ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เกาะติด "ข้อดี-ข้อด้อย" มหาวิทยาลัย "เปิด-ปิด" ขานรับประชาคมอาเซียน : ยึดประโยชน์เยาวชนไทย


ข่าวการศึกษา 14 มิ.ย. 2559 เวลา 09:49 น. เปิดอ่าน : 7,512 ครั้ง

Advertisement

เกาะติด "ข้อดี-ข้อด้อย" มหาวิทยาลัย "เปิด-ปิด" ขานรับประชาคมอาเซียน : ยึดประโยชน์เยาวชนไทย

ถึงวันนี้ ผ่านมากว่า 5 เดือนแล้วกับการที่ 10 ประเทศอาเซียนได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมเดียวกันตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้

แน่นอนว่าก่อนที่จะถึงเวลานี้ทุกภาคส่วนในประเทศไทย ต่างพยายามเตรียมพร้อมทั้งองค์กร คน ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาทุกระดับ ซึ่งตื่นตัวกับการเตรียมเด็ก เยาวชนไทย โดยปรับหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยมีความพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมไปถึงระดับสากลได้อย่างเต็มภาคภูมิ

และหนึ่งในองค์กรที่มีการปรับตัวอย่างเห็นได้ชัดที่สุดคือ มหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการทยอยปรับเปลี่ยนการเปิด-ปิดภาคเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นมาแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิด-ปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย มีมติให้มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก เลื่อนการเปิด-ปิดภาคเรียนจากเดิมที่เปิดภาคเรียนที่ 1 เดือน มิ.ย. - ต.ค. และภาคเรียนที่ 2 เดือน พ.ย.-มี.ค. มาเป็นภาคเรียนที่ 1 เดือน ก.ย.-ธ.ค. และภาคเรียนที่ 2 เดือน ม.ค.-พ.ค. ซึ่งในปีการศึกษา 2559 ก็เท่ากับดำเนินการมาเป็นปีที่ 3 แล้ว แต่ขณะเดียวกันตลอดระยะเวลาในการดำเนินการที่ผ่านมาสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือการมีเสียงเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยกลับมาเปิด-ปิดภาคเรียนในช่วงระยะเวลาเดิม เพราะประสบปัญหาหลายประการ อาทิ

ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย หรือ ปอมท. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นอาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนการสอน และนักศึกษา จาก 27 มหาวิทยาลัย และได้เสนอ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการและเสนอฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง โดยข้อสรุปจากการสำรวจความคิดเห็นพบว่า คณาจารย์ เห็นด้วยกับการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน 26.8% ไม่เห็นด้วย 73.2% สายสนับสนุนการสอน เห็นด้วย 37.0% ไม่เห็นด้วย 63.0% นักศึกษา เห็นด้วย 39.1% ไม่เห็นด้วย 60.9%

สำหรับเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน โดยสรุปคือ สภาพภูมิอากาศประเทศไทยไม่เหมาะสมที่จะมีการเรียนการสอนในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ซึ่งร้อนจัด ทำให้ผู้เรียนไม่มีสมาธิ และต้องใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้นสิ่งที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับดินฟ้าอากาศ เช่น เกษตรศาสตร์ ก็ขาด แคลนน้ำใช้ในการเพาะปลูกในวิชาปฏิบัติ หรือสาขาวนศาสตร์ ต้องฝึกงานในช่วงฤดูฝนซึ่งไม่ปลอดภัย ทั้งบางช่วงเวลาก็มีวันหยุดยาวบ่อยครั้ง เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ทำให้การเรียนไม่ต่อเนื่อง ขณะที่รอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา พบว่า นักเรียนจบ ม.6 จนถึงช่วงมหาวิทยาลัยเปิดภาคเรียน ทิ้งระยะเวลานานกว่า 5-6 เดือน ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน เมื่อมองถึงการเข้าสู่โลกของการทำงาน จะพบว่า การรับสมัครเข้ารับราชการและรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่จะเปิดรับในช่วงเดือน เม.ย. เป็นปกติ ซึ่งการเปิด-ปิดแบบใหม่นี้ นักศึกษายังไม่จบการศึกษา จึงทำให้เสียโอกาสในการสมัครงาน

ขณะเดียวกัน เมื่อหันมาดูเหตุผลของนิสิตนักศึกษาซึ่งรวมตัวกันในนาม ที่ ประชุมสภานิสิตนักศึกษาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้ยื่นหนังสือถึง ศ.นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. เพื่อให้กลับมาเปิด-ปิดภาคเรียนตามเดิมเช่นเดียวกัน โดยระบุเหตุผลว่า การฝึกสอนของบางสาขาไม่สอดคล้องกับปฏิทินการศึกษาใหม่ ช่วงเวลาที่นิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ต้องไปฝึกปฏิบัติการสอนในโรงเรียน เป็นช่วงปิดภาคเรียนของโรงเรียน ระบบงบประมาณกิจกรรมนิสิตนักศึกษาไม่สอดคล้องกับปฏิทินการศึกษาใหม่ บัณฑิตสำเร็จการศึกษาไม่ทันการสอบเข้ารับราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมถึงไม่สอดคล้องกับการตรวจเลือกทหารกองเกิน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยในประเทศไทย เปิด-ปิดภาคเรียนไม่เป็นเอกภาพ บางส่วนยังคงเปิด-ปิดภาคเรียนตามเดิม ไม่ได้เลื่อนเปิด-ปิดภาค เรียนตามกลุ่มประเทศอาเซียนแต่อย่างใด

