ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์


สุขศึกษาและพลศึกษา เปิดอ่าน : 18,763 ครั้ง
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์

Advertisement

  ไวรัสอีโบลา

ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์ ปัจจุบันพบว่ามีอย่างน้อย 18 ชนิด ที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยคือ ไวรัสเดงกี่ ส่วนชนิดที่พบเป็นปัญหาสำคัญในทวีปแอฟริกา ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบาดที่รุนแรง และร้ายแรงที่สุดคือ
ไวรัสอีโบลา ปัจจุบันพบว่าไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในภูมิภาคต่างๆ ของโลกจะแตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดจะอยู่ในตระกูลใหญ่ๆ เพียง 4 ตระกูล ได้แก่ อะรีนาไวรัส บันยาไวรัส ฟลาวิไวรัส และฟิโลไวรัส ซึ่งทั้งหมดเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส


ลักษณะของไวรัสอีโบลา

เชื้อไวรัสอีโบลาจัดอยู่ในตระกูล Filoviridae (filo ภาษาละตินแปลว่าลักษณะยาวเหมือนเส้นด้าย)
ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

  1. สารพันธุกรรมเป็น RNA สายลบ และเป็นสายเดี่ยว มีความยาว 12.7 กิโลเบส น้ำหนักโมเลกุล 4.2x10-6 ไม่มี polyA ที่ปลายด้าน 3'
  2. อนุภาคไวรัสประกอบด้วยโปรตีนทั้งหมด 7 ชนิด รวมทั้งเอ็มไซม์ทรานสคริปเทส ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้าง mRNA ส่วนโปรตีนโครงสร้างประกอบด้วย VP30, VP35, นิวคลิโอโปรตีน และโพลิเมอเรสโปรตีน
    ส่วนโปรตีนที่เยื่อหุ้มนั้นประกอบด้วย VP40, ไกลโคโปรตีน และVP24
  3. นิวคลิโอแคปสิดมีการเรียงตัวแบบบันไดวน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 นาโนเมตร ยาว 800-1000
    นาโนเมตร มีเยื่อหุ้มไขมันเป็นเปลือกล้อมรอบ และมีโปรตีนลักษณะเป็นก้านยื่นออกไปโดยรอบเปลือกหุ้มไวรัส
  4. ไวรัสบางอนุภาคอาจมีความยาวถึง 14,000 นาโนเมตร ความยาวของอนุภาคมีส่วนสัมพันธ์กับ
    ความสามารถในการติดเชื้อของไวรัส อนุภาคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อจะมีความยาว 970 นาโนเมตรเท่านั้น
  5. ไวรัสอีโบลามีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก่ สายยาว วงกลม รูปตัวยู หรือรูปทรงเหมือนเลขหกอารบิค หรือเบ็ดตกปลา

ไวรัสอีโบลา 4 ชนิด

ไวรัสอีโบลาประกอบด้วย 4 ชนิดย่อย ได้แก่ อีโบลา-แซร์อีร์, อีโบลา-ซูดาน, อีโบลา-ไอวอรี่โคท และ
อีโบลา-เรสตัน
เชื้อสามชนิดแรกคือ อีโบลา-แซร์อีร์ อีโบลา-ซูดาน และอีโบลา-ไอวอรี่โคท ทำให้เกิดการป่วยรุนแรงในคนและมีอัตราตายสูงร้อยละ 50-90 ส่วนอีโบลา-เรสตัน พบในฟิลิปปินส์ ทำให้เกิดรุนแรงในลิง แต่ในคนไม่ทำให้เกิดอาการ

กลไกการเกิดโรค

ไวรัสเข้าสู่เซลล์โดยวิธีเอนโดซัยโตซิส และเกิดการเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนอนุภาคในส่วนที่เป็นซัยโตพลาสซึมของเซลล์ที่ติดเชื้อ จากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
อิเลกตรอน จะพบมีอินคลูชันบอดีขนาดใหญ่ในเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของนิวคลิโอแคปสิดของไวรัส

