หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ
โพสต์เมื่อวันที่ : 29 ธ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6106 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....


Image

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

หัวข้อ

ก. ที่มาของมงคลชีวิต ๓๘ ประการ
ข. ปฐมบทแห่งมงคลชีวิต
ค. มงคลชีวิต ๓๘ ประการ


มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ
มงคลที่ ๙ มีวินัย
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม
มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นบาป
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจจ์
มงคลที่ ๓๔ ทำนิพพานให้แจ้ง
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก
มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี
มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม


ง. บทสรุปมงคลชีวิต
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 311

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 6:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก. ที่มาของมงคลชีวิต ๓๘ ประการ

กาลเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ณ ชมพูทวีป มหาชนและคนทั้งหลายผู้อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ต่างคนต่างก็มีความปริวิตกหวาดกลัวต่อความทุกข์ยากเดือดร้อนจากภัยที่จักเป็นอันตรายแก่ตน และคนทั้งทรัพย์สินในครอบครัว ด้วยอาศัยอำนาจแห่งความกลัวนี้ ชนทั้งหลายได้พากันขวนขวายแสวงหาที่พึ่งพาอาศัย ที่ตนเชื่อว่าประเสริฐและทรงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจักได้ช่วยคุ้มครองปกปักรักษาชีวิตและทรัพย์สินของตนๆ ให้อยู่รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงที่จักอุบัติขึ้น

บางขณะก็ใช้ที่พึ่งนั้น ให้ช่วยปัดเป่ารักษาอาการเจ็บไข้และโรคร้ายทั้งปวง บางทีก็ใช้ให้ที่พึ่งนั้นดลบันดาลให้พืชผลทางการเกษตรของตนเจริญงอกงาม หรือไม่ก็ใช้ที่พึ่งนั้นช่วยปกป้องภัยภิบัติ อันจักพึงมีแก่พืชผลทางการเกษตรทรัพย์สินและชีวิตของตน ซึ่งบางครั้งก็ดูเหมือนว่าที่พึ่งเหล่านั้นได้ดลบันดาลให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ขอได้จริง


Image
ความเชื่อของมนุษย์สมัยโบราณ นับถือเทพเจ้า และสัตว์ต่างๆ

Image
ความเชื่อเรื่องบูชายัญ

Image
การแห่นางแมวขอฝน

Image
ขอหวยที่ต้นไม้

Image
รักษาโรคด้วยหมอผี
............................................................



แต่ก็บ่อยครั้ง หรือหลายครั้งที่ที่พึ่งเหล่านั้นมิได้ช่วยให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ขอได้เลย แถมยังเป็นตัวทำลายชีวิตทรัพย์สินของผู้เคารพยอมรับบูชาเสียอีก และชีวิตของที่พึ่งเหล่านั้นก็มีมากมายหลายชนิดหลายประเภท มีชีวิตบ้าง ไม่มีชีวิตบ้าง ตัวอย่างเช่น ผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลอง ก็พากันเคารพบูชาแม่พระคงคา บูชาเจ้าสมุทร บูชาผีน้ำ พรายภูตน้ำ หรือที่สุดก็บูชาสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำนั้น พวกที่อยู่ในป่าเขาต่างก็พากันบูชา เจ้าป่า เจ้าเขา รุกขเทวดา นางไม้ เจ้าที่ จอมปลวก

แม้ในที่สุด ก็เคารพบูชาสัตว์น้อยใหญ่ที่อิงอาศัยอยู่ในป่านั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันศักดิ์สิทธิ์ประเสริฐ พวกที่อาศัยอยู่ในเมืองก็พากันเคารพบูชา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า บางพวกก็บูชาลม ฝน ไฟ บางพวกก็บูชาทาง ๓ แพร่ง และทางแยกต่างๆ บางพวกก็บูชาสัตว์เลี้ยงในบ้าน และนอกบ้าน ได้แก่ วัว งู นก ไก่ ปลา และบางพวกก็บูชามนุษย์ที่ประพฤติพรต บำเพ็ญตบะ


Image
มนุษย์เกิดความสงสัยอะไรที่เป็นมงคล
............................................................



