ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

อนาคต...สิทธิรักษาพยาบาล ภายใต้อุ้งมือเอกชน


ข่าวการศึกษา 11 ม.ค. 2560 เวลา 10:25 น. เปิดอ่าน : 11,635 ครั้ง

Advertisement

อนาคต...สิทธิรักษาพยาบาล ภายใต้อุ้งมือเอกชน

ขอบคุณที่มาจาก โพสต์ทูเดย์ 8 ม.ค.2560 "อนาคต...สิทธิรักษาพยาบาล ภายใต้อุ้งมือเอกชน" เขียนโดย...วีรวินทร์ ศรีโหมด

ข้าราชการและครอบครัวเกือบ 5 ล้านคนเกิดคำถามขึ้นมาว่า อนาคตสิทธิการรักษาพยาบาลจะเป็นอย่างไร หลังจากที่กระทรวงการคลังกำลังให้บริษัทประกันเอกชนเข้ามาบริหารจัดการระบบค่ารักษาพยาบาลข้าราชการแทนหน่วยงานรัฐเดิมที่ดูแลอย่างกรมบัญชีกลาง เพื่อหวังแก้ปัญหาค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องปีละกว่า 2,000 ล้านบาทให้ได้

ประเด็นนี้ในมุมมองของ วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเไพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประเด็นนี้พูดกันมานาน แต่การที่จะทำความเข้าใจเรื่องนี้ต้องพิจารณาจากบริบทใหญ่ แนวคิดเรื่องการสร้างหลักประกันสุขภาพ ซึ่งนอกจากเป้าหมายให้ทุกคนมีหลักประกันสุขภาพแล้ว ยังต้องการเปลี่ยนกลไกการจ่ายเงินของระบบด้วย เพราะเชื่อว่ากลไกการจ่ายเงินมีผลต่อพฤติกรรมผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมต้นทุนของระบบ

สำหรับกลไกการจ่ายเงินหลักๆ ที่ใช้มี 3 แบบ คือ แบบแรกใช้กันมากในสหรัฐอเมริกา และในระบบสวัสดิการข้าราชการของไทย เรียกว่า การจ่ายตามบริการจริง (Fee For Service) เป็นการเบิกจ่ายคืนให้ตามบริการที่ได้รับ แบบที่สอง คือ การเหมาจ่ายรายหัวตามค่าหัวที่กำหนดล่วงหน้า (Capitation) ซึ่งเป็นวิธีหลักที่ใช้กับระบบประกันสังคม (สปส.) และต่อมาก็กับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่ปัจจุบันประกันสังคมก็ไม่ได้ใช้วิธีนี้ทั้ง 100% เช่นกัน แบบที่สาม เป็นการจ่ายตามชนิดและความรุนแรงของโรค (DRG) ซึ่งจะกำหนดแต้มของการรักษาโรคในแต่ละประเภทไว้ แล้วจ่ายให้มากหรือน้อยตามแต้มของโรคนั้นๆ ซึ่งวิธีนี้ถูกนำมาใช้กับผู้ปวยในที่ต้องนอนโรงพยาบาลแทบทุกโครงการ

ที่ผ่านมาทั้งประกันสังคม และ 30 บาทรักษาทุกโรค ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พยายามทำให้เป็นระบบเหมาจ่ายรายหัวเพื่อเป้าหมายที่ต้องการควบคุมต้นทุน แต่ในทางปฏิบัติพบว่า 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ใช้เงินน้อยมากในตอนเริ่มโครงการ ก็มีแรงกดดันที่ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้งบเพิ่มขึ้นพอสมควรจากเดิมที่เริ่มในปี 2545 ที่ 1,200 บาท/คน ผ่านไป 15 ปี เพิ่มเป็น 3,000 บาท/คน

ในขณะเดียวกันช่วงแรกที่เริ่มโครงการ 30 บาทฯ นั้น สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นโครงการที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเร็วมาก ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะเกิดจากการจ่ายเงินตามบริการจริง ไม่มีแรงจูงใจให้แพทย์และผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษาที่มีต้นทุนต่ำ โดยแพทย์มักเลือกวิธีที่ดีที่สุด

