ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักศธ. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557


ข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ 10 ต.ค. 2557 เวลา 09:59 น. เปิดอ่าน : 10,387 ครั้ง
ผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักศธ. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557

Advertisement

 ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

• การศึกษาข้อมูลเพื่อปรับโครงสร้างของ ศธ.

รมว.ศธ. กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ 3 องค์กรหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ไปพิจารณาศึกษา รวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นว่า หากจะต้องแยกออกจากกระทรวงศึกษาธิการจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เนื่องจากโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการมีขนาดใหญ่ อาจจะทำให้การบริหารงานไม่คล่องตัว หรือมีผลกระทบกับการเรียนการสอน กระทบกับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่ถึง 8 แสนคนทั่วประเทศ รวมทั้งทำให้ประสิทธิภาพด้านต่างๆ ลดลงหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การแยกหน่วยงานออกไปไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเดิม สกอ.เป็นทบวงมหาวิทยาลัย และ สกศ.ก็เคยสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาก่อน ดังนั้น จึงต้องการให้ศึกษาข้อมูลตั้งแต่ช่วงที่อยู่แยกจากกระทรวง กับช่วงที่มารวมอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และหากจะแยกออกไป ก็ต้องพิจารณาว่าจะส่งผลดีต่อความคล่องตัวของการบริหารงานทั้งในส่วนของกระทรวงและของหน่วยงานหรือไม่อย่างไร

ย้ำว่า การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในเบื้องต้น คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน และหากประมวลผลแล้ว ส่วนใหญ่เห็นว่าแยกแล้วมีข้อดีมากกว่าข้อเสียก็จะดำเนินการต่อไป เพราะช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะสามารถดำเนินการได้ แต่หากเห็นว่าไม่ควรแยก ก็จะไม่แยก นอกจากนี้จะนำเสนอให้สภาการปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณาข้อดีข้อเสียควบคู่ไปด้วย หากผลทั้งสองส่วนตรงกันว่าเป็นเรื่องดี ก็จะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างจริงจังต่อไป

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ตนได้ตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องนี้แล้ว โดยให้ไปวิเคราะห์ว่าโครงสร้างการจัดอาชีวศึกษาในปัจจุบันว่ามีปัญหาใดหรือไม่ หากมีสาเหตุของปัญหานั้นมาจากอะไร และการแยกออกไปจะตอบโจทย์การแก้ปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ นอกจากนั้น จะต้องสำรวจความคิดเห็นในเรื่องนี้จากอดีตผู้บริหาร บุคลากรของ สอศ. ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมด้วย รวมถึงการเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากสังคม พร้อมทั้งศึกษาวิเคราะห์จากงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเปรียบเทียบกับการจัดการอาชีวศึกษาของต่างประเทศด้วย ซึ่งหากศึกษาแล้ว อาจจะมี 3 แนวทาง คือ อยู่ใน ศธ.เช่นเดิม หรือเพิ่มหน่วยงานระดับกรมภายใน สอศ. เพื่อรองรับภาระงานต่างๆ หรือแยกออกไปตั้งเป็นกระทรวง ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้ได้ตั้งคณะทำงานไปศึกษาทั้งหมด คาดว่าจะได้คำตอบเบื้องต้นปลายเดือนตุลาคม 2557 ส่วนรายละเอียดทั้งหมดจะเสร็จภายใน 3 เดือน

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สกอ.มีข้อเสนอล่วงหน้ามาก่อนแล้วว่า ต้องการขอแยกหน่วยงานออกมาจาก ศธ. แต่จะเป็นรูปแบบทบวง หรือกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย นั้น สกอ.จะเร่งกลับมาหารือเพื่อจัดทำข้อเสนอต่อ รมว.ศธ.โดยเร็วต่อไป

  

 


 

• การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศธ. กล่าวต่อที่ประชุมถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพครู ดังนี้

- การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. .... ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาฯ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และที่ประชุมรายงานการดำเนินการแก้ไขกฎหมายของแต่ละกระทรวงหรือหน่วยงาน โดยมี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ได้มีมติให้ทุกกระทรวงเร่งยืนยันกฎหมายไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

สำหรับกรอบการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประกอบด้วยงานที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) การวิจัยพัฒนาสื่อ เพื่อพัฒนากระบวนการสอนของครูและการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) การให้บริการแก่สถานศึกษาและผู้เรียน ในการเข้าถึงสื่อสมัยใหม่เพื่อการเรียนรู้ ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเผยแพร่สื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง 3) การพัฒนาครู ให้มีขีดความสามารถในการใช้สื่อเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ใหม่ให้ผู้เรียน 4) การเป็นกลไกประสานการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ นอกจากจะได้เสนอร่าง พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเข้าไปใหม่แล้ว ยังมีกฎหมายอื่นอีก 6 ฉบับ ที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาด้วย คือ 1) ร่าง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ 2) ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3) ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4) ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 5) ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 6) ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

- การประสานความร่วมมือระหว่าง 3 กระทรวงในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ว่า ทั้งสามกระทรวงจะประสานความร่วมมือในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีพัฒนาการศึกษา โดย ICT จะใช้งบประมาณเหลือจ่ายจากโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษา จำนวน 3,700 ล้านบาท เพื่อนำไปผลิต Digital Learning Content และพัฒนาครูในทุกกลุ่มสาระวิชา ตลอดจนถึงจะประสานกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อนำงบประมาณในส่วนของการกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation : USO) มาสนับสนุนสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในระยะยาว

ในส่วนของ วท. จะประสานกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในระยะยาวต่อไป

 

  


 


 

• ความก้าวหน้าการพัฒนาคุณภาพครู

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมองค์กรหลักได้รับทราบผลการประชุมหารือร่วมกับคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (The Thailand Development Research Institute : TDRI) ซึ่งมีข้อค้นพบและข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพครู ดังนี้

1) การปฏิรูประบบการผลิต การคัดเลือก และการพัฒนาครู ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีครูเกษียณจำนวน 2.2 แสนคน ซึ่งจะต้องมีครูทดแทนอย่างน้อย 1.6 แสนคน (จากอัตราการเพิ่มประชากรวัยเรียนที่ลดลง) ประกอบกับขณะนี้มีแรงจูงใจในวิชาชีพครูดีขึ้นทั้งเงินเดือนและค่าตอบแทนวิทยฐานะ กล่าวคือ ครูอายุเฉลี่ย 45-50 ปี จะมีเงินเดือนสูงกว่าอาชีพอื่นๆ และผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลเรียนดี นิยมเลือกเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นอันดับ 1 มากขึ้น ซึ่งทำให้คะแนนเฉลี่ยการสอบ Admissions ในปี 2556 สูงเป็นอันดับแรกในกลุ่มคณะสังคมศาสตร์ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะมีการปฏิรูประบบการผลิต การคัดเลือก และการพัฒนาครู เพื่อที่จะคัดเลือกบัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่มีความสามารถเข้ามาเป็นครูได้มากขึ้น

2) การปฏิรูปวิธีคัดเลือกครู TDRI เสนอให้มีการปฏิรูปวิธีการคัดเลือกครูให้มีมาตรฐาน สถานศึกษาควรเข้ามามีบทบาทในการคัดเลือกครูมากขึ้น ควรมีการปรับสถานภาพการจ้างครู การเพิ่มเงินเดือนตั้งต้น การเพิ่มเงินพิเศษในสาขาขาดแคลนและในพื้นที่ยากลำบาก และระบบการประเมินที่เน้นพัฒนาการของผลการเรียนของนักเรียน เป็นต้น

3) การปฏิรูปครูทั้งระบบไปพร้อมๆ กัน TDRI เสนอให้มีการปฏิรูปครูทั้งระบบ โดยเริ่มจากครูที่บรรจุใหม่ ควรให้มีสถานภาพเป็นพนักงานของรัฐ ส่วนครูประจำการเดิม สามารถเลือกเปลี่ยนสถานภาพได้ตามความสมัครใจ เพื่อลดผลกระทบต่อครูประจำการที่มีอยู่ โดยคาดว่าภายในปี 2570 จะมีครูที่เป็นพนักงานของรัฐภายใต้กติกาใหม่ ที่จะช่วยส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนที่ดีขึ้นจำนวนร้อยละ 45 ของจำนวนครูทั้งหมด