เมื่อมหาชนของผู้คนทั้งหลายพากันบูชาสิ่งเคารพของตนๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว ต่างก็พากันบูชาด้วยของบูชาอันเลิศ พร้อมกระนั้นก็ขอความคุ้มครองรักษา บำบัดปัดเป่า ขจัดทุกข์ภัยจากสิ่งเคารพของตน ซึ่งผลที่ตอบรับบางทีก็ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จนทำให้เป็นที่โจษจัน เคลือบแคลง ระแวงสงสัยแก่มหาชนคนทั้งหลายว่า สิ่งเคารพอันใดกันแน่ที่จัดว่าเป็นสิ่งเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ดีมีมงคล มหาชนทั้งหลายต่างฝ่ายต่างพากันถกเถียงอยู่เคลื่อนกล่นอลหม่าน ก็ยังหาข้อยุติมิได้ ว่าอะไรคือสิ่งเคารพที่เป็นมงคลสูงสุด

Image
เหล่าเทวดาทูลถามท้าวสักกเทวราช “อะไรคือมงคล”
............................................................



จนร้อนถึงเหล่าเทวดาชั้นกามาวจร อันได้แก่ เทวดาที่สถิตอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ เมื่อได้สดับคำโจษขานของมนุษย์ที่อยู่ในความดูแลของตนๆ ก็พากันสอบถามกันและกันว่า

“เอ...พวกมนุษย์เขาถามกันไปมาว่า อะไรคือสิ่งดีมีมงคลสูงสุด”

“นั่นสิท่าน ! อะไรล่ะ ข้าพเจ้าก็มิได้รู้เหมือนกัน”

“ถ้าอย่างนั้นชาวเราทั้งหลาย พากันไปเข้าเฝ้ามหาเทพ เพื่อทูลถามปัญหานี้เถิด”

เหล่าเทพเทวาทั้งหลาย ก็ได้พากันไปเข้าเฝ้ามหาเทพผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ พร้อมกับทูลถามปัญหาว่าอะไรเป็นมงคลสูงสุด องค์อินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ เมื่อได้ทรงฟังปัญหาของเหล่าเทพเทวาทั้งหลายดังนั้นแล้ว ก็วิเคราะห์ใคร่ครวญพิจารณาดู ก็หาได้รู้ไม่ สุดปัญญาที่จอมเทพไทจักแก้ไข ก็เลยตรัสขึ้นว่า เห็นทีปัญหานี้จักต้องกราบทูลอาราธนาขอให้พระจอมบรมศาสดาทรงเมตตาแก้ปัญหาในครั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่าพระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู มิมีอะไรที่ไม่ทรงรู้ คิดดังนั้นแล้วก็ชวนเหล่าเทวดาทั้งหลายมาเฝ้าทูลถามปัญหา ณ เชตวันมหาวิหาร อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี


Image
ท้าวสักกเทวราชทูลถามพระพุทธเจ้า
ณ เชตวันมหาวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี
............................................................



จบที่มาของมงคลชีวิต ๓๘ ประการ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 311

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 6:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)


ข. ปฐมบทแห่งมงคลชีวิต

ม ง ค ล คื อ อ ะ ไ ร ?

มีผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า มงคล คือทางก้าวหน้า ความสุข ความเจริญ สำหรับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า มงคล คือเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ คำว่า มงคลชีวิต จึงรวมความได้ว่า คือเหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ ๓๘ ประการด้วยกัน

Image
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)


ม ง ค ล : เ ห ตุ แ ห่ ง ค ว า ม เ จ ริ ญ ก้ า ว ห น้ า

ความเจริญก้าวหน้าแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ

๑. ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อเติบโตขึ้นก็สามารถตั้งฐานะได้ มีทรัพย์สมบัติมาก มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดี เป็นต้น

๒. ความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้า หมายถึง เป็นผู้สั่งสมบุญกุศลไว้ดี เมื่อละจากโลกนี้ ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

๓. การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงสุด

การปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทั้ง ๓ ระดับนี้ เพราะผู้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต โดยเนื้อหาก็คือ เป็นการหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย และทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องสูง ทำให้เกิดสติและปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่วความบาปต่างๆ จึงส่งผลเป็นความเจริญก้าวหน้าทั้งชาตินี้ ชาติหน้า จนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด


Image
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)


ม ง ค ล สู ต ร : คู่ มื อ ก า ร เ ท ศ น์

การเทศนาสั่งสอนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในด้านการอบรมสั่งสอนประชาชน ท่านจะนิยมใช้มงคลสูตรเป็นแม่บทในการเทศน์ เพราะไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป ยกตัวอย่างเช่น

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ ก็ใช้มงคลสูตร เป็นแนวทางในการเทศน์สอนอบรมประชาชน

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) ก็ได้แต่งตำรามงคลสูตร เพื่อใช้อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณร และประชาชน

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากด้านการเทศนาสั่งสอน ก็อาศัยมงคลสูตรเป็นแม่บทเช่นกัน

นอกจากนี้ก็ยังมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ที่ใช้มงคลสูตรเป็นแม่บท ทั้งในการเทศน์และการแต่งตำรา

ย้อนหลังไปสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระสิริมังคลาจารย์ ได้แต่งตำรามงคลสูตรเป็นภาษาบาลี ซึ่งต่อมาได้ใช้สำหรับเป็นคู่มือในการเทศน์สอน และใช้เป็นแบบเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในปัจจุบัน

แสดงว่ามงคลสูตรนี้ เหมาะสมแก่การศึกษาด้วยประการทั้งปวง คือ

ประการที่ ๑ สะดวกในการทำความเข้าใจ เพราะคนไทยมีพื้นฐานธรรมะอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ทราบว่า เรื่องที่เรียนรู้มาอยู่ในหมวดไหน เมื่อมาศึกษาอย่างเป็นระบบตามมงคลสูตร จึงง่ายต่อการที่จะเข้าใจ

ประการที่ ๒ เหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ เพราะเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ผู้ศึกษามงคลสูตรนี้ สามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นลำดับๆ เหมือนขึ้นบันไดทีละขั้นจนถึงจุดสูงสุดได้


Image
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)


เ ห ตุ ที่ ต้ อ ง เ รี ย น ม ง ค ล สู ต ร

มีสิ่งที่น่าคิดอยู่ประการหนึ่งคือ การเกิดมาเป็นคน เพียงแค่ศึกษาหาความรู้สูงๆ เพื่อให้มีสติปัญญา ที่จะทำมาหากินได้สะดวกสบายโดยไม่ติดขัด เท่านี้ยังไม่พอ ยังไม่แน่ว่าจะหาความสุขได้ เพราะความรู้ที่มีอยู่ในโลกทั่วไปเป็นความรู้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง คือเลี้ยงส่วนที่เป็นกายเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นใจยังไม่มีอะไรไปเลี้ยง

เนื่องจากคนเรามีส่วนสำคัญอยู่ ๒ ส่วน คือกายและใจ ในเมื่อกายต้องการอาหารไปเลี้ยง เพื่อให้พ้นจากโรคคือความหิว และให้ร่างกายเกิดความเจริญเติบโตขึ้น ใจก็เช่นเดียวกัน ต้องการอาหาร คือธรรมะมาหล่อเลี้ยง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้พ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง และเพื่อยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น จะได้พบกับความสุข ควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพทำมาหากิน

ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมาเรียนธรรมะโดยเฉพาะเรื่องมงคลสูตร เพราะ ไม่เพียงมีความสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติตามอีกด้วย


