หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

การบวชอยู่ที่บ้าน
โพสต์เมื่อวันที่ : 31 ธ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6245 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(26.67%-3 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

จากเพลงๆ นี้ ที่ได้ฟังครั้งแรกเป็นเวอร์ชั่นของคุณโอภาส ทศพร (หากจะฟังเสียงคุณโอภาส คลิ๊กที่ชื่อคุณโอภาส อยู่ในชุดที่ 6 แล้วไปเลือกชื่อเพลง) เสียงดนตรีรุ่นใหม่ฟังแล้วชอบมาก แต่หาโค๊ดเพลงเวอร์ชั่นนี้ไม่ได้  เสียงเพลงที่ได้ยินนี้จึงเป็นเวอร์ชั่นของคุณสมยศ ทัศนพันธ์ (หลายคนคงเกิดไม่ทัน ^ ^ ) 

 

เนื้อหาของบทเพลงบรรยายความน้อยเนื้อต่ำใจที่ไม่สามารถบวชเรียนครองผ้าเหลืองในโบสถ์ได้ เสมือนว่าบุรุษตามบทเพลงคิดว่าตนเองมีกรรมหนักมีบาปหนาจึงไม่มีโอกาสบวชเรียนตามพิธีทางพุทธศาสนา  

 

ชายไร้โบสถ์

ศิลปิน : คุณสมยศ ทัศนพันธ์ 

 

ชีวิตเราแสนเศร้า มืดมน ผู้ คนเขาไกลไม่อยาก สัง คม

ดัง ร่างกายเราโส มม ต้อง จม ทุกข์ทนแต่เกิด กาย

พ่อแม่ตาย ไร้คนเขาเมตตา

เป็น กำพร้า พา ให้ต้อง อับอาย เสียทีที่เกิด เป็นชาย

เหมือนมี เพียงกาย ไร้ ความหมายสิ้นดี

 

ฟังเสียงแตรเขาแห่ นาค มา ศรัทธา นึกใคร่ได้บวช สัก ที

คน บวชให้ไม่เห็น มี เศรษฐี เขากลัวจะยุ่ง ใจ

บวชให้ แล้วเกรงจะกลับ กลาย

เป็น คนร้าย หนี มาบวช ซ่อนตน ต้องทนทุกข์กลับ อับจน

เหมือนคน ชั่วโฉด ไร้ ทั้งโบสถ์และบุญ

 

อยากให้แม่ได้เกาะ ผ้าเหลือง รุ่ง เรืองสีบริสุทธิ์ พุทธคุณ

คอย ผู้คนช่วยค้ำ จุน ดั่ง บุญ แม่น้อยจึงอับ จน

ลูก เป็น เหมือนคนมีบาป หนา ดัง ชั่วช้า คน เบือนหน้า ไม่มอง

สวดมนต์ไหว้กราบ เพื่อปอง หาคน ประคอง ฉัน เข้าโบสถ์สักที

 

 

จากการได้อ่าน ธรรมบรรยายประจำวันเสาร์ ภาคมาฆบูชา ครั้งที่ ๑๒คัดมาจาก หนังสือ บวชทำไม  โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ    ซึ่งน่าสนใจศึกษายิ่งนัก  

 

เนื่องจากเป็นบทธรรมบรรยายที่ยาวมาก ขอตัดมาลงเพียงบางส่วน แต่อยากให้สละเวลาอ่านเนื้อหาทั้งหมดจากลิงค์ที่แนบมานี้ การบวชอยู่ที่บ้าน (พุทธทาส.คอม) 

 

การบวชอยู่ที่บ้าน

 

บางคนจะสงสัยว่า บวชทำไมอยู่ที่บ้าน? มันก็พอจะตอบได้ว่า เราทำอย่างเดียวกัน ในวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายของคำว่า บวช แปลตามตัวหนังสือ ก็ว่า เว้นหมดจากที่ควรเว้น ก็คือ เว้นจากการปฏิบัติหรือการเป็นอยู่ชนิดที่เป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นไปเพื่อความทุกข์ เราจะเว้นเสียโดยเด็ดขาด; ไม่ทำในใจว่า อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด แต่ว่าโดยแท้จริงก็อยู่ที่บ้าน แต่ไม่ต้องทำในใจว่า อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด, ทำในใจแต่การประพฤติปฏิบัติ ให้ตรงตามความหมายนั้นเท่านั้น คือว่า เว้นหมดจากสิ่งที่ควรเว้น ในทุกๆระดับ.

