|
|
• รายงานผลการปฏิบัติงาน ด้านบริหารจัดการกิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
บทที่ 1
ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ข้อมูลผู้เข้าประกวด
ชื่อ นางลมัย สุขจิตร
เกิดวันที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 อายุ 35 ปี
การศึกษา
ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านกระสัง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สอบได้เป็นนักเรียนทุนคุรุทายาทของกรมสามัญศึกษาและรับทุนศึกษาต่อที่โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ระดับปริญญาตรี รับทุนคุรุทายาทกรมสามัญศึกษา ( ต่อ ) วุฒิการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิตวิชาเอกเคมี วิชาโทคณิตศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา
การรับราชการ
บรรจุตามโครงการคุรุทายาทของกรมสามัญศึกษาที่โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2545 จนถึงปัจจุบัน
การรับหน้าที่สอนกิจกรรมแนะแนวในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
รับผิดชอบสอนวิชาเคมีในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและกิจกรรมแนะแนวระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 จนถึงปัจจุบัน
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน
ครูชำนาญการ โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคารตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้สะดวก
1. โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
รหัสไปรษณีย์ 32190 โทรศัพท์ 044-512076
2. บ้านเลขที่ 100 / 2 หมู่ที่ 2 ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
รหัสไปรษณีย์ 32190โทรศัพท์ 044-596260 โทรศัพท์มือถือ 087 - 2585703
1.2 รายวิชาที่รับผิดชอบสอน
เคมีพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1-4/2
เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1-5/2
เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1-6/2
กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1-4/2
กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 5/2
กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1-6/2
1.3 งานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย
หัวหน้างานแนะแนวโรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 - ปัจจุบัน
1.4 โครงการที่รับผิดชอบในแผนปฏิบัติการ
1. โครงการรับนักเรียน
2. โครงการปัจฉิมนิเทศ
3. โครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
4. โครงการแนะแนวอาชีพเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน
1.5 ข้อมูลสถานศึกษา
โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เขต 33 ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ มีเนื้อที่ 31 ไร่10 ตารางวา
อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 มีนักเรียนจำนวน 3 จังหวัด
ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด
1.6 ข้อมูลนักเรียน
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนนักเรียน เพศ สภาพครอบครัว ในปีการศึกษา 2556
ระดับชั้น นักเรียนทั้งสิ้น เพศ ฐานะยากจน พ่อแม่หย่าร้าง
ชาย หญิง
ม.1 28 12 16 9 7
ม.2 35 20 15 12 5
ม.3 45 28 17 6 4
ม.4 28 12 16 3 3
ม.5 36 21 15 4 6
ม.6 35 16 19 5 3
รวมทั้งสิ้น 207 109 98 39 28
ร้อยละ 18 13
1.7 ข้อมูลครูและบุคลากร
ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลครูและบุคลากรโรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร
ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง
วิทยะฐานะ
อายุ ประสบ-
การณ์
สอน คุณวุฒิ สาขาวิชาเอก
1 นายเสงี่ยม วงค์พล ผู้อำนวยการ 44 กศ.ม. บริหารการศึกษา
2 น.ส.รัชนีกรนิภา มีมาก ครูชำนาญการ 48 16 กศ.ม. ภาษาอังกฤษ
3 นางสร้อยสังวาลย์ คำเกลี้ยง ครูชำนาญการ 39 16 ค.บ. วิทยาศาสตร์ทั่วไป
4 นางวิไลพร หงษ์ทอง ครูชำนาญการ 42 16 ค.บ. ภาษาไทย
5 นางเสาวรัตน์ วงค์พล ครูชำนาญการ 39 16 ค.บ. ฟิสิกส์
6 ว่าที่ ร้อยโท อุดม บริสุทธิ์ ครูชำนาญการ 36 5 ค.บ. ชีววิทยา
7 นางลมัย สุขจิตร ครูชำนาญการ 35 11 ค.บ. เคมี
8 นายสิทธิพร บุระผากา ครูชำนาญการ 38 9 ค.บ. สังคมศึกษา
9 นายรวิชญ์ อานไมล์ ครูชำนาญการ 35 7 ค.บ. สังคมศึกษา
ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลครูและบุคลากรโรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร( ต่อ )
ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง
วิทยฐานะ
อายุ ประสบ-
การณ์
สอน คุณวุฒิ สาขาวิชาเอก
10 นายสุรินทร์ สุวเสน ครู ค.ศ.1 34 2 ค.บ. คณิตศาสตร์
11 นายธรรมธัช บาศรี ครูผู้ช่วย 27 1 กศ.บ. ภาษาอังกฤษ
12 นางสาวราตรี พันธุชา ครูผู้ช่วย 35 1 วท.บ. เคมี
13 นางจุฑามาศ โพธิ์ทอง พนักงานราชการ 46 18 ค.บ. ภาษาไทย
14 นายฐาปกรณ์ โชติพันธ์ พนักงานราชการ 24 3 วทบ. พลศึกษา
15 นายวิทยา วินทไชย พนักงานราชการ 26 7 ค.บ. ดนตรีศึกษา
16 นางสุวรรณา งามสง่า พนักงานราชการ 34 7 ค.บ. คอมพิวเตอร์ศึกษา
17 นายประมวล พรมชื่น พนักงานราชการ 40 ม.6 -
18 นายวิรัตน์ บุญเลิศ นักการภารโรง 46 ม.3 -
1.8 สภาพชุมชนโดยรวม
1. สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยสลับกับทุ่งนาที่ราบในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ มีอาณาเขตติดต่อบริเวณ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด จึงมีความหลากหลายและความแตกต่างของแต่ละหมู่บ้านแต่ละจังหวัด แต่ก็สามารถอาศัยอยู่รวมกันอย่างกลมกลืน ลักษณะอุปนิสัยใจคอของประชากรจึงเป็นคนเอื้ออาทร เสียสละ ขยัน ซื่อสัตย์ รักท้องถิ่นบ้านเกิด และมีวิถีชีวิตการดำรงชีวิตแบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ เทศกาลงานปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม
2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6
ร้อยละ 100 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา และเลี้ยงสัตว์
ร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ
ฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 25,000 บาท
3. โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
เนื่องจากชุมชนมีอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยน้อย โรงเรียนจึงระดมทรัพยากรเพื่อมาใช้ในการจัดการศึกษา เช่น การจัดทำผ้าป่าเพื่อการศึกษา เป็นต้น ได้รับความร่วมมือจากชุมชนด้วยดี ทั้งนี้สามารถดำเนินการได้เพียงชั่วระยะหนึ่ง ทำให้โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการดำเนินงานเพื่อบริการ สนับสนุนการศึกษาทั้งในด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์สำนักงาน สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย ตลอดจนด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะน้ำดื่มและน้ำใช้ซึ่งไม่เพียงพอตลอดปี
นอกจากนี้ด้านการคมนาคม ถนนในการสัญจรส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง ทำให้การเดินทางมาโรงเรียนของบุตรหลานเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะในฤดูฝน อีกทั้งไม่มีรถโดยสารประจำทางผ่าน จึงทำให้นักเรียนบางส่วนขาดโอกาสศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
บทที่ 2
วิเคราะห์หลักสูตรกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551
2.1 หลักการจัดกิจกรรมแนะแนว
กิจกรรมแนะแนว หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กำหนดคุณภาพผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ 2 ส่วน เพื่อให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2.ความสามารถในการคิด
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5.และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ได้แก่
1.รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2.ซื่อสัตย์สุจริต
3.มีวินัย
4.ใฝ่เรียนรู้
5.อยู่อย่างพอเพียง
6.มุ่งมั่นในการทำงาน
7.รักความเป็นไทย
8.มีจิตสาธารณะ
ดังนั้นการจัดกิจกรรมแนะแนว จึงต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่สมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ นำไปบูรณาการในจัดกิจกรรมตามลักษณะของกิจกรรมแนะแนวที่ระบุไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราชการ 2551 อีกทั้งส่งเสริม พัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะชีวิต โดยมุ่งการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจ ธรรมชาติของผู้เรียน และวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่ตอบสนองจุดมุ่งหมายหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา การงานและอาชีพ รวมทั้งชีวิต และสังคม เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนมีอิสระในการคิด และตัดสินใจ ด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการปฏิบัติ จนกระทั่ง เกิดทักษะชีวิต และการเรียนรู้ตลอดจน ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโดยมีครูแนะแนวเป็นพี่เลี้ยง และประสานงาน
2.2 วัตถุประสงค์ของกิจกรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมแนะแนวมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จัก เข้าใจ รัก และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถวางแผนการเรียน อาชีพ รวมทั้งการดำเนินชีวิต และสังคม
3. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2.3 ขอบข่ายของการจัดกิจกรรมแนะแนว
1. กิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองในด้านการเรียนอย่างเต็มศักยภาพ รู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนการเรียน การศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเทคนิค วิธีการและทักษะการเรียนรู้ มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียนและสามารถวางแผนการเรียน การศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง
2 กิจกรรมแนะแนวด้านการงานและอาชีพ มุ่งให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองในทุกด้าน รู้โลกของงานอาชีพอย่างหลากหลาย มีเจตคติที่ดีและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในอาชีพ มีการเตรียมตัวสู่อาชีพ ตลอดจนมีการพัฒนางานอาชีพตามที่ตนเองถนัดและสนใจ
3. กิจกรรมแนะแนวด้านชีวิตและสังคม มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีเจตคติที่ดีต่อการมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพ มีทักษะในการดำเนินชีวิต และสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
กิจกรรมแนะแนวมีขอบข่ายครอบคลุมด้านการศึกษา ด้านการงานและอาชีพ ด้านชีวิตและสังคม ในการจัดกิจกรรมจำเป็นต้องจัดกิจกรรมทั้ง 3 ด้านไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้น จึงได้ผสมผสานและบูรณาการเป็นกลุ่มกิจกรรมใหญ่ ๆ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กิจกรรมรู้จักและเข้าใจตนเอง
2. กิจกรรมการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
3. กิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา
4. กิจกรรมการปรับตัวและการดำรงชีวิต
กิจกรรมกลุ่มที่ 1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง ทั้งด้านความถนัด ความสนใจ ความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย นิสัย อารมณ์ ความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
กิจกรรมกลุ่มที่ 2 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะ และวิธีการแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวบรวม และจัดระเบียบข้อมูล สามารถจัดระบบ กลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูลอย่างฉลาด เหมาะสม และเห็นคุณค่าในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
กิจกรรมกลุ่มที่ 3 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล ตลอดจนปรับปรุงแผนการดำเนินงาน โดยใช้ข้อมูล คุณธรรมและจริยธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
กิจกรรมกลุ่มที่ 4 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ ยอมรับตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ แสดงออกอย่างเหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.4 มาตรฐานกิจกรรมแนะแนว
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนรู้จักตนเอง รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น และสามารถพึ่งตนเองได้
จุดประสงค์กิจกรรม
1. รู้ความสนใจ ความถนัด ความสามารถของตนเอง
2. รักและเห็นคุณค่า ภูมิใจในตนเองและผู้อื่น
3. สามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาของตนเองได้
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีทักษะในการเลือกแนวทางการศึกษาอาชีพและการงาน ชีวิตและสังคม
จุดประสงค์กิจกรรม
1. แสวงหาข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเอง ด้านการศึกษา อาชีพ และการงาน ชีวิตและสังคม
2. ใช้ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเอง ด้านการศึกษา อาชีพ และการงาน ชีวิตและสังคม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดี
จุดประสงค์กิจกรรม
1. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
2. สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างมีความสุข
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม
จุดประสงค์กิจกรรม
1. มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม
แหล่งอ้างอิง:
แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กระทรวงศึกษาธิการ
บทที่ 3
การดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
จากการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แล้วนำมาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในกิจกรรมแนะแนว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องมีส่วนร่วมให้มากที่สุด และให้เหมาะกับสภาพทั่วไป ความต้องการของผู้ปกครอง และความจำเป็น จึงได้จัดกิจกรรมแนะแนวโดยเน้นด้านการฝึกอาชีพ และทุกกิจกรรมการเรียนการสอนจะใช้หลักการบริหารจัดการแบบ PDCA เพื่อให้มีการวางแผน จัดทำ ตรวจสอบและมีการเผยแพร่ในการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับบุคคลอื่น ๆ การจัดกิจกรรมแต่ละด้าน มีดังนี้
ด้านส่วนตัวและสังคม
1.ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับเพศศึกษา โดยโรงเรียนเป็นแกนนำเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพศรอบด้าน นักเรียนสามารถเป็นวิทยากรเกี่ยวกับเพศศึกษาได้
2. จัดตั้งชมรมทูบีนัมเบอร์วัน และนำนักเรียนเข้าร่วมการประกวด
3. นำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่สวนคุณพ่อล้วน กุลแก้ว
ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามและร่วมฟังการบรรยายการสอนวิธีการดำเนินชีวิตจากปราชญ์ชาวบ้าน
4. สอนให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวแล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น สอนเรื่อง ลายผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ ช้าง และข้าวหอมมะลิ ที่เป็นของดีของจังหวัดสุรินทร์ นักเรียนไปศึกษาดูงานสถานที่เหล่านี้เพื่อให้นักเรียนได้รู้สึกรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นตนเองและมีแนวทางที่จะอนุรักษ์ไว้ให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป
5. ฝึกทักษะการเป็นวิทยากรให้กับนักเรียนจากกิจกรรมการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาในเขตพื้นที่บริการ
ด้านการศึกษาต่อ
1. นำนักเรียนไปทัศนศึกษาในงานตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
2. นำนักเรียนไปร่วมตอบปัญหาสมุนไพรที่มหาวิทยาลัยรังสิต และศึกษาดูงานคณะต่าง ๆ
ของมหาวิทยาลัย
3. นักเรียนร่วมทดสอบความรู้ความสามารถและความถนัดในอาชีพเพื่อเลือกสาขาในการศึกษาต่อจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์
ด้านอาชีพ
ฝึกอาชีพต่าง ๆ ให้กับนักเรียนตามความสนใจและความถนัด โดยฝึกด้วยตนเอง และประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อฝึกอาชีพให้ ดังนี้
นวดฝ่าเท้า ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เสริมสวย จัดดอกไม้สด ทำปลาทู ทำอาหารสุขภาพ
ทำขนมเบเกอรี่ เพ้นท์เล็บ เพ้นท์เสื้อ ศิลปการจัดจีบผ้า การถักตุ๊กตาไหมพรม
รายผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนแต่ละกิจกรรม ได้มีการเผยแพร่ผลงานผ่าน Facebook และมีผู้แสดงความเห็นร่วมชมผลงานรายละเอียดการดำเนินการจัดการเรียนการสอนในแต่ละกิจกรรม มีรายละเอียดดังนี้
ผลงานในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับเพศศึกษา
ในสภาพสังคมในปัจจุบัน เยาวชนได้รับค่านิยมจากต่างชาติในเรื่องเพศศึกษา โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร นักเรียนร้อยละ 30 ที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว จึงได้จัดการเรียนการสอนเพศรอบด้าน โดยได้นำมาสอนในกิจกรรมแนะแนว โดยได้รับความอนุเคราะห์จากองค์การ Path ที่ได้จัดอบรมให้กับครูทั้งโรงเรียนเพื่อนำมาใช้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการให้ความรู้เพศรอบด้าน งานแนะแนว เป็นงานหลักที่ต้องดูแลและให้ความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาให้กับนักเรียน เพื่อป้องกัน แก้ไข และดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องชู้สาว ท้องก่อนวัยอันควร
การดำเนินงานตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นมา
1. ได้ร่วมอบรมเกี่ยวกับครูแกนนำการจัดการศึกษาเพศรอบด้านขององค์การ Path
2. เผยแพร่ผลงานทางอินเตอร์เน็ตเรื่อง คุณสมบัติการเป็นพ่อแม่
3. นักเรียนได้รับเชิญเป็นวิทยากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับเพศรอบด้านตามโรงเรียนในเขตอำเภอชุมพลบุรี
4. ได้รับโล่เกียรติบัตรจากอำเภอชุมพลบุรี โรงเรียนตัวอย่างการจัดการศึกษาเพศรอบด้าน
5. ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักป้องกันและควบคุมโรคที่ 5 โรงเรียนที่นำหลักสูตรการจัดการศึกษาเพศรอบด้านเข้ามาใช้ในสถานศึกษา
ผลจากการดำเนินงาน
1. นักเรียนมีทักษะชีวิตดีขึ้น
2. ปัญหาท้องก่อนวัยอันควรลดลง
ผลงานการสอนเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและเห็นคุณค่าในท้องถิ่น
โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร เป็นโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ห่างไกลตัวอำเภอ นักเรียนส่วนมากมีฐานะยากจน โรงเรียนมีนโยบายการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม มีวงดนตรีโปงลาง ดนตรีไทย มีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการสู่หลักสูตรท้องถิ่น และเน้นการบูรณาการในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ข้าพเจ้าได้จัดการเรียนการสอนในกิจกรรมแนะแนว เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเห็นคุณค่าในท้องถิ่นโดยแบ่งเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนดังนี้
ม.4 ศึกษาและร่วมดูแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับช้าง
ม.5 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์
ม.6 ศึกษาเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ
ผลที่ได้รับ
1. นักเรียนรักและเห็นคุณค่าของที่มาของตนเอง
2. นักเรียนเห็นคุณค่าในท้องถิ่น และสามารถมองเห็นแนวทางในการอนุรักษ์ให้อยู่ถึงรุ่นต่อ ๆ ไป
ผลงานในการให้บริการงานวิชาการแก่ชุมชน
จากการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว ข้าพเจ้าได้นำนักเรียนให้บริการแก่ชุมชน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 2556 มีรายละเอียดดังนี้
ปีการศึกษา 2551
1. นำนักเรียนที่เรียนรายวิชากิจกรรมแนะแนว ไปให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารให้ปลอดภัยจากสารเคมี และโรคที่เกิดจากการทานอาหารทีมีสารปนเปื้อน ที่หมู่บ้านแคนดำ ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
2.นำนักเรียนที่อยู่ในระดับชั้นที่ทำหน้าที่เป็นครูที่ปรึกษาไปทำความสะอาดวัดบ้านแคนดำ
ปีการศึกษา 2552
1. จัดการอบรมฝึกอาชีพให้กับชาวบ้าน โดยขอความอนุเคราะห์ให้ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านจำนวน 3 หมู่บ้าน ที่สนใจฝึกอาชีพมาฝึกอาชีพที่โรงเรียน โดยเสียค่าใช้จ่ายคนละ 150 บาท เพื่อเป็นค่าวัสดุฝึก ฝึกอาชีพให้ 4 อาชีพ ได้แก่ การทำขนมกล้วยทอด การทำน้ำเต้าหู้ การทำปลาทูนึ่ง การทำขนมปังสังขยา ข้าพเจ้าได้จัดฝึกให้ในวันเสาร์ ในเดือนกรกฎาคม 2552
ปีการศึกษา 2553
1. นักเรียนที่ไปฝึกอาชีพ นวดฝ่าเท้า และซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ได้ไปให้บริการนวดฝ่าเท้าที่บ้านระหารและสถานีอนามัยบ้านสวนหม่อน และให้บริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่วัดบ้านระหาร ในกิจกรรมแนะแนว
ปีการศึกษา 2554
นำนักเรียนไปให้ความรู้กับชุมชนในเรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีในการเกษตร และสมุนไพรที่ใช้สำหรับล้างพิษ บ้านแคนดำ สวนหม่อน โนนไร่ เขวาตะคลอง
นำนักเรียนไปฝึกการเป็นวิทยากรในการจัดค่ายวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะชีวิตที่โรงเรียนอนุบาลชุมพลบุรี
ปีการศึกษา 2555
นำนักเรียนไปเป็นวิทยากรอบรมนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาในเขตพื้นที่บริการในเรื่องค่ายวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะชีวิตที่โรงเรียนบ้านสวนหม่อนและโรงเรียนบ้านแคนดำ
ปีการศึกษา 2556
ฝึกนักเรียนนักเรียนชั้น ม.4 6 เป็นวิทยากรอบรมการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
นักเรียนออกให้บริการนวดฝ่าเท้าฟรีให้กับผู้สูงอายุในวันพระ
ผลจากการให้บริการชุมชน
