ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 4/2555 (เงินเดือนใหม่/ค่าครองชีพ-เงินวิทยฐานะ-Tablet-จุดเน้นสพฐ. ปี 55)


ข่าวการศึกษา เปิดอ่าน : 46,978 ครั้ง
จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 4/2555 (เงินเดือนใหม่/ค่าครองชีพ-เงินวิทยฐานะ-Tablet-จุดเน้นสพฐ. ปี 55)

Advertisement

จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 4/2555

พี่น้องชาวแผน และผู้สนใจทุกท่านครับ


จดหมายฉบับนี้ ออกช้ากว่าปกติไปสองเดือนกว่าๆ หลายท่านคงเดาออกนะครับว่าเป็นเพราะเหตุใด ไม่ใช่ไม่มีเวลาจะเขียน ไม่ใช่ไม่มีเรื่องที่จะเขียน แต่ผมกำลังรอเรื่องต่างๆ ที่กำลังดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน แล้วจึงจะแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เงินเดือนใหม่ ค่าครองชีพ เงินตกเบิกและเกณฑ์วิทยฐานะ ความมั่นคงในอาชีพของอัตราจ้าง รอมาจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม เรื่องที่รออยู่บางเรื่องก็ไม่ค่อยคืบหน้าเท่าที่ควร เอาเป็นว่าเรื่องใดที่ผมไม่ได้กล่าวถึง ก็แสดงว่ายังไม่คืบหน้าก็แล้วกัน ฉบับนี้ขอคุยเกี่ยวกับเรื่อง เงินเดือนใหม่/ค่าครองชีพ เงินวิทยฐานะ Tablet จุดเน้นของ สพฐ. ปี 2555 การบริหารจัดการปริมาณโรงเรียนและธรรมะกล่อมจิต เริ่มเลยดีกว่านะครับ

