ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นักฟิสิกส์อินเดีย ชี้มีวิธีค้นหา ‘รูหนอน’


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 30 เม.ย. 2561 เวลา 05:31 น. เปิดอ่าน : 16,887 ครั้ง

Advertisement

นักฟิสิกส์อินเดีย ชี้มีวิธีค้นหา ‘รูหนอน’

(ขอบคุณภาพจาก-Pixabay)

“รูหนอน” มีชื่อเรียกในทางวิชาการว่า “ไฮโปเททิคอล ทันเนล” ถูกนำเสนอเป็นเชิงทฤษฎีไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แต่ยังไม่มีการค้นพบหรือยืนยันการมีอยู่จริงของมัน อย่างไรก็ตาม รูหนอนกลับเป็นวิธีการเดินทางที่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ใช้กันอยู่ทั่วไปเพื่ออธิบายการเดินทางในจินตนาการในอนาคตว่าไปได้เร็วกว่าแสงได้อย่างไร

ตามจินตนาการในนิยายวิทยาศาสตร์ “รูหนอน” ถือเป็น “ทางลัด” ในห้วงอวกาศ เป็นอุโมงค์ที่ช่วยให้ยานอวกาศผ่านสู่ไฮเปอร์สเปซได้ โดยการกระโจนเข้าไปจากด้านหนึ่งแล้วก็จะทะลุผ่านออกไปยังอีกด้านหนึ่งของจักรวาล แนวความคิดเรื่องนี้มีที่มาจากสมการในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์

ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์ รูหนอน คือพื้นที่ในจักรวาลที่แผ่นกาล-อวกาศ (สเปซ-ไทม์) ถูกเร่งความเร็วขึ้นสูงมาก สูงจนแสงไม่สามารถเดินทางเป็นเส้นตรงได้อีกต่อไป อนุภาคของแสงหรือโฟตอน ที่เกิดจากก๊าซ, ธุลีอวกาศและดาวฤกษ์ที่เป็นพื้นหลัง ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงจะเคลื่อนวนรอบรูหนอนดังกล่าวจะหมุนวนอยู่โดยรอบหลุมดำ ก่อให้เกิดวงแหวนของแสงขึ้น อย่างไรก็ตาม อนุภาคของโฟตอนที่อยู่ใกล้กับขอบรูหนอนมากเกินไปจะถูกดูดเข้าไปในอุโมงค์ ส่งผลให้เกิดพื้นที่มืดขึ้นโดยรอบ เรียกว่า “แชโดว์” หรือ “เงา” ซึ่งคล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นบริเวณริมขอบหลุมดำ รวมทั้งบริเวณใจกลางของหลุมดำมวลยิ่งยวด หรือซุปเปอร์แมสซีฟ แบล็คโฮล ใจกลางกาแล็กซี ทางช้างเผือก ที่เป็นหลุมดำซึ่งนักดาราศาสตร์กำลังดำเนินความพยายามเพื่อตรวจสอบโดยตรงอยู่ในขณะนี้ โดยอาศัยการเชื่อมโยงกล้องโทรทรรศน์ทั่วโลกเข้าด้วยกันเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเท่ากับโลกทั้งใบ และกำลังศึกษาวิจัยข้อมูลชุดแรกที่ได้จากการนี้อยู่ในเวลานี้

ในงานวิจัยทางฟิสิกส์ชิ้นใหม่ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ ราชิบัล เสข นักฟิสิกส์ชาวอินเดีย จากสถาบันเพื่อรากฐานการวิจัยทาทา (ทีไอเอฟอาร์) ในนครมุมไบ ประเทศอินเดีย นำเสนอแนวความคิดเอาไว้ว่า รูหนอนบางประเภทที่หมุนวนอยู่ด้วยความเร็วสูง จะก่อให้เกิดเงามืดที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีความบิดเบือนมากกว่าที่หลุมดำสร้างขึ้น โดยยิ่งรูหนอนหมุนวนด้วยความเร็วสูงมากขึ้น เงามืดบริเวณริมขอบก็จะราบเรียบมากกว่าเงามืดของหลุมดำซึ่งจะยังคงสภาพลักษณะคล้ายจานอยู่ต่อไป

 

“ด้วยการสังเกตการณ์เงามืดบริเวณริมขอบนี่เอง ที่ทำให้เราสามารถบ่งชี้ได้ว่าในบริเวณใดเป็นหลุมดำ และในบริเวณใดเป็นรูหนอน” ซึ่งสามารถใช้เป็นทางลัดในการเดินทางข้ามห้วงอวกาศได้ ราชิบัล ระบุ

ราชิบัลตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนหน้านี้มีนักวิจัยจำนวนหนึ่งเคยคำนวณการหมุนวนของเงามืดริมขอบหลุมดำมาก่อน แต่มองข้ามส่วน “ลำคอ” หรือ “ท่ออุโมงค์” ที่เชื่อมต่อระหว่างช่องทาง 2 ด้านของรูหนอนไป แต่หากอาศัยการวิเคราะห์แบบใหม่ของตน โดยหลักการแล้ว นักดาราศาสตร์ก็จะสามารถระบุได้ว่า เงามืดที่พบเห็นและกำลังตรวจสอบนั้น เป็นรูหนอนซึ่งมีทางออกอีกทางหนึ่งหรือไม่ ซึ่งหากทำได้จริง ไม่เพียงแต่ทำให้การเดินทางข้ามห้วงอวกาศที่เคยปรากฏอยู่แต่ในนิยายวิทยาศาสตร์เป็นความจริงขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังถือเป็นหลักฐานโดยอ้อมที่แสดงให้เห็นว่า “สสารประหลาด” หรือ “เอ็กโซติค แมทเทอร์” ที่ไอน์สไตน์เคยพูดถึงไว้ก็น่าจะมีอยู่จริง

ทั้งนี้ ไอน์สไตน์ระบุเอาไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปว่า เพื่อให้รูหนอนคงสภาพ “เปิด” อยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องมีสสารประหลาด ซึ่งมีพฤติกรรมในลักษณะต่อต้านแรงโน้มถ่วงปรากฏอยู่ด้วย ไม่เช่นนั้นตัวรูหนอนดังกล่าวจะยุบหายไปในทันทีที่ก่อรูปขึ้น สสารประหลาด ที่ไอน์สไตน์พูดถึงไว้นี้ยังคงเป็นสสารในทางทฤษฎี การค้นพบปากทางรูหนอนจึงอาจบ่งชี้ถึงเรื่องนี้

หรือไม่เช่นนั้นก็จำเป็นจะต้องมีการคิดกันใหม่ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องแรงโน้มถ่วงกันใหม่นั่นเอง

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 24 เมษายน 2561 - 18:19 น. 


นักฟิสิกส์อินเดีย ชี้มีวิธีค้นหา ‘รูหนอน’นักฟิสิกส์อินเดียชี้มีวิธีค้นหา‘รูหนอน’

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

แมงมุม

แมงมุม


เปิดอ่าน 26,061 ครั้ง
ตารางธาตุ

ตารางธาตุ


เปิดอ่าน 60,235 ครั้ง
ฝนดาวตกเจมินิดส์

ฝนดาวตกเจมินิดส์


เปิดอ่าน 34,453 ครั้ง
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์


เปิดอ่าน 15,855 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เกิดทฤษฎีอันใหม่ดาวพุธกับดาวศุกร์ เป็นเศษเดน ของโลก

เกิดทฤษฎีอันใหม่ดาวพุธกับดาวศุกร์ เป็นเศษเดน ของโลก

เปิดอ่าน 15,497 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ สุริยะ 10 ดวงที่คล้ายโลก
ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ สุริยะ 10 ดวงที่คล้ายโลก
เปิดอ่าน 14,643 ☕ คลิกอ่านเลย

การละลาย (Solubility)
การละลาย (Solubility)
เปิดอ่าน 3,100 ☕ คลิกอ่านเลย

สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของสัตว์
สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของสัตว์
เปิดอ่าน 7,783 ☕ คลิกอ่านเลย

การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้ง
การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้ง
เปิดอ่าน 18,299 ☕ คลิกอ่านเลย

สร้างหุ่นจำลอง DNA ด้วยกระดาษ
สร้างหุ่นจำลอง DNA ด้วยกระดาษ
เปิดอ่าน 42,460 ☕ คลิกอ่านเลย

มวลอะตอม : เคมี
มวลอะตอม : เคมี
เปิดอ่าน 20,809 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

QR CODE คืออะไร
QR CODE คืออะไร
เปิดอ่าน 14,686 ครั้ง

หากสงสัยว่าเป็นโรคไขมันในตับให้กินผักชีล้อม
หากสงสัยว่าเป็นโรคไขมันในตับให้กินผักชีล้อม
เปิดอ่าน 16,297 ครั้ง

ฮวงจุ้ยช่วยปรับสมดุลสุขภาพ
ฮวงจุ้ยช่วยปรับสมดุลสุขภาพ
เปิดอ่าน 13,220 ครั้ง

แนวทางการขับเคลื่อนวิชาชีพครูสู่อาเซียน (พ.ศ.2557-2560)
แนวทางการขับเคลื่อนวิชาชีพครูสู่อาเซียน (พ.ศ.2557-2560)
เปิดอ่าน 8,036 ครั้ง

อ้วนลงพุงกินอย่างไรให้เหมาะสม
อ้วนลงพุงกินอย่างไรให้เหมาะสม
เปิดอ่าน 12,461 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