1. นักเรียนได้ฝึกความเสียสละ และได้รู้วิธีการนำความรู้ที่ได้เรียนไปพัฒนาชุมชน
2. ชาวบ้านได้ความรู้เพิ่มเติมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. นักเรียนมีทักษะชีวิตที่ดี
ผลงานในการนำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่
จากการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว ข้าพเจ้าได้พานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 2556 มีรายละเอียดดังนี้
ปีการศึกษา 2551
1. นำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ที่งานตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและปราสาทหินพิมาย
2.นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่สวนคุณสมชาติ เนื่องมี บ้านทับค่าย อำเภอชุมพลบุรี จังหวัด สุรินทร์
ปีการศึกษา 2552
1. นำนักเรียนไปชมงานตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุนารี และสวนสัตว์นคราชสีมา
2. นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนพ่อล้วน กุลแก้ว เกษตรกรดีเด่น ปี 2549 บ้านหลุบควัน ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
3. นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่สวนคุณถาวร มิเขมา บ้านสวนหม่อน ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
4. นำนักเรียนไปตอบปัญหาสมุนไพรและศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยรังสิต
ปีการศึกษา 2553
1. นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
2. นำนักเรียนไปตอบปัญหาสมุนไพรและศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยรังสิต
3. นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนพ่อล้วน กุลแก้ว เกษตรกรดีเด่น
บ้านหลุบควัน ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา 2554
นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนพ่อล้วน กุลแก้ว เกษตรกรดีเด่น ปี 2549 บ้านหลุบควัน ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 8 กรกฎาคม 2554ในรายวิชาแนะแนว
ปีการศึกษา 2555
นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่หมู่บ้านเต่าใหญ่ที่บ้านตึกชุม ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ปีการศึกษา 2556
นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่หมู่บ้านเต่าใหญ่ที่บ้านตึกชุม ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไปศึกษาดูงานที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ผลจากผลจากการนำนักเรียนไปศึกษาดูงาน
นักเรียนได้รับความรู้ใหม่ ๆ และได้แนวคิดในการศึกษาต่อและการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะการเห็นแบบอย่าง นักเรียนจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพในอนาคต
และจากการได้รับฟังแนวคิดจากพ่อล้วน กุลแก้ว ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน จะทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของท้องถิ่นมากขึ้น
ผลงานในการฝึกปฏิบัติการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
และการส่งนักเรียนเข้าร่วมตอบปัญหาสมุนไพรที่มหาวิทยาลัยรังสิต
จากการจัดการเรียนการสอนการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมแนะแนว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 2556 ข้าพเจ้ามีแนวคิดว่าการเรียนกิจกรรมแนะแนว เมื่อเรียนแล้วนักเรียนควรจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและเรียนเรื่องที่ใกล้ตัวก่อน ในท้องถิ่นมีสมุนไพรหลากหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ จึงได้ฝึกให้นักเรียนได้นำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์และส่งนักเรียนเข้าร่วมตอบปัญหาสมุนไพรที่มหาวิทยาลัยรังสิต ดังนี้
ปีการศึกษา 2552จัดติวให้กับนักเรียนจำนวน 4 คน และส่งนักเรียนร่วมสอบและศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีการศึกษา 2553จัดติวให้กับนักเรียนจำนวน 10 คน และส่งนักเรียนร่วมสอบและศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีการศึกษา 2554 นำนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 คน ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีการศึกษา 2555นำนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต
ผลที่ได้รับ
1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนได้รู้วิธีการจัดทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรมาแปรรูปทำเป็นรูปแบบการจัดทำเพื่อขายสมุนไพรได้
3. นักเรียนที่ไปร่วมสอบได้รับการจัดติวเกี่ยวกับสมุนไพร ได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรเพิ่มเติม และสามารถนำไปประกอบอาชีพการขายสมุนไพรในอนาคตได้
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้ไปศึกษาดูงาน ได้มีโอกาสศึกษาคณะต่าง ๆในมหาวิทยาลัย เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจศึกษาต่อ
ผลงานในการฝึกปฏิบัติอาชีพการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน
ปีการศึกษา 2553
นำนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปฝึกอาชีพการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ เมื่อวันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2553 จำนวน 8 คน นักเรียนได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติจนชำนาญ โดยนักเรียนสามารถซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้ 3 ชนิด คือ พัดลม หม้อหุงข้าว เตารีด
นักเรียนได้นำมาใช้ประโยชน์ดังนี้
1. นักเรียนที่ได้รับการฝึกปฏิบัติการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ได้นำความรู้ไปให้บริการซ่อมพัดลมให้กับวัดบ้านระหาร ในกิจกรรมอาสาในวันอาทิตย์ ตลอดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
2. นักเรียนได้นำความรู้มาซ่อมพัดลมให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแคนดำ
3. นักเรียนได้นำความรู้มาซ่อมหม้อหุงข้าวให้กับครูที่โรงเรียน
4. นักเรียนได้ให้บริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าในหมู่บ้านของตน
5. นักเรียนสามารถฝึกให้เกิดความชำนาญ แล้วนำไปประกอบอาชีพในอนาคตได้
6. นักเรียนที่มีความสนใจในด้านนี้ได้ไปศึกษาต่อทางด้านช่างไฟฟ้า
ผลงานในการฝึกปฏิบัติอาชีพนวดฝ่าเท้า
ปีการศึกษา 2553
นำนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปฝึกนวดฝ่าเท้าที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์
จากการนำนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปฝึกอาชีพการนวดฝ่าเท้าที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ เมื่อวันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2553 จำนวน 18 คน นักเรียนได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติจนชำนาญ และข้าพเจ้าได้จัดห้องสำหรับการฝึกปฏิบัติการนวดฝ่าเท้า ให้นักเรียนได้ฝึกเพิ่มเติมและได้นำมาใช้ประโยชน์ดังนี้
1. นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / 1 ได้นำความรู้ไปให้บริการนวดฝ่าเท้าฟรีให้กับผู้คนที่มาทำบุญที่วัดบ้านระหารในวันอาทิตย์ ตลอดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ในกิจกรรมอาสาและบริการนวดฝ่าเท้าฟรี ให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านระหาร ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้รับคำชมเชย และมีชาวบ้านมาบอกให้นักเรียนไปนวดฝ่าเท้าเพิ่มเติมให้และให้ค่าบริการนวดฝ่าเท้ากับนักเรียนครั้งละ 50 - 100 บาท ทำให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกจนเกิดความชำนาญและมีรายได้ในระหว่างเรียน
2. นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / 2 ได้นำความรู้ไปให้บริการนวดฝ่าเท้าฟรีที่สถานีอนามัยบ้านสวนหม่อน ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ในกิจกรรมอาสา ในวันที่หมอนัดตรวจผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งได้รับคำชมเชยจากผู้รับบริการและให้ค่าบริการนวดแก่นักเรียน ทำให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกเพิ่มเติมและมีรายได้
3. ให้นักเรียนรับบริการนวดฝ่าเท้าให้กับครูที่โรงเรียนหรือผู้ปกครองในชุมชนในราคาครั้งละ 30 บาท
( 1 ชม. ) ทำให้นักเรียนมีรายได้จากการรับนวดฝ่าเท้าให้ครูและผู้ปกครองในชุมชน โดยมีนักเรียนที่ไปให้บริการนวดตามหมู่บ้านได้ค่าจ้างประมาณวันละ 60 -120 บาท
4.จัดให้นักเรียนที่ฝึกจนชำนาญมาฝึกให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อให้นักเรียนรุ่นน้องได้ฝึกเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชำนาญ
ปีการศึกษา 2554
นำนักเรียนไปฝึกนวดฝ่าเท้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านสวนหม่อน
นักเรียนนำความรู้ไปหารายได้ระหว่างเรียนโดยไปให้บริการนวดฝ่าเท้าตามหมู่บ้าน ครั้งละ 30 บาท
ปีการศึกษา 2555
นำนักเรียนไปฝึกนวดฝ่าเท้าและฝึกประคบสมุนไพรที่โรงพยาบาลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี
นักเรียนนำความรู้ไปหารายได้ระหว่างเรียนโดยไปให้บริการนวดฝ่าเท้าตามหมู่บ้าน ครั้งละ 30 บาท
ปีการศึกษา 2556
นำอาชีพนวดฝ่าเท้าเข้าร่วมประกวดโครงงานอาชีพในการแข่งขันทักษะทางวิชาการ
นำนักเรียนมาให้บริการนวดฝ่าเท้าในงานเทศกาลงานปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิระดับอำเภอและได้รับความสนใจจากนักข่าวจากเหยี่ยวข่าวเจ็ดสีมาถ่ายทำภาพกิจกรรม
ผลที่ได้รับ
นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน
นักเรียนมีทักษะชีวิตที่ดี
ชุมชนได้รับการบริการด้านสุขภาพในราคาถูก
ผลงานในการฝึกปฏิบัติอาชีพการทำขนมเบเกอรี่
ปีการศึกษา 2553
จากการนำนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไปฝึกอาชีพการทำขนมเบเกอรี่ที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 18 คน นักเรียนได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติจนชำนาญ โดยนักเรียนสามารถทำขนมเบเกอรี่ ได้ดังนี้
1. ขนมคุกกี้
2. ขนมเค้กเนยสด
3. ขนมเปี๊ยะกุหลาบ
4. ขนมโดนัทเค้ก
หลังจากการฝึกมาจากวิทยาลัยสารพัดช่าง ข้าพเจ้าได้งบประมาณในการจัดซื้อเครื่องทำขนมเบเกอรี่โดยเงินอนุสรณ์รุ่นจากนักเรียนที่กำลังจะจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2553 และได้จัดซื้อเครื่องทำขนมในราคา 33,000 บาท
และนักเรียนที่ได้ไปฝึกได้นำมาใช้ประโยชน์ดังนี้
1. นักเรียนที่ได้นำความรู้มาฝึกต่อที่โรงเรียนและฝึกให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังจะจบการศึกษา
2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ทำขนมและนำขนมไปขายให้กับนักเรียนในโรงเรียนก่อนกลับบ้านและนำไปขายในหมู่บ้าน และเมื่อวันที่นักเรียนทำขนม นักเรียนจะกลับค่ำ ข้าพเจ้าจะทำหน้าที่ไปส่งนักเรียนถึงบ้านทุกครั้ง
3. ได้ฝึกเพิ่มเติมให้กับนักเรียนในการทำเค้กกล้วยหอม โดยทดลองจากสูตรที่ค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และทดลองปรับเปลี่ยนจนได้สูตรที่อร่อย รสชาติลงตัว
4. นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ และสามารถสอนต่อให้กับนักเรียนรุ่นน้องได้
ปีการศึกษา 2554
ข้าพเจ้าได้จัดการให้บริการกิจกรรมแนะแนวนักเรียนทั้งโรงเรียนโดยฝึกอาชีพเบเกอรี่ให้กับนักเรียนทุกชั้น ชั้นละ 1 ชนิด ตามที่นักเรียนต้องการฝึก
ปีการศึกษา 2555
ฝึกอาชีพเบเกอรี่ให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกิจกรรมการแนะแนวอาชีพ
ให้นักเรียนทำขนมเบเกอรี่ส่งขายที่สหกรณ์โรงเรียนและนำไปขายตามหมู่บ้าน
ปีการศึกษา 2556
ฝึกอาชีพเบเกอรี่ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกิจกรรมแนะแนวอาชีพ
ให้นักเรียนทำขนมเบเกอรี่ส่งขายที่สหกรณ์โรงเรียนและนำไปขายตามหมู่บ้าน
ผลที่ได้รับ
นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน
มีทักษะชีวิตจากการทำงานเป็นกลุ่ม
ชุมชนได้ซื้อขนมที่มาจากฝึมือของลูกหลานตนเอง
ผลงานในการฝึกปฏิบัติการทำอาหาร
และการส่งนักเรียนเข้าร่วมประกวดการทำอาหาร
จากการจัดการเรียนการทำอาหารเพื่อสุขภาพในกิจกรรมแนะแนว ตั้งแต่ปีการศึกษา
2547 เป็นต้นมา ข้าพเจ้ามีแนวคิดว่าการเรียนกิจกรรมแนะแนว เมื่อเรียนแล้วนักเรียนควรจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและเรียนเรื่องที่ใกล้ตัวก่อน อาหารเป็นสิ่งที่เรารับประทานทุกวันและส่งผลต่อร่างกายโดยตรง จึงได้จัดการเรียนการสอนการฝึกทำอาหารและร่วมส่งประกวดการทำอาหารกในกลุ่มสาระการงานอาชีพดังนี้
จากการส่งนักเรียนประกวดการทำอาหาร ได้ผลการแข่งขันดังนี้
ปีการศึกษา 2549 ชนะเลิศระดับอำเภอ ในมหกรรมการแข่งขันอาหารเพื่อสุขภาพในงานครองราชย์ครบ 60 ปีของในหลวง
ปีการศึกษา 2553 ชนะเลิศระดับ ชพร. ในการแข่งทักษะทางวิชาการ
รองชนะเลิศระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ในการแข่งทักษะวิชาการระดับเขต
ปีการศึกษา 2555 เป็นผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทองในการแข่งขันการทำน้ำพริกสมุนไพรเพื่อสุขภาพระดับภาคในงานแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 62 ที่จังหวัดชัยภูมิ
ปีการศึกษา 2556 เป็นผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทองในการแข่งขันทำแกงมัสมั่นระดับภาคในงานแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 63 ที่จังหวัดนครพนม
จากการฝึกทำอาหารทำให้นักเรียนได้ประโยชน์ ดังนี้
1. นักเรียนได้ทราบประโยชน์จากการทานอาหารแต่ละชนิด
2. นักเรียนนำความรู้ไปใช้ที่บ้านได้
3. นักเรียนสามารถฝึกจนชำนาญแล้วนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต
4. นักเรียนมีทักษะชีวิตจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
5. นักเรียนมีทักษะชีวิตที่ดีจากการทำงานเป็นกลุ่ม
ผลงานในการฝึกอาชีพการขายปลาทูนึ่งและปลาทูมัน
จากการวิเคราะห์นักเรียนมีนักเรียนส่วนหนึ่งที่มีฐานะยากจน และขาดแคลนค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงเรียน ข้าพเจ้าจึงได้จัดฝึกอาชีพการทำปลาทูนึ่งและปลาทูมันเพื่อให้นักเรียนได้ทำขายหารายได้ระหว่างเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา ดังนี้
ฝึกอาชีพการทำปลาทูนึ่งและปลาทูมันให้กับนักเรียน
ให้นักเรียนทำขายทั้งห้องโดยยืมเงินธนาคารโรงเรียนเป็นต้นทุน
แบ่งกลุ่มทำในวันพุธเพื่อขายในโรงเรียน ตามหมู่บ้านและตลาดนัดคลองถมหมู่บ้านใกล้เคียง
ผลที่ได้รับ
1. นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน
2. นักเรียนมีทักษะชีวิตที่ดีจากการพบประผู้คนจากการไปขายปลาทูที่ตลาดนัดคลองถม
ผลงานในการฝึกอาชีพเสริมสวย
ปีการศึกษา 2553 - ปีการศึกษา 2556
ส่งนักเรียนไปเรียนที่วิทยาลัยสารพัดช่างในหลักสูตรภาคฤดูร้อนหลักสูตร 150 ชั่วโมง 1 คน คือนายชาญชัย ลีลาน้อย โดยออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าบ้านให้
เสนอของบประมาณโรงเรียนในการจัดทำห้องฝึกปฏิบัติอาชีพเสริมสวยได้รับงบประมาณ 7,000 บาท
จัดทำห้องฝึกอาชีพเสริมสวย แล้วให้นักเรียนที่ไปเรียนมาฝึกให้กับรุ่นน้องที่มีความสนใจในช่วงพักเที่ยง และหลังเลิกเรียน
นักเรียนที่ฝึกจนชำนาญให้บริการงานด้านเสริมสวยแก่นักเรียนและครูในโรงเรียนในราคาถูก
ประชาสัมพันธ์ตามหมู่บ้านให้มาใช้บริการ
ผลที่ได้รับ
นักเรียนได้ที่มีความสนใจในอาชีพนี้ได้มีโอกาสฝึกอาชีพเสริมสวย และค้นพบความสามารถของตนเอง
ปัจจุบันนายชาญชัย ลีลาน้อย เรียนระดับปริญญาตรี ปี 2 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ แล้วหารายได้ระหว่างเรียนด้ายการรับทำงานพิเศษตามร้านเสริมสวยในช่วงภาคค่ำและเสาร์ อาทิตย์ โดยมีรายได้ระหว่างเรียน ไม่ต้องรบกวนค่าใช้จ่ายจากพ่อแม่
นักเรียนที่ได้รับการฝึกต่อจากนายชาญชัย ลีลาน้อย ได้นำมาใช้ในการเป็นช่างเสริมสวยในวงโปงลางของโรงเรียน
ผลจากการจัดอบรมการแนะแนวอาชีพจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมเพื่อเป็นเครือข่ายครูแนะแนวของสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์ และได้ขอความอนุเคราะห์จากสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์ ได้ให้บริการการฝึกอาชีพจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 8 มกราคม 2554 และข้าพเจ้าได้เชิญโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการเข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้ด้วย มีรายละเอียดดังนี้
1. มีการทดสอบความถนัดของนักเรียน
2.มีการสอบวิชาภาษาอังกฤษเพื่อนำผลคะแนนไปทำงานต่างประเทศของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6
3. มีการฝึกอาชีพ ดังนี้การ เพ้นท์เล็บ การทำโดนัทจิ๋ว การเพ้นท์เสื้อการจับจีบลายผ้าการถักตุ๊กตาไหมพรม
จากการฝึกปฏิบัติดังกล่าว นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มเติม ดังนี้
1. นักเรียนได้ค้นพบความถนัดของตนเอง
2. นักเรียนได้มีโอกาสสอบข้อสอบภาษาอังกฤษ
3. นักเรียนได้มีความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่หลากหลาย
4. นักเรียนได้เข้าใจเกี่ยวกับอาชีพเพิ่มเติม 5 อาชีพ โดยนำมาใช้ในการหารายได้ระหว่างเรียนได้ เช่นการเพ้นท์เล็บ เป็นการลงทุนไม่มาก และนักเรียนมาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการหารายได้ระหว่างเรียนได้
การนำมาใช้ประโยชน์
นักเรียนที่ได้รับการฝึกได้นำไปใช้ประโยชน์ดังนี้
1. นางสาวกาญจนา แก้วกาญจน์ ได้ประกอบอาชีพเพ้นท์เล็บหลังจากจบการศึกษาชั้น ม.6
2. นายชาญชัย ศิลป์สรณ์ นายเจษฎา จิปอมจา ได้นำความรู้ไปใช้ในการหารายได้ระหว่างเรียนจากการรับจัดผ้าในงานตามหมู่บ้าน
ผลงานในการฝึกอาชีพการจัดดอกไม้สด
ปีการศึกษา 2555 - ปีการศึกษา 2556
ฝึกให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ในรายวิชากิจกรรมแนะแนว
นำนักเรียนที่มีความสนใจและความถนัดมาฝึกต่อที่ร้านของครู ในช่วงที่มีงานจัดดอกไม้สด
รับงานหน้าร้านให้กับนักเรียน เช่นการทำบายศรี การทำมาลัย การจัดตกแต่งถานที่จัดงานด้วยดอกไม้สด โดยรับงานแล้วให้นักเรียนเป็นคนทำ มีครูเป็นผู้แนะนำเพิ่มเติม
ผลที่ได้รับ
นักเรียนมีรายได้เมื่อมีการรับงานไปทำ
นักเรียนมีทักษะชีวิตที่ดี
ผลงานในการแนะแนวการศึกษาต่อ
และติดตามศิษย์เก่าหลังจากจบการศึกษา
จากการทำหน้าที่ครูแนะแนว ข้าพเจ้าได้แนะแนวนักเรียนตามความเหมาะสมสำหรับนักเรียนในแต่ละคน นักเรียนคนใดต้องการศึกษาต่อ ข้าพเจ้าได้แนะแนวการศึกษาต่อตามความชอบและความถนัดของนักเรียน นักเรียนคนใดต้องการไปประกอบอาชีพ ข้าพเจ้าได้ฝึกอาชีพให้นักเรียน เมื่อเรียนจบไปแล้ว ข้าพเจ้าได้ติดต่อประสานทางโทรศัพท์ และจะสอนนักเรียนอยู่เสมอว่า ถ้าจบไปแล้ว อย่าลืมโรงเรียนที่เป็นแหล่งสอนความรู้ให้นักเรียนหากมีโอกาสจงตอบแทนบุญคุณ ผลงานปีการศึกษา 2551 2555 มีรายละเอียดดังนี้
ปีการศึกษา 2551
1. นักเรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ต่อร้อยละ 40 ส่วนทีเหลือไปประกอบอาชีพส่วนตัว
ปีการศึกษา 2552
1. นักเรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรียนต่อร้อยละ 60 ส่วนที่เหลือไปประกอบอาชีพส่วนตัว
ปีการศึกษา 2553
1. นักเรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรียนต่อร้อยละ 25 ส่วนที่เหลือไปประกอบอาชีพส่วนตัว
ปีการศึกษา 2554
เมื่อต้นภาคเรียน ปีการศึกษา 2554 ข้าพเจ้าได้จัดทำโครงการหาทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีฐาะ
ยากจน และได้ประสานกับศิษย์เก่า ครู ห้างร้าน กรรมการสถานศึกษา
ได้รับทุนบริจาคมาจำนวน 32,980 บาทและได้มอบให้กับนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน
นักเรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ศึกษาต่อร้อยละ 32 ส่วนที่เหลือไปประกอบอาชีพส่วนตัว
ปีการศึกษา 2555
นักเรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ศึกษาต่อร้อยละ 60 ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัว
บทที่ 4
ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด
ด้านที่ 1 แบบประเมินคุณสมบัติเบื้องต้น
ตัวชี้วัด
รายการประเมิน คุณสมบัติตามเกณฑ์การประเมิน
1. คุณสมบัติเบื้องต้นเชิงประจักษ์ 1. ดำรงตำแหน่งครู ครูผู้ช่วย พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง สังกัดสำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง ครู
วิทยฐานะ ชำนาญการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
2. ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันที่ยื่นขอรับการประเมิน บรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 3 ที่โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2545 จนถึงปัจจุบันวันที่ยื่นขอรับการประเมิน ปฏิบัติหน้าที่การจัดการเรียนการสอนมาแล้ว 11 ปี
3. เป็นผู้ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยภายใน 2 ปีนับถึงวันที่ยื่นขอรับการประเมิน ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยภายใน 2 ปีนับถึงวันที่ยื่นขอรับการประเมิน
2. การครองตน
(มีคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์) 1. มีผลการประเมินมาตรฐานที่ 9 จากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสองหรือรอบสามตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550/มาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับดี มีผลการประเมินมาตรฐานที่ 9 จากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสามตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550 เมื่อวันที่ 19 - 21 มิถุนายน 2555 อยู่ในระดับ ดีมาก
3. การครองคน (ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี เป็นที่ยอมรับรักใคร่ของศิษย์ ผู้ร่วมงาน) (ต้องปฏิบัติครบทั้ง 3 กิจกรรมรวมแล้วไม่น้อยกว่า 10 รายการ/ปีการศึกษา) 1. ร่วมกิจกรรมกับผู้ร่วมงานในโรงเรียน ทำงานหรือร่วมกิจกรรมกับผู้ร่วมงานและผู้อื่นได้เป็นอย่างดีและมากกว่า 10 รายการ/ปีการศึกษา