 

หรือแม้ว่าเราจะอาศัยคำอีกคำหนึ่ง คือคำว่า พรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติประเสริฐ, ประพฤติอย่างพรหม ก็ไม่ได้จำกัดว่าที่บ้านหรือที่วัด ถ้าประพฤติได้ก็ประพฤติ; อย่างจะถือศีลพรหมจรรย์อยู่ที่บ้าน ศีล 8 ศีล 10 นั้นก็ยังถือได้ คำว่า พรหมจรรย์ นั้นมีความหมายว่า การประพฤติอย่างเต็มที่หรือเคร่งครัด ติดต่อกันเป็นระยะยาว เป็นการปฏิบัติตลอดชีวิต อย่างนี้ก็ยังได้ พูดกันง่ายๆ ว่า ประพฤติพรหมจรรย์ที่บ้าน มันก็ยังทำได้.

 

ทีนี้เมื่อบุคคล บางคนไม่อาจจะออกไปบวช หรือว่าเป็นสตรี ไม่อาจจะบวชเป็นภิกษุณี ก็เสียใจ หรือน้อยใจ อย่างนี้ก็มี, หรือด้วยเหตุอย่างอื่นออกไปบวชไม่ได้ อย่างนี้ก็มี, ไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องน้อยใจ, พยายามประพฤติปฏิบัติในธรรมะ ซึ่งเป็นการปฏิบัติให้ดีที่สุดให้สูงที่สุด ตามที่จะทำได้ ก็จะเป็นการบวชอยู่ที่บ้าน เรียกว่า บวชอยู่ที่บ้าน. ฟังดูให้ดีๆ เพราะบวช นั้นคือการเว้นเสียจากสิ่งที่ควรเว้น, พรหมจรรย์นั้น หมายถึงการประพฤติข้อธรรมอย่างจริงจังเคร่งครัด แม้ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ ถ้าทำอย่างเคร่งครัดติดต่อกันจนตลอดชีวิต ก็เรียกว่า พรหมจรรย์ได้เหมือนกัน. เดี๋ยวนี้เราจะถือเอาหลักปฏิบัติตามที่มีอยู่อย่างไรในพระพุทธศาสนานั้น เอามาถือไว้เป็นหลักปฏิบัติ ก็จะทำให้เกิดผลอย่างเดียวกัน กับพวกที่บวชออกไปอยู่ที่วัด หรือไปอยู่ที่ป่า, และในบางกรณี บวชอยู่ที่บ้าน จะทำได้ดีกว่าบางคนหรือบางพวก ที่ไปบวชเหลวไหลอยู่ที่วัด หรือแม้อยู่ในป่า ด้วยเหตุนี้แหละพอที่จะกล่าวได้ว่า เรื่องสถานที่นั้น ก็ไม่ได้สำคัญเด็ดขาด อะไรนัก, มันสำคัญหรือเด็ดขาดอยู่ที่การประพฤติกระทำมากกว่า ซึ่งขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังให้ดีๆ ว่า การบวชอยู่ที่บ้านนั้น จะบวชกันได้อย่างไร? 

 

 

หลักปฏิบัติในการบวชอยู่ที่บ้าน

 

การบวชอยู่ที่บ้านนั้น ก็ต้องอาศัยหลักธรรมะที่เป็นเนื้อแท้ หรือเป็นตัวแท้ของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เป็นหลักชัดเจนตายตัว ในที่นี้ จะเลือกเอามาสักหมวดหนึ่ง สำหรับยึดเป็นหลักปฏิบัติ แต่ก็มิได้เลือกเอาหมวด เช่น อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นต้น นั้นมันเป็นหลักทั่วไป ที่วัดก็ได้ ที่ไหนก็ได้, จะเอาชนิดที่สูงขึ้นไป ละเอียดขึ้นไปกว่านั้น คือหมวดธรรมที่มีชื่อว่า อินทรีย์ทั้ง 5, จำไว้ให้ดี.

 

อินทรีย์ทั้ง๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ๕ อย่างนี้ แต่ละอย่างเรียกว่า อินทรีย์. คำว่า อินทรีย์ แปลว่า สำคัญ ตัวการสำคัญ หลักการสำคัญ, ธรรมะทั้ง ๕ ข้อนี้ จะมีอยู่ในการปฏิบัติทั่วไป, จะทำสมาธิหรือเจริญภาวนาอย่างไร ก็ต้องทำให้มีอินทรีย์ครบทั้ง ๕.