►เงินเดือนใหม่/ค่าครองชีพ

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วนะครับว่าบุคลากรของ สพฐ. ในปัจจุบันจำนวนสี่แสนกว่าคนนั้น จะได้รับเงินเดือน/ค่าตอบแทน/ค่าครองชีพ จากงบประมาณสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นข้าราชการและพนักงานราชการ จะรับเงินจากงบบุคลากร ส่วนที่สองเป็นอัตราจ้าง จะรับเงินจากงบดำเนินงาน เมื่อต้นปีนี้ กระทรวงการคลังได้ออกระเบียบฯว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ และรวมถึงลูกจ้างชั่วคราวด้วย นอกจากนั้นยังมีหนังสือเวียนจากกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นระยะๆ สรุปแล้วจะมีกระบวนการอยู่สองขั้นตอน คือ ออกคำสั่ง และเบิกจ่ายงบประมาณ ส่วนกลางจะเบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลาง ต่างจังหวัดเบิกจ่ายจากคลังจังหวัด กลุ่มงบบุคลากรได้ดำเนินการกันแล้ว ส่วนกลุ่มอัตราจ้างที่ได้รับเงินจากงบดำเนินงานต้องรอหน่อยนะครับ สพฐ. ได้ทำเรื่องขอตกลงกับกรมบัญชีกลาง ว่าขอจ่ายเงินเดือนใหม่ และค่าครองชีพ ให้อัตราจ้างดังกล่าวไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ขณะนี้กรมบัญชีกลางยังไม่ตอบกลับมายัง สพฐ. เลย แต่คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาครับ แต่งบประมาณที่จะจัดให้คงจะเป็นงบกลาง ซึ่งต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ผมคาดว่า ภายในเดือนมิถุนายน คงเรียบร้อย และเบิกจ่ายตกเบิกตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นมา รอหน่อยนะครับ น้องๆ ทั้งหลาย สิ่งที่เป็นความทุกข์ของน้องๆ 3 กลุ่ม ที่ยังไม่ได้รับเงินเดือนมาสองเดือนแล้ว ก็คือ กลุ่มครูอัตราจ้างทดแทนขาดครูขั้นวิกฤติ กลุ่มครูวิทย์-คณิต และกลุ่มอัตราจ้างบนสำนักงานเขตพื้นที่บางตำแหน่ง ท่านเลขาธิการได้อนุมัติงบประมาณเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้เป็นช่วงการโอนงบประมาณครับ ที่ช้าเพราะรายการต่างๆดังกล่าว สพฐ.ไม่ได้รับงบประมาณมาจากสำนักงบประมาณ ดังนั้น จึงต้องหางบประมาณอื่นมาเปลี่ยนแปลง ต้องขอบคุณสำนักงานเขตพื้นที่และโรงเรียนส่วนใหญ่ที่ได้หาเงินมาทดรองจ่ายให้น้องๆเหล่านั้นในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับ ปีงบประมาณ 2556 ได้ตั้งงบประมาณจ้างต่อช่วงตุลาคม 2555-กันยายน 2556 มีบางรายการถูกตัดตั้งแต่รอบแรก แต่ สพฐ.ก็ได้ทำเรื่องทบทวนขอไปครบทุกตำแหน่ง จะตอบว่าได้หรือไม่ได้ 100% ก็ต่อเมื่องบประมาณผ่านการพิจารณาของสภาฯเรียบร้อยแล้ว (ในราวเดือนกรกฎาคมก็พอจะรู้แล้วครับ) ในหนังแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่ มีการระบุข้อความว่า จะสิ้นสุดการจ้าง 30 กันยายน 2555 นั้น เป็นเรื่องปกติของการแจ้งครับ เพราะเราได้งบประมาณการจ้างมาปีต่อปี จะได้ต่อหรือไม่ได้ต่อนั้น เหนือการควบคุมของเราแล้วครับ แต่เราหวังว่าจะได้จ้างต่อทุกท่าน ถ้าไม่แจ้งแบบนั้น เราก็เคยถูกต่อว่า ว่าน่าจะบอกกันเนิ่นๆจะได้เตรียมตัว ก็จึงต้องบอก พอบอกไปก็บอกว่า อ่านแล้วน้ำตาไหลเลย เสียขวัญหมด ตั้งงบประมาณไปแล้วก็ไม่น่าบอกแบบนี้ เห็นใจจริงๆครับทั้งผู้แจ้งและผู้รับแจ้ง

►เงินวิทยฐานะ

ความก้าวหน้าเรื่องเงินตกเบิกวิทยฐานะ สำหรับข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ของ สพฐ. ที่ผ่านการประเมินเรียบร้อยแล้วนั้น สพฐ.จะจ่ายเงินตกเบิกดังกล่าวในรอบต่อไป ในเดือนตุลาคม 2555 สำหรับผู้ที่ได้รับ คำสั่งตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2554 ซึ่งรวมทั้งหมด 60,590 ราย ใช้งบประมาณ 16,192,936,313 บาท เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าเห็นใจมากสำหรับผู้ที่ผ่านการประเมินวิทยฐานะแล้ว และรอเงินตกเบิกอยู่ จริงๆแล้ว สพฐ.อยากจ่ายเงินตามสิทธิ์ของท่านนับตั้งแต่วันออกคำสั่ง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีงบประมาณ งบประมาณต้องตั้งล่วงหน้า ตั้งตามจำนวนที่ผ่าน ตั้งเผื่อจะผ่านไม่ได้ เมื่อคำสั่งแต่งตั้ง ลงนามหลังจากที่ตั้งงบประมาณไปแล้ว ก็ต้องรอไปอีกหนึ่งปีของรอบงบประมาณใหม่ รวมกับช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มส่งงบประมาณ ดังนั้นบางท่านจึงได้เงินตกเบิกถึง 3 ปีก็มี