2. จัด/ร่วมกิจกรรมตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ครบถ้วนสมบูรณ์จนได้รับการยอมรับจากผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง เช่น การเยี่ยมบ้าน การประเมินนักเรียน
การกำกับติดตามนักเรียน หรือการประชุมผู้ปกครอง เป็นต้น และมีการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด
รายการประเมิน คุณสมบัติตามเกณฑ์การประเมิน
3. ร่วมกิจกรรมกับชุมชน ร่วมกิจกรรมกับชุมชนมากกว่า 10 รายการ/ปีการศึกษา เช่น กีฬาหน่วยงานสัมพันธ์ แห่เทียนเข้าพรรษา กฐิน ผ้าป่า งานเทศกาลปลาไหลข้าวใหม่หอมมะลิของอำเภอหรือ นำนักเรียนร่วมขายสินค้าในตลาดนัดคลองถม นำนักเรียนออกให้บริการความรู้กับชุมชน เป็นต้น
4. การครองงาน (รับผิดชอบ มุ่งมั่นตั้งใจทำงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจนเกิดความสำเร็จ)
1. ไม่เคยขาดงาน ไม่เคยขาดงาน
2. ลากิจไม่เกิน 2 ครั้ง/ภาคเรียนและไม่เกิน 4 ครั้ง/ปีการศึกษา ลากิจไม่เกิน 2 ครั้ง/ภาคเรียนและไม่เกิน 4 ครั้ง/ปีการศึกษา
3. มีชั่วโมงสอนตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
มีชั่วโมงสอนในภาคเรียนที่1/2556 จำนวน 20 ชั่วโมงตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
มีชั่วโมงสอนในภาคเรียนที่ 2 / 2556 จำนวน 25 ชั่วโมง
4. มีผลงานดังนี้
1) มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นปัจจุบันและครบชั่วโมงสอนตลอดปีการศึกษา
มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นปัจจุบันและครบชั่วโมงสอนตลอดปีการศึกษา
2) มีความสำเร็จในการพัฒนาตามแผนพัฒนาตนเอง
(ID Plan) มีความสำเร็จในการพัฒนาตามแผนพัฒนาตนเอง(ID Plan)
5. มีผลงานที่เกิดจากการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 1. มีผลการประเมินมาตรฐานที่ 10 ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550/อยู่ในระดับดีมาก มีผลการประเมินมาตรฐานที่ 10 ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550เมื่อวันที่ 19 -21 มิถุนายน 2555 อยู่ในระดับ ดีมาก
2. มีงานวิจัยในชั้นเรียนที่สำเร็จที่เผยแพร่แล้ว มีงานวิจัยในชั้นเรียนที่สำเร็จที่เผยแพร่แล้วดังนี้
1.รายงานวิจัย (CAR 1)ผลการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร
2. รายงานวิจัย (CAR 2)
ผลการประเมินแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง เรียนรู้วัฒนธรรมจากเพลง
3.รายงานวิจัย(CAR 3)การศึกษาสาเหตุการหนีเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร
ตัวชี้วัด
รายการประเมิน คุณสมบัติตามเกณฑ์การประเมิน
4. รายงานวิจัย (CAR 4)การแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียนโดยใช้การดูหนังฟังเพลงก่อนเรียน
6. ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เป็นที่ยอมรับในวิชาชีพและสังคม 1. ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน เป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพ (ภายใน 2 ปี นับถึงวันที่ยื่นขอรับการประเมิน) 6. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับสอง การแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สหวิทยาเขต 5-6 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 63 ที่โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์
7. ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน รองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันแปรรูปอาหารระดับชั้น ม. 1-3
8.ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน รองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันแปรรูปอาหารระดับชั้น
ม. 4 - 6
2. ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อที่ตรงกับภารกิจ/งานที่ได้รับมอบหมายอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปีการศึกษา ระดับสถานศึกษา/เขต ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรดังนี้
1.เป็นวิทยากร
ได้รับเชิญเป็นวิทยากรหลักในการบรรยาย การจัดกิจกรรมแนะแนวในสถานศึกษาเพื่ออบรมครูแนะแนวในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ในวันที่ 29 มีนาคม 2554
2. เป็นวิทยากรบรรยายหลักการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ผลสอบโอเน็ตที่สูงขึ้น ณ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปีการศึกษา 2554
3. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการสร้างทักษะชีวิต ในการจัดกิจกรรมจัดค่ายวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนโรงเรียนอนุบาลชุมพลบุรี
( โรงเรียนนอกเขตพื้นที่บริการ ) วันที่ 6 กันยายน 2554
4. เป็นวิทยากรแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านระหาร วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554
5. เป็นวิทยากรบรรยายการเตรียมความพร้อมก่อนสอบโอเน็ตให้กับนักเรียนโรงเรียนอนุบาลชุมพลบุรี วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555
6. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการสร้างทักษะชีวิต ในการจัดกิจกรรมจัดค่ายวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนหม่อน
( โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ ) วันที่ 19 ธันวาคม 2555
7. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการสร้างทักษะชีวิต ในการจัดกิจกรรมจัดค่ายวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านระหาร
( โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ ) วันที่ 21 ธันวาคม 2555
8. เป็นวิทยากรฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตใน วันที่ 27 29 ม.ค.57 ให้กับโรงเรียนประถมในเขตพื้นที่บริการ
ตัวชี้วัด
รายการประเมิน คุณสมบัติตามเกณฑ์การประเมิน
4. มีงานเขียนแสดงผลงาน/ความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน/การพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร/ระบบประกันคุณภาพภายในเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อภาคเรียน
ปีการศึกษา 2553
1 . เรื่องคุณสมบัติการเป็นพ่อแม่
เผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต
2. การนวดฝ่าเท้า
ปีการศึกษา 2554
3. การจัดกิจกรรมแนะแนวในสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน( เผยแพร่จากการเป็นวิทยากรที่เขต )
4. ชมรมทูบีนัมเบอร์วันโรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร( เผยแพร่ผ่านวารสารโรงเรียน )
ปีการศึกษา 2555
1. การนวดฝ่าเท้า จากการประกวดโครงงานอาชีพนักเรียนประจำปี 2556
2. การทำปลาทูมันไร้สาร จากการประกวดโครงงานอาชีพนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2556
เผยแพร่ข้อมูลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่าน Facebook มีผู้เข้าชมและเผยแพร่ต่อเป็นจำนวนมาก
ขอรับรองว่าข้อมูลที่กรอกเป็นจริงทุกประการ
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ 1 คุณลักษณะของครูและการจัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 1
คุณลักษณะของครู
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 ครูมีลักษณะประชาธิปไตย ข้าพเจ้าประพฤติปฏิบัติตนโดยยึดมั่นในหลักนิติธรรม ดำรงตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ยืนหยัด กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม รักษากฎระเบียบ และไม่ละเมิดกฎหมาย โดยถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้าง รณรงค์ให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม เช่น ข้าพเจ้าไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว วางตัวเป็นกลางทางการเมืองไม่เป็นหัวคะแนนให้ใคร และวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยให้กับนักเรียน ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นกิจกรรมกลุ่มในการจัดกิจกรรมแนะแนวให้มีการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มในการทำงานกลุ่ม รวมทั้งฝึกให้นักเรียนรู้จักสิทธิของตนเอง และการใช้สิทธิของตนเองในทางที่ถูกต้อง
2 ครูใช้เทคนิคและทักษะการสอนเหมาะสม. เทคนิคการสอนในการจัดกิจกรรมแนะแนว คือการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง ด้านส่วนตัวและสังคม ด้านการศึกษา และด้านอาชีพ โดยเน้นด้านใดด้านหนึ่งตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และความต้องการของท้องถิ่น โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร นักเรียนส่วนมากมีฐานะยากจน มีปัญหาการออกกลางคันเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการมาโรงเรียน จึงเน้นการฝึกอาชีพให้นักเรียน ( ตามรายงานของ สมศ)
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
3 ครูปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรมใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ระบุให้ครูจัดกิจกรรมแนะแนวตามความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ดังนั้นการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว จึงมีความยืดหยุ่นในการเรียนการสอน กฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการตั้งขึ้นมา และนักเรียนทุกคนยอมรับที่จะปฏิบัติตาม
4 ครูและนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จากกิจกรรมแนะแนวที่ครูได้ให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมเช่นการเรียนการสอน การให้คำปรึกษา การแนะแนวศึกษาต่อ การนำนักเรียนไปสอบแข่งขันในสถานที่ต่าง ๆ การนำนักเรียนไปฝึกอาชีพและนำนักเรียนไปปฏิบัติงานนอกเวลาเรียนเพื่อหารายได้ระหว่างเรียนทำให้นักเรียนและครูมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน นักเรียนรักและยกย่องครู ครูรักและเมตตาศิษย์ เปรียบเหมือนแม่และลูก
5 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อการพัฒนา ประสานความร่วมมือจากการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน จากการนำนักเรียนไปฝึกอาชีพ และจากการนำนักเรียนไปหารายได้ระหว่างเรียนจากการขายสินค้าที่ตลาดนัดคลองถม และออกให้บริการนวดฝ่าเท้า หากผู้ปกครองคนใดมีปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่าย ต้องการให้ทางโรงเรียนช่วยเหลือหรือหางานที่ส่งเสริมรายได้ให้ประสานมาที่ครูแนะแนวได้
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ 1 คุณลักษณะของครูและการจัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 2
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 วิเคราะห์ผู้เรียน
โรงเรียนลำพลับพลาวิทยาคาร ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่าง 3 จังหวัด คือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม และอยู่ห่างจากตัวอำเภอชุมพลบุรี ( จังหวัดสุรินทร์ 13 กม. ) อยู่ห่างจากตัวอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ( จังหวัดมหาสารคาม 20 กม. ) อยู่ห่างจากตัวอำเภอเกษตรวิสัย ( จังหวัดร้อยเอ็ด 25 กม.)
การจัดกิจกรรมแนะแนวได้วิเคราะห์ผู้เรียนจากสภาพครอบครัว ความต้องการการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพหลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อได้ข้อมูลที่ละเอียดจึงได้นำมาประกอบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมแนะแนว
2 วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา การจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กำหนดการจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมทั้งด้านส่วนตัวและสังคม ด้านการศึกษา และด้านอาชีพ โรงเรียนได้จัดกิจกรรมที่เน้นในด้านอาชีพ เนื่องจากการฝึกอาชีพ นักเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน 3 ด้าน เช่นด้านส่วนตัวและสังคม คือเห็นคุณค่าของตนเอง เนื่องจากสามารถหารายได้ระหว่างเรียนได้ ด้านการศึกษาต่อ นักเรียนจะสามารถตัดสินใจเรียนต่อได้ง่ายขึ้นหากสามารถหารายได้ระหว่างเรียนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่อย่างเดียว
ด้านอาชีพ นักเรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพส่วนตัวหลังจากจบการศึกษาได้
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
3 วิเคราะห์ความพร้อมของสื่ออุปกรณ์ จากการทำงานแนะแนวได้ของบประมาณจากทางโรงเรียนได้ทำห้องปฏิบัติการอาชีพให้กับนักเรียน คือห้องปฏิบัติการอาหารและโภชนาการ ห้องฝึกวิชาชีพเสริมสวยและนวดฝ่าเท้า ห้องให้บริการแนวการศึกษาและให้คำปรึกษา และหากกิจกรรมใดที่โรงเรียนไม่มีสื่ออุปกรณ์และวิทยากรในการฝึก ก็จะขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานอื่น เช่นวิทยาลัยสารพัดช่าง
จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์
4 ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นบูรณาการ ได้ฝึกวิชาอาชีพที่อยู่ในกลุ่มการงานอาชีพ ( โรงเรียนมีครูการงานอาชีพ 1 คน คือครูวิชาเอกคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถสอนงานคหกรรมได้ ) จึงได้จัดกิจกรรมการเรียนเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ และส่งนักเรียนเข้าร่วมประกวดในกลุ่มสาระการงานอาชีพ นักเรียนได้ร่วมกันปูกระเบื้องห้องปฏิบัติงานอาชีพเอง ( งานช่าง )และนักเรียนได้นำความรู้เรื่องนวดฝ่าเท้าไปให้บริการนวดฝ่าเท้าให้กับผู้สูงอายุในโครงงานคุณธรรมในกลุ่มสาระสังคม ได้รางวัลระดับสหวิทยาเขต ระดับจังหวัดและรางวัลชมเชยระดับภาค ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาฝึกการพัฒนาทักษะชีวิต
5 ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากที่สุด เพื่อที่นักเรียนจะได้เห็นความสำคัญของกิจกรรมและมีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนเองได้เสนอขึ้นมาและรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองเลือก เช่นการฝึกอาชีพจะให้นักเรียนได้ลงชื่อเลือกอาชีพที่อยากฝึก และหากครูไม่สามารถสอนได้ จะประสานกับหน่วยงานที่สามารถให้บริการฝึกได้ เช่นวิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์นักเรียนจะร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้เลือกแล้ว
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกิจกรรมแนะแนวจะเน้นที่นักเรียนต้องได้ลงมือปฏิบัติเอง หลังจากปฏิบัติแต่ละกิจกรรมแล้ว ให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ถึงประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตจะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ประโยชน์ด้วยตนเอง เห็นคุณค่าด้วยตนเอง เชื่อจากการปฏิบัติด้วยตนเอง
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ 1 คุณลักษณะของครูและการจัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 3
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 จัดกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติของแต่ละวิชา จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีความสุข และเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมกิจกรรมการเรียนรู้มีความยืดหยุ่น นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะชีวิต มีความรับผิดชอบในฐานะคนในครอบครัว ในสังคม และประเทศชาติจากการได้ลงมือปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรม
2 จัดกิจกรรมให้ครบถ้วนตามธรรมชาติวิชา และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเน้นให้ฝึกทักษะและกระบวนการคิด
จัดกิจกรรมได้ครบถ้วนตามธรรมชาติของวิชา คือครอบคลุมด้านส่วนตัวและสังคม ด้านการศึกษา และด้านอาชีพ โดยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะและกระบวนการคิดเพื่อบอกประโยชน์ที่ได้รับของการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเห็นได้จากการที่นักเรียนสามารถเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนอื่นได้ เช่นเป็นวิทยากรการจัดการศึกษาเพศรอบด้าน เป็นวิทยากรค่ายวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะชีวิต และแต่ละกิจกรรมจะทำนักเรียนได้มีโอกาสค้นพบความรู้ความสามารถของตนเอง ซึ่งเป็นการจัดตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
3 จัดกิจกรรมหลากหลายวิธีและเหมาะสมกับผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนแนะแนวหลากหลายวิธี และเหมาะสมกับผู้เรียนโดยดูจากข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน สภาพครอบครัว ความต้องการของผู้เรียน
4 ใช้สื่อการเรียนรู้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน สื่อการเรียนรู้ได้จากแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจากการเพิ่มเติมสื่อที่คิดขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนและตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
5 ใช้เครื่องมือประเมินผลเหมาะสม กิจกรรมแนะแนว มีการประเมินผ่าน หรือไม่ผ่าน
การทำเครื่องมือประเมินในแต่ละกิจกรรมเหมาะสำหรับการประเมินในแต่ละกิจกรรมนั้น และเหมาะสมสำหรับความแตกต่างของนักเรียน
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ 2 การจัดการชั้นเรียนและการวัดผลประเมินผล
ตัวชี้วัดที่ 1
การจัดการชั้นเรียน
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 ติดตามพฤติกรรมของนักเรียนและแก้ไขสถานการณ์ได้เหมาะสม ติดตามพฤติกรรมของนักเรียนจากการสังเกต สอบถามและการประสานกับผู้ปกครอง
2 จัดชั้นเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดห้องให้น่าอยู่น่าเรียนและซ่อมแซมห้องเรียน เช่นนักเรียนมีส่วนร่วมในการปูกระเบื้องห้องฝึกวิชาชีพอาหารและโภชนาการ และห้องแนะแนวการศึกษาและอาชีพ
3 กำหนดระเบียบวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบวินัยในการเรียนรู้
4 สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ การเรียนกิจกรรมแนะแนว ไม่ได้ใช้ห้องเรียนเดิมในการเรียนตลอด โดยจะเปลี่ยนเรียนที่ห้องฝึกอาชีพ ใต้ถุนอาคาร ตามแหล่งเรียนรู้ใกล้หมู่บ้าน และบริการฝึกอาชีพนอกสถานศึกษาเช่นวิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านสวนหม่อน ( ฝึกนวดฝ่าเท้า ) โรงพยาบาลชุมพลบุรี ( ฝึกนวดฝ่าเท้าและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่ออาชีพ ) นักเรียนได้ร่วมกันปูกระเบื้องห้องฝึกอาหารและโภชนาการ ห้องแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนในห้องดีขึ้น และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในฝีมือตนเองเมื่อมองไปเห็นกระเบื้องในแถวที่ตนเองปู
5 มีทักษะในการดึงความสนใจของผู้เรียน การจัดกิจกรรมตามความสนใจและความถนัด จะทำให้เห็นว่าทุกคนมีความเก่งเท่ากัน เพียงแต่เก่งคนละด้านนักเรียนจึงมีความสนใจเรียนมากขึ้น
6 มอบหมายงานตามความสามารถของผู้เรียน ให้นักเรียนได้รับผิดชอบงานตามความสามารถและความสนใจของตนเอง นักเรียนจะมีความสุขที่ได้ทำและเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้นเช่นการฝึกการเป็นวิทยากร นักเรียนจะแบ่งหน้าที่ตามความถนัด เป็นผู้บรรยาย เป็นนำการผู้ทดลอง และเป็นฝ่ายนันทนาการ
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ 2 การจัดการชั้นเรียนและการวัดผลประเมินผล
ตัวชี้วัดที่ 2
การจัดบรรยากาศทางกายภาพ
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 จัดสถานที่อำนวยความสะดวกสนองต่อการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนในการเรียนการสอนโดยการจัดสถานที่ฝึกปฏิบัติอาชีพในห้องฝึกปฏิบัติอาชีพต่าง ๆ ห้องเรียนแนะแนว และห้องให้บริการเกี่ยวกับงานแนะแนวศึกษาต่อ
2 จัด สื่อ อุปกรณ์สอดคล้องกับกิจกรรม สื่ออุปกรณ์ได้ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตในบางส่วน ที่นักเรียนร่วมกันลงความเห็นว่า เหมาะสำหรับการนำมาจัดกิจกรรมในบางกิจกรรม
3 จัดแหล่งความรู้สอดคล้องกับกิจกรรม และความสนใจของผู้เรียน -นำนักเรียนไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ที่ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษาที่ มทส.
-นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต
-นำนักเรียนไปฝึกอาชีพที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนหม่อน
-นำนักเรียนไปฝึกอาชีพการนวดประคบสมุนไพรที่โรงพยาบาลชุมพลบุรี
นำนักเรียนไปศึกษาแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สวนคุณพ่อล้วน กุลแก้ว ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
นำนักเรียนไปศึกษาข้อมูลจากหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง
จัดกิจกรรมดูลายผ้าไหม
แหล่งเรียนรู้ที่จัดขึ้นในโรงเรียนคือ ห้องแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ห้องฝึกวิชาชีพเสริมสวยและนวดฝ่าเท้า ห้องฝึกอาชีพอาหารและโภชนาการ ห้อง
4 ฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบในการักษาความสะอาดและฝึกการทำงานร่วมกัน สร้างจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด โดยไม่จัดเวรรับผิดชอบ นักเรียนคนใดมีจิตอาสาทำความสะอาดห้องสามารถมาทำความสะอาดห้องในแต่ละวันได้ โดยไม่ต้องให้ครูสั่ง
การฝึกการทำงานร่วมกันสามารถฝึกได้ดีจากการให้นักเรียนแบ่งกลุ่มทำสินค้าแล้วไปขายตามตลาดนัดคลองถม
การฝึกการเป็นวิทยากร ทำให้นักเรียนมีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบสูงขึ้น
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ 2 การจัดการชั้นเรียนและการวัดผลประเมินผล
ตัวชี้วัดที่ 3
การวัดผลประเมินผล
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 มีการศึกษาเครื่องมือวัดผลประเมินผลด้านการจัดการชั้นเรียนอย่างเหมาะสม วัดผลด้านการจัดชั้นเรียนอย่างเหมาะสมตามความรู้ความสามารถของนักเรียน
2 ใช้วิธีการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย มีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายตามความรู้ความสามารถของนักเรียน เช่นแบบสังเกต แบบแบบสัมภาษณ์ ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน ประเมินจากการวิเคราะห์ทักษะชีวิตที่ได้ในแต่ละกิจกรรม
3 นำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการชั้นเรียน นำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการชั้นเรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับนักเรียน เช่นการฝึกอาชีพเมื่อปีการศึกษา 2551 - 2553 จะเน้นการฝึกอาชีพที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่เนื่องจากนักเรียนกำลังจะศึกษาต่อ จึงได้มาเน้นฝึกที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
4 เผยแพร่ผลการพัฒนาการจัดการชั้นเรียน เผยแพร่ข้อมูลให้กับครูแนะแนวได้ทราบในการเป็นวิทยากรตามหน่วยงานต่าง ๆ
เผยแพร่ข้อมูลจากการลงเนื้อหาในอินเตอร์เน็ต เรื่องใบอนุญาตการเป็นพ่อแม่ ในกิจกรรมการสอนเพศศึกษา
เผยแพร่ข้อมูลและภาพกิจกรรมการเรียนการสอนลงใน Facebookโดยมีผู้สนใจมาแสดงความเห็น และช่วยส่งต่อผลงานต่อไปเรื่อย ๆ
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 1
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3. การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 นักเรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ครบทั้ง 8 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 100
นักเรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ครบทั้ง 8 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 100
2 นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ที่เป็นจุดเน้นของสถานศึกษาได้ครบทุกข้อคิดเป็นร้อยละ 100
นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ที่เป็นจุดเน้นของสถานศึกษาได้ครบทุกข้อคิดเป็นร้อยละ 100
3 นักเรียนได้รับรางวัล/การยกย่องเชิดชูเกียรติ/ประกาศชมเชยจากหน่วยงาน/องค์กร ระดับเขต/ จังหวัด นักเรียนได้รับรางวัล/การยกย่องเชิดชูเกียรติ/ประกาศชมเชยจากหน่วยงาน/องค์กร ระดับเขต/ จังหวัด
1. ผลการแข่งขันทักษะทางวิชาการชนะเลิศระดับเขต เมื่อปีการศึกษา 2555
2. ผลการแข่งขันทำน้ำพริกผักสดเครื่องเคียงระดับเหรียญทองระดับภาค ปีการศึกษา 2555
3. โครงงานคุณธรรมได้รับรางวัลชมเชยระดับภาค
4. ผลการทำแกงมัสมั่นได้เหรียญทองระดับภาคในปีการศึกษา 2556
4 นักเรียนได้รับรางวัล/การยกย่องเชิดชูเกียรติ/ประกาศชมเชย จากหน่วยงาน/องค์กร ระดับชาติ/ นานาชาติ -
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 2
ด้านผลงาน / ชิ้นงาน / ภาระงาน / ผลการปฏิบัติงาน
3. การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 นักเรียนทุกคนมีผลงาน/ชิ้นงาน/ ภาระงาน/ ผลการปฏิบัติงานครบถ้วนตามที่ครูกำหนด นักเรียนมีผลงาน ภาระงานตามที่ครูกำหนดร้อยละ 100 เพราะเกิดจากภาระงานตามที่ตนเองสนใจ
2 ผลงาน/ชิ้นงาน/ ภาระงาน/ ผลการปฏิบัติงานของนักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80 ผลงาน ภาระงานที่มอบหมาย จะมอบหมายตามความรู้ความสามารถ ตามความถนัด และความสนใจ ดังนี้ผลงานของนักเรียนจึงมีคุณภาพตามเกณฑ์
3 ผลงาน/ชิ้นงาน/ ภาระงาน/ ผลการปฏิบัติงานเกิดจากการปฏิบัติงานของนักเรียนตามหลักสูตรอย่างแท้จริง
และได้รับการรับรองจากผู้บริหารโรงเรียน ผลงานนักเรียนทุกคนเกิดจากการวิเคราะห์หลักสูตรแล้วมาจัดเป็นกิจกรรมจึงเป็นผลงานตามหลักสูตรอย่างแท้จริง
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 3
การเผยแพร่ผลงาน
3. การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 นักเรียนได้นำเสนอ/จัดแสดง/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/
ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ
ในรูปแบบต่างๆ ตามวาระและโอกาสในระดับ
สถานศึกษาไม่จำกัดจำนวนครั้ง นำเสนออาชีพต่าง ๆ ผ่านการหารายได้ระหว่างเรียนในสถานศึกษา เช่น การขายปลาทู การนวดฝ่าเท้า การขายขนม การจัดกิจกรรมทูบีนัมเบอร์วัน
กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา
นักเรียนเป็นวิทยากรการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน
นักเรียนเป็นวิทยากรค่ายวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะชีวิต
2 นักเรียนได้นำเสนอ/จัดแสดง/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/
ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ
ในรูปแบบต่างๆ ตามวาระและโอกาสต่อสาธารณะใน
ระดับเขต/จังหวัด อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี
1.นำผลงานทูบีนัมเบอร์วันไปประกวดชมรมทูบีนัมเบอร์วันดีเด่นในสถานศึกษา
2. นำกิจกรรมการฝึกอาชีพเข้าร่วมประกวดโครงงานอาชีพในกลุ่มสาระการงานอาชีพ
3. นำนักเรียนให้บริการนวดฝ่าในงานเทศกาลปลาไหลข้าวใหม่หอมมะลิประจำปี 2556 ในวันที่ 19-23 ธันวาคม 2556
3 นักเรียนได้นำเสนอ/จัดแสดง/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/
ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ
ในรูปแบบต่างๆ ตามวาระและโอกาสต่อสาธารณะใน
ระดับภาค ร่วมแข่งขันการแข่งขันทำน้ำพริกผักสดเครื่องเคียงระดับภาคเมื่อปีการศึกษา 2555 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 62 ที่จังหวัดชัยภูมิ
ร่วมแข่งขันทำแกงมัสมั่นในระดับภาคในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 63 จังหวัดนครพนม
4 นักเรียนได้นำเสนอ/จัดแสดง/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/
ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ
ในรูปแบบต่างๆ ตามวาระและโอกาสต่อสาธารณะใน
ระดับชาติ/นานาชาติ -
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 4
การได้รับรางวัล เชิดชู
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงานของนักเรียนได้รับรางวัล/ยกย่องเชิดชูในระดับเขต/จังหวัด
1.รางวัลชนะเลิศการแข่งขันทำน้ำพริกผักสดเครื่องเคียง รดับชั้น ม.4 6 ในปีการศึกษา 2555 ( จากการเรียนกิจกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ )
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันแปรรูปอาหารระดับชั้น ม. 1-3
ปีการศึกษา 2556
3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันแปรรูปอาหารระดับชั้น ม. 4 6
4. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันทำอาหารจานเดียวประเภทข้าว ระดับชั้น ม. 4 6
( จากการฝึกอาชีพอาหารและโภชนาการ)
2 ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงานของนักเรียนได้รับรางวัล/ยกย่องเชิดชูในระดับภาค ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับภาคในการแข่งขันทำน้ำพริกผักสดเครื่องเคียงในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 62 ที่จังหวัดชัยภูมิ
ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับภาคการแข่งขันทำแกงมัสมั่นในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 63 ที่จังหวัดนครพนม
3 ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงานของนักเรียนได้รับรางวัล/ยกย่องเชิดชูในระดับชาติ/นานาชาติ ได้รับการประเมินและเขียนยกย่องในผลการประเมินของ สมศ.
