ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป


บทความการศึกษา 12 เม.ย. 2559 เวลา 13:01 น. เปิดอ่าน : 11,012 ครั้ง

Advertisement

ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป

ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป

ผศ.ดร.วิวรรธน์ ปาณะสิทธิพันธุ์
มหาวิทยาลัยรังสิต


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้คุณภาพทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยได้กำหนดให้ระบบการศึกษาทั้งระบบของประเทศมีการประกันคุณภาพการศึกษา (มาตรา 47) เพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง นักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต สังคมโดยรวม รวมไปถึงจะทำให้ระบบการศึกษาของไทยมีขีดความสามารถในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันหรือมีความทัดเทียมกับระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ อีกทั้งยังได้กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นผู้ดำเนินการด้านการประกันคุณภาพภายในสถาบัน และให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นผู้ที่ดำเนินการการประกันคุณภาพภายนอก (มาตรา 48 และมาตรา 49)

ปัจจุบันนับเป็นเวลาประมาณ 16 ปีแล้ว ที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนทุกสถาบันต่างเข้าสู่ระบบการประกันคุณภาพที่ถูกตราไว้เป็นกฎหมายฉบับนี้มาโดยตลอด สังคมต่างคาดหวังว่าคุณภาพการศึกษาจะพัฒนาดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

มีการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทหน้าที่และการทำงานของ สกอ.และ สมศ. ดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาปลายปี 2557 โดยรวบรวมข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษา 170 สถาบัน ทั้งที่เป็นสถาบันของรัฐและเอกชน ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 52 เป็นอาจารย์ ร้อยละ 15.2 และ 15.6 ดำรงตำแหน่งคณบดีและรองคณบดีตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีรองอธิการบดี ร้อยละ 7.4 ผู้ช่วยอธิการบดี ร้อยละ 4.8 และอธิการบดี ร้อยละ 0.8 ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพการศึกษาแทบทั้งสิ้น ผลการสำรวจพบว่า จากการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพที่ดำเนินงานโดยองค์กรทั้งสองคือ สกอ.และ สมศ. ที่ผ่านมานั้นเพิ่มภาระงาน สิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่ายทำให้เกิดปัญหาในการบริหารงานของหน่วยงาน ทั้งนี้เพราะระบบการประกันคุณภาพทั้งของ สกอ.และของ สมศ. สถาบันการศึกษาต้องดำเนินการทำทุกปีการศึกษาทั้ง 2 ระบบ

เราจะปฏิเสธในข้อเท็จจริงข้อหนึ่งไม่ได้ว่าระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอังกฤษนั้นต้องมีการรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ประเมินมีความรอบรู้ด้านการศึกษา ดังนั้นเขาจะเรียกร้องหาเอกสารหลักฐานน้อยมาก แตกต่างจากระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก ในการประเมินคุณภาพแต่ละครั้งผู้ประเมินจะเรียกหาหลักฐานที่เป็นเอกสาร ทั้งนี้เพื่อที่จะตอบคำถามหรือให้รองรับกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาที่ถูกออกแบบมาบังคับให้สถาบันการศึกษาต้องทำตาม (มาตราที่ 50 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ) เหตุผลสำคัญประการหนึ่งก็คือ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาของไทยจำนวนมากมีความไม่เชื่อถือและขาดความเข้าใจต่อบริบทของสถาบันที่ตนเองเข้าประเมิน ผู้ประเมินขาดมุมมองและทัศนคติเชิงบวกต่อระบบการศึกษาจนในบางครั้งได้ให้ข้อเสนอแนะที่สถาบันการศึกษาไม่สามารถจะปฏิบัติได้

แล้วทำไมสถาบันการศึกษาจึงไม่เลือกแนวทางการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับตนเอง

ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทยเป็นระบบบังคับทำโดยกฎหมาย เป็นระบบที่ออกแบบให้ทุกสถาบันไม่ว่าจะเป็นสถาบันเล็ก สถาบันใหญ่ สถาบันที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ สถาบันที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัด ทุกสถาบันต้องทำตามแนวทางที่ผู้รับผิดชอบเห็นว่า นี่คือระบบการประกันคุณภาพ ที่จะทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น และสถาบันการศึกษาไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเมื่อมองในภาพรวม สถาบันการศึกษามีบริบทที่แตกต่างกัน แต่ใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพชุดเดียวกันจึงได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน สถาบันขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบมาก สถาบันขนาดเล็กย่อมได้รับผลกระทบมากกว่า เสมือนนักมวยที่ชกข้ามรุ่นต้องแบกน้ำหนักมากและมักจะบอบช้ำมากเมื่อชกครบยก เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือผลของการบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

ในภาพรวมแล้วระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของไทยจึงกลายเป็นยาขมหม้อใหญ่ที่ทุกสถาบันการศึกษาต้องดื่มด้วยความขมขื่น ไม่ว่าจะเป็นภาระงานด้านเอกสารที่มีมากมาย รวมถึงกำลังคนที่มาทำงานด้านเอกสารเพื่อการประกันคุณภาพ เวลาที่ใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมที่แม้ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ซ้ำซาก แต่ก็จำเป็นต้องทำ วิธีการดังกล่าวล้วนเป็นความสูญเสียอย่างมหาศาลในด้านทรัพยากร คน เวลา และงบประมาณ

จะเห็นได้ว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ทั้งสองหน่วยงานรับผิดชอบ เป็นกลไกที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายคุณภาพการศึกษาด้วย ตัวมันเอง ทั้งนี้เพราะครูบาอาจารย์แทนที่จะทุ่มเทเวลามากมายกับการเรียนการสอน และการวิจัยที่เป็นหัวใจของคุณภาพการศึกษา กลับต้องมาใช้เวลาส่วนใหญ่สาละวนอยู่กับการเตรียมเอกสารเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา องค์กรทั้งสองแห่งที่ รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพ คือ สมศ.และ สกอ.ต่างขาดความเชื่อถือในอาชีพครู ขาดทัศนคติเชิงบวกต่อระบบการเรียนการสอน ไม่เชื่อถือคุณภาพของบัณฑิตที่สถาบันได้ผลิตขึ้นมา ดังนั้นระบบการประกันคุณภาพของไทยจึงไม่ก้าวไปถึงไหน และจมอยู่กับความคิดเดิมเดิม

ยกตัวอย่างเช่น ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา สกอ.ได้กำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาขึ้นมาใหม่ โดยให้เริ่มใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในของปีการศึกษา 2557 เมื่อพิจารณาเพียงผิวเผินจะเห็นว่าตัวบ่งชี้ดังกล่าวจะสอดคล้องกับภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาก็ตาม แต่ในทางปฏิบัตินั้นตรงกันข้าม ในเมื่อระบบการประกันคุณภาพใหม่ของ สกอ.ให้ใช้ข้อมูลตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เท่านั้น ดังนั้นระบบการประกันคุณภาพใหม่นี้จึงเป็นระบบที่ปฏิเสธความเป็นจริงด้านการจัดการศึกษาที่ว่าการจัดการศึกษาเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเฉกเช่นเดียวกันกับการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เป็นกระบวนการต่อเนื่องเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้การประเมินคุณภาพจึงไม่ตรงกับความเป็นจริง

และในตัวอย่างที่คล้ายคลึงกัน เมื่อถึงเวลาที่จะมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบที่ 4 สมศ.ได้นำเสนอตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา แต่ถูกสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล กลุ่มมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า และกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนแสดงความไม่เห็นด้วยกับการนำตัวบ่งชี้ที่ไม่สะท้อนคุณภาพการศึกษามาใช้ประเมิน อีกทั้งการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้เหล่านั้นก่อให้เกิดภาระงานที่ไม่จำเป็นมากมาย จนเป็นเหตุให้ที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ปฏิเสธแนวทางการประเมินตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ที่ สมศ. กำหนดอย่าง สิ้นเชิง