ที่ ม า ข อ ง ม ง ค ล

ย้อนหลังไป ๒๖ ศตวรรษ ประชาชนชาวชมพูทวีป สมัยนั้นกำลังตื่นตัวในการค้นคว้าปัญหาเกี่ยวกับชีวิตจิตใจ เช่น คนเราเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขในชีวิต ทำอย่างไรจึงจะมีความสำเร็จในการทำงาน ฯลฯ มีการชุมนุมกันตามสวนสาธารณะบ้าง ประตูเมืองบ้าง จตุรัสต่างๆ บ้าง เพื่ออภิปรายในปัญหาเหล่านี้กันอย่างกว้างขวาง

เมื่อมีผู้อภิปรายมากเข้า หลายคนก็หลายความคิด และต่างก็โฆษณาเผยแพร่ความคิดของตัว ใครมีคนเชื่อตามมาก ก็กลายเป็นอาจารย์ มีลูกศิษย์ ลูกหากันคนละมากๆ

ขณะที่การชุมนุมสาธารณะกำลังเฟื่อง การอภิปรายกำลังเป็นไปอย่างครึกครื้น ปัญหาต่างๆ ได้ถูกฟาดฟันด้วยวาทะคมคายเรื่องแล้วเรื่องเล่า

โดยไม่มีใครคาดฝัน ได้มีผู้เสนอญัตติสำคัญเข้าสู่วงอภิปรายว่า

“อะไรคือมงคลของชีวิต”

ดูรูปปัญหาแล้วก็ไม่น่าจะหนักหนาอะไร แต่เมื่อมีผู้เสนอตัวขึ้นกล่าวแก้ กลับถูกผู้อื่นกล่าววาทะหักล้างอย่างไม่เป็นท่า

“ท่านทั้งหลาย โปรดฟังทางนี้ ข้าพเจ้าทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล”

นักอภิปรายผู้หนึ่งนามว่า ทิฏฐมังคลิกะ เสนอตัวขึ้นในที่ชุมนุม

“รูปที่ตาเห็นนี้แหละเป็นมงคล ลองสังเกตดูซิ เมื่อเราตื่นแต่เช้าตรู่ ได้เห็นนกบินเป็นฝูงๆ พระอาทิตย์ขึ้น ต้นไม้เขียวๆ เด็กเล็กๆ น่ารัก สิ่งที่เราเห็นนี้แหละเป็นมงคล”

พอทิฏฐมังคลิกะกล่าวจบลง นักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ สุตมังคลิกะก็กล่าวหักล้างทันทีว่า “ช้าก่อน ท่านทั้งหลายอย่าเพิ่งเชื่อ ที่นายทิฏฐมังคลิกะกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าสิ่งที่ตาเห็นเป็นมงคลแล้ว เวลาเรามองเห็นอุจจาระ ปัสสาวะ คนเป็นโรค สิ่งเหล่านี้ก็ต้องเป็นมงคลด้วยซิ มันจะเป็นไปได้อย่างไร”

“ต้องหูซิท่าน เสียงที่หูฟังนี่แหละเป็นมงคล ตื่นเช้าเราก็ได้ฟังเสียงนกร้องบ้าง เสียงเพลงบ้าง เสียงแม่หยอกล้อเล่นกับลูกบ้าง เสียงพูดเพราะๆ บ้าง เสียงลมพัดยอดไม้บ้าง ฯลฯ เสียงที่หูได้ฟังจึงเป็นมงคล” สุตมังคลิกะกล่าว

ไม่ทันขาดคำ ก็มีนักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ มุตมังคลิกะกล่าวแย้งทันที ว่า “เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าเสียงที่หูได้ยินเป็นมงคล อย่างนั้นเวลาเราได้ยินคนด่ากัน คนขู่ตะคอก คนโกหกมดเท็จ เสียงเหล่านี้จะเป็นมงคลด้วยหรือ”

