ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ยกระดับร.ร.ผ่านมุมมองธนาคารโลก


ข่าวการศึกษา 24 พ.ค. 2559 เวลา 12:34 น. เปิดอ่าน : 5,079 ครั้ง
ยกระดับร.ร.ผ่านมุมมองธนาคารโลก

Advertisement

พลิกโฉมการพัฒนาคุณภาพ ภายในสถานศึกษา : บทเรียนจากต่างแดน และแบบจำลองการยกระดับสถานศึกษาไทย จากมุมมองของธนาคารโลก

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา” โดยมีวิทยากรทั้งในประเทศและต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยมีผู้อำนวยการและครูจากโรงเรียนขนาดกลางในเขตชนบทกว่า 100 คนเข้าร่วมจากทั่วประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้(28-29เม.ย.59)ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ กรุงเทพฯ

เริ่มด้วย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ให้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาว่า “การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ถูกต้อง ร้อยละ 90 เป็นการพัฒนาจากภายในห้องเรียน ส่วนกลไกประเมินและพัฒนาภายนอกเป็นเพียงตัวเสริม แต่ประเทศไทยใช้การประเมินภายนอก เพราะหลงที่การวัดผลสัมฤทธิ์ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 30 ปีที่สามารถตีตลาดทั่วโลกได้ เพราะใช้มาตรฐานการตรวจประเมินภายในเป็นตัวนำ ปัจจุบัน รมว.ศึกษาธิการสิงคโปร์ยังออกมาประกาศแก้ทัศนคติพ่อแม่บ้าเกรด และความเก่งของผู้เรียนว่า ไม่ใช่เป้าหมายของคนสิงคโปร์อีกต่อไป แต่สิงคโปร์ต้องการพลเมืองที่มีคุณลักษณะที่ดี การพัฒนาครูจึงต้องเปลี่ยนจากการอบรมที่พรากครูจากห้องเรียน และทำให้เกิดอาชีพ “รับจ้างอบรม” เป็นการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่เน้นการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างครูและผู้อำนวยการโรงเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง”

พะโยม ชิณวงศ์ รองเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวถึงการพัฒนาภายในว่า ปัจจุบันสพฐ.มีโรงเรียนจำนวน 30,816 โรง มีความแตกต่างทั้งบริบทและคุณภาพจึงพยายามทำโรงเรียนที่มีคุณภาพที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 700 กว่าโรงเป็นต้นแบบให้โรงเรียนอื่นๆ และเป็นแนวทางให้ผู้ตรวจ ประเมินความก้าวหน้าว่าเป็นรูปแบบวิธีที่ถูกต้องหรือไม่ ส่วนจะพัฒนาโรงเรียนอย่างไรนั้น ต้องคำนึงถึงบริบทและเป้าหมายของผู้เรียนให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ล่าสุดเราใช้โรงเรียนประชารัฐเป็นต้นแบบปฏิรูปการศึกษาเชิงพื้นที่ ซึ่งมีแนวคิดตามที่สสค.ลงไปจุดประกายให้คนในจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากปล่อยให้รัฐดำเนินการเพียงอย่างเดียวก็จะเกิดข้อจำกัด

ไม่เพียงเท่านั้น วงเสวนาครั้งนี้ได้หยิบยกกรณีศึกษาจากประเทศที่ประสบผลสำเร็จ เริ่มจากเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติสายก้าวหน้าที่สุดในโลก "จูเลียน ไวท์ลีย์" หัวหน้าผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ ภูเก็ตอคาเดมี เล่าถึงจุดเด่นของโรงเรียนนานาชาติที่มีเครือข่ายหลากหลายใน 56 ประเทศว่า วิธีคิดคือจะทำอย่างไรให้สามารถควบคุมคุณภาพเครือข่ายโรงเรียนเหล่านั้นได้ โดยเขาได้นำเสนอระบบประกันคุณภาพใน 3 ระบบที่ ร.ร.นานาชาติภูเก็ต อคาเดมีใช้ ได้แก่

1) การตรวจเยี่ยมของหลักสูตรของอังกฤษในต่างประเทศ (British Schools Overseas: BSO) เพื่อช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพ สร้างให้ผู้ปกครองและสาธารณชนเกิดความเชื่อถือในมาตรฐาน เน้นการใช้แบบสอบถาม การประเมินตนเอง การสร้างมาตรฐานและตัวชี้วัดร่วม การตรวจเยี่ยมและการเผยแพร่รายงานสู่สาธารณะ

2) ระบบรับรองมาตรฐานการศึกษาของสภารับรองมาตรฐานการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ (Council of International Schools Accreditation: CIS) เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาคุณภาพผ่านกระบวนการตรวจสอบตนเองอย่างเข้มงวด และการประเมินจากภายนอก และ 3) การวัดประเมินการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง (Learning Architecture, Learning Culture, Learning Ecology: ACE) เป็นวิธีการประเมินในอนาคตที่เน้นการเปลี่ยนถ่ายการเรียนรู้ และให้ค่าการประเมินในหลายมิติ เช่น ความพยายามในการสอนของครู หรือความพยายามในการเรียนของผู้เรียน มากกว่าการดูเพียงคะแนน นอกจากนี้ยังฉายให้เห็นระบบการทำงานและกระบวนการพัฒนาว่ามีรูปแบบอย่างไรและใครต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน

“ไม่ว่าจะเป็นการประเมินภายในด้วยวิธีใด สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มจากการพัฒนาร่วมกันด้วยความสมัครใจ หากคิดเรื่องการพัฒนาโรงเรียนต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งแต่ละโรงเรียนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่สุดท้ายต้องนำการประเมินที่ได้สู่การใช้ประโยชน์เพื่อการสนับสนุนการทำงาน”

ด้าน จิมมี่ ทัน นักการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสิงคโปร์ จากมุมมองผู้อำนวยการโรงเรียน สะท้อนว่า สิงคโปร์ใช้ระบบ 4P ประกอบด้วย 1) การสร้างจุดมุ่งหมายร่วม (propose) ของโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ พ่อแม่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) คน (people) การสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้รับผิดชอบตามบทบาทเพื่อนำสู่เป้าหมายและความคาดหวังร่วมกัน 3) กระบวนการ (process) สะท้อนถึงการตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้อง และ 4) ผลิตผล (product) เน้นการรายงาน แผนการพัฒนาโรงเรียนและการติดตาม ซึ่งต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะมุมมองจากคนภายนอกระบบการศึกษาบนฐานข้อมูลจริง สิ่งสำคัญคือต้องชี้ชัดว่าเป้าหมายร่วมกันจากทุกฝ่ายคืออะไร เพื่อนำไปสู่การวางแผนและต้องส่งผลต่อนักเรียน องค์กรภายนอกจะมีหน้าที่เพียงยืนยันกับสิ่งที่โรงเรียนคิดว่าใช่หรือไม่ แต่ครูคือหัวใจในการเคลื่อนสู่เป้าหมาย

“คนไทยมักสนใจเฉพาะกระบวนการและผลลัพธ์ แต่สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับคนและเป้าหมาย เพราะไม่เช่นนั้นการดำเนินงานอาจผิดเพี้ยน ในส่วนรางวัลและคำขู่จากหน่วยเหนือนั้น ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบต้องไม่ทำให้ผู้บริหารหรือครูหลุดจากหน้าที่หลักคือการจัดการเรียนการสอน”

สำหรับประเทศไทยได้มีมุมมองจากธนาคารโลก โดย ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากธนาคารโลก ได้นำเสนอมิติความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาและแนวทางแก้ไขพบว่า ปัญหาของประเทศไทยไม่ใช่ทรัพยากรไม่เพียงพอ แต่ยังขาดประสิทธิภาพในการจัดการ ทำให้ไทยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรทรัพยากรระหว่างโรงเรียนในชนบทและในเขตเมืองและผลสัมฤทธิ์ตกต่ำ เวียดนามซึ่งเคยประสบปัญหาเดียวกันจึงใช้ “ระบบการจัดเก็บข้อมูลโรงเรียน” เพื่อสร้างเป็นเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำด้านทรัพยากรทางการศึกษา ควบคู่กับการสร้างระบบตรวจสอบว่าโรงเรียนปรับปรุงคุณภาพเพียงใด และมีการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ ในปี 2005

“เราต้องใช้ครูเพิ่มขึ้นถึง 108,000 คนเพื่อจัดสรรให้ได้ครบทุกห้องเรียน ดังนั้นต้องสร้างรูปแบบ “การจัดเครือข่ายโรงเรียนใหม่” เนื่องจาก 85% ของโรงเรียนขนาดเล็ก หรือจำนวน 19,864 แห่ง ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 20 คนต่อชั้นเรียน ตั้งอยู่ในระยะการเดินทางไม่เกิน 20 นาทีจากโรงเรียนอื่นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากจำนวนประชากรการเกิดที่ลดลง อย่างไรก็ตามยังมีโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีความจำเป็นเพื่อจำนวน 2,921 แห่ง จุดจัดการที่สำคัญคือการพัฒนาโรงเรียนขนาดกลาง 4,514 แห่ง และโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ห่างไกลอีกจำนวน 3,124 แห่ง เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งจะกระทบผู้เรียนถึง 1.59 ล้านคน โดยการพัฒนาให้เป็นโรงเรียนศูนย์กลางที่มีคุณภาพ มีการจัดสรรทรัพยากรและครูให้เพียงพอ และการจัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มเติมสำหรับค่าเดินทาง รถรับส่ง หรือการสอนพิเศษเพิ่มเติมแก่นักเรียนที่มาจากต่างโรงเรียน พร้อมกับมีการวางแผนติดตามประเมินผลในระยะยาว"

ทั้งนี้การยกระดับคุณภาพสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่เหมือนกันทั่วโลกคือ “ต้องเริ่มจากความร่วมมือของคนภายในโรงเรียน” โดยแบ่งบทบาทที่ชัดเจนหากมีผู้ช่วยจากภายนอกเข้ามาพัฒนาร่วมกัน ผู้บริหารจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทและความสำคัญมากต่อการพลิกโฉมให้เกิดขึ้นจริงในโรงเรียน 

 

ที่มา คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2559

 


ยกระดับร.ร.ผ่านมุมมองธนาคารโลก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 2,073 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,524 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 432 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 420 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,253 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,391 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 447 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ไขข้อสงสัย "หมึกชอต" ทรมานสัตว์หรือไม่?
ไขข้อสงสัย "หมึกชอต" ทรมานสัตว์หรือไม่?
เปิดอ่าน 16,076 ครั้ง

ประวัติจังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติจังหวัดอุบลราชธานี
เปิดอ่าน 22,252 ครั้ง

สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
เปิดอ่าน 31,151 ครั้ง

ประวัติจังหวัดมุกดาหาร
ประวัติจังหวัดมุกดาหาร
เปิดอ่าน 16,810 ครั้ง

เส้นทางการศึกษาใหม่ ให้ทางเลือกเยาวชน
เส้นทางการศึกษาใหม่ ให้ทางเลือกเยาวชน
เปิดอ่าน 15,723 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