เพราะคิดว่าคนไข้ไม่ต้องรับภาระ โรงพยาบาลก็สามารถเบิกได้เต็มที่กับกรมบัญชีกลาง และโรงพยาบาลก็มักมีกำไรจากการใช้ยาราคาแพง ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวในระยะเวลาไม่กี่ปี อยู่ในระดับ 6 หมื่นล้านบาทมานานหลายปีแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่าช่วงเกือบสิบปีหลังนี้งบส่วนนี้ไม่เพิ่มขึ้นเร็วเหมือนสมัยก่อน เพราะกรมบัญชีกลางนำ 2 มาตรการมาควบคุมค่าใช้จ่าย คือ 1.ระบบการจ่ายเงินตามชนิดและความรุนแรงของโรค มาใช้กับผู้ป่วยในที่นอนโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อนำระบบนี้มาใช้กับสวัสดิการข้าราชการ ก็เริ่มเห็นว่าโรงพยาบาลเปลี่ยนมาใช้ยาที่ผลิตในประเทศกับผู้ป่วยใน

2.มีการนำระบบการร่วมจ่ายมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกรณีหลังมักจะได้ยินข่าวเรื่องความพยายามให้ผู้มีสิทธิ 30 บาทร่วมจ่าย ซึ่งมีเสียงคัดค้านมาก แต่ในระบบสวัสดิการข้าราชการ การร่วมจ่ายไม่ค่อยมีเสียงค้านมาก เพราะคนกลุ่มนี้เห็นว่ายังได้รับบริการที่ดีกว่ากลุ่มอื่น

ด้วยสองมาตรการนี้ ทำให้งบสวัสดิการข้าราชการช่วงหลังจึงไม่ได้เพิ่มขึ้นจาก 6 หมื่นล้าน/ปีมาก เช่น ในปัจจุบันที่มีการเสนอข่าวว่า งบประมาณสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการเพิ่มขึ้น 2,000 ล้าน/ปี ถือได้ว่าเป็นเรื่องเล็กมากเมื่อเทียบกับอดีตที่งบนี้เคยเพิ่มมากกว่าร้อยละ 10 ต่อ/ปี

วิโรจน์ กล่าวอีกว่า ส่วนแนวคิดเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพนี้ ควรจะเป็นบทบาทของเอกชนหรือรัฐนั้น ต้องดูว่าใครจะทำเรื่องเหล่านี้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และระบบประกันเอกชนมีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้มากเท่ารัฐหรือไม่

เนื่องจากทั่วไปแล้วการประกันสุขภาพนั้น รัฐมีโอกาสที่จะทำเรื่องนี้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเอกชน เนื่องจากรัฐไม่ได้ต้องกีดกันใคร จึงสามารถครอบคลุมคนได้ทั่วถึง และการที่ไม่ต้องกีดกันก็ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ต้องพาคนไปตรวจสุขภาพเวลาเข้ามาสมัคร ทำให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในประเทศต่างๆ มักพึ่งระบบรัฐเป็นหลัก ขณะที่ประเทศที่ใช้ระบบประกันเอกชนเป็นหลักอย่างสหรัฐมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าในยุโรปและแคนาดามาก

ประเด็นใหญ่ที่สำคัญอีกเรื่องคือ ระบบประกันเอกชนพร้อมรับความเสี่ยงถึงที่สุดหรือไม่ เพราะหากดูกรมธรรม์ด้านประกันสุขภาพของบริษัทประกันเอกชนต่างๆ ในไทย จะเห็นได้ว่าจะมีกำหนดเพดานขั้นสูงไว้ทั้งสิ้น และอาจมีข้อกังวลว่าถ้าหากบริษัทที่เข้ามารับดูแล รวมทั้งบริษัทที่รับประกันต่อไม่มีความมั่นคงทางการเงินมากพออาจทำให้มีความเสี่ยงได้

