ชื่อเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู
โรงเรียนบ้านตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครพนม เขต 2
ผู้วิจัย นายธงชัย ชำนาญไพร
ปีที่วิจัย 2554
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพและปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) หาแนวทางพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 3) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนบ้านตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning)
2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 9 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินรายงานการวิจัยในชั้นเรียน แบบบันทึกแบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียน
บ้านตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จากการศึกษาปรากฏผลดังนี้
1.1 สภาพ การทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการ
ทำวิจัยในชั้นเรียน ตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการวิจัย ตลอดจนการสร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรม
1.2 ปัญหา การทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูมีปัญหาในการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน โดยเฉพาะการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนแบบเป็นทางการ เนื่องจากต้องใช้เวลามาก และขาดผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความสมบูรณ์ และความถูกต้องของงานวิจัย
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียน
บ้านตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ซึ่งประกอบด้วย
2.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ
2.2 การดำเนินการนิเทศ การวิจัยครั้งนี้ ใช้การนิเทศ 2 วิธี คือ
การนิเทศภายใน และการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ
3. ผลการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียน
บ้านตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปรากฏผลดังนี้
3.1 ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ความเข้าใจด้านการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับพอใช้( = 65.38) โดยมีร้อยละความก้าวหน้า 40.61
3.2 ผลการดำเนินการนิเทศ
3.2.1 ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมจากการนิเทศภายใน ในวงรอบที่ 1 พบว่าอยู่ในระดับ ดี ( = 4.07)
3.2.2 การนิเทศภายในเพื่อติดตามการใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรม และนำวิธีการหรือนวัตกรรมไปใช้ในวงรอบที่ 1 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยสามารถวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล และหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ โดยการจัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอน ชุดการสอน แบบฝึกเสริมทักษะการพัฒนาแผนการสอน การใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ สามารถพัฒนานวัตกรรมการสอน มีการทดลองใช้นวัตกรรมกับนักเรียนและบันทึกผลเป็นระยะ ๆ แต่ผู้ร่วมวิจัย ส่วนใหญ่วิเคราะห์ข้อมูลยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ใช้ภาษายังไม่ค่อยสละสลวย การสรุปผลการวิจัยยังไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การดำเนินการนิเทศแบบชี้แนะ ในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องสมบูรณ์ ใช้ภาษาสละสลวยขึ้น การสรุปผลการวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
3.2.3 การประเมินการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มผู้ร่วมวิจัย
ในวงรอบที่ 1 พบว่า การเขียนรายงานการวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.38) ในวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับดีมาก (( = 4.63)
3.2.4 การเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ของกลุ่มผู้วิจัยในวงรอบที่ 2 มีความสมบูรณ์โดยรวมอยู่ในระดับดี ( =4.28) ในวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับดีมาก ( =4.61)