ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถ


บทความการศึกษา 27 มี.ค. 2559 เวลา 05:39 น. เปิดอ่าน : 9,724 ครั้ง

Advertisement

Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์  มูลค่าของความสามารถ

โดย นันทนุช อุดมละมุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จุดหักเหของการพัฒนาระบบการศึกษาของสิงคโปร์ จากช่วงยุค 60 ถึงต้นยุค 70 ที่เน้นอาชีวศึกษาและการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะที่เป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศในช่วงที่ต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมมาเป็นการพัฒนาทรัพยากรที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการและความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเกิดขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรี โก๊ะ จ๊ก ตง ริเริ่มนโยบาย "Thinking Schools, Learning Nation" ในปี 1977 และมีการจัดแบ่งหลักสูตรและระบบการศึกษา โดยแยกตามระดับความสามารถของผู้เรียน หรือ streaming ในช่วงปี 1979-1980 ความเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายทางการศึกษานี้ ทำให้แนวคิดเรื่อง meritocracy หรือ ระบบการพัฒนาคนตามความสามารถและความเหมาะสม เข้ามามีบทบาทกับการจัดการการศึกษาของสิงคโปร์มากขึ้น

"Meritocracy" คือระบบในการคัดสรรคัดกรองบุคคลตามความสามารถและความเหมาะสม โดยมีแรงจูงใจในรูปแบบต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นสถานะทางสังคม โอกาสทางการงาน รายได้ที่สูงขึ้น รวมไปถึงชื่อเสียงและการได้รับการยอมรับจากสังคมทั่วไป

แนวคิดเรื่อง meritocracy มีบทบาทอย่างมากในการบริหารประเทศสิงคโปร์ โดยบางครั้งถูกเรียกว่าเป็น "Singaporean Dream" โดยล้อกับแนวคิด American Dream ที่เชื่อในการเติบโตและเจริญก้าวหน้าของบุคคล โดยไม่คำนึงว่ามีพื้นเพมาจากพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมแบบใด

สำหรับสิงคโปร์ meritocracy เป็นระบบที่ทำให้รัฐบาลประสบความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจแก่ประชากร ทำให้เกิดความอยากพัฒนาตนเอง ให้มี "ความสามารถ" ที่จะนำไปสู่ผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ ข้างต้น

ในทางการศึกษา แนวคิดนี้นำไปสู่พื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนจะได้รับโอกาสทางการศึกษาโดยทั่วถึง "อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม" เนื่องจากเป็นระบบคัดสรรตามความรู้และความสามารถที่แท้จริง โดยปราศจากอคติ และยังสอดคล้องกับแนวทางของรัฐในการจัดการการศึกษา โดยแบ่งแยกหลักสูตรตามความสามารถของผู้เรียน เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของประชากรอย่างเต็มความสามารถ

แม้ meritocracy จะเป็นแนวคิดที่ค้ำจุนระบบการเมืองการปกครองและการบริหารประเทศสิงคโปร์ และทำให้ประเทศพัฒนาอย่างก้าวหน้า แต่ระบบนี้ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเด็น ประเด็นหนึ่งคือ ระบบ meritocracy เป็นมากกว่าแค่การคัดสรรความสามารถ แต่เนื่องจากระบบนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้รางวัลและแรงจูงใจแก่ผู้มีความสามารถ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ระบบนี้กลายเป็น การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันและการมุ่งแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษา ซึ่งจะทำให้สามารถสอบผ่านการคัดเลือกเป็นหนึ่งในบุคลลที่จะได้รับการส่งเสริมพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสอบเพื่อเข้าสู่แผนการเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ หรือการสอบชิงทุนการศึกษาของรัฐ

นอกจากนี้ในอีกประเด็นหนึ่ง แนวคิด meritocracy นั้น ไม่ได้สร้างความเท่าเทียมที่แท้จริง และเป็นเพียงการสร้าง "กลุ่มชนชั้นนำทางปัญญา" การคัดเลือกคนเพื่อเข้ารับการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถนั้น กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่เข้ามามีบทบาทหลักในการปกครองและบริหารประเทศ เนื่องจากหลักเกณฑ์ "ความคู่ควร"ของบุคคลที่สมควรได้รับรางวัลและแรงจูงใจตอบแทนนั้น ไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเสมอไป เนื่องจากถูกกำหนดโดยชนชั้นนำที่เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าใคร "สมควร" จะได้รับการส่งเสริมพัฒนาเป็นพิเศษ

ประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่ เคนเนทพอล ตัน นักวิชาการด้านนโยบายรัฐชาวสิงคโปร์ ชี้ว่าแนวคิด meritocracy ถือเป็น อุดมการณ์แห่งความไม่เท่าเทียม และเป็นความเชื่อใน "คุณค่า" ของความไม่เท่าเทียม แม้จะตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แต่กลับเอื้อผลประโยชน์ให้เฉพาะคนบางกลุ่มในสังคมเท่านั้น

บทความที่ผ่านมา ผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่อง การผลิตกับการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเน้นการพัฒนาประชากรในประเทศในฐานะ "ทุนมนุษย์" เนื่องจากสิงคโปร์มีความเป็น developmental state หรือรัฐที่ใช้การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นแกนในการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านต่าง ๆ ทำให้เราอาจมองได้ว่าแนวคิดเรื่อง merit และ meritocracy นั้น ก็เป็นระบบที่มีนัยทางเศรษฐศาสตร์และเน้นตอบสนองการพัฒนาประเทศในเชิงเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน

กล่าวคือ เนื่องจากการจัดการการศึกษานั้นคือการลงทุนของรัฐในรูปแบบหนึ่ง ในการสร้าง "ทุนมนุษย์" สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น กระบวนการคัดสรรบุคคลที่มีความ "เหมาะสมและคู่ควร" ที่จะได้รับการส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสามารถ จึงเป็นสิ่งที่รัฐต้องพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน โดยพิจารณาจากผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนกับบุคคลที่ "คู่ควร" และความสามารถของประชากรเป็นสิ่งที่มี "มูลค่า" ต่อรัฐ ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้น "คู่ควร" ที่จะได้รับการส่งเสริมต่อไปยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

แต่ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญ ที่รัฐยังมองข้าม นั่นคือเรื่องความเท่าเทียมทางด้านภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งทำให้ประชากรทุกคนไม่ได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียมกัน ทำให้สุดท้าย "คุณค่าของความคู่ควร" นั้น จึงกลายเป็นสิทธิพิเศษของคนเพียงบางกลุ่มในสังคมอย่างเลี่ยงไม่ได้

ประเด็นนี้ยังต้องได้รับการจับตามองต่อไป ว่าจะส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะด้านการศึกษาของสิงคโปร์ในอนาคตอย่างไร ?

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 25 มีนาคม 2559

 


Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถMeritocracyกับการศึกษาสิงคโปร์มูลค่าของความสามารถ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เรื่องที่คุณครูต้องอ่าน

เรื่องที่คุณครูต้องอ่าน


เปิดอ่าน 12,631 ครั้ง
การศึกษาในกะลา

การศึกษาในกะลา


เปิดอ่าน 11,160 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society

การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society

เปิดอ่าน 11,428 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ประเทศที่ประสบความสำเร็จเขาดูแลครูอย่างไร
ประเทศที่ประสบความสำเร็จเขาดูแลครูอย่างไร
เปิดอ่าน 61,470 ☕ คลิกอ่านเลย

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ครูใหญ่-ปฏิรูปศึกษา
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ครูใหญ่-ปฏิรูปศึกษา
เปิดอ่าน 12,096 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทยหลายเรื่องคงต้องพึ่ง ม. 44 จริงๆ
การศึกษาไทยหลายเรื่องคงต้องพึ่ง ม. 44 จริงๆ
เปิดอ่าน 11,930 ☕ คลิกอ่านเลย

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว
อย่ากวดวิชาอย่างเดียว
เปิดอ่าน 7,486 ☕ คลิกอ่านเลย

โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
เปิดอ่าน 17,142 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร คลิปแนะครูไทย เปลี่ยนวิธีสอนเด็กแบบ ท่อง-จำ
O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร คลิปแนะครูไทย เปลี่ยนวิธีสอนเด็กแบบ ท่อง-จำ
เปิดอ่าน 12,606 ครั้ง

ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)
ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)
เปิดอ่าน 29,843 ครั้ง

13 ความเชื่อที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
13 ความเชื่อที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
เปิดอ่าน 11,684 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 54,545 ครั้ง

ประเพณีแห่เทียนพรรษา ปี 52 จังหวัดอุบลราชธานี
ประเพณีแห่เทียนพรรษา ปี 52 จังหวัดอุบลราชธานี
เปิดอ่าน 20,343 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