ความเคลื่อนไหวอีกประการหนึ่ง เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ ซึ่งต้องผ่านการประเมินผลงานทางวิชาการ และการอบรม ปัญหาที่ผ่านมาก็คือ ผลงานผ่านแล้วเป็นปี แต่ยังไม่ได้อบรม ดังนั้น จึงแต่งตั้งตามวิทยฐานะใหม่ไม่ได้ พออบรมแล้วจึงแต่งตั้งได้ แต่แต่งตั้ง ณ วันสิ้นสุดการอบรม ดังนั้น จึงทำให้เกิดการเสียสิทธิ์ที่ควรจะได้ แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขแล้วครับ เกณฑ์ยังเหมือนเดิมครับ ต้องครบทั้งสองเกณฑ์ แต่วันที่มีผลแทนที่จะเป็นวันที่สิ้นสุดการอบรม ก็เป็นวันที่ส่งผลงานทางวิชาการ คงทำให้คุณครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ที่ผ่านการประเมินวิทยฐานะคงสบายใจขึ้นบ้างนะครับ นอกจากนั้น ขณะนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายังมีทางเลือกใหม่ในการขอรับการประเมินตาม ว.5 ซึ่งเน้นการประเมินเชิงประจักษ์ ปฏิบัติงานจนได้รับรางวัลระดับชาติหรือเทียบเท่า และผ่านการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อตกลงที่ตกลงกันไว้

►Tablet

คงทราบกันโดยทั่วไปแล้วนะครับ ว่าต้นเดือนมิถุนายน 2555 นี้ นักเรียน และครู ชั้น ป.1 จะได้รับคอมพิวเตอร์พกพา(Tablet) ทุกคน ภาคเรียนที่ 2 เด็กและครู ม.1 ทุกคนจะได้รับเหมือนกัน Tablet มีลักษณะเหมือนกระดานชนวน แต่เป็นกระดานชนวนอัจฉริยะ เราคงเลิกเถียงกันได้แล้วว่า ทำไมไม่แจก Tablet เด็กโตๆ ทำไมมาแจก ป.1 ที่แคลิฟอร์เนีย และชิคาโก ที่เพิ่งไปเห็นมา เริ่มใช้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 3 ขวบ การใช้ ICT ใดๆก็ตาม หากต้องการให้มีประสิทธิภาพต้องมีองค์ประกอบครบ 4 ประการ คือ Hardware Software Peopleware และ Network คงเข้าใจตรงกันนะครับ ว่า Tablet เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนครูได้ 100% ครูต้องจัดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ แสวงหาและพัฒนาเนื้อหาสาระให้เหมาะสม กับนักเรียนแต่ละวัยตามพัฒนาการ ข้อครหาเกี่ยวกับเด็กจะเขียนหนังสือไม่ได้ สมาธิจะสั้น ตาจะบอด สิ่งต่างๆเหล่านี้คุณครูต้องจัดกิจกรรมเสริมครับ บอกแล้วไงครับว่า Tablet ไม่ได้แทนครูทุกอย่าง แต่เป็นอุปกรณ์เสริม เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพขึ้น

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนของ Tablet อีกประการหนึ่ง ก็คือ Tablet สามารถบันทึกร่องรอยที่นักเรียนได้คิด ได้ปฏิบัติทุกอย่างตามที่ต้องการจะบันทึก สิ่งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ คุณครูมืออาชีพ ที่จะพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล เพราะจะได้ต่อยอดความคิด ต่อยอดการปฏิบัติ โดยมอบหมายชิ้นงานที่แตกต่างกันไปแต่ละคน เด็กมีอิสระในการเรียนรู้ เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย กว้างขวาง และรวดเร็ว สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ครูและผู้ปกครอง สามารถเห็นพัฒนาการของนักเรียนและบุตรหลานของตนเองอย่างต่อเนื่อง

