ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

อันซีนเมอร์คิวรี "ดาวพุธ" ในมุมที่ชาวโลกไม่เคยเห็น


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 18,698 ครั้ง
อันซีนเมอร์คิวรี "ดาวพุธ" ในมุมที่ชาวโลกไม่เคยเห็น

Advertisement

นาซา - ยานอวกาศไร้มนุษย์เพื่อสำรวจดาวพุธ "เมสเซนเจอร์" ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ที่ออกเดินทางจากโลกไปเมื่อ 4 ปีก่อน ได้เข้าสู่ดาวพุธในตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดคือ 200 ก.ม. เมื่อวันที่ 14 ม.ค.51 และส่งภาพถ่ายของดาวเคราะห์ดวงที่ 1 แห่งระบบสุริยะกลับสู่ชาวโลกให้ได้ชม

       สัมผัสแรกกับด้านที่ไม่เคยเห็นมาก่อนของดาวพุธ ภาพนี้ส่งมาเมื่อวันที่ 15 ม.ค.51 โดยยานเมสเซนเจอร์อยู่ในระยะห่างจากดาวพุธประมาณ 27,300 ก.ม. เผยให้เห็นในด้านของดาวที่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต และลักษณะพิเศษของผิวดาว
       
       ส่วนบนสุดด้านขวาของดาวเห็นแอ่งยักษ์ชื่อ "คาโลริส" (Caloris basin) เส้นผ่านศูนย์กลาง 1,300 ก.ม. แอ่งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเกิดจากอุกกาบาตขนาดใหญ่ชนอย่างรุนแรง จนทำให้ผิวดาวด้านตรงข้ามแอ่งเกิดปูดขึ้นมาเป็นหน้าผา
       
       ทว่าในด้านซ้ายของภาพซึ่งเป็นแนวด้านตะวันตกของดาวพุธยังไม่มียานอวกาศลำใดได้บันทึกและถ่ายทอดมายังชาวโลก เชื่อกันว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะมีแอ่งหลุมอีกเป็นจำนวนมาก อันเกิดจากการปะทะของดาวหางหรือไม่ก็อุกกาบาตต่างๆ
       
       อย่างไรก็ดีคาโรลิสนอกจากจะเป็นหนึ่งแอ่งที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะแล้ว ยังอาจจะเป็นหนึ่งในแอ่งที่อายุน้อยที่สุดในระบบอีกด้วยก็ได้
       



       ภาพแรกเมื่อใกล้ดาวพุธที่สุดภาพนี้ถูกบันทึก 9 นาทีให้หลังเมื่อเมสเซนเจอร์อยู่ในตำแหน่งใกล้ดาวพุธที่สุดนับจากยานมาริเนอร์ 10 (Mariner 10) ที่นาซาส่งมาสำรวจเมื่อ 2517-2518 โดยกล้องมุมกว้างของยาน (Wide Angle Camera : WAC) ด้วยระบบการบันทึกภาพดาวพุธแบบคู่ (Mercury Dual Imaging System : MDIS)
       
       ที่กล้องของเมสเซนเจอร์เชื่อมต่อกับอุปกรณ์กรองแสง (ฟิลเตอร์) ถึง 11 ชนิด และภาพที่เห็นนี้ใช้ฟิลเตอร์หมายเลข 7 ในการบันทึก เพราะความอ่อนไหวต่อแสงสีแดง อันเป็นแถบแสงสุดท้ายในแถบสเปกตรัมของแสงที่มองเห็นด้วยตา (750 นาโนเมตร) ซึ่งในมุมเดียวกันนี้ยังได้บันทึกภาพในฟิลเตอร์ชนิดต่างๆ อีก 10 ตัวที่เหลือไว้ด้วย เพราะถือเป็นตำแหน่งที่เข้าใกล้ดาวพุธมากที่สุดของเมสเซนเจอร์
       
