ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย


ข่าวการศึกษา 3 ก.พ. 2559 เวลา 10:30 น. เปิดอ่าน : 5,730 ครั้ง
นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย

Advertisement

รมว.ศธ.ตอบกระทู้ถามในการประชุม สนช.
"นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย"

รัฐสภา - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบกระทู้ถามของนายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันอังคารที่ 22 มกราคม 2559 เรื่อง “นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย”

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวขอบคุณผู้ตั้งกระทู้ถามที่ให้ความห่วงใยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย ถึงแม้ว่าในระยะนี้รัฐบาลมีปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจ แต่นายกรัฐมนตรีก็ให้ความสำคัญกับการศึกษา มีการกล่าวถึงการศึกษาทุกครั้ง และทุกสัปดาห์ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะมีวาระของกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่ ก่อนเลิกประชุม จะมีการกล่าวถึงการศึกษาทุกครั้ง

สำหรับการตอบคำถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขอตอบในภาพรวมเพื่อให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มองเห็นภาพรวม และบริบทของการศึกษาไทยว่าจะมีรูปแบบอย่างไร

ประเด็นปัญหาของการศึกษาไทย มี 6 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1.หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
2.การผลิตและพัฒนาครู
3.การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา
4.การผลิต พัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ
5.ICT เพื่อการศึกษา และ
6.การบริหารจัดการ

แยกออกได้ 31 ปัญหาย่อย ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขและเป็นปัญหาในปัจจุบันนี้

การวิเคราะห์ปัญหาก่อนที่จะดำเนินการ จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยนายกรัฐมนตรีให้แนวทางไว้ว่า การแก้ไขปัญหาทุกปัญหาจะต้องไม่สร้างให้เกิดปัญหาใหม่ เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องมีการวาดภาพการเชื่อมโยงของปัญหา เพื่อให้มองเห็นภาพผลกระทบทั้งหมด แล้วแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆ กัน ตามความจำเป็นเร่งด่วน และข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด มาจากข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่ จากเสียงสะท้อนของสื่อสารมวลชน จากข้อคิดเห็นของนักวิชาการ โดยมีประเด็นที่นำมาวิเคราะห์ ดังนี้

• ปัญหาความรู้ภาษาอังกฤษ จากการสำรวจ 63 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้อยู่ในอันดับที่ 48 ของโลก และอันดับ 5 ของอาเซียน อันดับ 1 ประเทศสิงคโปร์ อันดับ 2 ประเทศฟิลิปปินส์ อันดับ 3 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม และอันดับ 4 ประเทศมาเลเซีย

• การจัดอันดับชั่วโมงเรียนที่นักเรียนนั่งเรียนในห้องเรียน พบว่าเด็กไทยใช้เวลาเรียนหนังสือในห้องเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นอันดับ 2 ของโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นอันดับ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นอันดับ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นอันดับ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นอันดับ 8

• ผลการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 เทียบเท่ากับนักเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศกลุ่มยุโรปของ PISA พบว่าเด็กไทยต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสาธิต และโรงเรียนจุฬาภรณ์ 12 แห่ง จะสูงกว่ามาตรฐาน จุดอ่อนของนักเรียนไทยคือคิดวิเคราะห์ไม่เป็น วิธีการสอนแบบให้จำ ให้เข้าใจ แต่ข้อสอบของ PISA เป็นการสอบแบบคิดวิเคราะห์

• จำนวนครูที่ไม่ครบชั้น ทั้งประเทศมีจำนวน 26,607 คน คิดเป็น 22 % การไม่ครบชั้นมีหลายสาเหตุ 1) โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่ถึง 120 คน มีจำนวน 10,000 โรงเรียน นักเรียนไม่ถึง 20 คน มีจำนวนกว่า 1,000 โรงเรียน และมีบางโรงเรียนที่ไม่ถึง 20 คน แต่ทำการเรียนการสอนครบทุกชั้น เช่น ป.1 มี 2 คน ป. 2 มี 3 คน ทำให้ไม่สามารถจัดครูครบชั้นได้ บางโรงเรียนครูคนเดียวต้องสอนครบทุกชั้น กระทรวงศึกษาธิการ แก้ไขปัญหาโดยจัดกลุ่มโรงเรียน หรือใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ช่วยในการจัดการเรียนการสอน

• จำนวนโรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน ซึ่งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ทำการประเมิน พบว่าไม่ผ่านการประเมินประมาณ 7,000 แห่ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้หารือกับ สมศ.เกี่ยวกับแบบประเมินว่าอาจจะต้องจำแนกแบบประเมินว่าแต่ละกลุ่มจะประเมินอย่างไร เพื่อให้โรงเรียนเหล่านั้นมีกำลังใจในการพัฒนา อาจจะแบ่งเป็น Division 1 Division 2 และ Division 3 เพื่อให้มีการไต่ระดับการพัฒนาของโรงเรียน

• การจัดอันดับของ World Economic Forum เปรียบเทียบ 3 ปี พบว่าปี 2012 และ 2013 ประเทศไทยอยู่ในอัน 8 ต่ำกว่ากัมพูชา ปี 2014 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 และประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว อยู่ในอันดับ 5 การประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินด้านเศรษฐกิจ วิธีการสำรวจจะดำเนินการโดยสอบถามผู้ประกอบการว่าพอใจหรือไม่กับบัณฑิตที่เรียนจบมา ตรงกับความต้องการหรือไม่ ซึ่งแต่ละประเทศมี Scale เศรษฐกิจไม่เหมือนกัน เช่น ประเทศลาวมี Scale เศรษฐกิจแคบมากก็พอใจที่บัณฑิตจบมาแล้วตรงกับความต้องการ แต่เมื่อเปรียบเทียบประเทศไทยแล้ว Scale ใหญ่กว่ามาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นความต้องการของผู้ประกอบการเอกชนมีความต้องการสูงกว่าหลายประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยอยู่อันดับล่าง แต่การประเมินดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ประเทศไทยผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับความต้องการ ซึ่งมีบัณฑิตตกงานอยู่ประมาณ 23 %

• ครูบางส่วนใช้เวลากับกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การสอน 84 วัน ใน 200 วันที่เปิดเรียน แต่หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารจัดการ เริ่มตั้งแต่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) มีการปรับให้ครูกลับสู่ห้องเรียนให้มากที่สุด 2 ปีที่ผ่านมาลดไปแล้ว 19 วัน เหลือ 65 วัน ซึ่งใน 84 วันที่ครูอยู่นอกชั้นเรียน เป็นภารกิจเกี่ยวข้องกับการประเมิน 43 วัน (ประเมินโรงเรียน ประเมินครู ประเมินนักเรียน) และส่วนที่เหลือเป็นกิจกรรมนอกสถานศึกษา เช่น เป็นงานพิธี เป็นกรรมการต่าง ๆ

• หนี้สินครู กระทรวงศึกษาธิการมีแหล่งเงินกู้จากส่วนราชการ 4 แห่งและหนี้นอกระบบ 1 แห่ง ปัจจุบันครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมดกว่า 880,000 คน (เป็นครูประมาณ 400,000 คน) แต่เป็นหนี้ 1,300,770 บัญชี หมายความว่า 1 คน เป็นหนี้มากกว่า 1 บัญชี ปล่อยให้กู้ง่าย วงเงินกู้หลายล้านบาท ผู้ค้ำประกัน 5 คนบ้าง 1 คนบ้าง ทำให้ครูเป็นหนี้อยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก

• การผลิตแบบเรียน ในแต่ละวิชามีการผลิตสื่อแบบเรียนหลายสำนักพิมพ์ ซึ่งครูจะสามารถเลือกใช้สำนักพิมพ์ใดก็ได้ และส่งผลต่อการออกข้อสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) เพราะ สทศ.จะต้องนำสื่อของแต่ละวิชา ของทุกสำนักพิมพ์มาออกข้อสอบ ในขณะที่ครูแต่ละโรงเรียนเลือกใช้บางสำนักพิมพ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเคยมีแนวคิดจะให้ใช้แบบเรียนเฉพาะของกรมวิชาการ แต่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องจากสำนักพิมพ์เอกชน เนื่องจากผิดรัฐธรรมนูญ จึงต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ โดยวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อปรับปรุง สิ่งไหนที่นักเรียนต้องรู้ และสิ่งไหนที่นักเรียนควรรู้ ทุกสำนักพิมพ์และครูจะต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งที่นักเรียนต้องรู้จะต้องมีในแบบเรียน

• นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการแก้ไขปัญหา จะต้องมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อความสุขของคนไทย ก่อนที่จะทำความสุขให้คนไทย กระทรวงศึกษาธิการจะต้องดูแลแก้ไขปัญหาให้คนเหล่านี้ก่อน คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10,434,148 คน นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. , ปวส.) จำนวน 977,649 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 1,994,922 คน และครู อาจารย์ จำนวน 624,758 คน

• แผนระยะยาว หรือกรอบแนวคิดการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ตามกรอบนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่มีดำริว่า กระทรวงศึกษาธิการจะต้องผลิต New Generation ที่เก่ง ดี (มีคุณธรรม จริยธรรม) และมีวินัย ภายใน 20 ปี วิธีการดำเนินงานจะต้องมีอย่างน้อย 4 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นหลักในการดำเนินการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปและขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และระบบการศึกษาให้ชัดเจน เพื่อให้คนในกระทรวงศึกษาธิการเข้าใจว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร

จากปัญหาดังที่ได้กล่าว แบ่งได้ 6 กลุ่มปัญหา และ 31 ปัญหาย่อย กระทรวงศึกษาธิการ นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์เร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ 6 เรื่อง ดังนี้

1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อลดภาระเด็กเครียด เด็กเรียนเยอะ เด็กไม่มีความสุขกับการเรียน/ผลสัมฤทธิ์ต่ำ เนื้อหาไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลง และกระบวนการเรียนรู้

2) การผลิตและพัฒนาครู เพื่อเพิ่มครูเก่ง (ครูบางส่วนไม่เก่ง) จัดครูให้ครบชั้น (ครูไม่ครบชั้น สอนไม่ตรงเอก) ภาระงานเยอะ และครูขาดขวัญกำลังใจ

3) การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา โดยปรับปรุงการประเมินครู ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และการประเมินสถานศึกษา

4) การผลิตพัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ เพื่อแก้ปัญหาขาดกำลังแรงงานสายวิชาชีพ มาตรฐานฝีมือยังไม่เป็นที่ยอมรับจากสถานประกอบการ การผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของประเทศทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และงานวิจัยไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง อนึ่ง เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 ได้มีการประชุมคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ ซึ่งหน่วยงานเอกชนเข้าร่วม 31 บริษัท เพื่อร่วมมือกันผลิตผู้เรียนอาชีวศึกษาให้ตรงกับความต้องการ

5) ICT เพื่อการศึกษา ได้เตรียมการเพื่อพัฒนาและบูรณาการโครงสร้างพื้นฐาน ระบบฐานข้อมูล และระบบการจัดการเนื้อหาสาระ/องค์ความรู้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการมีไม่เพียงพอ โรงเรียนเกือบ 8,000 แห่ง ยังเข้าไม่ถึง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 ระบบฐานข้อมูลไม่ทันสมัย ขาดการบูรณาการ มีการทับซ้อนทั้งระบบและเนื้อหา กระทรวงศึกษาธิการหวังว่าคงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้

6) การบริหารจัดการ เพื่อแก้ปัญหาระบบงบประมาณที่ไม่สอดคล้องต่อการดำเนินงาน การกำกับดูแลขาดประสิทธิภาพ ขาดการบูรณาการ การกระจายอำนาจ ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนการกำกับดูแลระบบที่เป็นอยู่ขององค์กรหลักทั้ง 5 แห่ง ยังไปไม่ถึงส่วนภูมิภาค

วิธีการคิด โดยการยึดหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยนำปัญหามาสู่การเรียนรู้ นำปัญหามาเป็นตัวตั้ง แล้วหาสาเหตุ นำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหา ทำวิธีการเดียวกันทั้ง 6 ปัญหาหลัก ซึ่งในการปฏิบัติได้ดำเนินการเสร็จแล้วบางส่วน มี Outcome แล้ว มี 3 ระยะ คือ โครงการที่มี Outcome แล้ว หรือดำเนินการแล้วและมีผลสัมฤทธิ์แล้ว โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และโครงการที่กำลังผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งบุคลากรทั้งหมดในกระทรวงศึกษาธิการจะต้องรู้ และเข้าใจแผนนี้ เพื่อให้รู้หน้าที่ของตนเองว่าจะต้องทำอะไร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคอยกำกับติดตาม

แนวทางแก้ไขปัญหาทั้งหมดมี 65 โครงการ แก้ไขแล้วและมีผลสัมฤทธิ์แล้วบางส่วน จำนวน 16 โครงการ โครงการที่เริ่มต้นทำแล้วหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 37 โครงการ และโครงการที่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นอีก จำนวน 12 โครงการ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จกลางปี 2560

 

• การแก้ไขปัญหาเฉพาะครู มี 3 โครงการ ได้แก่

1) คืนครูให้ห้องเรียน คืนครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน สรรหาครูเกษียณอายุราชการและมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน เริ่มดำเนินการปี 2559 จำนวน 1,097 คน และปี 2560 จำนวน 10,000 คน

2) ลดภาระครู เป็นการปรับลดภาระการประเมิน การตอบแบบสำรวจ การรายงานข้อมูล การเข้ารับการอบรม การขอความร่วมมืองดกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการสอน

3) การสร้างขวัญและกำลังใจให้ครู

- ปรับปรุงบ้านพักครูให้ครบทุกแห่งภายในปี 2561 บ้านพักครูทั้งประเทศมีจำนวน 40,000 หลัง ไม่ได้รับงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคาดว่าภายใน 2 ปี จะต้องดำเนินการซ่อมแซมบ้านพักครูทั้งหมดให้แล้วเสร็จ ซึ่งบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีเรียบร้อยแล้ว และในปี 2559 ปรับแผนงบประมาณ ได้ 1,000 หลัง

- การโยกย้ายครู เป็นการปรับกฎ ระเบียบ เนื่องจากการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ และมีเสียงลือว่าการโยกย้ายจะต้องมีการจ่ายเงินโดยคิดเงินตามระยะทางเป็นกิโลเมตร

- การแก้ปัญหาหนี้สินครู จะต้องดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1) ต้องหารือกับผู้ปล่อยกู้ เพราะเงื่อนไขในการปล่อยกู้ง่ายเกินไป พบช่องโหว่เยอะมาก โดยเฉพาะธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 2) การแก้ปัญหาระยะยาว จะต้องสร้างความรับผิดชอบ โดยให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนร่วมรับผิดชอบในการอนุมัติและรับผิดชอบการกู้ (อาจจะกำหนดวงเงินกู้แต่ละระดับที่รับผิดชอบ) ปัญหาครูที่ค้างชำระหนี้ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ขั้นวิกฤต จำนวน 1,721 ราย กลุ่มที่ 2 ใกล้วิกฤต จำนวน 1,972 ราย กลุ่มที่ 3 ค้างชำระไม่เกิน 12 งวด จำนวน 18,344 ราย และกลุ่มที่ 4 ลูกหนี้ปกติ จำนวน 29,333 ราย

• โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (คุรุทายาท) หลักการ คือ การคัดเด็กเรียนเก่งเกรดเฉลี่ยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่ต่ำกว่า 3.00 สมัครเรียนครู โดยมีที่เรียนให้ และมีตำแหน่งรองรับ ไม่ต้องสอบบรรจุแต่อย่างใด และหลักเกณฑ์ คือ ต้องกลับไปบรรจุในภูมิลำเนาของตนเอง ปีละ 4,000 คน โดยจัดสรรจากตำแหน่งของครูเกษียณอายุราชการ 25 % และอีก 75 % เปิดให้สอบแข่งขัน เพราะฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการจะได้ครูที่มีจิตใจในความเป็นครูตั้งแต่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

