ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ


สุขศึกษาและพลศึกษา เปิดอ่าน : 14,018 ครั้ง
การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ

Advertisement

การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ

การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ

ในคนที่ร่างปกติปกติไม่มีโรคภัยมักจะได้รับคำแนะนำการทำให้หัวใจแข็งแรงซึ่งประกอบไปด้วย  ดัชนีมวลกาย

 อัตราการเต้นหัวใจเป้าหมาย

 พลังงานที่ใช้ในการออกกำลัง

 พลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน

 BMR

การออกกำลังกายโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอร์โรบิค {aerobic} การรับประทานอาหารคุณภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเกิดโรคหัวใจ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำร้ายหัวใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน มักจะได้รับคำแนะนำจากคนทั่วไปว่าไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความเป็นจริงคนที่เป็นโรคหัวใจก็มีความหนักเบาไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่มีโรคหัวใจก็สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลท่านก่อนการออกกำลังกาย หลายท่านที่เป็นโรคหัวใจมักจะหาอาหาร หรือยาเพื่อบำรุงหัวใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มียาหรืออาหารที่บำรุงหัวใจ อาหารจะมีบทบาทในแง่ไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้แก่หัวใจ เช่นอาหารไขมันต่ำ เกลือต่ำ อาหารผักและผลไม้จะมีพวกสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง(อ่านอาหารสำหรับป้องกันโรคหัวใจที่นี่) ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ต้องแสวงหาอาหารหรือยาที่บำรุงหัวใจ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้หัวใจท่านแข็งรง

ผู้ป่วยโรคหัวใจวายเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตให้ร่างกายอย่างพอเพียงโดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีอาการเหนื่อยง่ายซึ่งเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ บทความที่จะนำเสนอนี้จะเป็นแนวทางในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

ผลจากโรคหัวใจวายจึงทำให้เหนื่อยง่ายเนื่องจาก

ปัจจัยจากหัวใจ

คนเมื่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะต้องได้เลือดและออกซิเจนอย่างเพียงพอ ปกติปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงจะเพิ่มขึ้น 4-6 เท่า โดยเป็นการเพิ่มเนื่องจากหัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ 2-4 เท่า และจากการบีบตัวเพิ่มขึ้นของหัวใจซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-50%

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจวายไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้อย่างพอเพียงเนื่องจากผู้ป่วยหัวใจวายสามารถสูบฉีดเพียงร้อยละ 50 ของคนปกติทั้งนี้เนื่องจากคนที่เป็นโรคหัวใจวายสามารถเพิ่มปริมาณเลือดได้ 50 ซซ(คนปกติเพิ่มได้ 100 ซซ)ต่อการบีบตัวหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นผู้ป่วยหัวใจวายมีการเต้นของหัวใจเร็วอยู่แล้ว ดังนั้นหัวใจจึงเต้นได้เร็วขึ้นได้ไม่มากเหมือนคนปกติ

ปัจจัยจากหลอดเลือดและกล้ามเนื้อ

ผู้ป่วยโรคหัวใจวายจะมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อน้อยลงเพราะหลอดเลือดมีการหดเกร็ง เนื่องจากผู้ป่วยโรคหัวใจวายจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่า cathecholamine ออกมามาก(สารนี้จะช่วยให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น) สารนี้จะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขาหดเกร็ง

หน้าที่ของเซลล์เยื่อบุผิวของหลอดเลือดผิดปกติ ปกติเซลล์เยื่อบุผิวผนังหลอดเลือด(endothelial)จะสร้างสารหลายชนิดที่ควบคุมการขยายหรือหดเกร็งของผนังหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจวายจะมีปัญหาเรื่องการหดเกร็งมากกว่า แต่เป็นเรื่องน่ายินดีว่าการออกกำลังกายจะช่วยทำให้หลอดเลือดมีการขยายเพิ่มเมื่ออกกำลังกาย

การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ เนื่องจากผู้ป่วยหัวใจวายจะมีการทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลง ผู้ป่วยโรคหัวใจวายจะมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเพียง 50-75 %ของคนปกติในระหว่างออกกำลังกาย

การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจวาย

 

ผลดีของการออกกำลังกาย

 

สามารถออกกำลังกายได้เพิ่มขึ้น ทั้งออกกำลังกายได้นานขึ้นและออกได้หนักขึ้นซึ่งจะเห็นผลเมื่อออกกำลังได้ 3 สัปดาห์ วิธีการออกมีทั้งการเดิน การขี่จักรยาน และการยกน้ำหนัก โดยการให้ออกกำลังครั้งละ 20 นาทีสัปดาห์ละ 4-5 ครั้งโดยออกกำลังกายให้หัวใจเต้นได้ประมาณ 70-80%ของการเต้นเป้าหมาย(220-อายุ)