เพราะหากมีโรคระบาดรุนแรงในบางปี และบริษัทประกันที่ได้เงินตามระบบเหมาจ่ายรายหัว อาจพยายามคุมค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ ซึ่งอาจนำไปสู่การรักษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือมีภาคปฏิบัติที่เป็นการลิดรอนสิทธิของข้าราชการก็เป็นได้ ซึ่งในระบบของรัฐนั้น เมื่อมีค่าใช้จ่ายสูงกว่างบที่ตั้งรัฐก็สามารถดึงเงินส่วนอื่นมาช่วยได้ แต่เอกชนอาจมีข้อจำกัดมากกว่าในด้านนี้

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องความสะดวกในการเคลมประกัน ซึ่งที่ผ่านมาเห็นได้ชัดจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ใช้บริษัทประกันเอกชนทั้งหมด ซึ่งในบางปีเงินที่บริษัทจ่ายให้ผู้เสียหายตกประมาณครึ่งเดียวของเงินที่เก็บเข้ามา โดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุในหลายกรณีก็มีประเด็น

ส่วนเรื่องเคลมประกันยาก เนื่องจากผู้ที่มีสิทธิประกันภัยจากรถมักมีสิทธิอื่นอยู่ด้วย ทำให้ในหลายกรณีแพทย์และผู้ป่วยหันไปใช้สิทธิอื่น รวมถึงสิทธิหลักของภาครัฐที่เคลมง่ายกว่า

นอกจากนี้ ในกรณีที่มีเรื่องร่วมจ่ายขึ้นมาด้วยนั้น ก็ยิ่งมีพื้นที่สีเทาในการตีความมากขึ้นว่า ประกันจะจ่ายเท่าไหร่ และข้าราชการควรจ่ายเองเท่าไหร่ และสิทธิในการตัดสินใจอยู่ที่ใคร ดังนั้นถึงแม้ว่าประเทศไทยมีระบบรัฐที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ

แต่ที่ผ่านมายังไม่เห็นข้อเสนอของภาคเอกชนว่าจะมาช่วยแก้เรื่องไม่มีประสิทธิภาพของรัฐ และจะสามารถรักษาสิทธิประโยชน์และคุณภาพไม่ให้ด้อยกว่าสิ่งที่รัฐทำ แต่จะทำได้ในราคาถูกกว่าได้อย่างไร ในขณะที่ยังมีข้อกังขาอยู่ว่า ถ้าหันไปใช้ระบบประกันภัยเอกชนแล้ว จะมีหลักประกันอะไรว่าจะไม่มีปัญหาแบบที่เคยเกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

วิโรจน์ ระบุว่า ขณะนี้ข้อเสนอทั้งหมดเหมือนจะมาจากภาครัฐ ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดอะไรมากกว่าการบอกว่าจะโอนเงินก้อนไปให้บริษัทประกันเอกชนแบ่งกันดูแล และบริษัทเอกชนจะต้องไปทำประกันต่อกับบริษัทในต่างประเทศ และคำโฆษณาที่รัฐบาลบอกว่าให้เอกชนทำแล้วข้าราชการจะได้สิทธิเหมือนเดิม โดยสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในวงเงิน 7 หมื่นล้านบาทไปเรื่อยๆ เป็นสิบปีนั้น

จึงยังมองไม่เห็นว่าจะทำได้อย่างไร เพราะถ้าดูจากต่างประเทศ ทุกประเทศมีค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากสองส่วนหลักๆ คือ เทคโนโลยีที่ดีขึ้น และโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุที่มากขึ้น ซึ่งแม้ว่าเอกชนอาจช่วยอุดการรั่วไหลได้บ้าง แต่ก็น่าจะทำได้จำกัด และในที่สุดแล้วในระบบที่มีเงินเฟ้อ การบีบให้เอกชนใช้เงินเท่าเดิมคงจะกระทบสิทธิแน่นอน

เพราะการให้สิทธิประโยชน์เท่าเดิมหรือดีกว่าด้วยวงเงินเดิมไปอีกเป็น 10 ปีนั้น คงจะไม่มีใครทำได้ ยิ่งถ้าจะยอมให้ข้าราชการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ได้ด้วยแล้ว คงจะต้องยอมให้มีค่าใช้จ่ายของระบบเพิ่มขึ้นในอนาคต