• การแก้ปัญหาร่วมกับภาคเอกชน โดยคณะทำงานร่วมภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน เดิมเป็นการดำเนินการแบบ CSR คือการเอาเป้าหมายของบริษัทเป็นหลักในการให้ความช่วยเหลือ แต่แบบใหม่จะต้องเป็น Social Enterprise ต้องเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งโชคดีมากที่หลายบริษัทให้ความร่วมมือ มีการ Quick Win ร่วมกันและแบ่งกันชัดเจนทั้งของรัฐและเอกชน กระทรวงศึกษาธิการรับทำข้อตกลง กับ 2 คณะ คือ 1) คณะทำงานด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ โดยคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส บริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ ลงนาม MOU เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 Quick Win สร้างแรงจูงใจให้ครูสายวิชาชีพ โดยมี Career Path ในการเติบโต พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี Excellence Model School ขยายผลโครงการทวิภาคี Database of Demand & Supply รองรับการขยายตัวธุรกิจ เน้น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ Re-branding สร้างแรงจูงใจให้เห็นความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ 2) คณะทำงานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ โดยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จะลงนาม MOU ในเร็วๆ นี้ โดย Quick Win เป้าหมายจะเริ่มดำเนินการ 7,424 โรงเรียนใน 7,424 ตำบล อาจจะแบ่งเป็นเฟส ๆ ละ 2,000 ตำบล จะต้องสำรวจความต้องการของโรงเรียนก่อนดำเนินการ อาจจะเปิดสอนคอร์สภาวะผู้นำให้กับผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเอกชนมีความชำนาญ

นายกรัฐมนตรี มีดำริว่าให้ทุกโครงการของทุกกระทรวงระบุระยะเวลาการดำเนินงานให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน จบเมื่อไร ดำเนินการอะไร ปี 2560 จะแล้วเสร็จแค่ไหน และจะส่งต่อให้รัฐบาลใหม่อย่างไร กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการโดยเรียกว่า ตาราง 3 ช่อง ซึ่งองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องจัดทำ Mind map แบบอริยสัจ 4 และตาราง 3 ช่องทุกโครงการ ให้มีการปรับแผน การปฏิบัติได้ในช่วงเวลา 3 เดือน แต่ต้องมีเหตุผลในการปรับ อาจจะมีการมองว่าอยู่ในกระดาษ แต่องคาพยพทั้งหมดผู้ปฏิบัติจะเข้าใจ และรู้ว่าจะถูกติดตามอย่างไร คนที่เป็นผู้กำกับหน่วยหรือผู้บังคับบัญชาใช้กำกับได้ จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ

ในส่วนการทดสอบแบบอัตนัย จะเริ่มใช้กับเด็กประถมศึกษาก่อน ประมาณ 20% อันดับแรกเป็นวิชาภาษาไทย แล้วค่อยๆ พัฒนาต่อไปทีละก้าว ภาษาอังกฤษจะเริ่มปีนี้ และใช้กับมหาวิทยาลัยเพื่อให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่จะต้องหารูปแบบที่เหมาะสม จากข้อสังเกตของผู้ตั้งกระทู้ถาม ให้ออกข้อสอบเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นแบบอัตนัยนั้น ขณะนี้กฎหมายไม่เอื้อให้รัฐมนตรีสั่งการมหาวิทยาลัยได้ แต่ก็มีการพูดคุยหารือไปบ้างแล้ว

 

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559

 


นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

เปิดอ่าน 9,567 ☕ 11 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 999 ☕ 19 เม.ย. 2567

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 1,529 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 976 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 348 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 735 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,946 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อันดับเมืองน่าอยู่
อันดับเมืองน่าอยู่
เปิดอ่าน 13,624 ครั้ง

ภูเขาไฟใต้น้ำปะทุ พ่นลาวา-ขี้เถ้า กลายเป็นเกาะเกิดใหม่ (มีคลิป)
ภูเขาไฟใต้น้ำปะทุ พ่นลาวา-ขี้เถ้า กลายเป็นเกาะเกิดใหม่ (มีคลิป)
เปิดอ่าน 840 ครั้ง

คำแนะนำสำหรับนักเรียน และ ครูผู้สอน ในการสอบ O-NET วิชาภาษาไทย รูปแบบข้อสอบอัตนัย
คำแนะนำสำหรับนักเรียน และ ครูผู้สอน ในการสอบ O-NET วิชาภาษาไทย รูปแบบข้อสอบอัตนัย
เปิดอ่าน 41,248 ครั้ง

ซินโครตรอนพบ! สารสกัดโปรตีนจากดักแด้ไหม ยับยั้งมะเร็งเต้านมได้
ซินโครตรอนพบ! สารสกัดโปรตีนจากดักแด้ไหม ยับยั้งมะเร็งเต้านมได้
เปิดอ่าน 9,971 ครั้ง

กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2
กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2
เปิดอ่าน 3,874 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