►จุดเน้นของ สพฐ. ปี 2555

การวางแผน เป็นกระบวนการคิดก่อนทำ ส่วนกลยุทธ์ เป็นวิธีที่ดีที่สุด(Best way) ที่จะทำให้พันธกิจของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นการหาวิธีการที่เราคิดว่าดีที่สุด ในสภาวะแวดล้อมภายในและภายนอก ที่ประสบอยู่ และเราก็มักจะใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อการศึกษา จุดแข็ง(Strength) และจุดอ่อน(Weak) และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อศึกษาโอกาส(Opportunity) และข้อจำกัด อุปสรรค ภัยคุกคาม(Treat) หลายท่านมีปัญหาในการแบ่งสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก เกณฑ์ที่ใช้แบ่งก็คือ เรื่องใดที่เราสามารถควบคุม(Control) ได้ เรื่องนั้นเป็นสภาพแวดล้อมภายใน ถ้าเรื่องใดเหนือการควบคุมของเรา ก็เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์ที่ดีต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป อ่านแล้วอมยิ้ม รู้นะว่าคิดอะไรอยู่ คงคิดว่าแหมหลักการดีเชียว แต่กลยุทธ์ สพฐ. เหมือนเดิมมา 3-4 ปีแล้ว 555...อ้าว...ก็สภาพแวดล้อมไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนักไง ดังนั้นกลยุทธ์จึงเหมือนเดิม

ปี 2555 นี้ สพฐ.มีจุดเน้น 10 ประการด้วยกัน ดังนี้

1. ผลสัมฤทธิ์ในวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 3 (Student achievement)

2. เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ (EQ : Emotion Quotient)

3. นักเรียน ป.3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น นักเรียนป.6 ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะ การคิดขั้นพื้นฐาน (Literacy & Numeracy)

4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นไทย จิตสาธารณะ อยู่อย่างพอเพียง (Sufficiency & Public Mind)

5. เพิ่มศักภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ (Excel to excellence)

6. สร้างทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน ศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ (Alternative Access)

7. นักเรียน ครู และสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพสอดคล้องอัตลักษณ์ (Southern-Border Provinces)

8. นักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม (ASEAN Community)

9. สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และได้รับการรับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอก ตลอดจนการพัฒนาสถานศึกษาในพื้นที่ชนบท โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล (Quality Schools)

10. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Effective Service Areas)