4 ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงานของนักเรียนได้รับรางวัล/ยกย่องเชิดชูและมีผู้นำไปประยุกต์ใช้/ เป็นแนวคิดในการพัฒนาผลงานของนักเรียน/ ครูนอก สถานศึกษา
การนวดฝ่าเท้า โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการได้นำไปฝึกปฏิบัติให้นักเรียน
การทำเบเกอรี่แม่ค้าขายขนมตามหมู่บ้านได้นำหลักการและสูตรไปทำขาย การทำปลาทูมันมีผู้ปกครองนำไปประกอบอาชีพ
การทำข้าวผัดสามสี ได้นำไปเสนอให้ร้านอาหารจานเดียวได้นำไปทำขายเพื่อให้น่าสนใจของลูกค้า
จากการเผยแพร่ผลงานการจัดกิจกรรมแนะแนวให้กับนักเรียนทาง Facebook มีผู้มาแสดงความคิดเห็นและเป็นแนวคิดให้ผู้ร่วมชมผลงานไปพัฒนาต่อได้
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 2 ผลการพัฒนาตนเอง
ตัวชี้วัดที่ 1
เป็นแบบอย่างและเป็นที่ยอมรับจากบุคคลอื่น ๆ
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 พัฒนาตนเองในด้านคุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาจิต
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และเข้าอบรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมกับทางโรงเรียน โดยโรงเรียนจะจัดกิจกรรมนี้ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง
ข้าพเจ้าได้พยายามรักษาศีลข้อ 5 และละเว้นจากอบายมุข ไม่เล่นหวย ไม่เล่นการพนัน ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พร้อมทั้งยังเฝ้าระวัง จัดกิจกรรม รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดอย่างต่อเนื่องตลอดจนพยายามปลูกฝังผู้เรียนให้ห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติด โดยการสอดแทรกเนื้อหาในกิจกรรมการเรียนการสอน และในกิจกรรมการอบรมคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
2 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามแนวปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในหน้าที่ราชการและส่วนตน
การดำรงชีวิตตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าพเจ้า ใช้หลักการ คือใช้ในสิ่งที่เรามี และไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินความสามารถของตนเอง ข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้เปิดร้านขายสังฆภัณฑ์ และการจัดดอกไม้สด และหน้าร้านจะรับงานที่นักเรียนสามารถนำความรู้มาหารายได้ระหว่างเรียนได้ เช่นการทำบายศรี การทำริบบิ้นห่อเหรียญ และได้ให้นักเรียนได้นำผลิตภัณฑ์ของนักเรียนนำมาจำหน่ายที่ร้านของครูได้ เป็นกิจการร้านค้าเล็ก ๆ จ้างคนข้างบ้านดูแลให้และหากได้รับงานในวันเสาร์ อาทิตย์หรือปิดภาคเรียน จะให้นักเรียนมาช่วยงานเพื่อให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน และมีทักษะในการฝึกอาชีพเพิ่มเติมได้
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
3 น้อมนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จนได้รับการยอมรับหรือการยกย่องเชิดชูจากหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐและ เอกชน ระดับเขต/จังหวัด การดำรงชีวิตตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าพเจ้า ใช้หลักการ คือใช้ในสิ่งที่เรามี และไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินความสามารถของตนเอง โดยข้าพเจ้าจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การฝึกให้นักเรียนได้ทำน้ำยาล้างห้องน้ำใช้เองที่บ้านจากการใช้น้ำขี้เถ้า และข้าพเจ้าก็จะใช้ที่บ้านเพื่อเป็นแบบอย่าง การใช้สมุนไพรในการรับประทานเพื่อเป็นอาหารและเพื่อเป็นยาในเวลาเดียวกัน การฝึกให้นักเรียนได้มีอาชีพเสริมเพื่อให้นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตอยู่รอดในทุกสถานการณ์ของเศรษฐกิจ เช่นอาชีพนวดฝ่าเท้าที่นักเรียนสามารถทำได้เพราะไม่ต้องลงทุนสูง ทำขนมสำหรับขายตามหมู่บ้าน ทำน้ำข้าวกล้องงอก ทำชารางจืด ทำปลาทูขายตามตลาดนัดคลองถมหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ อาชีพเสริมสวยซึ่งทุกกิจกรรม สามารถฝึกให้นักเรียนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตั้งแต่เป็นนักเรียน และมีนักเรียนบางคนที่สามารถนำไปเป็นอาชีพเสริมในขณะที่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เช่น นายชาญชัย ลีลาน้อย ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นปี 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สามารถหารายได้จากการอยู่ร้านเสริมสวยในวันเสาร์ อาทิตย์ โดยพ่อแม่ไม่ต้องส่งเสียเงินในการเรียน โดยได้รับการยกย่องเชิดชูจาก สมศ ในการประเมินภายนอกรอบที่ 3
4 น้อมนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จนได้รับการยอมรับหรือการยกย่องเชิดชูจาก หน่วยงาน/องค์กรระดับชาติ จากผลการประเมินภายนอกรอบที่ 3 ( 16-19 มิถุนายน 2555 ) ได้เขียนผลการรายงานการประเมินเกี่ยวกับการฝึกอาชีพของนักเรียนต่างๆ และการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
องค์ประกอบที่ 2 ผลการพัฒนาตนเอง
ตัวชี้วัดที่ 2
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ( การได้รับการพัฒนา/ พัฒนาตนเองในรอบ 2 ปี)
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 การได้รับการพัฒนา/พัฒนาตนเองในรอบ 2 ปี ปีการศึกษา 2554เข้ารับการอบรมครูMaster Teacher แนะแนวตามโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ
ปีการศึกษา 2555เข้ารับการอบรมหลักสูตรแนะแนว ( กลุ่มสูง )ตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ครูทั้งระบบ
ปีการศึกษา 2556เข้าอบรมหลักสูตรบทบาทครูแนะแนวในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 นำไปพัฒนานักเรียนแบบ
องค์รวมได้ ความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติ เมื่อจัดกิจกรรมแนะแนวในแต่ละเรื่องแล้ว นักเรียนสามารถอธิบายความรู้ที่ได้รับ ทักษะชีวิตที่ได้รับและความรู้สึกหลังจากการจัดกิจกรรม ทำให้นักเรียนได้ชอบในการเรียนและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตได้ระยะเวลานานเนื่องจากเกิดทักษะกระบวนการ และมีเจตคติที่ดีหลังจากทำกิจกรรมนั้นแล้ว
2 นำไปใช้บูรณาการกับหน่วย
/ เรื่องอื่นๆ ได้ อาหาร ( การงานอาชีพ )
การฝึกอาชีพ การทำอาหารเพื่อสุขภาพ
คุณธรรม ( จิตอาสา )
การนำอาชีพไปให้บริการโดยไม่เก็บค่าแรงเช่นนวดฝ่าเท้าฟรีให้ผู้สูงอายุและพ่อแม่
สุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี( สุขศึกษาและพลศึกษา )
นักเรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี เพราะได้ออกกำลังกายจากการทำงาน และมีความสุขจากการได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ( วิทยาศาสตร์ )
การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
3 นำไปใช้บูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้ กิจกรรมการเรียนแนะแนวสามารถนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ ได้ เช่น การงานอาชีพทำอาหาร( ฝึกอาชีพ ) งานช่าง( ปูกระเบื้อง ) สังคมศึกษา
( โครงงานคุณธรรม เศรษฐกิจพอเพียง ) สุขศึกษาและพลศึกษา( สุขภาพกายสุขภาพจิตดี ) วิทยาศาสตร์ ( การฝึกทักษะชีวิตจากทักษะวิทยาศาสตร์) คณิตศาสตร์ ( คำนวณรายรับรายจ่าย ) ภาษาไทย ( การสื่อสาร )
4 นำไปใช้เป็นต้นแบบเผยแพร่ขยายผลได้ การฝึกอาชีพ นำไปใช้ในการทำอาชีพเสริมหารายได้ระหว่างเรียน เป็นการเผยแพร่ผลงานของนักเรียนไปด้วย
จากรูปแบบการจัดกิจกรรมการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปขยายผลได้
5 เชื่อมโยง/นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทั้งหมดเพราะการจัดกิจกรรมได้นำสิ่งที่นักเรียนต้องพบเจอ และต้องกิน ต้องใช้ ต้องดำรงชีวิตเข้ามาสอนเพื่อให้นำไปใช้ได้จริงให้มากที่สุด
การประเมินตัวชี้วัดร่วมองค์ประกอบที่ 3 การดำเนินงาน / ผลงานที่เป็นเลิศ
ตัวชี้วัดที่ 1
การนำองค์ความรู้จากการได้รับการพัฒนาหรือการพัฒนาตนเองไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดข้อมูลการประเมิน
การประเมินตัวชี้วัดร่วม
องค์ประกอบที่ 3 การดำเนินงาน / ผลงานที่เป็นเลิศ
ตัวชี้วัดที่ 2
การแก้ปัญหา/การพัฒนาผู้เรียน
ข้อที่ รายการประเมิน รายละเอียดประกอบการประเมิน
1 การแก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยใน
ชั้นเรียน จัดทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่องการแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียนจากกิจกรรมดูหนังฟังเพลงก่อนเรียน
2 การแก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมทางการเรียนการสอน ใช้นวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 8 ทักษะ ให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 6 แล้วฝึกให้นักเรียนเป็นวิทยากรให้กับนักเรียนระดับชั้น ป.4 6 ในเขตพื้นที่บริการ นักเรียนที่ได้รับการฝึกได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการเป็นวิทยากรให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา จะสร้างภาวะผู้นำ และความภาคภูมิใจในตนเองให้กับนักเรียน ซึ่งเป็นประสบการณ์ในชีวิตที่ดีของนักเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 8 ทักษะเมื่อฝึกและเข้าใจดีแล้ว สามารถนำมาเป็นทักษะในการดำเนินชีวิตได้
ใช้นวัตกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมไทยจากเพลง
3 การแก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียนโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน แก้ปัญหานักเรียนที่เสี่ยงต่อการออกเรียนกลางคัน โดยสร้างอาชีพที่หารายได้ระหว่างเรียน
แก้ปัญหาชู้สาวของนักเรียนจากกระบวนการเทคนิคการให้คำปรึกษา
ลงชื่อ
(
|
โพสต์โดย ครูลมัย : [18 ก.พ. 2557 เวลา 10:23 น.] อ่าน [1054] ไอพี : 182.93.173.44
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
|


เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|