ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมคณิตศาสตร์  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เรียนคณิต ใครว่ายาก


คณิตศาสตร์ 22 มิ.ย. 2558 เวลา 06:25 น. เปิดอ่าน : 16,231 ครั้ง
เรียนคณิต ใครว่ายาก

Advertisement

เรียนคณิต ใครว่ายาก

เมื่อถึงชั่วโมงเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เชื่อว่ายังมีเด็กไทยไม่น้อยที่รู้สึกไม่ถูกชะตากับชั่วโมงเรียนวิชานี้เอาเสียเลย ซึ่งก็อาจมาจากหลายสาเหตุที่ทำให้ไม่ชอบ บ้างอาจไม่ถนัดด้ายการคิดคำนวณ เห็นตัวเลขแล้วรู้สึกจับต้นชนปลายไม่ถูก บ้างก็ไม่ชอบเพราะครูสอนไม่เข้าใจ แบบฝึกหัดเยอะเกินไป ยากไป ไม่ชอบคิด ไม่สนุก เหล่านี้ก็เป็นรายละเอียดที่ครูผู้สอนต้องศึกษาและใส่ใจ เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าเพราะอะไร เด็กบางกลุ่มถึงไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และนำมาปรับ ประยุกต์เทคนิคต่างๆ เข้าไปในการเรียนการสอนวิชานี้ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติเด็กไปในทางที่ดีขึ้น พร้อมที่อยากจะเรียนรู้ และค้นหาคำตอบไปกับตัวเลขต่างๆ เหล่านั้น อย่างสนุกสนาน

เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้มีการทำวิจัยเรื่อง “การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์” ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดย ดร.สำนวน คุณพล ครูประจำชั้นและครูผู้สอนประจำวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการ การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยจะนำทักษะการคิด 5 ทักษะ มาผสมผสานกับการสอน ประกอบด้วย ทักษะการจำแนก ทักษะการจัดหมวดหมู่ ทักษะการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ทักษะการนำไปใช้ และทักษะการคาดการณ์ มาปรับใช้ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านระบบความคิดดีขึ้น โดยใช้กรณีศึกษาที่คล้ายคลึงกับโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์มานำเสนอในการเรียนการสอน

จากการวิจัยพบว่าการนำกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาแบบ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นทบทวนความรู้ 2.ขั้นเสนอกรณีศึกษา 3. ขั้นวิเคราะห์กรณีศึกษา และ 4. ขั้นสรุปผลและนำไปใช้ โดยปกติการเรียนแบบกรณีศึกษาจะพบมากในการสอนวิชาที่เป็นทฤษฎี หรือเนื้อหาเป็นส่วนใหญ่ แต่จากการวิจัยนี้เราพบว่ารูปแบบของกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือและกรณีศึกษา สามารถนำไปบูรณาการกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี แม้บทเรียนจะเป็นตัวเลข โจทย์ปัญหาก็ตาม แต่เมี่อผู้สอนได้นำบทเรียนมาออกแบบให้มีลักษณะของกรณีศึกษา และให้นักเรียนนำ 4 ขั้นตอนในการแก้โจทย์ปัญหาต่างๆมาใช้ ผลปรากฏว่า ไม่เพียงแต่ทัศนคติการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น นักเรียนสามารถเริ่มต้นการแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น สามารถคำนวณ คาดการณ์ และแก้โจทย์ได้ดีขึ้น ทำให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังจากเรียนมากขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดวิเคราะห์ในระดับดี มีพัฒนาการของทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดร.สำนวน คุณพล กล่าวว่า “ปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยได้หันมาสนใจในการสอนเรื่องของการคิด ซึ่งประเทศเรามีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2545) นั้น ว่าในการจัดการเรียนรู้สถานศึกษาต้องฝึกทักษะกระบวนการคิด หากถามว่าทำไมต้องเป็นวิชาคณิตศาสตร์ นั่นก็เพราะว่าวิชานี้เป็นวิชาหนึ่งที่นักเรียนจะต้องใช้ทักษะการคิด และเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาต่างๆ จึงมีบทบาทต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ และผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสามัญ หรือ O-Net ซึ่งเป็นการสอบวัดความรู้แบบรวบยอดปลายช่วงชั้นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปี 2550-2553 มีคะแนนเฉลี่ยในวิชาคณิตศาสตร์อยู่ที่ 47.54, 43.76, 35.88 และ 34.85 ซึ่งจะเห็นว่านักเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 50 และลดต่ำลงทุกปี อีกทั้งจากรายงานของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่าแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในบ้านเราได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งก็อาจเป็นผลมาจาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในบ้านเราอาจยังไม่ประสบผลสำเร็จในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ก็เป็นได้”

