ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แนวโน้มนโยบายด้านการศึกษาของโดนัลด์ ทรัมพ์


บทความการศึกษา 13 มี.ค. 2560 เวลา 06:51 น. เปิดอ่าน : 30,077 ครั้ง

Advertisement

แนวโน้มนโยบายด้านการศึกษาของโดนัลด์ ทรัมพ์

จากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่ผ่านมา โดนัลด์ ทรัมพ์ (Donald Trump) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเพื่อเป็นประธานาธิบดีคนที่ ๔๕ ของสหรัฐอเมริกา และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของแรงกระเพื่อมของวิถีประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรง หลายคนบอกว่า “นั่นคือเรื่องของสหรัฐอเมริกาแล้วเราจะสนใจทำไม” เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามของประเทศมหาอำนาจ แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบทั่วโลก เราในฐานะนักวิชาการศึกษาก็ควรจะเรียนรู้ความคิดและทิศทางของการศึกษาในมุมมองของประธานาธิบดีคนนี้

ลิซ่า นีลเซน (Lisa Nielsen) บล็อกเกอร์ (Blogger) ชาวอเมริกันได้บันทึกบทความในบล็อก (blog) ไว้อย่างน่าสนใจ โดยลิซ่าได้สังเคราะห์แนวคิดด้านการศึกษาของทรัมพ์ที่เขียนไว้ในหนังสือ ๓ เล่ม คือ The America We Deserve, Think Like a Champion และ Great Again: How to Fix Our Crippled America และได้ผลการสังเคราะห์ออกมาเป็น ๓ ประเด็นสำคัญที่อาจจะเป็นนโยบายด้านการศึกษาของสหรัฐอเมริกาในอนาคตเมื่อทรัมพ์ขึ้นรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ดังนี้

๑. การลดหลักสูตรแกนกลาง เพิ่มแผนความสำเร็จรายบุคคล (Less Common Core – More Personal/Student Success Plans)

๒. การลดอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มการกระจายอำนาจสู่หน่วยงานท้องถิ่น (Less DOE – More Distribution of Service to Local & Other Executive Branch Department)

๓. การลดการทดสอบมาตรฐานกลาง เพิ่มใบรับรอง ประกาศนียบัตรและแฟ้มผลงาน (Less Standardized Testing – More Micro-credential, Certifications, and Portfolio)

 

การลดหลักสูตรแกนกลาง เพิ่มแผนความสำเร็จรายบุคคล (Less Common Core – More Personal/Student Success Plans)

“การศึกษาจะต้องเป็นการดำเนินการโดยท้องถิ่น นโยบายการใช้หลักสูตรแกนกลาง นโยบายไม่มีเด็กคนไหนถูกทอดทิ้ง และการแข่งขันสู่ที่หนึ่งนั้น ล้วนแล้วแต่ทำให้ผู้ปกครองและคณะกรรมการโรงเรียนระดับท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ นโยบายเหล่านี้เป็นการปล่อยให้กระทรวงศึกษาธิการปลูกฝังความเชื่อมากกว่าให้การศึกษากับเด็กของเรา ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่สอดคล้องกับรูปแบบการกำกับดูแลของอเมริกา” (Trump, 2016)

จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ทรัมพ์ไม่เชื่อเรื่องการศึกษาแบบตัดเสื้อโหล (one-size-fits all) เชื่อว่านักเรียนแต่ละคนไม่ควรที่จะได้รับการศึกษาในรูปแบบเดียวกันหมดแต่สาระการเรียนรู้ควรจะสอดคล้องกับท้องถิ่นและอาชีพที่ผู้เรียนต้องการจะเป็น ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจมากว่าทิศทางของนโยบายการศึกษาของรัฐบาลทรัมพ์น่าจะเน้นการเรียนรู้แบบการเรียนรู้รายบุคคล (Personalised Learning) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในหลายประเทศ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เฉพาะนักเรียนแต่ละคน มากกว่าจะต้องเรียนรู้ในหลักสูตรหรือผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบเดียวกันหมด นักเรียนแต่ละคนจะมีแผนความสำเร็จส่วนบุคคล (Personal Success Plans) ซึ่งแผนความสำเร็จนี้จะส่งเสริมและกระตุ้นความชอบ พรสวรรค์ ความสนใจและความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้

การลดอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มการกระจายอำนาจสู่หน่วยงานท้องถิ่น (Less DOE – More Distribution of Service to Local & Other Executive Branch Department)

ทรัมพ์กล่าวไว้ชัดเจนว่า เขาต้องการที่จะลดบทบาทหรือทอนอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะเห็นว่า การศึกษาจะต้องมาจากความต้องการของท้องถิ่นและการศึกษาจะต้องเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนสู่การทำงาน นั่นหมายความว่า ทรัมพ์ตั้งใจที่จะกระจายอำนาจการบริการด้านการศึกษาของภาครัฐลงไปให้กับท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการการให้บริการ และกระจายความรับผิดชอบอื่นๆ ที่เกินพันธกิจและหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการให้กับกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงาน เป็นต้น ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วก็เป็นแนวโน้มของโลกอีกเช่นกันที่ภาครัฐจะลดอำนาจลงและกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมตลอดจนการพัฒนานโยบายและการปฏิบัติให้ตรงกับความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง เมื่อพิจารณาประเด็นนี้กับบริบทของประเทศไทยแล้วจะพบว่าสอดคล้องกับ (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔ ที่ได้กำหนดชัดเจนในยุทธศาสตร์ที่ ๖ การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วน โดยรัฐจะต้องปรับบทบาทจากผู้จัดการศึกษาเอง (Provider) เป็นเพียงผู้กำกับการจัดการศึกษา (Regulator) และจะต้องส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนเข้ามาจัดหรือร่วมจัดการศึกษาให้มากขึ้น

การลดการทดสอบมาตรฐานกลาง เพิ่มใบรับรอง ประกาศนียบัตรและแฟ้มผลงาน (Less Standardized Testing – More Micro-credential, Certifications, and Portfolio)

ทรัมพ์ได้แสดงทรรศนะไว้ชัดเจนในหนังสือ Great Again ว่า จะต้องหยุดการวัดผลสมรรถนะด้วยการทดสอบมาตรฐานที่ไร้หัวใจ เขาต้องการการศึกษาที่สามารถเพิ่มโอกาสด้านอาชีพให้กับนักเรียน โดยจะเพิ่มการวัดและประเมินผลผ่านเครื่องมือที่หลากหลายเช่น ใบรับรอง ประกาศนียบัตรและแฟ้มผลงาน เป็นต้น

การใช้ระบบใบรับรองและประกาศนียบัตรจะเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีทักษะในระดับที่เหมาะสมของแต่ละอาชีพ โดยสมาคมนานาชาติสำหรับการศึกษาเทคโนโลยี (International Society for Technology Education: ISTE) ได้แนะนำการใช้ระบบสะสมเครื่องหมาย (Badging system) ที่สร้างขึ้นโดย Mozilla’s Open Badge Infrastructure) เครื่องหมายต่างๆ (Badge) จะเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผู้เรียนได้มีการผ่านการฝึกอบรม มีความรู้และเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละทักษะ เมื่อทำการเลือกเครื่องหมายเหล่านี้แล้วจะเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เป็นหลักฐานรับรองการได้มาซึ่งเครื่องหมายนั้นๆ นอกจากนี้ การใช้แฟ้มผลงานของทรัมพ์จะอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Portfolios) ที่สามารถเชื่อมโยงกับวิทยาลัยและความพร้อมสำหรับการทำงาน โดย ดร.เฮเลน บาร์เรตต์ (Helen Barrett) ได้นำเสนอไว้ว่า e-Portfolios จะประกอบด้วย ๓ ระดับ คือ ระดับที่ ๑ การเก็บข้อมูล (Storage) ระดับที่ ๒ พื้นที่ทำงาน (Workspace) และระดับที่ ๓ การแสดงผลงาน (Showcase) ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกมากขึ้นผ่านการสนับสนุนให้นักเรียนสร้างชุดความเป็นเลิศรายบุคคล (collection of personal bests)