“ต้องอารมณ์ที่ใจเราทราบซิท่านจึงจะเป็นมงคล พึงสังเกตว่า ตื่นเช้าเราได้ดมกลิ่นดอกไม้หอมๆ จับต้องสวมใส่เสื้อผ้าสะอาดๆ รับประทานอาหารอร่อยๆ เป็นอารมณ์ที่ใจเรารับรู้ รับทราบ นี่แหละจึงเป็นมงคล”

ทันควันอีกเหมือนกัน นักอภิปรายอีกคนก็แย้งทันทีว่า “เป็นไปไม่ได้ ถ้าอารมณ์ที่ใจเรารับรู้เป็นมงคลแล้ว อย่างนั้นเวลาเราได้กลิ่นเหม็นๆ จับของ สกปรก คิดเรื่องชั่วร้าย อารมณ์ตอนนั้นจะเป็นมงคลไปด้วยหรือ”

ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องมงคล ได้แผ่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั่วแคว้น ในบ้าน ในสภา ในสโมสร ในหมู่คนเดินทาง ฯลฯ ปัญหาเรื่องมงคลได้ถูกนำขึ้นมาถกเถียงกันอยู่ทั่วไป

ไม่เฉพาะมนุษย์ แม้พวกเทวดาได้ยินมนุษย์ถกเถียงกันก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกันบ้าง ตั้งแต่เทวดารักษามนุษย์ ภุมมเทวา อากาศเทวา ตลอดจนเทวดาบนสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น จนถึงพรหมโลก ต่างก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกัน ปัญหามงคลนี้ได้กลายเป็นมงคลโกลาหล ร่ำลือกันกระฉ่อนไปหมด ทั่วทั้งมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก แต่ก็ไม่มีใครชี้ขาดได้ว่าอะไรเป็นมงคลของชีวิต

แต่มีพรหมอยู่พวกหนึ่ง คือพรหมชั้นสุทธาวาส พรหมชั้นนี้เมื่อสมัยเป็น มนุษย์ได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมขั้นพระอนาคามี จึงทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล แต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ ได้แต่ป่าวประกาศให้เทวดาทั้งหลายทราบว่าอีก ๑๒ ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลก ให้คอยถามปัญหามงคลนี้กับพระองค์

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล ซึ่งมีทั้งหมด ๓๘ ประการ มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง

แม้หลักมงคลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จะประกอบไปด้วย เหตุผลอย่างสมบูรณ์ ไม่มีใครสามารถหักล้างได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า คณาจารย์ นักคิด เจ้าลัทธิทั้งหลายจะล้มเลิกความคิดเดิม หันมาเชื่อพระองค์ทุกคน เพราะล้วนแต่หนาแน่นด้วยทิฏฐิกันทั้งนั้น แม้จะรู้ตัวว่าผิด แต่ยังยืนยันวาทะของตนอยู่ และสานุศิษย์ของแต่ละสำนักก็ยังทำการเผยแพร่อยู่อย่างไม่หยุดยั้ง ประกอบกับนิสัยของคนเรามีความขลาดประจำตัวอยู่แล้ว ชอบทำอะไรเผื่อเหนียว ไว้ก่อน จึงมีผู้ยอมรับนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เกิดเป็นมงคล ๒ สาย พัวพันกันมาจนถึงปัจจุบันคือ

๑. มงคลของนักคิด เรียกว่า มงคลมี ยึดถือเอาว่า การมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นมงคล ซึ่งแต่ละที่แต่ละสมัยก็ยึดถือต่างๆ กันไป ไม่มีอะไรแน่นอน ของบางอย่าง บางที่ถือเป็นมงคล บางที่อาจถือว่าเป็นอัปมงคลก็ได้

๒. มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า มงคลทำ ยึดถือเอาการปฏิบัติฝึกฝนตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วย่อมได้ผลแน่นอน