“อย่างไรก็ตามในการนำวิธีการ กระบวนการเรียนรู้โดยบูรณาการ การเรียนรู้แบบร่วมมือเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์นั้น ครูผู้สอนต้องเป็นผู้มีความรู้ทางคณิตศาสตร์และมีประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์ ต้องทำความเข้าใจกับกรณีศึกษา และมีความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เนื่องจากจัดกลุ่มนักเรียนเพื่อให้เกิดการเอื้อต่อการเรียนรู้ต้องมีสัดส่วนนักเรียนระดับเก่ง 1 คน ปานกลาง 2-3 คน และอ่อน 1 คน ร่วมถึงครูต้องกระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวกควบคู่กันไปด้วย” ดร.สำนวน กล่าวทิ้งท้าย

ในยุคโลกาภิวัฒน์ ถือเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร หากผู้คนไม่สามารถคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ตนเองได้รับมานั้นอาจส่งผลเสียต่อการตัดสินใจในการทำงาน ทักษะการคิดวิเคราะห์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ หากจะการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น ต้องอาศัยผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะหากผู้เรียนเปิดใจและพร้อมที่จะสนุกไปกับการแก้โจทย์ต่างๆ แล้ว จะรู้ว่าการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ยากอย่างที่คิด ถ้ารู้จักการคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

###

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
โทร. 02-7927574 อีเมล์ kannika.k@sbs.ac.th
คุณสิทธิกร เสงี่ยมโปร่ง ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท โฟร์ฮันเดรท จำกัด
โทร.0-2553-3161-3 , 081-913-1291 Email : sitikorn@4h.co.th 


เรียนคณิต ใครว่ายากเรียนคณิตใครว่ายาก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร

จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร


เปิดอ่าน 14,761 ครั้ง
การวัดระยะทางบนพื้นราบ

การวัดระยะทางบนพื้นราบ


เปิดอ่าน 29,617 ครั้ง
สรุปสูตรไฮเพอร์โบลา

สรุปสูตรไฮเพอร์โบลา


เปิดอ่าน 50,981 ครั้ง
โครงงานคณิตศาสตร์

โครงงานคณิตศาสตร์


เปิดอ่าน 130,500 ครั้ง
ประวัติเครื่องหมายหาร  (÷)

ประวัติเครื่องหมายหาร (÷)


เปิดอ่าน 234,789 ครั้ง
การเขียนกราฟ

การเขียนกราฟ


เปิดอ่าน 23,412 ครั้ง
จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ


เปิดอ่าน 33,434 ครั้ง
เทคนิคการคิดเลขเร็ว

เทคนิคการคิดเลขเร็ว


เปิดอ่าน 210,163 ครั้ง
การคิดเลขในใจ

การคิดเลขในใจ


เปิดอ่าน 38,796 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

จำนวนเฉพาะ (Prime Number) คืออะไร?

จำนวนเฉพาะ (Prime Number) คืออะไร?

เปิดอ่าน 122,733 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การกระทำระหว่างเซต (Operation Between Sets)
การกระทำระหว่างเซต (Operation Between Sets)
เปิดอ่าน 22,532 ☕ คลิกอ่านเลย

ลอการิทมิกธรรมชาติ
ลอการิทมิกธรรมชาติ
เปิดอ่าน 26,947 ☕ คลิกอ่านเลย

เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)
เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)
เปิดอ่าน 35,893 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายราก  หรือกรณท์
ประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายราก หรือกรณท์
เปิดอ่าน 38,652 ☕ คลิกอ่านเลย

สรุปสูตรไฮเพอร์โบลามุมฉาก
สรุปสูตรไฮเพอร์โบลามุมฉาก
เปิดอ่าน 42,212 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องของเลขศูนย์
เรื่องของเลขศูนย์
เปิดอ่าน 27,205 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ย้อนดูประวัติศาสตร์"เมืองหลวง"ของโลกจมน้ำ
ย้อนดูประวัติศาสตร์"เมืองหลวง"ของโลกจมน้ำ
เปิดอ่าน 19,262 ครั้ง

Franck Muller นาฬิกาไม่เรียงเลข โดดไปมา คลิกดูซิว่าทำงานยังไง
Franck Muller นาฬิกาไม่เรียงเลข โดดไปมา คลิกดูซิว่าทำงานยังไง
เปิดอ่าน 22,586 ครั้ง

โปรแกรมแว่นขยาย
โปรแกรมแว่นขยาย
เปิดอ่าน 28,576 ครั้ง

20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์
20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์
เปิดอ่าน 13,149 ครั้ง

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary storage Unit)
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary storage Unit)
เปิดอ่าน 24,341 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