ผู้อำนวยการวิจัยด้านสาธารณสุขฯ ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า เป็นเรื่องที่ดีที่กระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางตระหนักถึงข้อจำกัด แต่วิธีนี้ไม่ได้เป็นทางออกเดียวที่มีอยู่ กระทรวงการคลังอาจใช้บริการของ สปสช. หรือสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) หรือ แม้แต่จ้างบริษัทประกันเอกชนเข้ามาช่วยบริหาร และนำความรู้และเทคนิคที่เขามีมาช่วยอุดช่องโหว่ของระบบ

โดยไม่จำเป็นต้องเอาเงินทั้งหมดไปซื้อประกันจากบริษัทเอกชนที่ยังไม่มีผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ หรือแม้แต่มีข้อเสนอที่ชัดเจนว่าจะทำได้ดีกว่าภาครัฐ และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายหรือไม่โดยที่ยังสามารถรักษาสิทธิและคุณภาพของบริการที่ข้าราชการและครอบครัวเกือบ 5 ล้านคนได้อย่างทัดเทียมกับสิ่งที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน

 

ขอบคุณที่มาจาก โพสต์ทูเดย์ วันที่ 8 มกราคม 2560 เวลา 09:13 น.

 


อนาคต...สิทธิรักษาพยาบาล ภายใต้อุ้งมือเอกชนอนาคต...สิทธิรักษาพยาบาลภายใต้อุ้งมือเอกชน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

เปิดอ่าน 6,812 ☕ 1 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,080 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 525 ☕ 15 เม.ย. 2567

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)
เปิดอ่าน 8,368 ☕ 11 เม.ย. 2567

ครม.อนุมัติแล้วเงินจ้างนักการภารโรง 13,751 อัตรา ระหว่าง พ.ค.-ก.ย.67 ประเมินผลทุกสิ้นเดือนไม่ผ่านเปลี่ยนคน
ครม.อนุมัติแล้วเงินจ้างนักการภารโรง 13,751 อัตรา ระหว่าง พ.ค.-ก.ย.67 ประเมินผลทุกสิ้นเดือนไม่ผ่านเปลี่ยนคน
เปิดอ่าน 2,989 ☕ 10 เม.ย. 2567

เสมา 1 ห่วงอันตรายจากความร้อน เตือนประชาชนดูแลสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก อาจเกิดอาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
เสมา 1 ห่วงอันตรายจากความร้อน เตือนประชาชนดูแลสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก อาจเกิดอาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
เปิดอ่าน 858 ☕ 10 เม.ย. 2567

ครม.อนุมัติจัดสรรงบฯ ให้โรงเรียนจ้างนักการภารโรงทันก่อนเปิดภาคเรียน ในเดือน พ.ค.2567
ครม.อนุมัติจัดสรรงบฯ ให้โรงเรียนจ้างนักการภารโรงทันก่อนเปิดภาคเรียน ในเดือน พ.ค.2567
เปิดอ่าน 2,020 ☕ 9 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

โหมดสี
โหมดสี
เปิดอ่าน 23,642 ครั้ง

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
เปิดอ่าน 155,879 ครั้ง

วิวัฒนาการ ตู้ไปรษณีย์ สู่สัญลักษณ์ที่สุดเมืองไทย
วิวัฒนาการ ตู้ไปรษณีย์ สู่สัญลักษณ์ที่สุดเมืองไทย
เปิดอ่าน 24,500 ครั้ง

ร่มไม้เท้า สินค้ากันฝนอเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุ
ร่มไม้เท้า สินค้ากันฝนอเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุ
เปิดอ่าน 605 ครั้ง

การศึกษาไทยด้อยคุณภาพ....แล้วจะปฏิรูปอย่างไร?
การศึกษาไทยด้อยคุณภาพ....แล้วจะปฏิรูปอย่างไร?
เปิดอ่าน 8,242 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