ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านกะดึ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ผู้วิจัย มนตรชัย แสงอุ่น
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านกะดึ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น สนุกกับการเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด เรียนรู้ทักษะทางสังคม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์ เป็นผลทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนรู้เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านกะดึ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระยะเวลาในการวิจัยระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2558 จำนวน 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ 2) เอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เสริมสร้าง เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก(P) ตั้งแต่ 0.27 ถึง0.73 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.67 มีค่าความเชื่อมั่น( )ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ เอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.76 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึง พอใจทั้งฉบับ โดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาร์ค ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ( ) เท่ากับ 0.91วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.71/88.82
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ มีค่าเท่ากับ 0.7890
3. ผลเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน- หลังเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านกะดึ ค่า t- test มีค่าเท่ากับ 29.54 แสดงว่า ผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด( x̄ = 4.57, S.D = 0.16)
โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความพึงพอใจต่อการเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาอื่น ๆ ได้