ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูปและลดรูป
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวพัชราภรณ์ กุลบุตร
ครูชำนาญการ โรงเรียนห้วยต้นนุ่นวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80 / 80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนห้วยต้นนุ่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับแบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูปและ ลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 22 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูปและลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูปและ ลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเขียนคำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) เท่ากับ 83.40 และมีประสิทธิภาพผลลัพธ์ หลังเรียน (E2) คิดเป็น ร้อยละ 82.50 จึงกล่าวได้ว่า แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูปและ ลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 83.40/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูปและลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.40 คิดเป็นร้อยละ 62.00 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.50 คิดเป็น ร้อยละ 82.50 มีความแตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.10 คิดเป็นร้อยละ 20.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่านักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน มีคะแนนความก้าวหน้าตั้งแต่ ร้อยละ 15.00 ถึงร้อยละ 25.00 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและ หลังเรียน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.50