.....บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ชื่อผู้รายงาน นางสาวทองหยิบ เหมือนแก้ว ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนบ้านหนองสรวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด และทักษะการสื่อความหมาย ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านหนองสรวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงงาน และแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงงาน โดยใช้สถิติ t - test แบบ Dependent ซึ่งได้ผลการวิจัยดังนี้
1. พบว่าเด็กปฐมวัยก่อนการได้รับประสบการณ์แบบโครงการมีคะแนนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย เฉลี่ย เท่ากับ 4.8889 และหลังการได้รับประสบการณ์ด้วยการปฏิบัติแบบโครงการมีคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 9.1111
2. เด็กปฐมวัยก่อนการได้รับประสบการณ์แบบโครงการ มีคะแนนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการจำแนกประเภท เฉลี่ย เท่ากับ 5.3333และหลังการได้รับประสบการณ์แบบโครงการมีคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 9.6667
3. เด็กปฐมวัยก่อนการได้รับประสบการณ์แบบโครงการ มีคะแนนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะวัด เฉลี่ย เท่ากับ 4.6667และหลังการได้รับประสบการณ์แบบโครงการมีคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 8.8889
4. เด็กปฐมวัยก่อนการได้รับประสบการณ์แบบโครงการ มีคะแนนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ทักษะการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัย เฉลี่ยเท่ากับ 3.8889และ หลังการได้รับประสบการณ์แบบโครงการมีคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 8.7778
5. เด็กปฐมวัยก่อนการได้รับประสบการณ์แบบโครงการ มีคะแนนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ในภาพรวมของเด็กปฐมวัย เฉลี่ยเท่ากับ 4.6944และ หลังการได้รับประสบการณ์แบบโครงการมีคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 9.1111
6. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต สูงขึ้นหลังจากที่ได้รับประสบการณ์แบบโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
7. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการจำแนกประเภท สูงขึ้นหลังจากที่ได้รับประสบการณ์แบบโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
8. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการวัด สูงขึ้นหลังจากที่ได้รับประสบการณ์แบบโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3
9. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสื่อความหมาย สูงขึ้นหลังจากที่ได้รับประสบการณ์แบบโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 4
10. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ในภาพรวมได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด และ ทักษะการสื่อความหมาย สูงขึ้นหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน ข้อ 5