.....
บทความเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้
โดย สมปอง จันทคง
นักศึกษาปริญญาเอก รหัส 5251023
----------------
สภาพปัจจุบันและปัญหา
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้บังคับใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2543 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ผลจากการใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เกิดปัญหาในการพัฒนาการศึกษาของชาติจนในปัจจุบันต้องเร่งหาทางปฏิรูปการศึกษาในหลายด้าน เช่น การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารการศึกษา การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปสถานศึกษา และการปฏิรูปการเรียนรู้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายรับรองผู้มีความเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภายใน 3 ปี แต่ปรากฏว่าระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นปีที่ 10 แห่งการใช้พระราชบัญญัตินี้กลับล้มเหลวเกือบจะสิ้นเชิง ทั้ง ๆ ที่นโยบายในระดับสูงมุ่งมั่นที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ ผู้ปฏิบัติ เช่น สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน
ครูถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้ ครูต้องปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนจากเดิมที่สอนหนังสือ ต้องเปลี่ยนเป็นการสอนคน เพราะปัจจุบันนี้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อต่าง ๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หนังสือตำราเรียน และรวมทั้งความรู้ทางอินเตอร์เน็ต นักเรียนเขาพัฒนาตนเองแต่ครูบางส่วนยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกฝ่ายจะต้องปฏิรูปการศึกษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการเรียนรู้
ปัญหาการปฏิรูปการเรียนรู้ สิ่งที่บ่งชี้ว่าต้องปฏิรูปการเรียนรู้ คือ
1. ห้องเรียน (Class Room) เพราะห้องเรียนเป็นกรอบในการปกครอง
ควบคุมดูแลนักเรียน ให้อยู่ในระเบียบวินัย เพื่อจะได้เรียนวิชาความรู้ ทั้ง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยให้เขาเกิดการเรียนรู้ เพราะบรรยากาศการเรียนรู้ที่อึดอัด ห้องเรียนที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลย กี่ปีผ่านไปห้องเรียนก็ยังอยู่ในสภาพเก่า ๆ เดิม ๆ ไม่ได้เอื้อให้เกิดการใฝ่เรียนใฝ่รู้ หรือส่งเสริมให้คิดกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้ อยู่อย่างเป็นสุข ได้อย่างเหมาะสม
2
2. สื่อนวัตกรรม (Innovation) ที่ผ่านมาการผลิตสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา
ได้รับความเอาใจใส่ แต่บางครั้งยังใช้สื่อไม่หลากหลาย ไม่ทันสมัย ไม่น่าสนใจ ไม่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ เช่น หนังสือหรือตำราเก่า ๆ สื่อเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ใช้ยาก
3. วิธีสอน (Method) ปัญหาอยู่ที่กระบวนการที่จัดให้แก่ผู้เรียนที่ไม่ได้เน้นให้
เกิดการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น เป็นคนช่างสังเกต ช่างสงสัย ใฝ่หาคำตอบ เพราะวิธีการสอนที่ใช้ยังเป็นการสอนหนังสือมากกว่าการสอนคน และขาดความเชื่อมโยงจากภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
4. ครู (Teacher) การปฏิรูปการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหรือไม่ ครูถือเป็นผู้มีบทบาท
สำคัญมากที่สุด เพราะครูยังยึดมั่นตนเองว่าเป็นผู้มีความรู้มากที่สุด ถูกที่สุด ไม่ยอมปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ยังใช้วิธีถ่ายทอดความรู้แบบเดิม ๆ ล้าสมัย ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น และไม่สนใจที่จะพัฒนาตนเอง ครูแบบนี้ยังมีอยู่จำนวนมากในระบบโรงเรียน
5. กระบวนการเรียนรู้ (Process Learning) ไม่น่าสนใจ น่าเบื่อหน่าย
เพราะครูยังยึดเกณฑ์เนื้อหา ความรู้ การสอบ คะแนน เป็นตัวกำหนดหรือตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน จึงทำให้เกิดความเครียด ไม่มีความสุขในการเรียน ไม่เป็นที่พอใจของผู้ปกครอง กระบวนการเรียนการสอนยังเป็นพฤติกรรมถ่ายทอดมากกว่าการปฏิบัติ การฝึกหัด การอบรมบ่มนิสัย ผู้เรียนเคยชินกับการนั่งนิ่ง เงียบ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าแสดงออก ขาดความคล่องตัวในการที่จะฝึกคิดวิเคราะห์ คิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่รับรู้การปลูกฝังความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ แต่ไวต่อการรับวัฒนธรรมของต่างชาติ