       ภาพนี้เผยให้เห็นผิวของดาวพุธเมื่อมองจากมุมต่ำ โดยในทางขวาของภาพเป็นภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยหลุม ซึ่งภาพที่บันทึกบริเวณนี้ในมุมต่างๆ และที่ย่านแสงสีต่างกันไป จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความรู้จักกับพรมแดนที่เต็มไปด้วยหลุม ในด้านที่ไม่เคยเห็นมาก่อนของดาวพุธได้มากขึ้น
       



       ภาพบันทึกที่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรของดาวพุธ ที่ระยะห่างจากดาว 5,700 ก.ม. ในด้านที่ไม่เคยมีการบันทึกภาพมาก่อน ซูมจนสามารถเห็นหลุมขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ก.ม.
       
       ภาพนี้กินความกว้าง 160 ก.ม. รายละเอียดระดับสูงที่ได้จากภาพนี้ เชื่อว่ามากพอจะทำให้นักภูมิศาสตร์ดาวเคราะห์ศึกษาลักษณะการก่อตัวของผิวดาวพุธย้อนหลังไปถึง 4 พันล้านปีก่อน
       
       แนวหน้าผาสูงและยาวบริเวณกลางภาพกินพื้นที่ไปจนถึงมุมล่างขวา เป็นเขตที่โดนอุกกาบาตขนาดใหญ่กระทบ ส่วนหลุมเล็กๆ 2 แอ่งด้านบน น่าจะเกิดจากสะเก็ดที่กระแทกจนเกิดหลุมใหญ่
       



       ดาวพุธในมุมครึ่งเสี้ยวมุมเดียวกันกับที่มาริเนอร์ 10 เคยบันทึกไว้เมื่อ 30 กว่าปีก่อน แต่นั่นดวงอาทิตย์กำลังตั้งฉากกับดาวพุธ ส่วนภาพที่เมสเซนเจอร์บันทึกมานี้เห็นช่วงเทอร์มิเนเตอร์ (terminator) เส้นแบ่งเขตความมืดและความสว่างของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอย่างชัดเจน
       
       ภาพนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาสัดส่วนของดาวพุธได้จากแสงเงาที่ตกกระทบ
       



       อีกมุมที่มองดาวพุธอย่างใกล้ชิด เห็นพื้นผิวที่มีลักษณะหลากหลาย ทั้งที่ราบเรียบในส่วนกลางภาพ และหลุมที่ถูกกระแทกจำนวนมาก รวมทั้งหลุมขนาดใหญ่ที่มุมขวาล่าง ที่เต็มไปด้วยเศษหินขรุขระมากมายที่ขอบปากหลุม เชื่อว่าน่าจะมาจากการพ่นวัตถุออกมาของหลุมยักษ์



       หลุมยักษ์ขนาดใหญ่ที่ใจบริเวณเส้นศูนย์สูตรดาวพุธ เชื่อว่าน่าจะเป็นหลุมที่เกิดใหม่ เพราะพื้นหลุมที่ราบเรียบ และแนวขอบที่ก่อตัวสูงขึ้นมานั้น เป็นร่องรอยของวิวัฒนาการของชั้นหินอายุน้อย
       
       นักวิทยาศาสตร์เห็นแล้วเชื่อว่าหลุมดังกล่าวน่าจะเกิดจากการกระแทกขนาดเบาหลายๆ ครั้ง จนลึกลงไปในพื้นผิวของดาว เกิดหลุมเป็นแนวยาว และมีมวลพวยพุ่งออกมา
       



       หลุมยักษ์ (ด้านขวาของภาพ) ที่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของดาวพุธกลายเป็นจุดสนใจ เมื่อเมสเซนเจอร์ก็ได้บันทึกภาพแบบความละเอียดสูง เผยให้เห็นหลุมที่เรืองแสงสีขาวปลดปล่อยวัตถุบางอย่างออกมาจากใจกลางหลุม
       