มงคลของนักคิดนั้น มีผู้เสนอขึ้นมาแล้ว ก็มีผู้โต้แย้งลบล้างไป แล้วก็มีผู้เสนอขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อยๆ จนหาข้อยุติไม่ได้ แต่มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อทรงแสดงแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถหาเหตุผลมาลบล้างได้ แม้ พระองค์จะทรงเปิดโอกาส ให้คัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลา ดังความในบทสรรเสริญพระธรรมคุณ ที่ว่า “เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจน์เถิด”


จบปฐมนิเทศมงคลชีวิต
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 311

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 6:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
คนพาลทุบตีคน ยิงกวาง

Image
คนพาลที่มีนิสัยชอบดื่มสุราเมามาย

Image
ผู้หญิงนอกใจสามี

Image
คนพาลชอบยุแหย่คนให้ทะเลาะกัน

Image
คนพาลที่ขโมยของบ้านคนอื่น

Image
บิดาจูงมือบุตรหนีจากกลุ่มคนพาลทั้งหลาย
............................................................



ค. มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล

“ใบไม้ที่ห่อหุ้มปลาเน่า
ย่อมต้องพลอยเหม็นแปดเปื้อนไปด้วยฉันใด
ผู้ที่คบคนพาล ก็ย่อมต้องพลอยเสียชื่อเสียง
ติดความเป็นพาลเดือนร้อนเสียหายไปด้วยฉันนั้น”


ค น พ า ล คื อ ใ ค ร ?

คนพาล คือคนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิดๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร เช่น บัณฑิตเห็นว่า “เหล้า” เป็นของไม่ดี ทำให้ขาดสติ นำความเสื่อมมาให้นานัปการ แต่คนพาลกลับเห็นว่า “เหล้า” เป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องกระชับมิตร หรือบัณฑิตเห็นว่า “การเล่นไพ่” เป็นอบายมุข เป็นปากทาง หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งความฉิบหาย แต่คนพาลกลับเห็นว่า “การเล่นไพ่” เป็นสิ่งดี ทำให้เพลิดเพลิน เป็นการฝึกสมองซ้อมวิชาคำนวณ ดังนี้เป็นต้น

คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อเช่นเดียวกับเรา และอาจมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับเราก็ได้ เช่น เป็นญาติพี่น้อง สามีภรรยา ครูอาจารย์ ฯลฯ อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูง อาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมีสมัครพรรคพวกมาก ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีความ สัมพันธ์กับเราหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้ว ถึงแม้จะมีความรู้มีความสามารถก็ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร เพราะเขาแสลงต่อความดี เหมือนคนไข้แสลงต่อน้ำเย็น

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ค น พ า ล

เนื่องจากคนพาลมีใจขุ่นมัวอยู่เสมอ ทำให้ไม่สามารถควบคุมใจให้คิดไปในทางที่ถูกต้องได้ คนพาลจึงมีลักษณะวิปริตผิดจากคนทั้งหลาย ๓ ประการ คือ

๑. ชอบคิดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ คิดละโมบอยากได้ในทางทุจริต คิดพยาบาทปองร้าย คิดเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ

๒. ชอบพูดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียดยุยง พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ

๓. ชอบทำชั่วเป็นปกติ ได้แก่ เกะกะเกเร กินเหล้าเมายา ชอบล้างผลาญชีวิตคนและสัตว์ ลักทรัพย์ ฉุดคร่าอนาจาร ฯลฯ