6. โรงเรียน (School) เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในระบบ ข้อบังคับ มีระเบียบ
แบบแผน มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีการบังคับบัญชาหลายระดับ บางครั้งงานพิเศษมีมากมาย ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำ จนทำให้เสียหายต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โรงเรียนจะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ สักฉบับ ต้องเสียครูหรือครูต้องทิ้งห้องเรียนไปเกือบตลอดวัน แล้วอย่างนี้เด็กนักเรียนจะเรียนเก่งได้อย่างไร
7. ผู้บริหารสถานศึกษา (Head of school) ในสถานศึกษาบางแห่งผู้บริหารจะ
เป็นตัวปัญหาที่ทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ ขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ขาดประสบการณ์ หรืออาจเป็นเพราะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่สามารถครองตน ครองคน ครองงานได้ จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารและปฏิรูปการเรียนรู้
3
ปัญหาเหล่านี้มีแนวทางในการแก้ไข แต่ต้องอาศัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่จะร่วมมือร่วมใจกันหาแนวทางในการช่วยปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ช่วยลูกหลานเยาวชนซึ่งเป็นผู้เรียนได้เป็นคนโดยสมบูรณ์ทั้งทางความคิด สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจ หาทาง
ช่วยเหลือปลดปล่อยความทุกข์ของผู้เรียนจากการเรียนรู้ ให้เขาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ภายใต้ความคิดความเชื่อที่ว่า “นักเรียนสำคัญที่สุด” หรือ “ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ” เพราะเขาเหล่านี้คือผู้ที่จะพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าในอนาคต ในโลกยุคโลกาภิวัตน์และไร้พรมแดน
แนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้
การปฏิรูปการเรียนรู้ ได้มีผู้เสนอแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
รุ่ง แก้วแดง นักการศึกษาที่มีความสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา ได้นำเสนอแนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ กล่าวคือ
1. ให้สถานศึกษาและชุมชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดนโยบาย
กำหนดเป้าหมาย จัดทำหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรท้องถิ่น กำกับดูแล ควบคุมตรวจสอบคุณภาพ และสนับสนุนทรัพยากรในด้านภูมิปัญญา องค์ความรู้ การเงิน เพื่อให้การศึกษาของเด็กและเยาวชนเป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
2. การระดมความร่วมมือภาคเอกชนเพื่อจัดการศึกษาด้านอาชีพโดยอาศัยความ
ร่วมมือจากสถานประกอบการ
3. การปรับรื้อระบบอุดมศึกษาให้เน้นหนักการสอน การวิจัย และการบริการ
แบบอิสระเบ็ดเสร็จมากขึ้น
4. ตรวจสอบและประกันคุณภาพการศึกษา
5. การระดมทรัพยากรและสรรพกำลัง
สิปนนท์ เกตุทัต (2545 : 18-19) กล่าวถึงหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา คือ
1. ด้านบุคคล ซึ่งทุกคนมีสิทธิและโอกาสที่มีคุณภาพเสมอกันตลอดชีวิต
2. ด้านรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้รู้วิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม
3. ด้านทรัพยากร การจัดการศึกษาต้องกว้างขวางทั่วถึงและเป็นธรรม
4
เกษม วัฒนชัย (2545 : 18-20) กล่าวว่าการเรียนรู้คือหัวใจของการปฏิรูป
มุ่งเน้นกระบวนการปลูกฝัง ถ่ายทอด ฝึกอบรม ให้เกิดความรู้ เจตคติ ความเข้าใจ ความเชื่อศรัทธา ระบบคุณค่า ระบบคุณธรรม การควบคุมและการดูแลตนเอง ทักษะและการทำงานให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผผู้เรียน ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา. 2544 : 80)
เสกสรร แย้มพินิจ (ออนไลน์) ได้เสนอแนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้ ไว้ 3
ประการ ดังนี้
1. ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการจัดการศึกษาอย่างเต็ม
ศักยภาพ ทั้งภาครัฐและเอกชน ชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และโรงเรียน
2. รัฐและส่วนกลางต้องกระจายอำนาจลงสู่ระดับภูมิภาคและท้องถิ่นให้เป็นผู้
ตัดสินใจตามภารกิจและความรับผิดชอบ
3. ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพเพื่อให้มั่นใจแน่ใจเชื่อใจได้ว่ามีคุณภาพในการ
จัดการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เสนอแนวคิดในการปฏิรูป
การเรียนรู้ ดังนี้
1. ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เรียนส่วนใหญ่มีจุดอ่อนในด้านทักษะการคิด
ทักษะการค้นคว้า รวมทั้งความรู้พื้นฐาน 5 สาระหลัก สถานศึกษาต้องประเมินผู้เรียนอย่างหลากหลายไม่ใช่เฉพาะการทดสอบเพียงอย่างเดียว และพบว่าครูต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านความรู้และแนวทางปฏิบัติในการวัดผลประเมินผลผู้เรียนมากขึ้น
2. ระดับอุดมศึกษา การดำเนินการปฏิรูปการศึกษา มีการส่งเสริมและพัฒนา
หลักสูตรให้หลากหลาย เรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปลี่ยนไป
5
จากการนำเสนอแนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้ทุกท่านที่กล่าวมาข้างต้น
สรุปได้ว่า หน่วยงาน หรือบุคคลที่จะต้องมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้
1. รัฐบาล ต้องให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณและอัตรากำลังให้กับ
สถานศึกษาอย่างเพียงพอ ต้องกระจายอำนาจลงสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล
2. ภาคเอกชน ต้องมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อให้การพัฒนาคุณภาพ
และช่วยเหลือผู้เรียนในด้านต่าง ๆ อย่างทันท่วงที
3. สถานศึกษา ต้องมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นไปตามนโยบาย
เป้าหมาย เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
4. ชุมชน ต้องสนับสนุนส่งเสริมด้านทรัพยากร เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
คุณภาพการศึกษาต้องสามารถตรวจสอบได้ มีการประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งจากองค์กรภายในและองค์กรภายนอกที่น่าเชื่อถือ
กรอบการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียน
Plan
Action กรอบการปกิรูปการเรียนรู้ Do
Check
6
มีขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นวางแผน
P (Plan) คือ การร่วมมือศึกษาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ ร่วมกำหนดแผนการสอนและร่วมวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2. ขั้นเรียนรู้
D (Do) คือ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ควบคู่กับผลงานและข้อความรู้ และทำการวิจัยเพื่อการเรียนรู้
3. ขั้นตรวจสอบ C (Check) ประเมินผลการเรียนรู้ บันทึกผลการเรียนรู้ และสรุปผลการเรียนรู้
4. ขั้นปรับปรุงพัฒนา A (Act) นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้
จากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา เมื่อปี 2548 พบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้มีหลากหลาย ครูยังไม่มั่นใจในหลักสูตร สาระหลักสูตรมากเกินไป ครูให้การบ้านเด็กมากเกินไป มีการใช้กระบวนการเรียนรู้ไม่เหมาะสม มีการนำสื่อเทคโนโลยีไปใช้บ้าง ในการจัดการเรียนเรียนรู้ ครูยังไม่สามารถนำการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอนได้
ในปี 2549 กระทรวงศึกษาธิการจัดให้เป็นปีแห่งการปฏิรูปเรียนการสอน โดยมุ่งให้ผู้สอนและผู้เรียน ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียน สอนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยตนเอง จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในปี 2551
หลังจากมีการปฏิรูปการเรียนรู้ปี 2549 ผ่านไป ได้มีการจัดการศึกษาตามแนวการจัดจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถใช้เทคโนโลยีแสวงหาความรู้ได้อย่างคล่องแคล่ว จัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษเกิดโรงเรียนในฝันหลายรุ่น เกิดโรงเรียนวิถีพุทธ รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน โดยเน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ อ่าน เขียนเพื่อสื่อสารและศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
ในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา การปฏิรูปการศึกษาแทบจะไม่เห็นเป็นรูปธรรมอาจเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายรัฐบาล และรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการหลายคน จนกระทั่งได้รัฐบาลใหม่ โดยรัฐมนตรีจุรินทร์ ลัษณะวิศิษฐ์ ประกาศนโยบายเดินหน้าการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 ในปี 2552 โดยเน้นการปฏิรูปเรื่องด่วน 7 เรื่อง คือ
7
1. การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. จัดการศึกษาให้สอดคล้อง ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างเหมาะสม
3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
4.