       ภาพอีกชิ้นได้ที่ฉายให้เห็นส่วนของดาวพุธที่ได้รับแสงอาทิตย์ เห็นภูมิประเทศของม้าเร็วแห่งระบบสุริยะได้เด่นชัด เมื่อสังเกตภาพนี้ด้วยตาเปล่า
       
       หลุมที่มีวงแหวนล้อม 2 ชั้นด้านบนขวาของภาพ มีลักษณะราบเรียบที่ใจกลาง น่าจะเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน
       
       ส่วนหลุมเล็กๆ ทางด้านบนซ้ายของภาพ ที่มีแนวหน้าผาพาดผ่าแสดงให้เห็นว่ารอยเลื่อนบริเวณนั้นเคยแอคทีฟก่อนที่หลุมจะก่อตัวขึ้น
       
       (ภาพทั้งหมดจาก NASA / Johns Hopkins University Applied PhysicsLaboratory/Carnegie Institution of Washington)

ภาพจำลองเมสเซนเจอร์ยานสำรวจดาวพุธ ที่ตอนนี้กำลังถึงที่หมายปลายทางและส่งภาพด้านที่ยานมาริเนอร์ไม่เคยบันทึกมาก่อนกลับสู่โลก
       ** ชื่อยานผู้ส่งสาร "เมสเซนเจอร์" ย่อมาจากชื่อภาษาอังกฤษว่า MErcury Surface, Space ENvironment, GEochemistry and Ranging : MESSENGER. เพื่อสำรวจดาวพุธ โดยมีคำตอบสำคัญให้ค้นหาคือ เหตุใดดาวพุธจึงมีความหนาแน่นมาก, ภูมิหลังทางธรณีวิทยาของดาวพุธ, โครงสร้างของแกนดาวพุธ, สนามแม่เหล็กและขั้วของดาวมีลักษณะอย่างไร รวมถึงสารระเหยต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อดาวดวงนี้
       
       เมสเซนเจอร์มีช่วงเวลาสำคัญของภารกิจดังนี้
       
       3 ส.ค.2547 - เมสเซนเจอร์เดินทางออกจากโลก
       ส.ค. 2548   - โคจรผ่านโลก
       ต.ค.2549    - โคตรผ่านดาวศุกร์
       มิ.ย.2550    - โคจรผ่านดาวศุกร์ (อีกครั้ง)
       ม.ค.2551    - โคจรผ่านดาวพุธ
       ต.ค.2551    - โคจรผ่านดาวพุธ (อีกรอบ)
       ก.ย.2552    - โคจรผ่านดาวพุธ (เป็นครั้งที่ 3)
       มี.ค.2554    - ปีแห่งการส่งข้อมูลดาวพุธสู่โลก
       
       



ภาพดาวพุธสีเหลืองนวลซ้ายมือที่บันทึกโดยยานมาริเนอร์ 10 เมื่อ 33 ปีก่อน เทียบกับโลกของเราด้านขวามือ ทั้งขนาดและสีสันที่มีความแตกต่างกันสูง
       

       
       ข้อมูลดาวพุธโดยสังเขป
       

       ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 1 แห่งระบบสุริยะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยมีระยะห่างเพียงแค่ 57 ล้าน ก.ม. (เทียบกับโลกที่ห่างดวงอาทิตย์ 149 ล้าน ก.ม.) ดาวพุธมีวงโคจรเป็นวงรีมาก มีมวล 0.05 เท่าของโลก มีขนาดเกือบครึ่งหนึ่งของโลก ดาวพุธมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5,760 ก.ม. ขณะที่โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,640 ก.ม.
       
