ครั้ง
ทั่วโลกฮือฮา ซูดานใต้ไอเดียเก๋ จะสร้างเมืองเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
ทั่วโลกฮือฮา ซูดานใต้ไอเดียเก๋ จะสร้างเมืองเป็นรูปสัตว์ต่างๆ

เปิดอ่าน 12,120 ครั้ง
"บรมครูอินเตอร์เน็ต" ชี้อีก 50 ปี จะไม่มีหนังสือพิมพ์กระดาษ
"บรมครูอินเตอร์เน็ต" ชี้อีก 50 ปี จะไม่มีหนังสือพิมพ์กระดาษ

เปิดอ่าน 18,208 ครั้ง
พระลักษมี
พระลักษมี

เปิดอ่าน 1,182 ครั้ง
ประโยชน์ของการดื่มน้ำเปล่า
ประโยชน์ของการดื่มน้ำเปล่า

เปิดอ่าน 35,963 ครั้ง
ประเภทของภาพกราฟิก
ประเภทของภาพกราฟิก

เปิดอ่าน 14,073 ครั้ง
เคล็ดลับในการเริ่มบทสนทนาภาษาอังกฤษที่น่าสนใจกับเจ้าของภาษาที่ใครๆ ก็ทำได้
เคล็ดลับในการเริ่มบทสนทนาภาษาอังกฤษที่น่าสนใจกับเจ้าของภาษาที่ใครๆ ก็ทำได้

เปิดอ่าน 25,062 ครั้ง
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux

เปิดอ่าน 2,169 ครั้ง
สุขอนามัยที่ดีในการนอนหลับ 10 ประการ
สุขอนามัยที่ดีในการนอนหลับ 10 ประการ
เปิดอ่าน 10,749 ครั้ง
8 ข้อปฏิบัติอยู่อย่างเป็นสุข
8 ข้อปฏิบัติอยู่อย่างเป็นสุข
เปิดอ่าน 29,778 ครั้ง
12 เรื่องน่ารู้ การถ่ายภาพ ด้วยกล้องดิจิตอล
12 เรื่องน่ารู้ การถ่ายภาพ ด้วยกล้องดิจิตอล
เปิดอ่าน 20,398 ครั้ง
กินรสจืด ยืดชีวิต
กินรสจืด ยืดชีวิต
เปิดอ่าน 20,866 ครั้ง
สุดยอดสิ่งมีชีวิต ตอนที่ 1 สุดยอดจ้าวความเร็ว
สุดยอดสิ่งมีชีวิต ตอนที่ 1 สุดยอดจ้าวความเร็ว

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