ระดับสาร Catecholamine ซึ่งเป็นสารร่างกายสร้างขึ้นในภาวะที่เป็นโรคหัวใจวาย หากสารนี้มีมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย หลังการออกกำลังกายพบว่ารายงานส่วนใหญ่กล่าวไว้ว่ามีปริมาณลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วย

การออกกำลังกายจะทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนของก๊าซเพิ่มขึ้น

การทำงานของเซลล์เยื่อบุผิวหลอดเลือดดีขึ้น(endotheliail)ทำให้มีการหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายได้มากขึ้น เลือดไปเลี้ยงแขนขาและที่สำคัญไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น

การออกกำลังกายทำให้หัวใจมีการปรับตัวทำงานดีขึ้น หลังการออกกำลังกายพบว่าการทำงานของหัวใจดีขึ้น หัวใจเต้นช้าลง และเพิ่มปริมาณเลือดในการบีบตัวแต่ละครั้ง(systolic)

อัตราการตาย หรือการนอนโรงพยาบาล หรืออาการเจ็บหน้าอกลดลง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวายชนิดคลายตัวไม่ดี Diastolic dysfunction เป็นภาวะหัวใจซึ่งเกิดจากหัวใจไม่สามารถคลายตัวเพื่อรับเลือด ทำให้หัวใจบีบแต่ละครั้งได้เลือดน้อยกว่าปกติ ภาวะนี้มักจะเกิดในผู้ที่สูงอายุ กล้ามเนื้อหัวใจหนา เส้นเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะพบแพทย์ด้วยเรื่องเหนื่อยเวลาออกกังกาย มีการทดลองพบว่าการออกกำลังกายสามารถทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

การออกกำลังกายในคนสูงอายุ การทำงานของหัวใจในผู้สูงอายุจะลดลงแม้ว่าจะไม่มีโรค พบว่าการออกกำลังกายในผู้สูงอายุจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และการทำงานของหัวใจดีขึ้น มีการเปรียบเทียบการทำงานของหัวใจของคนที่ออกกำลัง และคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย พบว่าการทำงานของผู้ที่ออกกำลังกายดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายทำให้หัวใจเล็กลง ได้มีการทดลองในหนูที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหน้าจากความดันโลหิตสูง พบว่าหนูที่ให้ออกกำลังโดยการว่ายน้ำจะมีความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง การใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น

สำหรับผู้ที่มีลิ้นหัวใจรั่วหรือลิ้นหัวใจตีบต้องแก้ไขโดยการผ่าตัด

ปัจจัยเสี่ยงของการออกกำลังกาย

 

ปัจจัยเสียงของการออกกำลังกายคือปัจจัยที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิขณะหรือหลังการออกกำลังกาย พบว่าปัจจัยที่สำคัญได้แก่

อายุ คนที่มีอายุมากมักจะมีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และอาจจะมีโรคหัวใจอยู่โดยที่ไม่เกิดอาการ เมื่อออกกำลังกายอาจจะทำให้เกิดอาการหัวใจวาย ดังนั้นผู้สูงอายุหากจะออกกำลังกายต้องได้รับการประเมินจากแพทย์

ผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน พบว่าผู้ที่มีโรคหัวใจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากออกกำลังกายหนัก เช่นการจ๊อกกิ่ง ดังนั้นผู้ที่สูงอายุ และมีโรคหัวใจต้องประเมินโดยแพทย์ก่อนออกกำลังกาย เพื่อกำหนดความหนัก ชนิดของการออกกำลังกาย หากมีการเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจโดยแพทย์จะทำให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้น

เริ่มต้นการออกกำลังกาย                                      

คนที่มีโรคหัวใจต้องมีการอบอุ่นร่างกายนานกว่าคนทั่วไป แนะนำให้ใช้เวลา 10-15 นาทีในการอบอุ่นร่างกายแต่ละครั้ง

ความถี่ของการออกกำลังกายไม่ต้องถี่มากเหมือนคนปกติ แนะนำให้ออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หากผู้ป่วยเพลียก็ให้พักหนึ่งวันหลังการออกกำลังกาย

ความหนักของการออกกำลังกาย ให้พิจารณาเป็นรายบุคคล เพราะสภาพโรคหัวใจที่ต่างกัน ความรุนแรงต่างกัน การกำหนดความแรงของการออกกำลังกายแพทย์จะเป็นผู้กำหนด โดยมีการทดสอบทั้งก่อน ขณะหรือหลังการออกกำลังกาย เพื่อหาความเหมาะสม ความแรงของการออกเริ่มตั้งแต่ 50-80%ของอัตราการเต้นหัวใจเป้าหมาย