       หนึ่งวันของดาวพุธเท่ากับ 58 วันของโลก และหนึ่งปีของดาวพุธเท่ากับ 87.9 วันของโลก ที่สั้นกว่าขนาดนั้นเพราะดาวเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 47.9 ก.ม.ต่อวินาที การโคจรที่รอบดวงอาทิตย์ที่เร็วที่สุดนี้ ทำให้ดาวพุธได้รับฉายาว่า "ดาวแห่งการสื่อสาร" เพราะความว่องไว หรืออาจจะเป็น "ม้าเร็วแห่งระบบสุริยะ" ก็ว่าได้
       
       ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ดาวพุธหันหน้าด้านเดียวเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ ต่อมาภายหลังจึงได้รู้ว่าเมื่อดาวพุธหมุนรอบตัวเองครบ 3 รอบก็จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 2 รอบพอดี
       
       ดาวพุธมีชั้นบรรยากาศที่เบาบาง ที่ผิวดาวพุธจึงจึงถูกทำร้ายด้วยอุกกาบาตมากมายเช่นเดียวกับดวงจันทร์ รวมทั้งทำให้อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนจึงแตกต่างกันมาก ต่ำสุด -173 องศาขณะที่สูงสุด 427 องศาจึงเปรียบได้ดั่ง "เตาไฟแช่แข็ง"

 

 

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ 22 มกราคม 2551 17:27 น.


อันซีนเมอร์คิวรี "ดาวพุธ" ในมุมที่ชาวโลกไม่เคยเห็นอันซีนเมอร์คิวรีดาวพุธในมุมที่ชาวโลกไม่เคยเห็น

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ฝนช่อมะม่วง

ฝนช่อมะม่วง


เปิดอ่าน 24,883 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความแตกต่างระหว่าง แก๊ส LPG และ ก๊าซ NGV

ความแตกต่างระหว่าง แก๊ส LPG และ ก๊าซ NGV

เปิดอ่าน 22,516 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สรภัญตารางธาตุ
สรภัญตารางธาตุ
เปิดอ่าน 24,805 ☕ คลิกอ่านเลย

ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เปิดอ่าน 58,261 ☕ คลิกอ่านเลย

มวลอะตอม : เคมี
มวลอะตอม : เคมี
เปิดอ่าน 20,810 ☕ คลิกอ่านเลย

คู่ชิดวิทย์สร้างสรรค์ คู่ขวัญ  "สงกรานต์… ดินสอพอง"
คู่ชิดวิทย์สร้างสรรค์ คู่ขวัญ "สงกรานต์… ดินสอพอง"
เปิดอ่าน 289 ☕ คลิกอ่านเลย

"แกรนด์ แคนยอน" ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด
"แกรนด์ แคนยอน" ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด
เปิดอ่าน 22,641 ☕ คลิกอ่านเลย

รู้จัก "ไครโยนิก" ปฏิบัติการแห่งความหวัง รอเทคโนโลยีโลกอนาคตชุบชีวิตหลังความตาย
รู้จัก "ไครโยนิก" ปฏิบัติการแห่งความหวัง รอเทคโนโลยีโลกอนาคตชุบชีวิตหลังความตาย
เปิดอ่าน 9,224 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ลว 2 ม.ค. 51)
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ลว 2 ม.ค. 51)
เปิดอ่าน 58,472 ครั้ง

กรมสุขภาพจิตเตือน! คนไทยระวังเป็นโรค “ขาดมือถือไม่ได้”
กรมสุขภาพจิตเตือน! คนไทยระวังเป็นโรค “ขาดมือถือไม่ได้”
เปิดอ่าน 12,124 ครั้ง

เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือเตรียมสอบครูผู้ช่วย
เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือเตรียมสอบครูผู้ช่วย
เปิดอ่าน 18,568 ครั้ง

"แก่นตะวัน" สมุนไพรที่คนไทยควรรู้จักพืชเพื่อสุขภาพ-เป็นพลังงานทดแทน
"แก่นตะวัน" สมุนไพรที่คนไทยควรรู้จักพืชเพื่อสุขภาพ-เป็นพลังงานทดแทน
เปิดอ่าน 17,248 ครั้ง

เตือนผู้ป่วยเบาหวานหมั่นตรวจตา ลดความเสี่ยงตาบอด
เตือนผู้ป่วยเบาหวานหมั่นตรวจตา ลดความเสี่ยงตาบอด
เปิดอ่าน 10,651 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