ที่สำคัญคือล่าสุด มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งประกาศชัดเจนที่จะกลับมาเปิด-ปิดภาคเรียนตามเดิม ตั้งแต่ปี การศึกษา 2560 เป็นต้นไปอาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นต้น


ศ.นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธาน ทปอ. กล่าวว่า “สมาชิก ทปอ.มีอิสระในการดำเนินการ แต่ในภาพรวมมหาวิทยาลัยควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ทปอ. ให้มอบให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ทำวิจัยเก็บข้อมูลผลกระทบของการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน แล้ว อยากให้ทุกฝ่ายใจเย็นๆ การตัดสินใจของ ทปอ.ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและงานวิจัย”

ด้าน รศ.ดร.ชัยวุฒิ ฉัตรอุทัย ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะประธาน ปอมท. กล่าวว่า “ประธานสภาอาจารย์ที่เป็นสมาชิกใน ปอมท. จะยื่นผลสำรวจความคิดเห็นเรื่องการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียนซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยของตนเอง และ ปอมท.ก็ยื่นถึง รมว.ศึกษาธิการด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกัน รมว.ศึกษาธิการ จะรอผลการสำรวจจาก ทปอ.มาเปรียบเทียบกัน โดยส่วนตัวผมคิดว่าเรามีแนวโน้มที่จะกลับมาเปิด-ปิดภาคเรียนตามเดิม”

“ทีมการศึกษา” เห็นด้วยที่ ทปอ.ไม่เพิกเฉยต่อเสียงคัดค้านของสังคมที่เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ และทำการวิจัยเพื่อนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาสนับสนุนมติของตนเอง หากจะเดินหน้าต่อไปก็คงต้องเชิญชวนชาวมหาวิทยาลัยอื่นๆ ให้เปิด-ปิด ภาคเรียนพร้อมๆ กัน ขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็คงต้องปรับตัวเพื่อให้เป็นเอกภาพ และคำนึงถึงอนาคตเพราะประเทศไทยคงอยู่อย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพังไม่ได้ในโลกปัจจุบัน

เพราะการเปิดปิดที่ลักลั่นกัน ผลเสียย่อมเกิดกับทุกฝ่ายในมหาวิทยาลัยทั้งฝ่ายบริหารคณาจารย์ นิสิตนักศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมไทย

แต่สิ่งสำคัญที่สุดเหนืออื่นใดในการตอบโจทย์ข้อนี้คือต้องมองผลประโยชน์ของเยาวชนไทยเป็นตัวตั้งสูงสุด...

 

โดย ทีมการศึกษา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 14 มิ.ย. 2559 เวลา 05:01 น.


เกาะติด "ข้อดี-ข้อด้อย" มหาวิทยาลัย "เปิด-ปิด" ขานรับประชาคมอาเซียน : ยึดประโยชน์เยาวชนไทยเกาะติดข้อดี-ข้อด้อยมหาวิทยาลัยเปิด-ปิดขานรับประชาคมอาเซียน:ยึดประโยชน์เยาวชนไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

เปิดอ่าน 8,564 ☕ 11 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,198 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 563 ☕ 15 เม.ย. 2567

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)
เปิดอ่าน 8,564 ☕ 11 เม.ย. 2567

ครม.อนุมัติแล้วเงินจ้างนักการภารโรง 13,751 อัตรา ระหว่าง พ.ค.-ก.ย.67 ประเมินผลทุกสิ้นเดือนไม่ผ่านเปลี่ยนคน
ครม.อนุมัติแล้วเงินจ้างนักการภารโรง 13,751 อัตรา ระหว่าง พ.ค.-ก.ย.67 ประเมินผลทุกสิ้นเดือนไม่ผ่านเปลี่ยนคน
เปิดอ่าน 3,030 ☕ 10 เม.ย. 2567

เสมา 1 ห่วงอันตรายจากความร้อน เตือนประชาชนดูแลสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก อาจเกิดอาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
เสมา 1 ห่วงอันตรายจากความร้อน เตือนประชาชนดูแลสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก อาจเกิดอาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
เปิดอ่าน 881 ☕ 10 เม.ย. 2567

ครม.อนุมัติจัดสรรงบฯ ให้โรงเรียนจ้างนักการภารโรงทันก่อนเปิดภาคเรียน ในเดือน พ.ค.2567
ครม.อนุมัติจัดสรรงบฯ ให้โรงเรียนจ้างนักการภารโรงทันก่อนเปิดภาคเรียน ในเดือน พ.ค.2567
เปิดอ่าน 2,071 ☕ 9 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีแก้อาการอ่อนเพลีย หลังเดินทาง
วิธีแก้อาการอ่อนเพลีย หลังเดินทาง
เปิดอ่าน 14,812 ครั้ง

คนคือความท้าทาย
คนคือความท้าทาย
เปิดอ่าน 7,223 ครั้ง

เอกสารหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.เขต
เอกสารหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.เขต
เปิดอ่าน 7,828 ครั้ง

ไทยมีอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ต สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก
ไทยมีอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ต สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก
เปิดอ่าน 6,768 ครั้ง

คีเลชั่น (Chelation) คืออะไร
คีเลชั่น (Chelation) คืออะไร
เปิดอ่าน 15,245 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