เมื่อไวรัสเจริญเติบโตเต็มที่ จะพบมีการยื่นนิวคลิโอแคปสิดของไวรัสออกมาที่พลาสมาเมมเบรนของเซลล์ที่ติดเชื้อ

การระบาดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1976

พบการระบาดครั้งแรกในช่วงกลางปี ค.ศ. 1976 ที่จังหวัดแห่งหนึ่งทางตะวันตกในเขตเส้นศูนย์สูตรของประเทศซูดาน 800 กิโลเมตรจากประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก)

หลังจากการระบาดอย่างหนักในเมือง Yambuku ทางตอนเหนือของประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก) และเมือง Nzara ทางตอนใต้ของประเทศซูดาน พบว่ามีการระบาด 2 ครั้งในปี ค.ศ. 1976 ทางตอนใต้ของประเทศซูดานและทางตอนเหนือของประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก) จากการศึกษาไวรัสที่เป็นสาเหตุของการระบาดในครั้งนั้น พบว่ามีรูปร่างคล้ายกับ Marburg virus แต่เมื่อทำการศึกษาลงไปแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันทางแอนติเจน

ในระยะแรกของการระบาดเชื่อว่าโรคแพร่กระจายจากประเทศซูดานไปยังประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก)
โดยทางคนขับรถบรรทุก และสินค้าที่นำมา ระหว่างเดือนมิถุนายน และพฤศจิกายน ค.ศ. 1976 พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา 284 รายในประเทศซูดาน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 117 ราย และในประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก) พบว่ามีผู้ติดเชื้อ 318 ราย เสียชีวิต 280 ราย

ผู้ป่วยรายแรกที่พบในประเทศซูดาน

เป็นคนงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานฝ้ายเมือง Nzara มีผู้ป่วยทั้งหมด 67 รายแรก ในเมือง Nzara ในจำนวนนี้มี
ผู้ป่วย 48 ราย ที่พบว่าติดเชื้อมาจากผู้ป่วย 3 รายแรกในโรงงานฝ้าย โดยทุกรายมประวัติสัมผัสโดยใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยการให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย 3 รายแรก

ผู้สัมผัสโรครายหนึ่งจากเมือง Nzara เดินทางไปที่เมือง Maridi ซึ่งห่างออกไป 128 กิโลเมตร เริ่มมีอาการป่วยและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเมือง Maridi เป็นเหตุให้มีการแพร่กระจายเชื้อออกไปอย่างมาก โดยมีผู้ป่วยทั้งหมด 213 ราย ในจำนวนนี้ 72 รายเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและ 11 รายเป็นลูกจ้างในโรงพยาบาล ยอดผู้ป่วยที่เสียชีวิตรวม 41 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาพยาบาล และต่อมาเชื้อได้แพร่กระจายจากโรงพยาบาลเข้าสู่ชุมชน

จากการสอบสวนโรคไม่พบว่ามีการติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายแรกๆ การระบาดภายนอกโรงพยาบาลสงบลงเองโดยไม่ได้ดำเนินมาตรการควบคุมใดๆ

ผู้ป่วยรายแรกที่พบในประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก)

เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยสงสัยว่าเป็นมาลาเรีย ในครั้งแรกให้การรักษาด้วยยาคลอโรควิน อาการดีขึ้นและให้กลับบ้าน 5 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยกลับมีไข้อีก และเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกด้วยเรื่องมีเลือดออกในทางเดินอาหาร และเสียชีวิตหลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์

ในขณะที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนั้น เครื่องนึ่งเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเสีย และจากการสอบสวน
โรคพบว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากติดเชื้อจากการฉีดยาจากโรงพยาบาลนี้ ซึ่งในจำนวนนี้ 82 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล โดนร้อยละ 25 ของหญิงตั้งครรภ์แท้งบุตรก่อนที่จะเสียชีวิต และผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลซึ่งรับการฉีดวัคซีนป้องกันป้องกันโรคทัยฟอยด์ เนื่องจากการสอบสวนโรคในครั้งแรกคิดว่าเป็นการระบาดของโรคทัยฟอยด์