 

ทั้งนี้ จากการประชุมหารือผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ก็มีความเห็นว่า ข้อเสนอของ TDRI ข้างต้นมีความเหมาะสมเชิงหลักการ ดังนั้น ในทางปฏิบัติควรมีแผนการจัดการในช่วงเปลี่ยนผ่าน และมีการกำหนดระยะเวลาของการปฏิรูประบบที่ชัดเจนและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริง เช่น

- การประกาศเงื่อนไขกติกาใหม่เกี่ยวกับสถานภาพการจ้าง ค่าตอบแทน และความก้าวหน้าในวิชาชีพ เป็นการล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ที่กำลังเรียนหรือกำลังตัดสินใจเข้าเรียนสาขาครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ หรือกำหนดเงินส่วนเพิ่มในสาขาขาดแคลนหรือในพื้นที่ยากลำบาก
- ควรมีการเตรียมความพร้อมเกณฑ์มาตรฐานใหม่ เพื่อใช้วัดสมรรถนะครูในสาขาวิชาหรือกลุ่มสาระต่างๆ
- มาตรฐานสมรรถนะของผู้บริหารทั้งในระดับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
- การเตรียมความพร้อมระบบวัดผลประเมินผลการศึกษา ที่สามารถวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ มากกว่าการวัดเฉพาะผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเท่านั้น

 

 

 

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 


ผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักศธ. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557ผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักศธ.เมื่อวันที่8ตุลาคม2557

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ผลประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Human Capital Development) ครั้งที่ 8/2559

ผลประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Human Capital Development) ครั้งที่ 8/2559

เปิดอ่าน 7,671 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
29 นโยบายหลักด้านการศึกษา
29 นโยบายหลักด้านการศึกษา
เปิดอ่าน 23,528 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 6/2556  เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2556
ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 6/2556 เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2556
เปิดอ่าน 17,463 ☕ คลิกอ่านเลย

มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
เปิดอ่าน 10,636 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลประชุมองค์กรหลัก ศธ. 25 สิงหาคม 2558
ผลประชุมองค์กรหลัก ศธ. 25 สิงหาคม 2558
เปิดอ่าน 5,664 ☕ คลิกอ่านเลย

มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 26 มี.ค.2556
มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 26 มี.ค.2556
เปิดอ่าน 12,404 ☕ คลิกอ่านเลย

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่
เปิดอ่าน 9,551 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทายนิสัยจากการอาบน้ำ
ทายนิสัยจากการอาบน้ำ
เปิดอ่าน 21,627 ครั้ง

พจนานุกรมตัวชี้วัดการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ (KPI Dictionary for Thai Education Evaluation)
พจนานุกรมตัวชี้วัดการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ (KPI Dictionary for Thai Education Evaluation)
เปิดอ่าน 13,826 ครั้ง

ครม.ไฟเขียว "กัญชง" ปลูกได้ครัวละไม่เกิน1ไร่ พืชเศรษฐกิจไทยตัวใหม่
ครม.ไฟเขียว "กัญชง" ปลูกได้ครัวละไม่เกิน1ไร่ พืชเศรษฐกิจไทยตัวใหม่
เปิดอ่าน 14,276 ครั้ง

แห่กดไลค์ ด.ญ.จิตราภา พูดอังกฤษหน้าชั้น ผู้ใหญ่ยังอาย
แห่กดไลค์ ด.ญ.จิตราภา พูดอังกฤษหน้าชั้น ผู้ใหญ่ยังอาย
เปิดอ่าน 25,031 ครั้ง

ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : อาร์คีมีดีส : Archimedes
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : อาร์คีมีดีส : Archimedes
เปิดอ่าน 37,699 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