►การบริหารจัดการปริมาณโรงเรียน

หากเราพิจารณาจำนวนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จะพบว่า ปัจจุบันมีโรงเรียนอยู่ถึง 31,255 โรง เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่า สพฐ. มีโรงเรียนมากเกินความจำเป็น ความพยายามในการ ยุบ รวม เลิก เป็นไปอย่างเชื่องช้า อาจเป็นเพราะหลายเหตุปัจจัย มีทั้งแรงต้านภายใน และภายนอกโรงเรียน ซึ่งต่างคนต่างก็มีเหตุผล บางครั้งการกระทำอย่างเดียวกัน เช่น การยุบ รวมโรงเรียน มุมหนึ่งบอกว่าละเมิดสิทธิของเด็ก เพราะเป็นการดึงเด็กออกจากชุ่มชน (ทั้งๆที่ไปเช้าเย็นกลับ ไม่ได้ไปไกลเท่าไร แค่ข้ามหมู่บ้านเท่านั้น ) แต่ผู้ที่คิดจะยุบ รวม เลิก กลับมองว่า ถ้าไม่ทำสิจะเป็นการละเมิดสิทธิของเด็ก เพราะทนไม่ไหวกับการปล่อยให้เด็กอยู่อย่างไร้คุณภาพ ในขณะที่จำนวนโรงเรียนยังเป็นปัญหา เรื่องประสิทธิภาพของการบริหารจัดการที่ยังแก้กันไม่จบ ก็มีโรงเรียนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามขยายชั้นเรียน มี ป.6 ก็ต้องการขยายไปถึง ม.3 มีถึง ม .3 ก็พยายามขยายไปถึงชั้น ม.6 ในอดีตที่ผ่านมาเราจะดูความพร้อมเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเราจะดูความจำเป็นเป็นหลัก ถ้าพร้อมแต่ไม่ค่อยจำเป็น ก็ไม่สนับสนุนให้ขยายชั้นเรียน ถ้าหากจำเป็น เพราะเด็กลำบากเหลือเกินในการเดินทาง ข้ามเขาลงห้วยไปเรียน เราก็สนับสนุนให้ขยายชั้นเรียน ความพร้อมนั้นสร้างได้ครับ เราคงมีประสบการณ์เรื่องโรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งในอดีตเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องให้โอกาสแก่เด็กอย่างทั่วถึง ปัจจุบันนี้การคมนาคมสะดวกมาก และผู้ปกครองก็ไม่ทนอยู่กับโรงเรียนที่ขาดความพร้อมในการสอนลูกหลาน ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ โรงเรียนขยายโอกาสหลายๆโรงของดสอน ม.1- ม.3 แล้วครับ ปัญหาเรื่องจำนวนโรงเรียนที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบันจะไม่สามารถแก้ไขได้ ตราบใดที่ยังใช้วิธีการเดิมที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ วิธีที่ได้ผลก็คือ ต้องคิดต้นทุนต่อหัวในการจัดการศึกษา คิดทุกเรื่องแม้แต่เงินเดือน แล้วจัดงบประมาณเป็นเงินรวมให้เขตพื้นที่ไปบริหารจัดการ หากปล่อยให้โรงเรียนมีอยู่มากเกินความจำเป็น ก็จะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ หากเหลือโรงเรียนอยู่ในจำนวนที่พอเหมาะก็จะมีเงินเหลือเอาไปจับจ่ายใช้สอยในเรื่องอื่นๆได้ตามที่ต้องการ อยากเห็นภาพนี้จริงๆ



►ธรรมะกล่อมจิต

ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือ เรื่อง ชีวิตนี้สั้นนัก ซึ่งถอดความจากการเทศน์ของสมเด็จพระสังฆราช เป็นเรื่องเกี่ยวกับ กฎแห่งกรรม ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ประเภท ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป นั้นเป็นการสำคัญผิด การทำกรรมดีและกรรมชั่วแต่ละครั้งจะมีการถูกบันทึกไว้ แล้วผลของการกระทำก็ค่อยๆแสดงออกมาทีละเรื่องทีละตอน ต่างกรรมต่างวาระ ไม่มีการหักลบกลบหนี้ เช่น ทำความดี 2 หน่วย ทำชั่ว 2 หน่วย จะถือว่าเจ๊ากันไปไม่ได้ ผลตอบแทนความดี 2 หน่วยจะเกิดขึ้น ผลตอบแทนความชั่ว 2 หน่วยจะเกิดขึ้น แต่เมื่อไรไม่รู้การที่เราเห็นคนชั่วบางคนกำลังได้ดี ก็เป็นเพราะเขากำลังได้รับผลดีจากที่เคยทำกรรมดีไว้ในอดีต ผลดีที่ได้รับในปัจจุบันไม่ใช่ผลที่เกิดขึ้นจากการทำความชั่วในปัจจุบัน ผลจากการทำความชั่วในปัจจุบันจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว ดังนั้น พระคุณเจ้าจึงบอกว่า ชีวิตนี้สั้นนัก ต้องเร่งทำคุณงามความดีเข้าไว้ และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา หากท่านใดได้มีโอกาสชมการถ่ายทอดสดการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 บริเวณสวนหลวง ร.8เชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด กทม.ก็คงได้รับฟังพระธรรมเทศนาของพระคุณเจ้าจากวัดกัลยาณมิตร ซึ่งท่านเทศน์เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำ/ผู้บริหาร/ผู้ปกครองที่ดี ซึ่งฟังแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณลักษณะที่พึงประสงค์ประกอบด้วย