จากเหตุการณ์ณ์ดังกล่าวจึงเชื่อว่า การติดต่อทางเข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด เป็นสาเหตุสำคัญของการแพร่กระจายของโรค การแพร่กระจายของโรคไปยังผู้ป่วยรายอื่นๆ ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายแรกๆ

ระยะฟักตัวของผู้ที่ติดเชื้อทางเข็มฉีดยาประมาณ 6.3 วัน และทุกรายจะเสียชีวิต ระยะฟักตัวของผู้ที่ติดเชื้อโดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเฉลี่ย 9.5 วัน (1-21 วัน)

อาการ

ผู้ป่วยมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว อาเจียน ต่อมามีผื่นขึ้นตามตัว มีเลือดออกใต้ผิวหนัง และ
มีเลือดออกตามอวัยวะภายใน ได้แก่ ตับ ไต กระเพาะอาหารและลำไส้
ซึ่งมีผลทำให้เกิดการช็อค หลังจากนั้น
ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาอันสั้น ตั้งแต่เริ่มป่วยจนถึงเสียชีวิตอาจใช้เวลาเพียง 4-10 วันเท่านั้น อัตราการตายสูง
ตั้งแต่ร้อยละ 30-80

ไวรัสอีโบลา-ซูดาน และไวรัสอีโบลา-แซร์อีร์

  1. การระบาดเกิดขึ้นประปรายในระยะแรก และเริ่มระบาดอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศซูดาน และประเทศคองโก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดในประเทศคองโกนั้น พบว่าโรคไข้เลือดออกจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลามีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 88 ซึ่งถือว่ารุนแรงมาก
  2. การระบาดในประเทศซูดานมีผู้ป่วย 284 ราย เสียชีวิต 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 53 ในประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก) มีผู้ป่วย 318 ราย เสียชีวิต 280 ราย คิดเป็นร้อยละ 88 จากอัตราป่วยตายที่แตกต่างกันมาก ทำให้เป็นที่น่าสงสัยว่าเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการระบาดในประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก) มีความรุนแรงมากกว่าเชื้อที่ระบาดในประเทศซูดาน และเมื่อศึกษาลงไปจึงพบว่าไวรัสที่พบในประเทศทั้งสองมีความแตกต่างกันในโครงสร้างโพลิเปปไทด์บางอย่าง จึงตั้งชื่อว่า Ebola-Z และ Ebola-S และสรุปว่าการระบาดในประเทศทั้งสองนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
  3. ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1977 พบเด็กหญิงอายุ 9 ปี ป่วยด้วยไข้เลือดออกอีโบลา ซึ่งได้รับการวินิจฉัยโดยการแยกพบเชื้อไวรัสอีโบลา และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแซอีร์ (สาธารณรัฐคองโก) จึงได้มีการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นอย่างดี และไม่พบว่ามีการระบาดไปยังผู้อื่น
  4. ได้มีการตรวจเลือดผู้ที่ปฏิบัติงานในบริเวณที่เคยมีโรคระบาดจำนวน 51 คน พบว่ามีหนึ่งรายที่มีแอนติบอดีต่อไวรัสอีโบลา โดยเป็นแพทย์ที่มีประวัติถูกมีดบาดที่นิ้วในขณะที่กำลังผ่าศพผู้ที่เสียชีวิตด้วยอาการไข้เลือดออก

การระบาดในปี ค.ศ. 1979

การระบาดครั้งต่อมาของไวรัสอีโบลาเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1979 ในทางตอนใต้ของประเทศซูดาน พบว่ามี
ผู้ป่วยทั้งหมด 34 ราย เสียชีวิต 22 ราย ผู้ป่วยรายแรกเป็นคนงานในโรงงานฝ้าย ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวใน
โรงพยาบาล และแพร่เชื้อไปที่ผู้ป่วยเตียงข้างๆ หนึ่งคน และพยาบาล 2 คน ส่วนผู้ป่วยอีก 29 ราย ที่เหลือ เกิดโรคในชุมชน แต่จากการสอบสวนโรคพบว่าติดเชื้อมาจากผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาล 4 รายแรก โดยผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มาดูแลผู้ป่วยรายแรกๆ และสัมผัสกับเลือดหรือสิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วย จึงเชื่อว่าการติดต่อจากคนไปสู่คน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย

ไวรัสอีโบลา-เรสตัน

ในปี ค.ศ. 1989-1990 เชื้อฟิโลไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า อีโบลา-เรสตัน ได้ถูกแยกออกมาจากลิงที่อยู่ในสถานที่กักกันในห้องปฏิบัติการที่เมืองเรสตัน มลรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประเทศฟิลิปปินส์

ในประเทศฟิลิปปินส์ พบการติดเชื้ออีโบลา-เรสตัน ในพื้นที่กักกันสำหรับลิงที่ตั้งใจจะส่งออก บริเวณใกล้ๆ กับเมืองมะนิลา เชื้อฟิโลไวรัสที่ตรวจพบใกล้ชิดกับอีโบลาที่แยกได้จากลิง (Macacca fascicularis) ที่นำเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาจากประเทศฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 1989 ลิงจำนวนมากตายและมีคนอย่างน้อย 4 คนที่ติดเชื้อ แต่ไม่มีใครมีอาการเจ็บป่วยเกิดเป็นโรคขึ้น

การระบาดในปี ค.ศ. 1995

ในปี ค.ศ. 1995 เกิดการระบาดของไวรัสอีโบลาในประเทศกาบอง อัตราตายร้อยละ 57-67 จากการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์พบว่าใกล้เคียงกับสายพันธุ์อีโบลา-แซร์อีร์ จึงไม่ได้จัดเป็นสายพันธุ์ใหม่ ในช่วงปีเดียวกันนั้น คณะนักวิจัยทางไวรัสวิทยาได้ศึกษาเชื้อไวรัสอีโบลาประจำท้องถิ่น คาดว่าแหล่งสะสมไวรัสน่าจะเป็นค้างคาวกินผลไม้ชนิด Epomophorus wahlbergi และค้างคาวกินแมลงชนิด Tadarida pumila และในปีเดียวกันเกิดการระบาดครั้งใหญ่เกิดขึ้นในเมือง Kikwit สาธารณรัฐคองโก มีผู้ป่วย 315 คน และเสียชีวิต 244 ราย

การระบาดในปี ค.ศ. 2000 - ปัจจุบัน

  • 2000 - 2001 ประเทศอูกานดา จำนวนผู้ป่วย 425 ราย เสียชีวิต 224 ราย พิสูจน์ทราบว่าเป็นเชื้ออีโบลา-ซูดาน
  • ต.ค. 2001 - มี.ค. 2002 ประเทศกาบอง จำนวนผู้ป่วย 65 ราย เสียชีวิต 53 ราย พิสูจน์ทราบว่าเป็นเชื้ออีโบลา-แซร์อีร์
  • ต.ค. 2001 - มี.ค. 2002 สาธารณรัฐคองโก จำนวนผู้ป่วย 59 ราย เสียชีวิต 44 ราย พิสูจน์ทราบว่าเป็นเชื้ออีโบลา-แซร์อีร์
  • ธ.ค. 2002 - เม.ย. 2003 สาธารณรัฐคองโก จำนวนผู้ป่วย 143 ราย เสียชีวิต 128 ราย พิสูจน์ทราบว่าเป็นเชื้ออีโบลา-แซร์อีร์
  • พ.ย.- ธ.ค. 2003 สาธารณรัฐคองโก จำนวนผู้ป่วย 35 ราย เสียชีวิต 29 ราย พิสูจน์ทราบว่าเป็นเชื้ออีโบลา-แซร์อีร์
  • 2004 ประเทศซูดาน จำนวนผู้ป่วย 17 ราย เสียชีวิต 7 ราย พิสูจน์ทราบว่าเป็นเชื้ออีโบลา-ซูดาน
  • 2004 ประเทศซูดาน จำนวนผู้ป่วย 20 ราย เสียชีวิต 5 ราย ยังไม่ทราบผลพิสูจน์เชื้อ
  • 25 เม.ย. - 16 มิ.ย. 2005 สาธารณรัฐคองโก จำนวนผู้ป่วย 12 ราย เสียชีวิต 9 ราย ยังไม่ทราบผลพิสูจน์เชื้อ

