ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สับ"ระบบสอบคัดเด็ก"ตัวการสร้างเหลื่อมล้ำ


ข่าวการศึกษา 9 มิ.ย. 2560 เวลา 09:54 น. เปิดอ่าน : 9,953 ครั้ง

Advertisement

สับ"ระบบสอบคัดเด็ก"ตัวการสร้างเหลื่อมล้ำ

ฝ่ายวิจัย สสวท.ศึกษาสภาพการศึกษาไทย โดยมองผ่านผลการสอบ PISA ระบุการศึกษาไทยยังห่างไกลความเป็นเลิศ มีจุดอ่อนด้านลบ ต้องแก้ไขปรับปรุงรีบด่วน ชี้ "ระบบ" รับนักเรียนที่ใช้วิธีการสอบคัดเลือกเด็กเก่งเป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทั้งการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ผนวกวัฒนธรรมเคารพผู้ใหญ่ ทำให้เป็นอุปสรรคการคิด วิพากษ์วิจารณ์ อีกทั้งการยกย่องคนมีชื่อเสียงให้มาทำงานด้านการศึกษาทั้งที่ขาดประสบการณ์ ทำให้การแก้ปัญหาไปไม่ถึงไหน รวมทั้งค่านิยมต้องให้ผู้อื่นบอก ส่งผลให้เกิดวงจรอุบาทว์กวดวิชาไม่จบสิ้น

ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัย สสวท.ได้จัดทำเอกสาร “Focus ประเด็นจาก PISA” ซึ่งจะเผยแพร่เป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้ข้อมูลประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประเมินผลของ PISA ขณะนี้ เอกสารฉบับที่ 18 ประจำเดือนมิถุนายน 2560 เรื่อง “PISA กับประเทศไทย : ความจริงที่ต้องยอมรับ” ได้เผยแพร่แล้วที่ http://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/focus/

เนื้อหารายงานแนวโน้มผลการประเมินของนักเรียนไทย เมื่อติดตามดูการขึ้นลงของคะแนนตั้งแต่ PISA 2000 ถึง PISA 2015 ในแต่ละช่วงของการประเมิน (ทุก 3 ปี) โดยเริ่มจากการประเมินที่มีวิชานั้นเป็นหลัก กล่าวคือ การอ่านตั้งแต่ PISA 2000 คณิตศาสตร์ ตั้งแต่ PISA 2003 และวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ PISA 2006 พบว่าการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการประเมินทางด้านวิทยาศาสตร์ในช่วง PISA 2009 และ PISA 2012 คะแนนเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง และกลับลดลงใน PISA 2015 เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนวิทยาศาสตร์ในภาพรวมมีคะแนนเพิ่มขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงไม่มีนัยสำคัญ จึงถือว่าไม่เปลี่ยนแปลง

เมื่อผลการประเมินออกมาไม่เป็นที่พอใจ ระดับนโยบายและสาธารณะก็พุ่งเป้าไปที่ 3 เป้าหลัก คือ ครู นักเรียน และหลักสูตร แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบในระบบการศึกษาไทย คือการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย ตั้งแต่ก่อนการปฏิรูปการศึกษาใน พ.ศ.2542 ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากผลการประเมินใน PISA 2000 ซึ่งเก็บข้อมูลใน พ.ศ.2541 (และรายงานผลใน พ.ศ.2542) หลังจากการปฏิรูปการศึกษาแล้วผลการประเมินใน PISA 2003 และ PISA 2006 ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มหยุดตกต่ำลงใน PISA 2009

หลักฐานจากงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ การศึกษาของธนาคารโลกชิ้นหนึ่ง บ่งชี้ว่า ความอ่อนด้อยของการศึกษาไทยส่วนหนึ่งมาจาก "ระบบ" แม้ว่ามีรายงานว่า การประเมินด้านการอ่านของนักเรียนไทยระหว่าง PISA 2000 กับ PISA 2006 มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากปัจจัยที่มาจากตัวนักเรียนเองส่งผลให้คะแนนเพิ่มขึ้น (6.3 คะแนน) แต่เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านระบบ กลับพบว่าส่งผลให้คะแนนลดลง (22.4 คะแนน) เป็นผลให้คะแนนรวมลดลง (16.1 คะแนน)