ระยะเวลาในการออกกำลังประมาณ 20-30 นาที

ชนิดของการออกกำลังกายควรจะเป็นแบบแอโรบิค เช่นการเดิน การว่ายน้ำ การขี่จักรยานอยู่กับที่

เริ่มต้นการออกกำลังกายควรจะอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อประเมินสภาพของร่างกาย โรคแทรกซ้อน การเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจ และให้ผู้ป่วยเรียนรู้อาการ หรือสันญาณเตือนภัย หลังที่เฝ้าติดตามแล้วหากไม่มีความเสียง แพทย์จะให้ออกกำลังกายที่บ้าน แต่ต้องไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลของการออกกำลังกาย

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่จะออกกำลังกาย

ปรึกษาแพทย์ของท่าว่าจะออกกำลังกายนานแค่ไหน ออกกำลังกายอย่างไร หนักแค่ไหน ถี่แค่ไหน

อย่าออกกำลังกายขณะท้องว่าง หลังรับประทานอาหารหนึ่งชั่วโมงจึงออกกำลังกาย

ควรออกกำลังกายในร่มหากอากาศร้อน หรือหนาวจัด

อย่ากลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย ให้หายใจปกติ การหายใจไม่ควรติดขัด และควรจะพูดคุยได้ไม่เหนื่อยหอบ

ให้อบอุ่นร่างกายและมีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกาย

อาจจะเข้าออกกำลังกายในศูนย์ที่มีเครื่องมือและเจ้าหน้าที่พร้อม

ใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาเกินไป

ออกกำลังกายให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน

ควรจะมีเพื่อนร่วมออกกำลังกายด้วย

อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ โดยการดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนการออกกำลังกาย

ให้บันทึกระยะเวลา และระยะทางที่ออก

ที่มา http://www.siamhealth.net/Health/good_health_living/exercise/heartexercise.htm


การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สมุนไพรพิชิตหน้าหนาว

สมุนไพรพิชิตหน้าหนาว


เปิดอ่าน 16,761 ครั้ง
ปลิงหรือทากกัด

ปลิงหรือทากกัด


เปิดอ่าน 33,484 ครั้ง
สายตาเอียง

สายตาเอียง


เปิดอ่าน 13,548 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): การเตะจากจุดโทษ

ฟุตซอล(Futsal): การเตะจากจุดโทษ


เปิดอ่าน 30,020 ครั้ง
10 เคล็ดลับเลิกบุหรี่

10 เคล็ดลับเลิกบุหรี่


เปิดอ่าน 15,043 ครั้ง
เรื่องของหมากรุก

เรื่องของหมากรุก


เปิดอ่าน 45,876 ครั้ง
กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ

กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ


เปิดอ่าน 41,786 ครั้ง
ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก


เปิดอ่าน 12,358 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การปฐมพยาบาลแผลถูกแมงป่องต่อย ตะขาบหรือแมงมุมกัด

การปฐมพยาบาลแผลถูกแมงป่องต่อย ตะขาบหรือแมงมุมกัด

เปิดอ่าน 96,386 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 4 อุปกรณ์ของผู้เล่น ( The Players
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 4 อุปกรณ์ของผู้เล่น ( The Players' Equipment)
เปิดอ่าน 48,178 ☕ คลิกอ่านเลย

ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 13 การเตะโทษ
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 13 การเตะโทษ
เปิดอ่าน 51,605 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก
เปิดอ่าน 66,601 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติลูกเสือไทย
ประวัติลูกเสือไทย
เปิดอ่าน 3,742 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณลักษณะของผู้ตัดสินฟุตซอลที่ดี
คุณลักษณะของผู้ตัดสินฟุตซอลที่ดี
เปิดอ่าน 36,489 ☕ คลิกอ่านเลย

ว่านชักมดลูก
ว่านชักมดลูก
เปิดอ่าน 12,358 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

5 เคล็ดลับทำตอนเช้า ลด "ไขมันพอกตับ" ได้จริง แถมสุขภาพดีขึ้น
5 เคล็ดลับทำตอนเช้า ลด "ไขมันพอกตับ" ได้จริง แถมสุขภาพดีขึ้น
เปิดอ่าน 12,765 ครั้ง

เคล็ดลับๆก่อนอาบน้ำ
เคล็ดลับๆก่อนอาบน้ำ
เปิดอ่าน 23,431 ครั้ง

ประเด็น ปัญหาธุรกิจรับจ้างทำการบ้าน
ประเด็น ปัญหาธุรกิจรับจ้างทำการบ้าน
เปิดอ่าน 7,727 ครั้ง

แฉช่องโหว่ Windows 7
แฉช่องโหว่ Windows 7
เปิดอ่าน 15,003 ครั้ง

คู่มือหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.เขต
คู่มือหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.เขต
เปิดอ่าน 6,763 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