ที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาจะประสบปัญหาที่ ผู้บริหาร คณาจารย์ ต่างพยายามผลักดันตนเองให้ไกลจากภาระงานด้านการประกันคุณภาพ ครูบาอาจารย์แทบทุกคนจะรู้ว่างานประกันคุณภาพเป็นภาระงานที่ไม่ได้ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพการศึกษา จึงไม่ค่อยมีใครอยากจะทำด้วยความเต็มใจ หากแต่เป็นภาระงานที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย

นี่คือสภาพปัจจุบันของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของไทย

เมื่อใดที่องค์กรนานาชาติมีการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาขึ้นมา สถาบันการศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาไทยไม่ติดอันดับที่ดีเลย ยิ่งไปกว่านั้นการจัดอันดับบางครั้งประเทศไทยมีคุณภาพการศึกษาต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเสียอีก และที่น่าอดสูไปกว่านั้นก็คือ องค์กรที่รับผิดชอบในการประกันคุณภาพไม่เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบใดใดเลย หรือว่าไม่มีความละอายใจกันหรืออย่างไร

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องมีการทบทวนระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของไทยเสียใหม่ ตั้งแต่ด้านกฎหมาย บทบาทและการดำเนินงานของ สกอ.และ สมศ. และต้องทำอย่างจริงจัง...ทันที หยุดปู้ยี่ปู้ยำระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของชาติได้แล้ว...ก่อนที่จะสายเกินแก้

 

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 13 เม.ย. 2559 (กรอบบ่าย)

 


ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไปทบทวนระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้...ฤๅว่าจะสายเกินไป

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559


เปิดอ่าน 8,484 ครั้ง
ภาษาอังกฤษไม่แข็ง

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง


เปิดอ่าน 9,993 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ไขคำตอบ "โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค4.0?"

ไขคำตอบ "โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค4.0?"

เปิดอ่าน 40,869 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดย ดร.สุวรรณ พิณตานนท์
"ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดย ดร.สุวรรณ พิณตานนท์
เปิดอ่าน 128,393 ☕ คลิกอ่านเลย

เราสอบไปเพื่ออะไร?
เราสอบไปเพื่ออะไร?
เปิดอ่าน 21,309 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณครูกับคนดี โดย กล้า สมุทวณิช
คุณครูกับคนดี โดย กล้า สมุทวณิช
เปิดอ่าน 8,176 ☕ คลิกอ่านเลย

สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?
เปิดอ่าน 9,934 ☕ คลิกอ่านเลย

สาวไส้ความง่อยเปลี้ยระบบศึกษาไทย ใครอยู่เบื้องหลังความเหวอะหวะซ้ำซาก?
สาวไส้ความง่อยเปลี้ยระบบศึกษาไทย ใครอยู่เบื้องหลังความเหวอะหวะซ้ำซาก?
เปิดอ่าน 18,538 ☕ คลิกอ่านเลย

กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2
กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2
เปิดอ่าน 3,870 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ห้องเรียนสีดำ : ตูนส์ศึกษา โดย ครรชิต มนูญผล
ห้องเรียนสีดำ : ตูนส์ศึกษา โดย ครรชิต มนูญผล
เปิดอ่าน 8,871 ครั้ง

7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
เปิดอ่าน 15,931 ครั้ง

รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
เปิดอ่าน 17,653 ครั้ง

เปิดชื่อ 11 จังหวัด หนาวยะเยือกที่สุดในประเทศ
เปิดชื่อ 11 จังหวัด หนาวยะเยือกที่สุดในประเทศ
เปิดอ่าน 22,909 ครั้ง

รับชมย้อนหลัง “รมว.ศึกษาฯ” กับนโยบายแก้ปัญหา โรงเรียน ICU จากรายการ ผชิญหน้า FaceTime (8 ก.พ. 2560)
รับชมย้อนหลัง “รมว.ศึกษาฯ” กับนโยบายแก้ปัญหา โรงเรียน ICU จากรายการ ผชิญหน้า FaceTime (8 ก.พ. 2560)
เปิดอ่าน 18,497 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