รายงานจากฝ่ายวิจัยชี้ว่า ตัวแปรจากระบบที่ส่งผลกระทบทางลบ ได้แก่ การรับนักเรียนเข้าโรงเรียนโดยการคัดเลือกทางวิชาการ ซึ่งการคัดเลือกเช่นนี้ไม่มีปฏิบัติในหลายประเทศที่มีผลการประเมินสูง เช่น ฟินแลนด์ เกาหลีใต้ เป็นต้น การแบ่งแยกกลุ่มนักเรียนตามความสามารถ เช่น การแยกนักเรียนไปอยู่ห้องคิง/ห้องควีน หรือห้องโหล่ ทำให้นักเรียนอ่อนซึ่งมีจำนวนมากกว่านักเรียนเก่ง ขาดประสบการณ์ที่จะได้เห็นการเรียนของเพื่อน ขาดโอกาสจะแบ่งปันทั้งความรู้ ความคิด และวิธีการเรียนรู้จากเพื่อนวัยเดียวกัน

ข้อมูลชี้อีกว่า ระบบโรงเรียนที่ปฏิบัติเช่นนี้มีคะแนนต่ำ นโยบายการแข่งขันสูงในการรับนักเรียน ทำให้นักเรียนเก่งไปรวมกันอยู่ในโรงเรียนดีที่สุด ทั้งทางด้านวิชาการและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของโรงเรียนและของนักเรียน จึงเป็นการแบ่งแยกชนชั้นไปโดยปริยาย และสร้างความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษา ซึ่งเป็นผลลบต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ โรงเรียนที่ดีกว่ายังมีโอกาสได้ทั้งทรัพยากรการเรียนที่มีคุณภาพสูง ครูคุณภาพสูง ในขณะที่โรงเรียนอื่นทั่วไปขาดโอกาส ตัวแปรเหล่านี้ล้วนเป็นผลทางลบต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งสิ้น (OECD, 2016)

ตัวแปรจากสังคมและวัฒนธรรมของไทยเป็นระบบที่เชื่อฟังผู้มีอำนาจ คนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นคนสำคัญหรือมีชื่อเสียง ดังนั้นในวงการศึกษาเมื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็จะใช้ความคิดเห็นจากบุคคลเหล่านั้น ซึ่งถ้าขาดพื้นฐานหรือประสบการณ์ด้านการศึกษา และไม่ได้คำนึงถึงผลการวิจัยที่ผ่านมา ก็นับว่าเป็นเรื่องเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลง

"นอกจากนี้ สาธารณชนไทยยังขาดวิจารณญาณ และมักเชื่อทันทีที่มีคนบอกอะไร โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วัฒนธรรมการขาดความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์นี้ถูกส่งต่อเข้าไปในโรงเรียน นักเรียนไม่ได้ถูกฝึกให้คิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ การเรียนของนักเรียนจึงมักจบท้ายด้วยการกวดวิชา และเน้นการเรียนเพื่อสอบมากกว่าเพื่อความเข้าใจ" รายงานเน้นย้ำ

ด้านงบประมาณด้านการศึกษา จากข้อมูลที่สื่อระบุว่า “ไทยใช้งบต่อหัวกับเด็ก 23.1% ของ GDP” นั้น รายงานวิจัยชี้ว่า ในความเป็นจริงแล้ว ไทยมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเพียง 4.0% ของ GDP เท่านั้น โดยตัวเลขที่อ้างค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (% ของ GDP) นั้น ที่จริงไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าจะมีเงินใช้จ่ายทางการศึกษามากหรือน้อยเพียงใด อาจชี้บอกได้แต่ความตั้งใจของประเทศหนึ่งๆ ที่จะให้กับการ การเทียบ % ของ GDP จึงไม่ได้บอกข้อมูลอะไรมาก แต่ตัวเลขที่จะชี้วัดประสิทธิภาพการศึกษาได้คือ ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาสะสมต่อหัวมากกว่า