จาก ๓ ประเด็นข้างต้นจะเห็นได้ว่า แนวโน้มที่เด่นชัดของนโยบายการศึกษาของทรัมพ์คือ การศึกษารายบุคคลไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษา การเรียนรู้ที่เฉพาะและเหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้ว การวัดและประเมินผลก็จำเป็นที่จะต้องเป็นรายบุคคลเช่นเดียวกัน จึงจะมีความสอดคล้องกันทั้งระบบ (input-process-output) อีกทั้งยังเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการจัดการข้อมูลอย่างบูรณาการไม่แยกส่วน ซึ่งจะส่งเสริมการนำข้อมูล (Big Data) ด้านการศึกษาไปวิเคราะห์ทิศทางความต้องการและการใช้ประโยชน์กำลังคนได้ นอกจากนี้ ยังมีความชัดเจนต่อแนวโน้มที่สำคัญของการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนให้เข้ามาช่วยลงทุนด้านการศึกษาอีกด้วย อย่างไรก็ดี ยังไม่แน่ชัดว่า เมื่อทรัมพ์รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในต้นปี ๒๕๖๐ การกำหนดนโยบายด้านการศึกษาจะเป็นดังที่วิเคราะห์ไว้หรือไม่ แต่การได้เห็นทรรศนะและแนวโน้มด้านนโยบายการศึกษาของทรัมพ์ก็เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาวางแผนการศึกษาของไทยได้ไม่มากก็น้อย

รายการอ้างอิง
Nielsen, L. (15 November 2016). 3 Areas A #TrumpEducation Admin Cld Focus On More. Retrieved from http://www.techlearning.com/blogentry/11459 Accessed on 20 November 2016.
Trump, D.J. (2016). Great Again: How to Fix Our Crippled America. Threshold Editions
 

โดย ดร.จอมหทยาสนิท พงษ์เสฐียร
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา

 

ขอบคุณที่มาจาก สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา


แนวโน้มนโยบายด้านการศึกษาของโดนัลด์ ทรัมพ์แนวโน้มนโยบายด้านการศึกษาของโดนัลด์ทรัมพ์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง


เปิดอ่าน 9,996 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด

เปิดอ่าน 9,390 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)
ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)
เปิดอ่าน 7,253 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครูแนวใหม่หวังฉุดการศึกษาไทยให้สูงขึ้น?
หลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครูแนวใหม่หวังฉุดการศึกษาไทยให้สูงขึ้น?
เปิดอ่าน 19,072 ☕ คลิกอ่านเลย

ความคิดสร้างสรรค์ (1)
ความคิดสร้างสรรค์ (1)
เปิดอ่าน 8,373 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาแล้ว ปฏิรูปการลูกเสือด้วยครับ โดย จารึก อะยะวงศ์
ปฏิรูปการศึกษาแล้ว ปฏิรูปการลูกเสือด้วยครับ โดย จารึก อะยะวงศ์
เปิดอ่าน 24,669 ☕ คลิกอ่านเลย

ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
เปิดอ่าน 48,740 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับเรียนแล้วรวย
เคล็ดลับเรียนแล้วรวย
เปิดอ่าน 7,589 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีปลูกผักอีตู่ (แมงลัก) ในกระถาง
วิธีปลูกผักอีตู่ (แมงลัก) ในกระถาง
เปิดอ่าน 1,810 ครั้ง

"ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน" กับความเชื่อทางสังคม
"ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน" กับความเชื่อทางสังคม
เปิดอ่าน 21,947 ครั้ง

หมึกปากกา ทำมาจากอะไร
หมึกปากกา ทำมาจากอะไร
เปิดอ่าน 55,905 ครั้ง

เผยแพร่ตัวอย่าง SAR สถานศึกษา โรงเรียนหนองอ้อวิทยาคม
เผยแพร่ตัวอย่าง SAR สถานศึกษา โรงเรียนหนองอ้อวิทยาคม
เปิดอ่าน 55,635 ครั้ง

อ้วนลงพุงกินอย่างไรให้เหมาะสม
อ้วนลงพุงกินอย่างไรให้เหมาะสม
เปิดอ่าน 12,474 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