 

ขอให้ฟังให้ดีว่า จะปฏิบัติธรรมะพวกไหนก็ตาม จะต้องปฏิบัติให้มีอินทรีย์ ในคำเหล่านั้น ครบทั้ง ๕ ที่เรียกว่า ๕, ๕ นี้ ก็คือ สัทธาวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ดังที่กล่าวแล้ว.

 

๑. มีสัทธา-เชื่อในธรรม เป็นเครื่องดับทุกข์.

ข้อแรก คือ สัทธา แปลว่า ความเชื่อ บวชอยู่ที่บ้านก็มีความเชื่อในธรรมะนั้นๆ ถึงที่สุด. เชื่อในอะไร? ถ้าถามว่า เชื่อในอะไร? ก็คือ เชื่อในธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์ ที่รู้กันทั่วไป ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ อริยอัฏฐังคิกมรรค มีองค์ ๘ นี้ เป็นธรรมที่ดับทุกข์. เราได้ศึกษาแล้ว เห็นแล้ว มีความเชื่อว่าธรรมเหล่านี้ดับทุกข์ได้จริง หรือว่า ธรรมเหล่านี้เป็นที่พึ่งได้จริง, เชื่อลงไปเสียทีหนึ่งก่อน.

 

๒. มีวิริยะ-มีความเพียรและกล้าหาญ

ทีนี้ ข้อที่ ๒ มีวิริยะ วิริยะแปลว่า ความเพียร หรือ ความกล้าหาญ, บวกกันทั้งความเพียรและความกล้าหาญเข้าด้วยกัน ก็เรียกว่า วิริยะ, ยิ่งมีศรัทธาในธรรมะหรือในตัวเองมาก่อนแล้ว วิริยะก็จะเข้มแข็งถึงที่สุด; อาศัยอำนาจของศรัทธา นั้นเป็นพื้นฐาน กระทำอย่างกล้าหาญ อย่างพากเพียร ในสิ่งที่ควรจะทำ ทุกเรื่องไม่ว่าเรื่องเกี่ยวกับโลก หรือ เกี่ยวกับเหนือโลก.

 

๓. มีสติ- ต้องใช้ในทุกกรณี

ทีนี้ ข้อถัดไป ก็คือ มีสติ, มีสติ สิ่งที่เรียกว่า สติ นี้เป็นธรรมะพิเศษ, เป็นธรรมะจำเป็นสำคัญที่จะต้องใช้ในทุกกรณี; ช่วยจำข้อความนี้ไว้ให้ดีๆ ว่าธรรมะที่จะ ต้องใช้ทุกกรณี ไม่ว่าที่ไหน อย่างไร ได้แก่ สติ. ทุกเรื่องมันต้องทำไป หรือเป็นไป ในความควบคุมของสติ; ถ้าไม่มีสติ มันก็ทำอะไรไม่ได้, แม้แต่จะลุกขึ้นยืนจะเดินไปมันก็ทำไม่ได้, มันก็หกล้มหกลุกซวนเซไป, แม้แต่จะรับประทานอาหาร ถ้ามันไม่มีสติ เดี๋ยวมันก็ป้อนอาหารเข้าจมูกไป, หรือว่าถ้าไม่มีสติ มันก็จะกินอาหารอย่างตะกละ อย่างที่เป็นกิเลส ไปคิดดูเองก็แล้วกันว่า เรื่องอะไร ทุกเรื่องที่อยู่ที่บ้านที่เรือน นับตั้งแต่ว่าจะทำงานชั้นหยาบ ตักน้ำ ผ่าฟืน ล้างหม้อล้างไห ก็ต้องทำไปด้วยความรู้สึกที่เรียกว่า สติ ถ้ามันเป็นเรื่องของกิเลสแล้ว ก็จะต้องระมัดระวังยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีหลักในชั้นสูงว่า มีสติในทุกผัสสะ, มีสติในทุกผัสสะ.

ตา      ก็มีสิ่งสำหรับกระทบ คือ  รูป
หู        ก็มีสิ่งสำหรับกระทบ คือ  เสียง
จมูก    ก็มีคู่กระทบ คือ               กลิ่น
ลิ้น      มีคู่กระทบ คือ                 รส
ผิวกาย ก็มีคู่กระทบ คือ              โผฏฐัพพะ
ใจ       ก็มีคู่กระทบ คือ               ธัมมารมณ์

 

๔. มีสมาธิ มุ่งนิพพานเป็นอารมณ์.