1. มีความมุ่งมั่น ขยัน หมั่นเพียรการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ

2. ไม่ประมาทในเรื่องต่างๆ ไม่เห็นแก่ได้เล็กๆน้อยๆ ฉ้อราษฎร์บังหลวงหาประโยชน์เข้าตนเองในทางที่ไม่ชอบ ถ้ากล้าทำผิดในเรื่องเล็กๆน้อยๆได้ ต่อไปก็กล้าทำผิดเรื่องใหญ่ๆได้

3. มีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์

3.1 รู้หนทางแห่งความเจริญ

3.2 รู้หนทางแห่งความเสื่อม

3.3 รู้วิธีแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ

3.4 รู้วิธีการบริหารจัดการงานที่ดี


จดหมายฉบับนี้คงเป็นฉบับสุดท้ายสำหรับเวทีนี้ เนื่องจากผมได้รับความกรุณาจากผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ไม่ได้รับผิดชอบงานของสำนักนโยบายและแผนแล้ว อย่างไรก็ตาม ผมจะพยายามประสานกับสำนักพัฒนาระบบบริหารและนิติการ ในเรื่องที่ค้างอยู่และยังไม่สำเร็จ นั่นคือเรื่องตำแหน่งถาวรของอัตราจ้างต่างๆ จะพยายามหาช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับท่านทั้งหลายในรูปแบบต่างๆ เพราะที่ผ่านมา เราต่างเป็นผู้ให้และผู้รับซึ่งกันและกัน ทำให้รู้เขา รู้เรา ตลอดเวลา ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คงจบเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ แล้วพบกันใหม่ในเวทีใหม่เร็วๆ นี้ครับ



ที่มา http://210.246.189.115/ewtadmin/ewt/demo_0850/ewt_news.php?nid=921

 

และสุดท้าย ครูบ้านนอกดอทคอม ขอแสดงความยินดีกับ
ท่านดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ในตำแหน่งใหม่


ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของ สพฐ.เป็นอย่างสูงครับ


จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 4/2555 (เงินเดือนใหม่/ค่าครองชีพ-เงินวิทยฐานะ-Tablet-จุดเน้นสพฐ. ปี 55)จดหมายเปิดผนึกฉบับที่42555(เงินเดือนใหม่ค่าครองชีพ-เงินวิทยฐานะ-Tablet-จุดเน้นสพฐ.ปี55)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

เปิดอ่าน 18,905 ☕ 30 มี.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,613 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 487 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 444 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,310 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,487 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 465 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ฟักทองญี่ปุ่น
ฟักทองญี่ปุ่น
เปิดอ่าน 19,057 ครั้ง

เยือน "ศูนย์จราจรอัจฉริยะไทย" ที่ บก.02
เยือน "ศูนย์จราจรอัจฉริยะไทย" ที่ บก.02
เปิดอ่าน 11,749 ครั้ง

ตำนานคิวปิด
ตำนานคิวปิด
เปิดอ่าน 22,030 ครั้ง

เปิดตัว "น้องกรณ์" หนูน้อย 1 ขวบ หัวใจใฝ่ธรรมะ ในคลิปดัง "ลูกศิษย์วัดตัวน้อยนั่งสัปหงก"
เปิดตัว "น้องกรณ์" หนูน้อย 1 ขวบ หัวใจใฝ่ธรรมะ ในคลิปดัง "ลูกศิษย์วัดตัวน้อยนั่งสัปหงก"
เปิดอ่าน 13,886 ครั้ง

ดาวน์โหลดหนังสือ Brain-based Learning (BBL) 7 เล่ม เขียนโดย อ.พรพิไล เลิศวิชา
ดาวน์โหลดหนังสือ Brain-based Learning (BBL) 7 เล่ม เขียนโดย อ.พรพิไล เลิศวิชา
เปิดอ่าน 115,759 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