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

 

ที่มา http://www.bangkokhealth.com/sitesearch_detail.asp?number=9547


ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์ ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สายตาเอียง

สายตาเอียง


เปิดอ่าน 13,716 ครั้ง
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้


เปิดอ่าน 17,670 ครั้ง
ล้างผักผลไม้สะอาดปลอดโรค

ล้างผักผลไม้สะอาดปลอดโรค


เปิดอ่าน 30,122 ครั้ง
ฟุตซอล

ฟุตซอล


เปิดอ่าน 26,005 ครั้ง
พาราเซตามอล

พาราเซตามอล


เปิดอ่าน 17,068 ครั้ง
Detoxification ล้างพิษ ล้างโรค

Detoxification ล้างพิษ ล้างโรค


เปิดอ่าน 15,245 ครั้ง
วิตามิน บี

วิตามิน บี


เปิดอ่าน 19,599 ครั้ง
กินหวานอย่างไรไม่อันตราย

กินหวานอย่างไรไม่อันตราย


เปิดอ่าน 18,789 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

11 ก.พ.นี้ ห้ามสูบบุหรี่ใน "ผับ-เธค-สวนอาหาร-จตุจักร"

11 ก.พ.นี้ ห้ามสูบบุหรี่ใน "ผับ-เธค-สวนอาหาร-จตุจักร"

เปิดอ่าน 12,198 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"ไบโอติน" วิตามินหลากหลายประโยชน์
"ไบโอติน" วิตามินหลากหลายประโยชน์
เปิดอ่าน 2,427 ☕ คลิกอ่านเลย

อุปกรณ์ในการจัดการแข่งขันฟุตซอล
อุปกรณ์ในการจัดการแข่งขันฟุตซอล
เปิดอ่าน 91,375 ☕ คลิกอ่านเลย

ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 3 จำนวนผู้เล่น(The Number Of Players)
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 3 จำนวนผู้เล่น(The Number Of Players)
เปิดอ่าน 90,046 ☕ คลิกอ่านเลย

10 เคล็ดลับเลิกบุหรี่
10 เคล็ดลับเลิกบุหรี่
เปิดอ่าน 15,085 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องของหมากรุก
เรื่องของหมากรุก
เปิดอ่าน 46,242 ☕ คลิกอ่านเลย

ประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิด
ประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิด
เปิดอ่าน 165,540 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์
การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์
เปิดอ่าน 107,865 ครั้ง

อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางในราชอาณาจักร ในลักษณะเหมาจ่าย
อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางในราชอาณาจักร ในลักษณะเหมาจ่าย
เปิดอ่าน 20,580 ครั้ง

ล้างผักผลไม้สะอาดปลอดโรค
ล้างผักผลไม้สะอาดปลอดโรค
เปิดอ่าน 30,122 ครั้ง

เตรียมตัวไว้! "เฟซบุ๊ก" จะให้ใช้รูปโปรไฟล์เป็นวีดีโอสั้นๆได้แล้ว
เตรียมตัวไว้! "เฟซบุ๊ก" จะให้ใช้รูปโปรไฟล์เป็นวีดีโอสั้นๆได้แล้ว
เปิดอ่าน 8,514 ครั้ง

คุณรู้จักตัวเองดีพอ...หรือยัง ? ลองประเมินตัวเองดูที่นี่
คุณรู้จักตัวเองดีพอ...หรือยัง ? ลองประเมินตัวเองดูที่นี่
เปิดอ่าน 13,099 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