ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ชมพูภูคาพันธุ์ไม้หายากของโลก


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 17,358 ครั้ง
ชมพูภูคาพันธุ์ไม้หายากของโลก

Advertisement

นิตยสาร “สตรีสาร” ฉบับวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗รายงานเรื่องต้นชมพูภูคาไว้ค่อนข้างละเอียด “ซองคำถามขอนำมาเล่าต่อดังนี้

ชมพูภูคาเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายากซึ่งใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก เมื่อประมาณ ๓๐ ปีมาแล้ว ที่ประเทศจีน มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ในเขตมณฑลยูนนาน แต่ปัจจุบันป่าดิบเขาอันเป็นสภาพแวดล้อมของพันธุ์ไม้นี้ในประเทศจีนถูกทำลายลงไปมาก นักวิชาการจึงคาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

สำหรับประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ ดร. ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิตประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ได้ออกสำรวจป่าบริเวณดอยภูคา ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน พบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ จึงได้เก็บตัวอย่างมาตรวจสอบ และต่อมาได้ตั้งชื่อภาษาไทยว่า ชมพูภูคาเนื่องจากดอยภูคาเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่พบต้นชมพูภูคา เพราะมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ลักษณะของต้นชมพูภูคาสูงประมาณ ๒๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ๕๐ เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอกปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ดอกจะบานประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ลักษณะของผลคล้ายมะกอก แต่มีขนาดใหญ่กว่า ต้นชมพูภูคาจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดิบเขา บนไหล่เขาชันที่มีความสูงตั้งแต่ ๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ความชื้นอากาศสูง และอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดปี

ขณะนี้อุทยานแห่งชาติดอยภูคาได้ทดลองเพาะกล้าชมพูภูคาจากเมล็ดจนเป็นผลสำเร็จ แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ชมพูภูคาอยู่รอดได้คือ ต้องช่วยกันรักษาธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้มีการตัดไม้หรือแผ้วถางป่าในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากชมพูภูคาต้องมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา จึงจะเจริญเติบโตได้ดี

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

 

ชมพูภูคา : ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl. : ชื่อวงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE

ชมพูภูคา เป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูอมขาวงดงาม ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ลักษณะทั่วไป

ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบใบประกอบแบบขนนก ยาว 30-80 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ รูปหอกถึงรูปไข่ กว้าง 2.5-6.0 เซนติเมตร โคนใบมนไม่เท่ากัน ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร ดอย่อยสีชมพู คล้ายรูประฆัง กลีบรองดอกขนาดใหญ่ รูปถ้วยขอบหยักตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง โคนกลีบเรียวยาว ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก ขนาด 1.8-2.0 เซนติเมตร กลีบบนมักคว่ำลง เกสรตัวผู้ 8 อัน ผล รูปกระสวย แก่แล้วแตก เมล็ด รูปรี กว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร

การขยายพันธ์

โดยการเพาะเมล็ด เป็นพันธุ์ไม้ป่าหายากของประเทศไทย พบแห่งเดียวที่ดอยภูคาจังหวัดน่าน


ชมพูภูคาพันธุ์ไม้หายากของโลก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

มะระขี้นก ต้านเบาหวาน

มะระขี้นก ต้านเบาหวาน


เปิดอ่าน 11,510 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

วิธีกำจัดไฟฟ้าสถิตออกจากเสื้อผ้า

วิธีกำจัดไฟฟ้าสถิตออกจากเสื้อผ้า

เปิดอ่าน 36,093 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
วิจัยพบ"ตำลึงทอง"รักษากระดูกพรุน
วิจัยพบ"ตำลึงทอง"รักษากระดูกพรุน
เปิดอ่าน 15,372 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีดูแลเล็บให้สวยงามแข็งแรง
วิธีดูแลเล็บให้สวยงามแข็งแรง
เปิดอ่าน 21,518 ☕ คลิกอ่านเลย

ความสุขกันมะเร็งได้ ผู้มีความสุขในชีวิตหนีโรคร้ายได้ 1 ใน 4
ความสุขกันมะเร็งได้ ผู้มีความสุขในชีวิตหนีโรคร้ายได้ 1 ใน 4
เปิดอ่าน 10,724 ☕ คลิกอ่านเลย

4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
เปิดอ่าน 16,878 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับดี ๆ ที่อยากส่งต่อ
เคล็ดลับดี ๆ ที่อยากส่งต่อ
เปิดอ่าน 10,993 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีแก้ปวดหลัง
วิธีแก้ปวดหลัง
เปิดอ่าน 19,113 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สุดซึ้ง หมาช่วยหมา ที่กำลังลอยคออยู่บนเรือ
สุดซึ้ง หมาช่วยหมา ที่กำลังลอยคออยู่บนเรือ
เปิดอ่าน 9,705 ครั้ง

เฮ ! ปรับลดค่าไฟลงอีก 1.05 สตางค์/หน่วย เริ่มพฤศจิกายนนี้
เฮ ! ปรับลดค่าไฟลงอีก 1.05 สตางค์/หน่วย เริ่มพฤศจิกายนนี้
เปิดอ่าน 13,847 ครั้ง

ความต่างของ วิวัฒนาการ vs พัฒนาการ ว่ามันต่างกันยังไง !!
ความต่างของ วิวัฒนาการ vs พัฒนาการ ว่ามันต่างกันยังไง !!
เปิดอ่าน 23,608 ครั้ง

ดวงอาทิตย์ ส่องแสงได้อย่างไร
ดวงอาทิตย์ ส่องแสงได้อย่างไร
เปิดอ่าน 54,365 ครั้ง

เครื่องแบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ
เครื่องแบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ
เปิดอ่าน 57,121 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