ทีนี้ อีกข้อต่อไป ก็ว่า มีสมาธิ กำหนดไว้ให้ดีๆ นะ ข้อที่ ๑ มีสัทธา อย่างที่ว่ามาแล้ว ข้อที่ ๒ มีวิริยะ ข้อที่ ๓ มีสติ นี้ข้อที่ ๔ มีสมาธิ, มีสมาธิ

สมาธิคืออะไร? ท่านบัญญัติความหมายไว้ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด เป็นสมาธิใหญ่หลวงมหาศาลเลยว่า สมาธิ คือ เอกัคคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์, เอกัคคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์. อาตมารู้สึกว่าบางคนฟังไม่ถูกก็งง ไม่รู้ว่าอะไร. เอกัคคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ก็บอกเสียเลยว่า เอกัคคตาจิต คือ จิตที่มีความคิดเพียงสิ่งเดียว มุ่งเพียงสิ่งเดียว ตั้งอยู่ในสิ่งเดียว; เอกัคคะ แปลว่า มียอดยอดเดียว, เอกัคคตาจิต จิตที่มียอดยอดเดียว คือมันมุ่งอยู่ที่สิ่งสิ่งเดียว, นี้เรียกว่า เอกัคคตาจิต, และมัน มุ่งต่อพระนิพพานเท่านั้น, ไม่มุ่งต่ออันอื่น ก็เรียกว่ามันมีนิพพานเป็นอารมณ์. เอกัคคตาจิตที่มุ่งต่อพระนิพพานเป็นอารมณ์นั่นแหละคือใจความของสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ มันจะทำสมาธิแบบไหน กี่แบบ กี่สิบแบบ ทำไปเถอะ ต่างๆ แปลกๆ กัน, ใจความของมันมันก็อยู่ที่ความมุ่งพระนิพพานเป็นอารมณ์ของจิตที่ตั้งไว้ เป็นอารมณ์เดียว เป็นสิ่งเดียว.

 

๕. มีปัญญา - รู้ความจริงที่ควรรู้

เอ้า ทีนี้ข้อสุดท้ายว่า มีปัญญา มีปัญญา ข้อ ๑ มีศรัทธา, ข้อ ๒ มีวิริยะ, ข้อ ๓ มีสติ, ข้อ ๔ มีสมาธิ, ข้อ ๕ มีปัญญา, ปัญญา แปลว่า ความรู้ คือ รู้สิ่งที่ควรรู้, รู้ความจริงที่ควรรู้ ความจริงที่ดับทุกข์ได้นั้น เป็นความจริงที่ควรรู้.

ขอให้รู้ความจริงนั้นอยู่ตลอดเวลา อยู่ตลอดเวลาด้วยสติ สติระลึกเอามา แล้ว สัมปชัญญะกำหนดเอาไว้ แล้วก็อยู่อย่างเป็นความรู้รอบ เป็นปัญญาอยู่ตลอดเวลา อย่าให้เกิดการปรุงแต่งในจิตจนเกิดความคิดชนิด ตัวกูของกู นี่คำพูดมันค่อนข้างจะหยาบคาย แต่มันจำเป็นว่า ความคิดชนิดที่มีความหมายเป็นตัวกู หรือเป็นของกูนั้น เป็นความคิดผิด พร้อมที่จะทำให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง มันเป็นความคิดที่ผิด เป็นความรู้ที่ผิด เรียกว่าเป็นความผิดนั่นแหละ

นี้ปัญญาต้องรอบรู้ รู้ที่ถูก มันรู้ทุกอย่างที่ควรจะรู้ รู้ได้ทุกอย่างที่ควรจะรู้ แต่อย่าไปรู้ชนิดที่ว่าเป็นตัวกู เป็นของกู เป็นตัวตน เป็นของตน นี่มันก็เป็นของละเอียดประณีตลึกซึ้งอยู่มาก, คือมันจะต้องรู้จักทำความละเอียดประณีตในทางจิต, ความคิดมันปรุงแต่งกันได้อย่างที่ว่ามาแล้วในเรื่องของผัสสะ. นี้เราอย่าให้ความคิดหรือความรู้เกิดขึ้น มีความหมายเป็นตัวกู เป็นของกู 

 

 

บวชอยู่ที่บ้านทำได้จริงก็มีผลดีเท่าที่ควรได้.