โ ท ษ ข อ ง ค ว า ม เ ป็ น ค น พ า ล

๑. มีความเห็นผิด ก่อทุกข์ให้ตนเอง

๒. เสียชื่อเสียง ถูกติฉินนินทา

๓. ไม่มีคนนับถือ ถูกเกลียดชัง

๔. หมดสิริมงคล หมดสง่าราศี

๕. ความชั่วเภทภัยทั้งหลาย จะไหลเข้ามาหาตัว

๖. ทำลายประโยชน์ของตนเองทั้งโลกนี้และโลกหน้า

๗. ทำลายวงศ์ตระกูลของตนเอง

๘. เมื่อละโลกไปแล้วมีอบายภูมิเป็นที่ไป ฯลฯ

วิ ธี สั ง เ ก ต ค น พ า ล

คนพาลมักกระทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ

๑. คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด

- ชัก คือชักชวน เชิญชวน ชี้ชวน หรือเสนอแนะ

- นำ คือการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง

เช่น ชักชวนหนีโรงเรียน ชักชวนไปลักขโมย ชักชวนให้เสพยาบ้า เสพ ยาเสพย์ติด ชักนำไปเป็นอันธพาล ฯลฯ การชักนำนี้อาจทำด้วยความหวังดีก็ได้ แต่ว่ามันผิด เช่น ได้เงินมาก็ชักชวนเพื่อนไปเลี้ยงเหล้า เที่ยวกลางคืน อย่างนี้ก็จัดว่าเป็นพาล

ผู้ที่ยังเยาว์วัย อ่อนความคิด อ่อนสติ มักถูกชักนำได้โดยง่าย ฉะนั้นผู้ใหญ่ในบ้าน จึงควรระมัดระวัง การกระทำและคำพูด ทั้งของตนเองและผู้ที่มาติดต่อคบหา เพราะเด็กมักจะจำและทำตามอย่างด้วยความไม่รู้ แม้ผู้ใหญ่ทำสิ่งไม่ดี เด็กก็มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีควรกระทำ

๒. คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ เกะกะเกเร หน้าที่การงานของตน ไม่พยายามจัดการให้เรียบร้อย แต่ชอบไปก้าวก่ายหน้าที่การงานของผู้อื่น เช่น จับผิดผู้ร่วมงาน เขียนบัตรสนเท่ห์ กลั่นแกล้ง รังแก ทำความรบกวน ให้เดือดร้อน ฯลฯ

๓. คนพาลชอบแต่สิ่งผิดๆ ชอบถือเอาสิ่งที่ชั่วว่าเป็นสิ่งที่ดี เช่น ชอบเล่นไพ่ ชอบสูบบุหรี่ ชอบหนีโรงเรียน ชอบเถียงพ่อแม่ ฯลฯ เห็นคนทำถูกเป็นคนโง่ เห็นคนกลัวผิดเป็นคนขี้ขลาด

๔. คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ เช่น เตือนให้ดูหนังสือตอนใกล้สอบก็โกรธ เตือนให้ตื่นเช้าก็โกรธ แค่มองหน้าบางครั้งก็ยังโกรธ ฯลฯ

๕. คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย เช่น ไม่ชอบข้ามถนนตรงทางม้าลาย ทิ้งขยะบนพื้นถนน ไปโรงเรียนสาย ไปทำงานสาย ฯลฯ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ที่ เ รี ย ก ว่ า “ค บ” คื อ อ ย่ า ง ไ ร ?

คบ หมายถึงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

- ร่วม เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน

- รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน รับฟัง สิ่งที่คนพาลพูดหรือเขียน

- ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศ ให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืมสิ่งของ ให้การสนับสนุน

การไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใดๆ ดังกล่าว ข้างต้นกับคนพาล ถ้าเรายังคบคนพาลอยู่ ไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม รีบถอนตัวเสียโดยด่วน อย่าประมาท รีบตัดไฟเสียแต่ต้นลม มิฉะนั้นจะพลาด ติดเชื้อพาลโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นพาลตามไปด้วย

โบราณท่านให้คติเตือนใจไว้ว่า ห่างสุนัขให้ห่างศอก ห่างวอกให้ห่างวา ห่างพาลา ให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์

โ ท ษ ข อ ง ก า ร ค บ ค น พ า ล

๑. ย่อมถูกชักนำไปในทางที่ผิด

๒. ย่อมเกิดความหายนะ การงานล้มเหลว

๓. ย่อมถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป

๔. ย่อมอึดอัดใจ เพราะคนพาลแม้เราพูดดีๆ ด้วยก็โกรธ

๕. หมู่คณะย่อมแตกความสามัคคี เพราะการยุยงและไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย

๖. ภัยอันตรายต่างๆ ย่อมไหลเข้ามาหาตัว

๗. เมื่อละโลกแล้ว ย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไป ฯลฯ

ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่รายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์
(สุภาษิตโคลงโลกนิติ)


ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ค น พ า ล

คนพาลมี ๒ ประเภท ได้แก่

๑. พาลภายนอก คือคนพาลทั่วไป ซึ่งแม้จะร้ายกาจเพียงใด เราก็ยังมีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่มีพาลอีกประเภทหนึ่งที่ร้ายยิ่งกว่า เพราะมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ คือพาลภายใน

๒. พาลภายใน คือตัวเราเองขณะที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เช่น หนีงาน บ้าง เที่ยวเกเร ไปยุ่งธุระคนอื่นโดยใช่เหตุบ้าง ชอบไปทำงานสายบ้าง คนอื่นเตือนดีๆ ก็โกรธบ้าง หลีกเลี่ยงวินัยบ้าง พูดไม่ไพเราะบ้าง ครั้งใดที่เราทำ เช่นนี้ ครั้งนั้นเราเองนั่นแหละคือตัวพาล มีเชื้อพาลอยู่ภายใน ต้องรีบแก้ไข

ห ลั ก ป ฏิ บั ติ ใ น ชี วิ ต ป ร ะ จ ำ วั น

๑. หมั่นห้ามใจตนเองจากความชั่วแม้เพียงเล็กน้อย ก่อนที่มันจะลุกลามต่อไป เช่น การนอนตื่นสาย ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง หรือปล่อยให้ที่อยู่อาศัยรกรุงรังไม่หมั่นทำความสะอาด

๒. อย่าตามนึกถึงความชั่ว ความผิดพลาดในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่น ผ่านไปแล้วก็ให้แล้วกันไป ถือเป็นบทเรียนที่จะไม่ยอมทำซ้ำอีก แล้วตั้งใจทำความดีใหม่ให้เต็มที่

๓. ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ

๔. หลีกเลี่ยงการอ่าน การฟัง การพูด เรื่องเกี่ยวกับคนพาล จะได้ ไม่สะสมความคิดเกี่ยวกับพาลไว้ในใจ พยายามสะสมแต่ความคิดที่ดีงามโดยการอ่าน การฟัง การพูด แต่สิ่งที่ดีงาม เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ สนทนาธรรม พูดถึงคนที่ทำคุณความดี ฯลฯ

๕. ถ้าจำเป็นต้องอยู่ใกล้คนพาลอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เช่น ทำ งานในที่เดียวกัน เป็นญาติพี่น้องกัน ในกรณีเช่นนี้เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า เรากำลังอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นอันตราย เหมือนอยู่ใกล้คนเป็นโรคติดต่อ ต้องระวังตัว คือระวังความเป็นพาลของเขาจะมาติดเราเข้า ต้องหมั่นให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ เพื่อให้ใจผ่องใสอยู่เสมอ

เราต้องระลึกเสมอว่า หน้าที่อันยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในชีวิต ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าการปราบพาลภายในตัวเราเอง

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ไ ม่ ค บ ค น พ า ล

๑. ทำให้ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด

๒. ทำให้สามารถรักษาความดีเดิมไว้ได้

๓. ทำให้สามารถสร้างความดีใหม่เพิ่มขึ้นได้อีก

๔. ทำให้ไม่ถูกคนพาลทำร้าย

๕. ทำให้ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกใส่ความ

๖. ทำให้ไม่ถูกมองในแง่ร้าย ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป

๗. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถตั้งตัวได้เร็ว

๘. ทำให้มีความสุขทั้งตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ

๙. เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุนฯลฯ

“ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น” ขุ.ธ.๒๕/๑๕/๒๔


จบมงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 311

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 6:50 am

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง มงคลชีวิต ๓๘ ประการ
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..