ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พอเพียงกับการบริโภค วิชาสังคมศึกษา
สาระเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา ส21103 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาความสามารถทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ทำวิจัย
หน่วยงาน นางสุภัค ตรังรัตนจิต
โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การรายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พอเพียงกับการบริโภค วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา ส21103 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พอเพียงกับการบริโภค วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา ส21103 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 หลังจากเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พอเพียงกับการบริโภค วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พอเพียงกับการบริโภค
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 43 คน ได้มาจากการเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พอเพียงกับการบริโภค วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา ส21103 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า 1) บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พอเพียงกับการบริโภค วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.84/83.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พอเพียงกับการบริโภค วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด