การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา
อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ผู้ประเมินได้ประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ คือ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ได้แก่ 4.1) คุณภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา 4.2) คุณภาพของนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา 4.3) ความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 562 คน ได้แก่ 2.1 ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน (ศึกษาจากกลุ่มประชากร) 2.2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ศึกษาจากกลุ่มประชากร) 2.3) ครู จำนวน 13 คน (ศึกษาจากกลุ่มประชากร) 2.4) นักเรียน และผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มนี้ ได้มาจากเกณฑ์กำหนดขนาดการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจ์ซีและ มอร์แกน (Krejeie and Morgan) ซึ่งประกอบด้วย 2.4.1) นักเรียน จำนวน 254 คน และ 2.4.2) ผู้ปกครอง จำนวน 254 คน ระยะเวลาในการประเมินโครงการ โดยเริ่มจาก วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ในด้านความเหมาะสมของการกำหนดโครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับสภาพแวดล้อม ความสอดคล้องของเป้าหมายโครงการกับนโยบายและสภาพแวดล้อม ความเป็นไปได้ ความต้องการและความจำเป็นของการกำหนดโครงการและความพร้อมของปัจจัยเพื่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมทุกรายการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ในด้านความเหมาะสมเกี่ยวกับความเป็นผู้นำของผู้บริหาร เจตคติ ความรู้และความสามารถของครู ความเหมาะสม เพียงพอของสื่อ เครื่องมือและนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวมทุกรายการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการปฏิบัติงานของการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ในด้านการวางระบบการบริหารจัดการระบบ การดำเนินงานตามขั้นตอนและกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดกิจกรรม แนะแนวและการให้บริหารแนะแนว การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การพัฒนาและการผดุงรักษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมทุกรายการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยมีการประเมินดังนี้
4.1 ผลการประเมินคุณภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำ วิทยศึกษา ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4.2 ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปได้ดังนี้
4.3.1 ความพึงพอใจของครูต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4.3.2 ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษาโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
สรุป จากผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ปีการศึกษา 2557 โดยได้ประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ทั้ง 4 ด้าน คือด้านสภาพแวดล้อม(Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนั้นการดำเนินโครงการนี้จึงบรรลุตามจุดมุ่งหมายของโครงการตามที่ตั้งไว้