ชื่อเรื่อง รายงานการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคม
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาชูสินอุปถัมภ์ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้ศึกษา นางวิภา หยาหลี
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2557
บทคัดย่อ
การศึกษา เรื่องการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาชูสินอุปถัมภ์ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูลมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาชูสินอุปถัมภ์ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความพร้อมทางสังคม ก่อนและหลังโดยการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาชูสินอุปถัมภ์ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคม ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาชูสินอุปถัมภ์ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 5 6 ปี กำลังศึกษาอยู่
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาชูสินอุปถัมภ์ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 15 คน โดยผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดการพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม จำนวน 4 ชุด รวม 20 ข้อ 2) แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน จำนวน 12 กิจกรรม 24 แผน 3) แบบประเมินพฤติกรรมการพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม จำนวน 4 เรื่อง 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านจำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าร้อยละ (%) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t - test dependent)
ผลการศึกษา พบว่า 1) การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคม
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาชูสินอุปถัมภ์ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ย 10.13 จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.44 และคะแนนทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย 16.72 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.61 แสดงว่า การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคม ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.44/83.61 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 1 2) เปรียบเทียบผลการพัฒนาความพร้อมทางสังคมก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 9.8 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 49.00 คะแนนทดสอบการพัฒนาความพร้อมทางสังคม หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย 16.6 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.00 เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยร้อยละ ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยร้อยละ
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงว่านักเรียนที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน มีพัฒนาความพร้อมทางสังคม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 2 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคม ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 2.80 อยู่ในระดับ มาก ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 3