 

นี่จะบวชอยู่ที่บ้าน แล้วจะเป็นพระอรหันต์อยู่ที่บ้าน; พอเป็นพระอรหันต์แล้ว มันก็เลิกหมด ไม่ต้องบวชต้องอะไรดอก เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วมันเลิกบวช เลิกความหมายของคำว่า บวช, บวช หรือประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ต้องมีแล้ว. แต่เดี๋ยวนี้ ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็ขอให้เป็นผู้บวชด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นอยู่ที่บ้าน; โดยเฉพาะผู้หญิงไม่ต้องสนใจว่าผู้หญิงบวชไม่ได้. แต่เราบวชอยู่ที่บ้านได้อย่างนี้ แล้วเหมือนกัน หรืออย่างเดียวกัน หรือเท่ากัน แม้ไม่มีโอกาสไปบวชกับเขาบ้าง เขาบวชกันเกร่อหมด บวช ๙ วัน ไม่รู้ว่าจะได้ผลอย่างไร.

 

แต่อาตมาขอยืนยันว่าบวชอย่างที่ว่านี้เถิด, มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อยู่ที่บ้าน. บวชอยู่ที่บ้าน บริบูรณ์อยู่ด้วยธรรมะ ๕ ประการ ซึ่งทบทวนอีกทีหนึ่งก็ว่า:

 

มีศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่ง คือการปฏิบัติหรือคำสอนนั้น แล้วก เชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ เราทำได้ ไม่เหลือวิสัย เราทำได้ แล้วก็ปล่อยให้ทำไปด้วยศรัทธา

 

พร้อมกันนั้นก็ มีวิริยะ คือความกล้าหาญ ความพากเพียร ความบากบั่น สนุกสนานในการทำ พอใจในการทำ เป็นสุขเสียเมื่อกำลังทำ ไม่ต้องรอต่อผลงานได้มา กำลังทำอยู่มันก็พอใจและเป็นสุข อิ่มอยู่ด้วยความสุข ได้ความสุขโดยไม่ต้องเสียเงิน

 

ทีนี้ก็มีสติ เฝ้าระวังรักษาป้องกัน ไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น ในความคิดความนึกหรือในการกระทำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีผัสสะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจเอง

 

มีสมาธิ คือจิตแน่วแน่ต่อพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก, มีจุดมุ่งมั่นต่อพระนิพพาน เรียกว่า มีเอกัคคตาจิตมุ่งพระนิพพานอยู่ตลอดเวลา แล้วก็ทำทุกอย่างที่รักษาจิตชนิดนั้นไว้ ก็คือแบบสมาธิวิธีต่างๆ มันจะต่างกันอย่างไร มันก็อยู่ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ทั้งนั้น คือมีความหลุดพ้นจากความทุกข์เป็นอารมณ์ด้วยกันทั้งนั้น

 

แล้วในที่สุด ก็มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือ ความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน ในสิ่งที่ต้องกระทำ หรือควรกระทำ อย่าให้ความอยาก เช่นกิเลสตัณหา เพื่อตัวกู-ของกู เข้ามาแทรกแซง นั้นมันจะทำให้เสียหมด นี่เรียกว่า ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง แหละ "ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที" ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู มันไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหาอะไร, มีจิตที่บริสุทธิ์ อยู่ด้วยปัญญา และ ความสุขสงบ นี่คือ บวชอยู่ที่บ้าน. 

 

 

ขอให้ผู้ที่อยู่บ้าน หรือยังอยู่ที่บ้านนั้น จัดแจงปรับปรุงให้ชีวิตการเป็นอยู่ของตนนั้น อนุโลมเข้ากันกับการบวช โดยสมาทานสิกขาบท คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา, ธรรม ๕ ประการนี้ แทรกอยู่ในการปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นสุดท้าย ถ้าปฏิบัติกรรมฐานอยู่อย่างเคร่งครัดในป่า ในวัดในดงก็ตาม เขาก็ระวังให้ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในการปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างเต็มที่ แล้วผลก็แน่นอน สำเร็จตามความปรารถนา 

 

 

อ่านเพิ่มเติมฉบับสมบูรณ์ได้จาก

เครดิต http://www.buddhadasa

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง การบวชอยู่ที่บ้าน
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..