เวลาเรียนหรือคุณภาพการใช้เวลาเรียนของไทยเมื่อเทียบกับฮ่องกง ที่ใช้เวลาเรียน 790 ชม./ปี ในขณะที่ไทยใช้เวลาเรียน 1,200 ชม./ปี ถ้าให้ข้อมูลเพียงเท่านี้อาจทำให้ระดับนโยบายตกใจ และรีบลดเวลาเรียนก็เป็นได้ ที่จริงข้อมูล 1,200 ชม.นั้นไม่ใช่สำหรับระดับมัธยมศึกษา นักเรียนไทยมีเวลาเรียนปกติตามตาราง 1,000 ชม./ปี อย่างไรก็ตาม การใช้เวลาเรียนต้องดูประกอบกับจำนวนวิชาที่เรียน การให้ลำดับความสำคัญแก่วิชาด้วย จากการสำรวจของ PISA ฮ่องกง มีเวลาเรียนตามตารางปกติ 697 ชม. แต่ให้เวลาเรียนคณิตศาสตร์ 267.6 นาที/สัปดาห์ ขณะที่ไทยมีเวลาเรียน 1,000 ชม./ปี แต่ให้เวลาเรียนคณิตศาสตร์ 205.9 นาที/สัปดาห์ แสดงว่านักเรียนไทยใช้เวลาด้านอื่นๆ มาก ทำให้เรียนวิชาหลักได้น้อยกว่า และในระบบไทยยังให้นักเรียนทำการบ้านมาก หรือมอบหมายงานให้ทำเกินเวลาที่นักเรียนจะสามารถทำได้ นอกจากนั้น นักเรียนและพ่อแม่ยังนิยมการเรียนพิเศษนอกเวลา นักเรียนจึงไม่มีเวลาจะย่อย ทบทวนสิ่งที่เรียนมาจากโรงเรียน ข้อมูล PISA ชี้ว่า การใช้เวลาทำการบ้านมากและการเรียนพิเศษนอกเวลา ส่งผลกระทบทางลบต่อการเรียนรู้

"จุดยุติ (End Point) ต้องยอมรับความจริงว่าคุณภาพการศึกษาไทยยังห่างไกลความเป็นเลิศ การแก้ไขปรับปรุงจึงเป็นเรื่องรีบด่วน ผลการวิจัยที่ชี้ความอ่อนด้อยน่าจะเป็นจุดเริ่มของการแก้ไขที่ถูกจุดทั้งในด้านการจัดการทางการศึกษา สังคมและวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมการไม่คิด เชิงวิพากษ์วิจารณ์ ความนิยมในการที่ต้องให้ผู้อื่นบอก การกวดวิชาก็เป็นผลพวงจากความนิยมนี้ ตัวแปรเหล่านี้ ผลการวิจัยชี้ชัดว่าส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพการศึกษา" รายงานสรุป.


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยโพสต์ วันที่ 9 มิถุนายน 2560

 


สับ"ระบบสอบคัดเด็ก"ตัวการสร้างเหลื่อมล้ำ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

เปิดอ่าน 10,036 ☕ 11 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,756 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 587 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 466 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,383 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,645 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 470 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีทำกระทง
วิธีทำกระทง
เปิดอ่าน 33,778 ครั้ง

การศึกษาในกะลา
การศึกษาในกะลา
เปิดอ่าน 11,181 ครั้ง

เกมส์
เกมส์
เปิดอ่าน 18,997 ครั้ง

อาหารกับการออกกำลัง
อาหารกับการออกกำลัง
เปิดอ่าน 13,463 ครั้ง

ทำอย่างไรให้ "เด็ก" ปลอดภัย ใน "อินเตอร์เน็ต"
ทำอย่างไรให้ "เด็ก" ปลอดภัย ใน "อินเตอร์เน็ต"
เปิดอ่าน 11,370 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